เขาจัดระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนอย่างไร สมศ. จึงประเมินผ่าน ??????


ประเมินผ่าน

เขาจัดระบบการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนอย่างไร 

สมศ. จึงประเมินผ่าน????

            ท่านผู้อ่านและผู้สนใจทุกท่านครับ  ปัจจุบันมีโรงเรียนเป็นจำนวนไม่น้อย ที่ยังจัดระบบการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนไม่เป็น เมื่อมีการประเมินภายนอก รอบ ๒โดยสมศ.จึงไม่ได้รับการรับรอง  ส่งผลให้ผู้บริหารโรงเรียนอึดอัดและเป็นกังวัลเอามาก  แต่ก็มีโรงเรียนเป็นจำนวนมากสามารถจัดระบบประกันคุณภายในโรงเรียนครบสมบูรณ์ ส่งผลให้นักเรียนมีคุณภาพ เมื่อ สมศ.มาประเมินก็ได้รับการรับรองอย่างน่าพอใจ และทุกคนชื่นมื่น
            ลองมาดูแนวทางการจัดระบบประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนอนุบาลปรางค์กู่ โดย ผอ.วัชรินทร์ กอกหวาน ดูซิ 

จัดระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาอย่างไร

 ปัญหา 

ท่านเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน  จากการสำรวจ ปรากฏว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยรวม ต่ำ และการประเมินภายนอกรอบที่ 2 ไม่ผ่านเกณฑ์  ท่านจะวางแผนการประเมินภายนอกรอบที่ 3  อย่างไร

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

            การพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์การประเมินภายนอกของ สมศ. นั้น  ผู้บริหารสถานศึกษา ต้องมีภาวะผู้นำในการบริหารจัดการ  โดยดำเนินการจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ตามกฎกระทรวง  การประกันคุณภาพการศึกษา (Quality Assurance) มีการดำเนินงานโดยยึดหลักการมีส่วนร่วม  8 ประการ ดังนี้

1. การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
2. การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ
3. การจัดทำแผนพัฒนาสถานศึกษาที่มุ่งเน้นคุณภาพการศึกษา
4. การดำเนินงานตามแผนพัฒนาสถานศึกษา
5. การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษา
6. การประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานที่กำหนด
7. การรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี
8. การพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

การพัฒนาคุณภาพการศึกษา เป็นการดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาให้บรรลุถึงมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้ (ทั้งระดับชาติ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน/ปฐมวัย ระดับเขตพื้นที่การศึกษา หรือระดับสถานศึกษาที่กำหนดขึ้นเพิ่มเติมตามบริบท หรือเอกลักษณ์ของสถานศึกษา) หัวใจสำคัญในการพัฒนาคุณภาพ คือ การสร้างจิตสำนึกให้ทุกคนตระหนักถึงความจำเป็นของการทำงานเป็นกลุ่ม  ทำงานอย่างมีระบบ และทุกคนต้องถือเป็นหน้าที่ที่จะปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง จัดทำข้อมูลสารสนเทศในส่วนที่รับผิดชอบ ใช้ข้อมูลสารสนเทศนั้นให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนางานเป็นประจำ มีการเก็บรวบรวมข้อมูล และจัดหมวดหมู่ข้อมูลสารสนเทศอย่างเป็นระบบการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาให้บรรลุถึงมาตรฐานที่กำหนดนั้น ต้องมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ (Strategic Plan) ที่ทุกกิจกรรม / โครงการ / งานมีเป้าหมายเดียวกัน คือ การยกระดับคุณภาพผู้เรียนทุกด้าน  มีการพัฒนาด้านปัจจัยให้สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สรรหาให้เพียงพอ ดูแลรักษาให้ใช้ได้อยู่เสมอและปลอดภัยในการใช้ ประการสำคัญต้องมีระบบและกลไกการปฏิบัติงานตามแผน รวมทั้งติดตามกำกับการดำเนินงานอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง

                กระบวนการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งเป็นกระบวนการทบทวน  กลั่นกรอง  ตรวจสอบ เพื่อให้คุณภาพเกิดผลที่เป็นเลิศ  ผู้บริหารโรงเรียนควรปฏิบัติตามวงจร  P D C A ของ damming ดังนี้

                1.  P  (Plan)  การวางแผน              มีการดำเนินงาน  ดังนี้

         -  สำรวจสภาพปัจจุบันของปัญหาในกรณีปัญหาคุณภาพ (ผลสัมฤทธิ์)ที่ยกขึ้นเป็นหัวข้อเรื่องยังไม่ชัดเจน และหรือเพื่อกำหนดเป้าหมาย

        -  กำหนดขอบเขตของปัญหาให้ชัดเจน และหาสาเหตุที่แท้จริง

        -  กำหนด วิสัยทัศน์  พันธกิจ  กลยุทธ์วัตถุประสงค์  และเป้าหมาย 

        -  กำหนดการประชุมปรึกษาหารือเพื่อวางแผนร่วมกัน

        -  มอบหมายหน้าที่ที่รับผิดชอบให้นักเรียน ครูและบุคลากร

        -  กำหนดวิธีการแก้ไขที่ทำให้บรรลุเป้าหมาย (วิธีเก็บ วิเคราะห์ข้อมูล วิธีการที่จะใช้)

                2.  D  (Do)  ปฏิบัติตามแผน           มีการดำเนินงาน  ดังนี้

                                -  การกำหนดการ  ปฏิทินปฏิบัติงาน

                                -  การแยกแยะกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องการปฏิบัติ

                                -  กำหนดเวลาที่คาดว่าต้องใช้ในกิจกรรมแต่ละอย่าง

                                -  การจัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ

                                -  การจัดการที่ดี

                                -  ดำเนินการตามมติที่ประชุมสมาชิก

                                -  ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย

                                -  เก็บข้อมูล ศึกษาข้อเท็จจริงในสาเหตุของปัญหานั้น ๆ

                3.  C  (Check)  การประเมินผลการปฏิบัติงาน            ทำให้ทราบสภาพการณ์ของงานที่เป็นอยู่ เปรียบเทียบกับ สิ่งที่วางแผน มีการดำเนินงาน  ดังนี้

                                -  กำหนดวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ

                                -  เก็บรวบรวมข้อมูลหลังการดำเนินงาน

                                -  นำข้อมูลมาเปรียบเทียบผลก่อนและหลังการแก้ไข

                                -  เปรียบเทียบผลที่ได้รับกับเป้าหมายที่วางเอาไว้

                                -  ยืนยันผลลัพธ์

                        -  บันทึกผล การรายงานและเสนอผลการประเมิน

                4.  A  (Act)  การแก้ไขปัญหา   หากพบว่าผลการตรวจสอบมีข้อบกพร่องทำให้งานไม่ตรงเป้า ผลงานไม่ได้มาตรฐาน  ให้ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาตามลักษณะปัญหาที่พบ  เพื่อให้ผลงานได้มาตรฐาน  โดยใช้มาตรการดังต่อไปนี้

                                -  การย้ำนโยบาย แนวทางปรัชญา

                                -  ปรับปรุงระบบหรือวิธีการทำงานหรืออุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ให้มีประสิทธิภาพ

                                -  ปรับมาตรฐาน /มาตรการ

-  วางมาตรการทำงานเพื่อไม่ให้ผิดพลาดหรือเกิดปัญหา  ถ้าหากไม่บรรลุตามเป้าหมาย

ให้ร่วมพิจารณาประชุมวางแผนใหม่

การพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี  มีความรู้ และอยู่เป็นสุข นั้น  ควรจะมีปัจจัยสนับสนุน ดังนี้

ผู้บริหารสถานศึกษา จะต้องใช้หลักการบริหารตามแนวทางหลักธรรมาภิบาล หรือระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี (Good Governances)  มี  6  ประการได้แก่   หลักนิติธรรม   หลักคุณธรรม         หลักความโปร่งใส   หลักความมีส่วนร่วม   หลักความรับผิดชอบ  และหลักความคุ้มค่า   

สำหรับด้านครูผู้สอน นั้น นอกจากจะจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวทางปฏิรูปการเรียนรู้แล้ว  จะต้องจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ทั้งด้านวิชาการ  วิชางาน และวิชาชีวิตไปพร้อม ๆ กัน กล่าวคือ

  1. วิชาการ   เป็นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนมีความเป็นสากล รักการอ่านและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เพิ่มพูนทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและการค้นคว้าใช้คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้นำเสนอผลงานโดยประยุกต์ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ด้วยความมั่นใจ และสร้างโอกาสให้เด็กไทยมุ่งความเป็นสากล
  2. วิชางาน  เป็นพื้นฐานในการสร้างงาน สร้างอาชีพ เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะและศักยภาพในการจัดการวิชาชีพที่ถนัดและสนใจ วางแผนการทำงานและคาดการณ์อนาคตได้ การงานอาชีพ และเทคโนโลยี ภูมิปัญญา สามารถนำเทคโนโลยีไปประยุกต์กับภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการ ปรับวิธีคิด วิธีการทำงานได้เหมาะสมกับสภาพเหตุการณ์  และการสร้างงานอาชีพ
  3. วิชาชีวิต  เป็นพื้นฐานในการอยู่ร่วมกันในสังคมรวมทั้งการพัฒนาสุขภาพ  บุคลิกภาพ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการเสริมสร้างทักษะในการดำรงชีวิตในด้านการจัดการดูแลช่วยเหลือตนเอง การมีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีงาม  รักบ้านเกิด  รักท้องถิ่น      รักความเป็นไทย ใช้ภาษาไทยสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ อนุรักษ์สืบสานศิลปะ ประเพณีวัฒนธรรมไทย  รักการออกกำลังกาย  หลีกเลี่ยงยาเสพติด รวมทั้งได้แสดงออกทางด้านดนตรี กีฬาตามความถนัดและความสนใจ

และที่สำคัญยิ่ง  ทั้งสถานศึกษา และครูผู้สอนจะต้องมีการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน นอกจากนี้ต้องสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ทั้งในและนอกห้องเรียน จัดสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นและสื่อการเรียนรู้ รวมทั้งแสวงหาแหล่งการเรียนรู้อื่น ๆ ในชุมชน ตลอดจนใช้   ภูมิปัญญาท้องถิ่น  มีการประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง  ชุมชน  องค์กรเอกชน และหน่วยงานอื่น ๆ ในการส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้เรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพ อันจะนำไปสู่ความสำเร็จแห่ง

การพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดอย่างแท้จริง  เข้มแข็งและยั่งยืน

คำสำคัญ (Tags): #ประเมินผ่าน
หมายเลขบันทึก: 305468เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2009 10:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ให้คำแนะนำที่ดีค่ะ ถ้าผบ.จัดการตามนี้เยี่ยมเลย ขอบคุณ

เป็นกระบวนการที่เยี่ยมยอดค่ะ  เห็นด้วยอย่างยิ่ง  ต้องนำสู่การปฏิบัติถึงจะเกิดผล

เป็นกระบวนการที่เยี่ยมยอดค่ะ  เห็นด้วยอย่างยิ่ง 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท