เรียนรู้ตลอดชีวิต
พระมหา วีระ วีระ กิตฺติวณฺโณ / ได้ทุกทาง

สรุปงานสวัสดิการชุมชน ปี 2552


สรุปงาน

เครือข่ายกองบุญคุณธรรมเพื่อจัดสวัสดิการชุมชนท้องถิ่น 

จังหวัดสุรินทร์

 

ความเป็นมา

                สังคมไทยมีวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันแบบช่วยเหลือเกื้อกูลกัน    มีน้ำใจต่อกัน    ในอดีตเราเคยได้รับ สวัสดิการจากธรรมชาติ   หาเห็ด หาหน่อไม้จากป่าใกล้บ้าน   หาปลาในแม่น้ำลำคลองยามเจ็บไข้ได้ยาสมุนไพรจากป่า   เพื่อนบ้านมาเฝ้าไข้ให้กำลังใจ  เมื่อมีปัญหามีศาสนาและผู้อาวุโสในชุมชนเป็นที่พึ่ง นี่คือ สวัสดิการธรรมชาติที่ธรรมชาติและผู้คนให้แก่กันบนพื้นฐานของความเกื้อกูล  มีน้ำใจ และเคารพซึ่งกันและกัน  ระหว่างคนกับคน และคนกับธรรมชาติ

                ปัจจุบัน  ภาครัฐมีระบบการจัดสวัสดิการให้กับประชาชนทั้งในรูปของเงินและสิ่งของช่วยเหลือ   อีกทั้งชุมชนหลายแห่งก็รวมตัวกันเพื่อจัดสวัสดิการช่วยเหลือกันเองในชุมชน  หมู่บ้านและตำบล  ซึ่งทั้งสองส่วนสามารถบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าและสร้างระบบการช่วยเหลือกันภายในชุมชนในระยะยาว

ในสังคมหมู่บ้านชนบทมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันเป็นไปตามวัฒนธรรมของชาวบ้านเรามาตั้งแต่ดั้งเดิม   นับเป็นร้อย ๆ ปีมาแล้ว  ในอีตดคนอยู่ร่วมกันในชุมชนแบบใกล้ชิดสนิทสนมแน่นแฟ้นกันมาก  เรียกว่าทุกคนจะมีการช่วยเหลือดูแลกันอย่างจริงจัง  คนจะต้องพึ่งพาอาศัยกันในการเป็นอยู่เพราะภาระในการดำเนินชีวิตไม่สามารถจะแก้ปัญหาเฉพาะตนได้  งานหลายอย่างทำคนเดียวไม่ได้ ต้องอาศัยแรง อาศัยความคิด อาศัยความรู้สึกของเพื่อนบ้านด้วย  ชุมชนจะมีการลงแรงช่วยกันสร้างบ้าน สร้างยุ้ง ขุดบ่อน้ำ  ทำถนน สร้างสะพาน สร้างวัด สร้างโรงเรียน 

                แต่ในปัจจุบัน คนมีจำนวนมากขึ้น มีความซับซ้อนมากขึ้น  กิจกรรมในชุมชน หรืองานบุญงานบวช งานศพ  การช่วยงานกันไม่ได้มีส่วนร่วมทุกคน  ในหนึ่งครอบครัวก็มีหนึ่งคนที่มีบทบาทในการออกไปช่วยงานเพื่อนบ้าน ช่วยงานชุมชน สาธารณะ  อีกหลายคนในครอบครัวจะไปแต่งานไร่งานนา เลี้ยงวัวเลี้ยงควาย ไม่ได้เข้าสังคมเลย   ในชุมชนหมู่บ้านอาจมีเพียง  ๑๐-๒๐  ครอบครัวที่ชอบไปวัดเป็นประจำ ชอบช่วยกันทุกงาน หลายครอบครัวไปบ้างไม่ไปบ้าง ไม่ต่อเนื่อง ไม่สม่ำเสมอ  สังคมเราจึงช่วยกันไม่เท่าเทียมกัน มีความเหลื่อมล้ำทางการมีส่วนร่วมทางสังคมอยู่มาก

          ในปี ๒๕๔๙  พื้นที่ตำบลโคกยางมีการดำเนินยุทธศาสตร์ฟื้นฟูชุมชนท้องถิ่นขึ้น  มีการดำเนินงานสวัสดิการชุมชนเป็นพื้นที่แรกในจังหวัดสุรินทร์  ปลายเดือนธันวาคม ๒๕๔๙  สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุรินทร์ได้จัดเวทีเผยแพร่หลักคิดและองค์ความรู้สู่สังคมจังหวัดสุรินทร์    

ต้นปี ๒๕๕๐ พระมหาวีระ  กิตฺติวณฺโณ  จึงได้ปรับเปลี่ยนต่อยอดจากแนวคิดกองทุนเฉลี่ยบุญที่ดำเนินการในวัดมาแล้ว ๘ ปี  ดำเนินการทันทีในตำบลทุ่งมน เพื่อการฟื้นฟูวัฒนธรรมเครือญาติ   วัฒนธรรมแห่งการเอื้ออาทรที่เป็นธรรม   สร้างระบบการรวมทุน  รวมคน  รวมภูมิปัญญา รวมจิตใจ มีพื้นที่ตำบลเดียวกันร่วมกันจัดประโยชน์ใหม่อย่างเป็นธรรม เสมอภาคทั่วถึง ให้เกียรติและมีศักดิ์ศรี  ช่วยเหลือดูแลกันและกันตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย เป็นชุมชนที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพการพึ่งพาตนเองตามแนวคิด ให้อย่างมีคุณค่า รับอย่างมีศักดิ์ศรี เศรษฐกิจพอเพียงและระบบคุณธรรม  ทั้งเป็นเครื่องมือในการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นหลักคุณธรรมสำคัญต่อการส่งเสริมการจัดสวัสดิการในชุมชน  โดยมีบ้าน วัด โรงเรียน องค์กรชุมชน หน่วยงานท้องถิ่นตำบล เป็นฐานในการจัดสวัสดิการที่นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่สมาชิกในชุมชนตำบล     ส่งเสริมวัฒนธรรมชาวพุทธให้เข้มแข็ง   เฝ้าระวังและรักษาวัฒนธรรมท้องถิ่น    พิทักษ์วิถีชีวิตชุมชน    เรื่องการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน   ส่งเสริมการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกในชุมชนสอดคล้องและเป็นแนวทางการแก้ปัญหาทางสุขภาพ  การศึกษา สังคมและสิ่งแวดล้อม  สามารถยกระดับคุณภาพความสุขพื้นฐานด้านสุขภาพร่างกาย  ชีวิตและจิตใจ ตามความต้องการของสมาชิกและชุมชน  ลดช่องว่างความเป็นอยู่ของสมาชิกในชุมชนให้เกิดความเสมอภาค    เป็นธรรม   เป็นสังคมที่ไม่ทอดทิ้งกันอย่างยั่งยืน       อยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันเหมือนญาติพี่น้องประสานความร่วมมือในการแก้ปัญหาชุมชนในด้านต่าง ๆ  เป็นแบบอย่างและเผยแพร่การจัดตั้งกองทุนคุณธรรมสวัสดิการไปยังชุมชนอื่นที่สนใจ

ต่อมาแกนนำชุมชนได้รับฟังวิทยากรจากจังหวัดร้อยเอ็ดและสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุรินทร์ และเรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมจากตำบลปอภาร จ.ร้อยเอ็ด  

ในขณะเดียวกันพื้นที่ตำบลปราสาททนงและตำบลสมุดก็มีการเคลื่อนตัวเรียนรู้อยู่ในพื้นที่   กลางปีต่อมาตำบลปราสาททนงมีการจัดตั้งเป็นตำบลที่ ๓  ตำบลสมุดเป็นตำบลที่ ๔

เดือนมีนาคม  ๒๕๕๐  ได้รับการทาบทามจากเจ้าหน้าที่ พอช.ภาคอีสาน จึงได้จัดขบวนคณะทำงานสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ขึ้น          มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันหลายครั้ง มีมติใช้ชื่อว่า กองบุญคุณธรรมเพื่อจัดสวัสดิการชุมชนตำบล....”  เดือน พฤศจิกายน ได้รับการหนุนเสริมจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ในการจัดเวทีความร่วมมือขับเคลื่อนสวัสดิการชุมชนและเผยแพร่ข้อมูลความรู้ในจังหวัด ในปลายปี ๒๕๕๐ สามารถรวบรวมพื้นที่ที่จัดทำกองบุญคุณธรรม จำนวน  ๑๔  ตำบล   

พระธรรมโมลี   เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์   วัดศาลาลอย(พระอารามหลวง) ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่

                การทำสวัสดิการวันละบาท เป็นการพัฒนาการ เป็นการต่อยอด ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมเดิมให้ดีขึ้น ผู้คนมีส่วนร่วมกันมากขึ้นและเท่าเทียมกัน ทำทุกคนให้มีความเสมอภาคกัน ดึงนำคนทั้งชุมชนให้มีส่วนในการช่วยเหลือกันเหมือนเช่นในอดีตที่คนน้อยมีความสำคัญทุกคน   ออมเพื่อให้  ให้อย่างมีศักดิ์ศรี  รับอย่างมีคุณค่า   เกลี่ยความสุข ความทุกข์ของกันและกันในชุมชน

เครือข่ายกองบุญคุณธรรมเพื่อจัดสวัสดิการชุมชนท้องถิ่น จังหวัดสุรินทร์ เกิดจากการรวมตัวกันของกองบุญคุณธรรมเพื่อจัดสวัสดิการชุมชนตำบลต่าง ๆ ในจังหวัดสุรินทร์ ในปี ๒๕๕๐   โดยการสนับสนุนของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. และ รวมกันเป็นเครือข่าย เมื่อวันที่  ๒๕    ธันวาคม   ๒๕๕๐    ปัจจุบันในเมษายน ๒๕๕๒  มีจำนวน จำนวน ๔๐  ตำบล ดำเนินกิจรรมให้ความรู้ด้านการจัดสวัสดิการชุมชน การพัฒนาแกนนำ และการสนับสนุนงบประมาณในการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชน มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีแผนงานขยายกองทุนให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ เพื่อให้ชุมชนลุกขึ้นมาดูแลกันเองก่อนที่จะขอรับการสนับสนุนจากภายนอก

 

วัตถุประสงค์ของกองบุญคุณธรรมฯ

๑.  เพื่อนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นหลักคุณธรรมสำคัญต่อการส่งเสริมการจัดสวัสดิการในชุมชน  โดยมีบ้าน วัด   โรงเรียน   องค์กรชุมชน หน่วยงานท้องถิ่นตำบลทุ่งมน เป็นฐานในการจัดสวัสดิการที่นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่สมาชิกในชุมชนตำบลทุ่งมน

๒. เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมชาวพุทธให้เข้มแข็ง   เฝ้าระวังและรักษาวัฒนธรรมท้องถิ่น    พิทักษ์วิถีชีวิตชุมชน  เรื่องการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน   ส่งเสริมการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกในชุมชน

๓.  เพื่อจัดสวัสดิการสังคมที่สอดคล้องและเป็นแนวทางการแก้ปัญหาทางสุขภาพ  การศึกษา สังคมและสิ่งแวดล้อม  สามารถยกระดับคุณภาพความสุขพื้นฐานด้านสุขภาพร่างกาย  ชีวิตและจิตใจ ตามความต้องการของสมาชิกและชุมชน

๔.  เพื่อลดช่องว่างความเป็นอยู่ของสมาชิกในชุมชนให้เกิดความเสมอภาค    เป็นธรรม   เป็นสังคมที่ไม่ทอดทิ้งกันอย่างยั่งยืน   อยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันเหมือนญาติพี่น้อง

๕.  เพื่อช่วยเหลือและประสานความร่วมมือในการแก้ปัญหาชุมชนในด้านต่าง ๆ

๖.  เพื่อเป็นแบบอย่างและเผยแพร่การจัดตั้งกองทุนคุณธรรมสวัสดิการไปยังชุมชนอื่นที่สนใจ

๗.  เพื่อประหยัดอดออมอยู่อย่างพอเพียง

๘. เพื่อส่งเสริมด้านปัญญาธรรม คารวะธรรม และสามัคคีธรรม ตามวิถีประชาธิปไตยแก่สมาชิก

๙.  กองทุนนี้ไม่ใช่กองทุนที่ดำเนินการเพื่อแสวงหาผลกำไรสูงสุดทางทรัพย์สิน แต่ดำเนินการเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างสมาชิก ให้เกิดความเอื้ออาทรกันในตำบล

 

 

 

 

แนวทางการจัดสวัสดิการ ทั้งหมด   ๙    เรื่อง   

๑. เกิด  (เงินรับขวัญ)

-  ลูกสมาชิกที่เกิดใหม่ คนละ  ๕๐๐  บาท  (สมาชิกอาจเป็นพ่อ/แม่ก็ได้)

-  แม่ที่คลอดบุตร นอนโรงพยาบาล ได้คืนละ ๑๐๐  บาท  ไม่เกิน  ๓ คืน /คน

๒. แก่ ( เงินบำนาญ)

   ฝากสัจจะครบ ๑๐–๑๔ ปี       อายุครบ ๖๐ ปี    ได้รับบำนาญเดือนละ  ๒๕๐  บาท

   ฝากสัจจะครบ  ๑๕–๑๙ ปี    อายุครบ ๖๐ ปี      ได้รับบำนาญเดือนละ  ๓๐๐  บาท

  ฝากสัจจะครบ ๒๐–๒๔ ปี   อายุครบ ๖๐ ปี      ได้รับบำนาญเดือนละ  ๓๕๐  บาท

  ฝากสัจจะครบ ๒๕–๒๙ ปี   อายุครบ ๖๐ ปี      ได้รับบำนาญเดือนละ   ๔๐๐  บาท

  ฝากสัจจะครบ ๓๐–๓๔ ปี   อายุครบ ๖๐ ปี      ได้รับบำนาญเดือนละ  ๔๕๐ บาท

  ฝากสัจจะครบ ๓๕–๓๙ ปี   อายุครบ ๖๐ ปี      ได้รับบำนาญเดือนละ  ๕๐๐  บาท

  ฝากสัจจะครบ ๔๐–๔๔ปี    อายุครบ ๖๐ ปี      ได้รับบำนาญเดือนละ  ๕๕๐  บาท

  ฝากสัจจะครบ ๔๕–๔๙ ปี   อายุครบ ๖๐ ปี     ได้รับบำนาญเดือนละ    ๖๐๐  บาท

  ฝากสัจจะครบ ๕๐–๕๔ ปี   อายุครบ ๖๐ ปี    ได้รับบำนาญเดือนละ    ๗๐๐  บาท

   ฝากสัจจะครบ ๕๕–๖๐ ปี  อายุครบ ๖๐ ปี    ได้รับบำนาญเดือนละ    ๘๐๐  บาท

๓.เจ็บป่วย(เรียกขวัญ)

      คนทำหน้าที่/

 

- นอนโรงพยาบาล  คืนละ ๑๐๐  บาท        ปีละไม่เกิน ๑๐ คืน / คน

- เยี่ยมคนป่วยหนัก/ป่วยอุบัติเหตุที่รักษาตัวที่บ้าน  เรียกขวัญครั้งละ  ๑๐๐  บาท  ไม่เกินปีละ  ๒  ครั้ง

- สมาชิกที่เป็นลูกหลานดูแลสมาชิกที่ป่วยเรื้อรัง ช่วยตนเองไม่ได้ นอนรักษาตัวที่บ้าน  วันละ  ๒๐  บาท  ไม่เกินปีละ ๓๐  วัน

๔.  ตาย

      (ช่วยจัดการศพ)

    ถ้าเป็นงานศพปลอดเหล้าและปลอดการพนัน โดยผ่านการประเมินจากคณะกรรมการ    สมทบทำบุญ     ๒,๐๐๐  บาท 

-  ฝากสัจจะ  ๖  เดือน ( ๑๘๐ วัน)    ช่วยงานศพ   ๒,๕๐๐     บาท

-  ฝากสัจจะ ๑  ปี     ( ๓๖๕ วัน)      ช่วยงานศพ   ๕,๐๐๐      บาท

- ฝากสัจจะ  ๒ ปี     ( ๗๓๐ วัน)      ช่วยงานศพ   ๑๐,๐๐๐    บาท

- ฝากสัจจะ  ๔  ปี     ( ๑,๔๖๐ วัน)  ช่วยงานศพ   ๑๕,๐๐๐    บาท

- ฝากสัจจะ  ๘  ปี     ( ๒,๙๒๐ วัน)  ช่วยงานศพ   ๒๐,๐๐๐    บาท

- ฝากสัจจะ  ๑๒  ปี    ( ๔,๓๘๐ วัน)  ช่วยงานศพ   ๒๕,๐๐๐   บาท

- ฝากสัจจะ  ๑๖  ปี    (๕,๘๔๐  วัน)  ช่วยงานศพ   ๓๐,๐๐๐    บาท

- ฝากสัจจะ  ๒๐  ปี    (๗,๓๐๐วัน)  ช่วยงานศพ   ๓๕,๐๐๐   บาท

- ฝากสัจจะ  ๒๔ ปี    ( ๘,๗๖๐ วัน)   ช่วยงานศพ   ๔๐,๐๐๐    บาท

- ฝากสัจจะ  ๒๘ ปี    ( ๑๐,๒๒๐ วัน)   ช่วยงานศพ   ๔๕,๐๐๐   บาท

- ฝากสัจจะ  ๓๒ ปี    ( ๑๑,๖๘๐ วัน)  ช่วยงานศพ   ๕๐,๐๐๐   บาท  ( สูงสุดแล้ว)

๕. ทุนการศึกษา

- นักเรียน(อนุบาล – ม.ปลาย)ที่ฝากสัจจะแต่ละรอบ   ๕ ปี  รับทุนการศึกษา ๑ ทุน   จำนวน  ๕๐๐  บาท

- นักเรียน(อนุบาล – ม.ปลาย)ที่ฝากสัจจะ ๓ ปีขึ้นไป    มีสิทธิ์พิจารณารับทุนสำนึกรักบ้านเกิด ปีละ     ๕   ทุน     ทุนละ ๑,๐๐๐  บาท โดยการจับฉลาก

- นักศึกษา(สูงกว่า ม.ปลาย)ที่ฝากสัจจะ ๕ ปีขึ้นไป  มีสิทธิ์พิจารณารับทุนการศึกษา  เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น    เช่น ทุนเรียนพยาบาล  หรืออื่น ๆ ปีละ ๑ ทุน ๆละ ๕,๐๐๐ บ.  โดยกาจับฉลาก

๖.  ช่วยประสบภัย

-  ฝากสัจจะ  ๒ ปี ขึ้นไป ช่วยเหลือประสบอัคคีภัยครอบครัวละไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท                 -  ฝากสัจจะ  ๒ ปีขึ้นไป  ช่วยเหลือประสบวาตภัยครอบครัวละไม่เกิน  ๕๐๐ บาท

๗.ทุนคนขยัน คนดีมีคุณธรรม

-  ฝากสัจจะ ๒ ปีขึ้นไป มีสิทธิ์พิจารณารับรางวัลคนขยัน คนดีมีคุณธรรม ที่จัดขึ้นตามโครงการ  และโอกาสสำคัญ  ที่คณะกรรมการดำเนินการ

๘.  คนด้อยโอกาส

กองทุนรับจ่ายฝากสัจจะแทน ปีละจำนวน ๓๖๕ บาท       โดยผู้ด้อยโอกาสมีสิทธิ์เหมือนสมาชิกทั่วไป    สัดส่วนรับคนด้อยโอกาส ๑ คนต่อสมาชิก ๕๐ คน

๙.  สาธารณประโยชน์

เมื่อได้รับการสมทบกองทุนจากภารรัฐบาลและท้องถิ่น  ให้มีการจัดสวัสดิการชุมชนที่มากกว่าการเกิด แก่ เจ็บ ตาย  คือ การดูแลทรัพยากรธรรมและสิ่งแวดล้อม  วัฒนธรรมประเพณีชุมชน  เยาวชน   การลดละเลิกอบายมุข   การศึกษา   การส่งเสริมสุขภาพและดูแลคุณภาพชีวิตของชุมชนโดยภาพรวมด้วย

 

การจัดสวัสดิการแก่สมาชิก ในส่วนเงินช่วยจัดการศพ   เจ้าภาพงานศพนั้นและคณะกรรมการกองทุนคุณธรรมฯ  ปรึกษากันเพื่อจัดการบริจาคแก่องค์กรสาธารณประโยชน์  เช่น  บ้าน  วัด  โรงเรียน   สมาคม   มูลนิธิ   ชมรม  กลุ่ม   คณะ   ตามเกณฑ์ต่อไปนี้

                                (๑)  เมื่อทางกองทุนคุณธรรมฯ ได้ช่วยจัดการศพ จำนวน ๑๐,๐๐๐  บาทขึ้นไป  ขอให้ช่วยเพิ่มการบริจาคแก่กองทุนคุณธรรมสวัสดิการชุมชนพึ่งตนเองตำบลทุ่งมน (องค์กรสวัสดิการชุมชน)   จำนวน  ๑,๐๐๐    บาท   และ

                                (๒)  เมื่อทางกองทุนคุณธรรมฯ ได้ช่วยจัดการศพ จำนวน ๒๐,๐๐๐  บาทขึ้นไป  ขอให้ช่วยเพิ่มการบริจาคแก่โรงเรียนที่ชุมชนใช้บริการ     จำนวน  ๕๐๐  บาท และ สถานีอนามัยประจำตำบลหรือกลุ่ม อสม.  จำนวน  ๕๐๐  บาท หรือ รวมทั้งสิ้น  ๒,๐๐๐   บาท   และ

                                (๓)  เมื่อทางกองทุนคุณธรรมฯ ได้ช่วยจัดการศพ จำนวน ๓๐,๐๐๐  บาทขึ้นไป  ขอให้ช่วยเพิ่มการบริจาคแก่วัดใน/ใกล้ชุมชน     จำนวน  ๕๐๐    บาท   และ  สภาองค์กรชุมชนตำบล........    จำนวน   ๕๐๐   บาท หรือ รวมทั้งสิ้น  ๓,๐๐๐   บาท      และ

                                (๔)  เมื่อทางกองทุนคุณธรรมฯ ได้ช่วยจัดการศพ จำนวน ๔๐,๐๐๐  บาทขึ้นไป  ขอให้ช่วยเพิ่มบริจาคแก่องค์กรเด็ก เยาวชน   จำนวน  ๑,๐๐๐    บาท   รวมบริจาคทั้งสิ้น  ๔,๐๐๐   บาท   และ

                                (๕)  เมื่อทางกองทุนคุณธรรมฯ ได้ช่วยจัดการศพ จำนวน ๕๐,๐๐๐  บาท    ขอให้ช่วยเพิ่มบริจาคแก่องค์กรชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม  อีก  ๑  องค์กร  จำนวน   ๑,๐๐๐  บาท    หรือ รวมบริจาคทั้งสิ้น  ๕,๐๐๐   บาท   

 

 

ปัญหาอุปสรรคในการขับเคลื่อนงาน   

-          ผู้นำบางพื้นที่ให้ความสำคัญน้อย

-          กองบุญกระทบต่ออำนาจทางการเมือง

-          ทุนขับเคลื่อนงานน้อย

-          คนยังใช้ศักยภาพในการทำงานน้อย

-          ผลกระทบจากเรื่องราวการทุจริตกองทุนจากภายนอก  กระทบความเชื่อมั่น

ข้อด้อย  ข้อจำกัด อุปสรรค   ในขบวนสวัสดิการชุมชนในปัจจุบันในจังหวัดสุรินทร์

๑.      สวัสดิการชุมชน ( สวัสดิการวันละบาท)  เป็นนวัตกรรมใหม่ และประเด็นงานใหม่ที่เริ่มเข้าสู่สังคมจังหวัดสุรินทร์ เมื่อประมาณ  ๑  ปีที่ผ่านมาเท่านั้น 

๒.    มีพื้นที่ตำบลที่ดำเนินการแล้วยังน้อยในจังหวัด และแต่ละตำบลที่ดำเนินการแล้วยังไม่ครอบคลุมพื้นที่  กลุ่มคน  ทุกวัย หรือ ยังมีสัดส่วนสมาชิกในตำบลจำนวนน้อยอยู่

๓.    กระบวนการเรียนรู้หลักคิดสำคัญ และข้อมูลองค์ความรู้ เรื่อง สวัสดิการชุมชน  ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย หรือการเรียนรู้ยังไม่เท่าทันกันในกลุ่มคน  องค์กร หน่วยงาน ทั้งที่เกี่ยวข้อง และภาคีพัฒนาสังคม

๔.    ในแต่ละพื้นที่ตำบลล้วนมีกองทุนต่าง ๆ ที่จัดสวัสดิการอยู่แล้ว  จึงมีแรงจูงใจน้อยที่จะให้ผู้นำชุมชนต่าง ๆ ให้ความสนใจในจะเรียนรู้ความเป็นนวัตกรรมนี้ หรือยังไม่สามารถจะนำวิธีการ แนวทาง หลักการ หลักคิดไปปฏิบัติการได้อย่างง่ายในชุมชน

๕.    เป็นประเด็นงานที่มีแนวทางไปในด้านคุณธรรมมากว่าเชิงอำนาจหรือบุญคุณ “ ให้อย่างมีคุณค่า รับอย่างมีศักดิ์” “เงินเป็นเพียงเครื่องมือ” จึงเป็นงานที่ต้องอาศัยกลุ่มผู้นำที่มีจิตศรัทธา มีความเสียสละ   มีจิตสาธารณะ  จิตอาสา มีคุณธรรมสูง  หรือมีกำลังใจในการนำที่สูง  ในการนำพาชุมชนสู่การจัดตั้งและดำเนินงาน

๖.     เป็นประเด็นงานที่จะต้องมีความต่อเนื่องและยั่งยืนในชุมชน ประกอบกับบทเรียนทางสังคมในอดีตที่มีกลุ่ม องค์กร งานลักษณะบางแห่งนี้ล้มเลิก หรือถูกฉ้อโกง เป็นข่าวลบ    การตัดสินใจนำของผู้นำหรือการตัดสินใจตามของชาวบ้าน  จึงต้องใช้เวลาในการตัดสินใจนาน

๗.    เป็นประเด็นงานที่ต้องดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ทั้งตำบล “ใช้ตำบลเป็นตัวตั้ง” และต้องอาศัยความร่วมมือของสมาชิกจำนวนมากในตำบล   การตัดสินใจดำเนินงานจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในตำบล

๘.    เป็นประเด็นงานที่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากสมาชิกจำนวนมากในตำบล คือ ทุกเพศ ทุกวัย ทุกฐานะ  ที่สมาชิกต้องจ่ายเงินสมทบสร้างสวัสดิการชุมชนปีละ ๓๖๕ บาท “ออมเพื่อให้”  จึงต้องอาศัยความเข้าใจ ความเสียสละ และความศรัทธา ความไว้วางใจกันสูง  และชุมชนต้องมีความสามัคคี ไม่มีความขัดแย้งทางสังคมและการเมือง      ถ้าจะให้เกิด “สังคมสวัสดิการ”  สวัสดิการชุมชนต้องเป็นวิถีชีวิตวัฒนธรรมใหม่ของชุมชนที่เข้มข้น เป็นธรรม เสมอภาค จำต้องอาศัยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างจริงจัง ต่อเนื่อง มีส่วนร่วมอย่างทั่วถึงและมีความสุข

๙.     เป็นกิจกรรมที่ต้องบูรณาการกับความสุข ความพึงพอใจอย่างมาก  โดยใช้เงินเป็นเพียงเครื่องมือในเบื้องต้นเท่านั้น คือ ต้องทำงานกับนามธรรมยิ่งกว่าการให้สวัสดิการที่เป็นเงินเท่านั้น   จึงต้องอาศัยผู้นำองค์กรที่มีความสามารถ มีความคิดสร้างสรรค์เชิงคุณธรรมสูง

๑๐.  ผู้นำที่ฝักใฝ่อำนาจจะไม่ถนัดนักหรือไม่สามารถจะดำเนินงานสวัสดิการชุมชนได้   ต้องอาศัยผู้นำที่ฝักใฝ่คุณธรรมจึงเหมาะแก่การดำเนินงานสวัสดิการชุมชน

๑๑.  ผู้นำชุมชนที่ไม่มีตำแหน่งทางการ จะถูกเพ่งเล็งจากผู้นำที่ตำแหน่งทางการ เมื่อคุณธรรมหรือความคิดเห็นไม่เสมอกัน   อันเป็นปรากฏการณ์ความหวาดระแวงเชิงการเมือง

๑๒.            สวัสดิการชุมชน ยังไม่เป็นนโยบายสาธารณะเต็มพื้นที่จังหวัดสุรินทร์

 

ข้อควรระวังในการขับเคลื่อนงานสวัสดิการ 

๑.            กลุ่มคน/องค์กร ที่มีประวัติเสียหายทางการเงินมาก่อน

๒.          ผู้นำที่ไม่มีประสบการณ์การทำงานเพื่อสังคมมาก่อน

๓.          คนขาดคุณธรรม  ใจไม่กว้างพอ

 

วิสัยทัศน์

“ ออมเพื่อให้ ชุมชนมีสวัสดิการหลากหลาย    คุณภาพชีวิตดีมีคุณธรรม    และพึ่งตนเองได้”

 

ยุทธศาสตร์

๑.       ส่งเสริมให้ชุมชนจัดตั้งกองบุญคุณธรรมเพื่อจัดสวัสดิการชุมชน เต็มพื้นที่จังหวัดสุรินทร์  โดยชุมชนเป็นแกนหลัก

๒.     พัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการกองบุญคุณธรรมเพื่อจัดสวัสดิการชุมชนให้เกิดประสิทธิภาพและเข้มแข็ง

๓.     เชื่อมร้อยและพัฒนาเครือข่ายกองบุญคุณธรรมเพื่อจัดสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์

๔.     เชื่อมประสานภาคีพัฒนาและผลักดันสวัสดิการชุมชนสู่นโยบายสาธารณะทั้งระดับตำบล จังหวัด และระดับชาติ

 

กลยุทธ์

-          ค้นหาแกนนำตำบล   อำเภอ  จังหวัด

-          ค้นหาพื้นที่ดำเนินการ

-          จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

-          ประชาสัมพันธ์

-          พัฒนาสื่อการเรียนรู้ / จัดนิทรรศการ

 

ตัวชี้วัด

-          เกิดกองทุนในการจัดสวัสดิการชุมชน

-          เกิดกองทุนสวัสดิการผู้นำ

-          เชื่อมร้อยสภาองค์กรชุมชน

-          เผยแพร่ข้อมูล

-          มีพลังในการรวมกลุ่ม

-          เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

-          เชื่อมโยงงานประเด็นพื้นที่ภาคีเครือข่ายทุกระดับ

 

 

แผนงานในอนาคต

-          ขยายพื้นที่ใหม่

-          พัฒนาพื้นที่ดำเนินการ

-          จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้/ ศึกษาดูงานกันเองในจังหวัด

-          พัฒนาสื่อการเรียนรู้ / จัดนิทรรศการ

-          ปรับปรุงระบบข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ

-          แก้ไขระเบียบ เรื่อง บำนาญแก่

-          พัฒนาศูนย์การเรียนรู้

-          พัฒนาเครือข่ายให้เข้มแข็ง

-          เชื่อมร้อยเครือข่าย

-          ทำการวิจัยเพื่อขยายเครือข่าย

 

ปรับเปลี่ยนระเบียบข้อบังคับกองบุญคุณธรรมเพื่อจัดสวัสดิการชุมชนตำบล......... เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินการที่เป็นไปได้จริง เป็นไปได้  เป็นปัจจุบัน สอดคล้องกับสถานการณ์ทางสังคม  ชุมชน   ภาวะโลกร้อน  และนโยบายรัฐ ส่งเสริมความเป็นพลเมือง เช่น การเสริมกระบวนการเรียนรู้ให้สมาชิกกองทุนทุกคนได้เข้าใจหลักคิดปรัชญาของกองทุนสวัสดิการชุมชนอย่างถูกต้องและลึกซึ้งด้วยการสื่อความหมายว่า “กองบุญออมเพื่อให้”  พร้อมกับช่วยกันพัฒนาตำบล............ให้เป็นพื้นที่ลด ละ เลิกอบายมุขอย่างจริงจัง  และ เป็นชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง  และให้การจัดสวัสดิการชุมชนนี้เป็นไปได้อย่างยั่งยืน มีการหนุนเสริมความเข้มแข็งแก่องค์กรชุมชนและสถาบันทางสังคมในตำบลอย่างมีพลวัตร ผลักดันให้เป็นหลักสูตรท้องถิ่น

 

 

คณะกรรมการขับเคลื่อนสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ 

----------------------------------------------

                ตามที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมความเข็มแข็งของชุมชน นายกรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนแห่งชาติ  มีที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ  เมื่อการประชุมครั้งที่ 1/2552 วันที่ 4 มีนาคม 2552  ณ  ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ที่ประชุมเห็นให้การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนต้องเป็นยุทธศาสตร์ชาติ และต้องกำหนดเป็นแนวนโยบายแห่งรัฐ คือทำเรื่องความเข้มแข็งของชุมชนให้เป็นวาระแห่งชาติ   เมื่อนายกรัฐมนตรีได้เข้าร่วมประชุมได้กล่าวยืนยันว่า ให้ความสำคัญของงานชุมชน มีการติดตามเป็นพิเศษและผลักดันให้เกิดขึ้น คือ เรื่องสวัสดิการชุมชน

                เพื่อให้การขับเคลื่อนการพัฒนาสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นในจังหวัดสุรินทร์  โดยภาคประชาชนในระดับจังหวัดสุรินทร์เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เกิดประสิทธิผลในการเชื่อมโยงขยายผลทั่วจังหวัดสุรินทร์ประสบผลสำเร็จและดำเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย  จึงให้มีคณะกรรมการขับเคลื่อนสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์  โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

1. องค์ประกอบ

                1.1  พระธรรมโมลี                              เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์                       ที่ปรึกษา
                1.2  พระราชวรคุณ                              เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ (ธ)                   ที่ปรึกษา
          1.3  พระครูพิพิธประชานาถ                                                                                 ที่ปรึกษา
                1.4  ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์                                                     ที่ปรึกษา
                1.5  นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์                                      ที่ปรึกษา
                1.6  พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุรินทร์                 ที่ปรึกษา
                1.7  พัฒนาการจังหวัดสุรินทร์                                                      ที่ปรึกษา
                1.8  ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์  เขต 1-3                     ที่ปรึกษา
                1.9  ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสุรินทร์               ที่ปรึกษา
                1.10 วัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์                                                     ที่ปรึกษา
                1.11  ผู้อำนวยการ กศน. สุรินทร์                                                    ที่ปรึกษา
                1.12  ท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์                                                        ที่ปรึกษา
                1.13  นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์                                        ที่ปรึกษา
   &n
คำสำคัญ (Tags): #สรุปงาน
หมายเลขบันทึก: 306139เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2009 15:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 18:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท