หลักสูตรการอบรมลูกเสือ A.T.C.


การฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือสามัญขั้นความรู้ชั้นสูง(A.T.C)

 

  วัตถุประสงค์วิชาการผจญภัย

เมื่อจบบทเรียนนี้แล้วผู้เข้ารับการฝึกอบรม ควรจะสามารถ

  . อธิบายหลักการจัดและปฏิบัติกิจกรรมการผจญภัยอย่างปลอดภัยได้

 . ดัดแปลงกิจกรรมผจญภัย นำไปใช้ฝึกอบรมในกองลูกเสือโรงเรียนได้

วิธีการจัดกิจกรรมผจญภัย

  nแนวการจัดกิจกรรมผจญภัย

 - นำเข้าสู่บทเรียน 5 นาที

- บรรยาย 15 นาที

- ปฏิบัติกิจกรรม 8o นาที

- สรุป 20 นาที

ความมุ่งหมายของกิจกรรมการผจญภัย

 เป็นวิชาหนึ่งของลูกเสือที่ท้าทายให้ลูกเสือได้ ใช้กำลังทั้งร่างกายกำลังความคิดร่วมกันคิดแก้ปัญหา ช่วยกันทำอุปกรณ์ในการแก้ปัญหา การตันสินใจของนายหมู่เพื่อให้สามารถนำหมู่ของตนผ่านพ้นเหตุการณ์ที่เผชิญอยู่นั้น ด้วยความสำเร็จและปลอดภัยด้วยกันทุกคน

  ประเภทของกิจกรรมการผจญภัย

 1.กิจกรรมทางน้ำ ได้แก่ กิจกรรมที่จัดในแม่น้ำ ลำ    คลอง ทะเล เป็นต้น

  2. กิจกรรมทางบก ได้แก่ กิจกรรมที่จัดบนพื้นดิน เช่น ข้ามสะพานเชือก ปีนกำแพง เป็นต้น

  3. กิจกรรมทางอากาศ ได้แก่ กิจกรรมที่จัดในที่สูง เช่น การโรยตัว การช่วยเหลือคนจากที่สูงโดยใช้เชือกผูกเงื่อนช่วยให้เกิดความปลอดภัย

  ความปลอดภัยในการจัดกิจกรรม หมายถึง ความสามารถในการควบคุมการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ให้พ้นภัยและปราศจากภัย อันตรายต่าง ๆ อันอาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บพิการหรือ ตายได้

  1. กิจกรรมทางน้ำ จะต้องว่ายน้ำเป็นและรู้จักช่วยคนตกน้ำได้

 1.1 ต้องมีเพื่อนในการปฏิบัติกิจกรรมอย่างน้อย 1 คน

 1.2 ต้องมีผู้ช่วยคอยระวังเหตุอยู่ในบริเวณที่ทำกิจกรรม และสามารถให้การช่วยเหลือ

 1.3 ต้องมีอุปกรณ์สำหรับช่วยเหลือ เช่น แพ ชูชีพ

 1.4 ต้องมีสุขภาพดีแข็งแรง คนที่มีโรคประจำตัว ห้าม ทำกิจกรรมทางน้ำเด็ดขาด

  2. กิจกรรมทางบก เป็นกิจกรรมที่ท้าทายและสนุกสนานสำหรับลูกเสือมาก เช่น สะพานที่สร้างด้วยเชือก

 2.1 ลูกเสือควรแต่งกายรัดกุม

 2.2 ลูกเสือควรสวมรองเท้าผ้าใบหุ้มส้น

 2.3 ลูกเสือต้องมีความมั่นใจที่จะปฏิบัติกิจกรรม นั้น ถ้าไม่มั่นใจอย่าปฏิบัติอาจพลัดตกได้ 

 . กิจกรรมทางอากาศ ส่วนใหญ่เป็นเหตุการณ์สมมุติ เช่น สมมุติให้ลูกเสือเป็นพลร่มกระโดดร่มลงมาค้างบนต้นไม้และหมดสติไป ลูกเสือไปประสบเหตุการณ์จึงเข้าช่วยเหลือ ผู้ที่เข้าช่วยเหลือต้องรู้จักวิธีการใช้เชือกและผูกเงื่อนที่จะใช้ช่วยเหลือคนจากที่สูง

 เพลง ผจญภัย

 ผจญภัย เป็นสื่อนำแห่งความสำเร็จ

 ผจญภัย เป็นเหตุสนุกสนาน

 ผจญภัย ทำให้ใจเบิกบาน

 ผจญภัย สร้างงานและสามัคคี

  สามัคคีร่วมใจ

 สามัคคีร่วมใจ  เร็วไวมาช่วยกันทำการงาน

ให้สุขสำราญเริงใจ  มาช่วยกันนะทรามวัย

จะได้เสร็จทันใด  ใครๆ ก็พากันยกย่อง

พิธีการสำคัญของลูกเสือ

  วันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ

วัตถุประสงค์

  •เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทย เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2454

 เพื่อถวายความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ประมุขของคณะลูกเสือแห่งชาติ

  ข้อปฏิบัติในพิธีการทบทวนคำปฏิญาณและสวนสนามของลูกเสือ
วันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ
ณ สนามศุภชลาศัย สนามกีฬาแห่งชาติ วันที่ ๑ กรกฎาคม
ในส่วนกลาง

  ๑ กองลูกเสือที่สวนสนาม ตั้งแถวในสนามศุภชลาศัย สนามกีฬาแห่งชาติ ประกอบด้วย ลูกเสือ – เนตรนารีสำรอง, ลูกเสือ –      เนตรนารีพิเศษ, ลูกเสือ – เนตรนารีสามัญ, ลูกเสือ – เนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่, ลูกเสือ – เนตรนารีวิสามัญ, ลูกเสือ – เนตรนารี เหล่าสมุทร, ลูกเสือ – เนตรนารีเหล่าอากาศ สมาชิกผู้บำเพ็ญประโยชน์ ลูกเสือชาวบ้าน กองลูกเสือ – เนตรนารีที่ชนะเลิศการประกวดระเบียบแถวลูกเสือในระดับจังหวัด เข้าที่ให้เรียบร้อย    ก่อนเวลาที่ประธานในพิธีจะเสด็จพระราชดำเนินมาถึง

  ๒. พิธีเชิญธงคณะลูกเสือแห่งชาติ เข้าสู่สนามศุภชลาศัย สนามกีฬาแห่งชาติ ๓. เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาถึง             ผู้บังคับขบวนสวนสนามสั่ง    “ลูกเสือ-ตรง” “ถวายความเคารพ     แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” “ตรงหน้า,ระวัง” “วันทยา-วุธ”              วงดุริยางค์ลูกเสือบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี -ลูกเสือในแถวที่ไม่มีไม้พลอง หรือไม้ง่าม ถวายความเคารพด้วย    ท่าตรง -ลูกเสือในแถวที่มีไม้พลอง หรือไม้ง่าม ถวายความเคารพด้วย        ท่าวันทยาวุธ -ผู้บังคับบัญชาลูกเสือที่ควบคุมแถวที่ไม่มีไม้ถือ ถวายความเคารพด้วยท่าวันทยหัตถ์

  -ผู้บังคับบัญชาลูกเสือที่ควบคุมแถวที่มีไม้ถือ ถวายความเคารพด้วยท่าวันทยาวุธ

 -ผู้บังคับบัญชาลูกเสือที่อยู่ในแถวกองบังคับการผสม ถวายความเคารพด้วยท่าวันทยหัตถ์ -ผู้เชิญธงคณะลูกเสือแห่งชาติ และธงประจำกองลูกเสือ ถวายความเคารพด้วยท่าธง (โรยธง)  เมื่อจบเพลงสรรเสริญพระบารมี ผู้บังคับขบวนสวนสนามสั่ง        “เรียบ – อาวุธ” “ตามระเบียบ, พัก”

 -ลูกเสือทุกคนเรียบอาวุธ และอยู่ในท่าพักตามระเบียบ (ยกเว้นผู้ถือธงและผู้บังคับบัญชาลูกเสือที่มีไม้ถือให้อยู่ในท่าตรงและหย่อนเข่าขวา

  ๓. สภานายกสภาลูกเสือแห่งชาติ กราบบังคมทูลรายงานกิจการลูกเสือในรอบปี

๔. ประธานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ กราบบังคมทูลเบิกตัวผู้เข้ารับพระราชทานเหรียญลูกเสือสรรเสริญ

๕. เลขาธิการคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ นำลูกเสือกล่าวคำปฏิญาณ

  ๕.๑  การปฏิญาณตนของลูกเสือสำรอง     เลขาธิการคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ถวายความเคารพแล้วสั่ง    “ลูกเสือเตรียมกล่าวคำปฏิญาณ , ตรง”   “ลูกเสือสำรองกล่าวคำปฏิญาณตามข้าพเจ้า”  (เลขาธิการฯ แสดงรหัสของลูกเสือ) -  ลูกเสือและผู้บังคับบัญชาลูกเสือทุกประเภทแสดงรหัสของลูกเสือ (๓ นิ้ว) เว้นแต่ลูกเสือสำรองแสดงความเคารพตามแบบลูกเสือสำรอง(วันทยหัตถ์ ๒ นิ้ว) ลูกเสือที่ถือไม้พลองหรือไม้ง่าม ยกไม้พลองหรือไม้ง่ามมาไว้ที่กึ่งกลางระหว่างปลายเท้าทั้งสอง        ไม้พลองหรือไม้ง่ามส่วนบนพิงแขนซ้ายด้านใน ซึ่งงอข้อศอกทำมุม ๙๐ องศา ชิดลำตัว ฝ่ามือแบหงาย ลูกเสือและผู้บังคับบัญชาลูกเสือทุกคนที่ไปร่วมพิธียืนขึ้นและแสดงรหัส เว้นแต่ลูกเสือสำรองที่ไปร่วมพิธี แสดงความเคารพแบบลูกเสือสำรอง

  -เลขาธิการฯ กล่าวนำ ลูกเสือสำรองกล่าวตาม -“ข้าสัญญาว่า/

    ข้อ ๑/ ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ/ ศาสนา/ พระมหากษัตริย์    

    ข้อ ๒/ ข้าจะยึดมั่นในกฎของลูกเสือสำรอง/ และบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่นทุกวัน”/   

จบคำปฏิญาณตนของลูกเสือสำรอง ลูกเสือและผู้บังคับบัญชาลูกเสือทั้งหมด ลดมือลง

 ๕.๒ การปฏิญาณตนของลูกเสือสามัญ สามัญรุ่นใหญ่ วิสามัญ เนตรนารี สมาชิกผู้บำพ็ญประโยชน์ ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ และลูกเสือชาวบ้าน

  -เลขาธิการฯ สั่ง  “ลูกเสือสามัญ ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่       ลูกเสือวิสามัญ เนตรนารี สมาชิกผู้บำเพ็ญประโยชน์ ผู้บังคับบัญชา และลูกเสือชาวบ้าน กล่าวคำปฏิญาณตามข้าพเจ้า” (ลูกเสือและผู้บังคับบัญชาทุกประเภทแสดงรหัส โดยปฏิบัติเช่นเดียวกับการกล่าวคำปฏิญาณของลูกเสือสำรอง) -เลขาธิการฯ แสดงรหัส กล่าวนำ    

 “ด้วยเกียรติของข้า/ข้าสัญญาว่า/    

ข้อ ๑/ ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ/ ศาสนา/ พระมหากษัตริย์/    

ข้อ ๒/ ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ/    

ข้อ ๓/ ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ/    

 เมื่อกล่าวคำปฏิญาณจบ ลูกเสือและผู้บังคับบัญชาลูกเสือทุกคน ลดมือลง แต่ยังคงอยู่ในท่าตรง

   ๖. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราโชวาท เมื่อจบพระบรมราโชวาท ผู้บังคับขบวนสวนสนามสั่ง “ลูกเสือตรงหน้า,ระวัง” “วันทยา – วุธ” วงดุริยางค์ลูกเสือบรรเลงเพลงสรรเสริญ  พระบารมี เมื่อเพลงสรรเสริญพระบารมีจบแล้ว         ผู้บังคับขบวนสวนสนามสั่ง “เรียบ –อาวุธ”

  ๗. การเดินสวนสนาม การเตรียมการจัดริ้วขบวน เป็นไปตามระเบียบและแผนปฏิบัติการสวนสนาม

แตรเดี่ยวเป่าให้สัญญาณเตรียมสวนสนาม ๒ ครั้ง       ผู้บังคับขบวนสวนสนามสั่ง “ลูกเสือเตรียมสวนสนาม”

แตรเดี่ยวเป่าให้สัญญาณหน้าเดิน ๒ ครั้ง   ผู้บังคับขบวนสวนสนามสั่ง “ขวา – หัน” “ปรับขบวนสวนสนาม” “แบก – อาวุธ”    (ลูกเสือที่มีไม้พลองหรือไม้ง่ามให้แบกอาวุธ ลูกเสือทื่ถือธงให้   แบกธง ผู้บังคับบัญชาลูกเสือที่มีไม้ถือให้ทำท่าบ่าอาวุธ)

 ผู้บังคับขบวนสวนสนาม เดินเข้าประจำที่ที่กำหนดไว้ เพื่อเตรียมตัวสวนสนามแล้วสั่ง “หน้า – เดิน”  วงดุริยางค์ลูกเสือบรรเลงเพลงเดินนำขบวน

  การจัดขบวนสวนสนามมีโดยลำดับ ดังนี้

  ๗.๑  แตรเดี่ยวและวงดุริยางค์ลูกเสือออกเดินนำ

 ๗.๒ ธงคณะลูกเสือแห่งชาติ

 ๗.๓ ธงลูกเสือ ๔ ประเภท

๗.๔ ผู้บังคับขบวนสวนสนาม

๗.๕ กองบังคับการผสม - ผู้บังคับบัญชาลูกเสือสำรอง  - ผู้บังคับบัญชาลูกเสือสามัญ  - ผู้บังคับบัญชาลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่  - ผู้บังคับบัญชาลูกเสือวิสามัญ  - ผู้บังคับบัญชาลูกเสือเหล่าสมุทร  - ผู้บังคับบัญชาลูกเสือเหล่าอากาศ

 ๗.๖ หน่วยหรือกองพันต่างๆ ให้ออกเดินตามแผนผังที่กำหนดไว้   ผู้บังคับขบวนสวนสนาม เมื่อเดินผ่านหน้าที่ประทับไปแล้ว     (ธงที่ ๓)  ให้แยกออกจากแถวขบวน แล้วเลี้ยวขวาไปหยุดยืนอยู่ตรงแท่นถวายความเคารพ ยืนถวายความเคารพตลอดเวลา    จนขบวนสวนสนามผ่านพ้นไปหมดแล้ว จึงเลิกการถวายความเคารพ และเดินตามขบวนออกไป                                     ส่วนผู้บังคับหน่วยแต่ละหน่วยนั้น เมื่อเดินผ่านหน้าที่ประทับ  (ธงที่ ๓) ไปแล้วให้แยกออกจากแถวขบวน เลี้ยวขวาตรงไปหยุดยืนถวายความเคารพ อยู่ทางด้านหลังเยื้องไปทางขวามือของผู้บังคับขบวนสวนสนามจนสิ้นขบวนหน่วยของตนจึงเลิกถวายความเคารพ แล้วเดินตามขบวนหน่วยของตนออกไป

  ๘. การแสดงกิจกรรม เป็นไปตามแผนงานกิจกรรมที่ได้กำหนดไว้ ๙. เมื่อเสร็จกิจกรรมแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินกลับ วงดุริยางค์ลูกเสือบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ทุกคนที่อยู่ในบริเวณพิธียืนถวายความเคารพ

  การแสดงความเคารพในการสวนสนามให้ปฏิบัติ ดังนี้

การทำความเคารพของผู้ถือธง

  ๑.เวลาอยู่กับที่ให้ถือธงด้วยมือขวา โคนคันธงจรดกับพื้นประมาณโคนนิ้วก้อยเท้าขวา คันธงแนบกับลำตัวอยู่ร่องไหล่ขวา เวลาทำความเคารพเมื่อเพลงสรรเสริญพระบารมีบรรเลง ให้ผู้ถือธงทำความเคารพด้วยท่าธงติดต่อกันไป โดยอาศัยคำบอกว่า “ระวัง” ให้ทำข้อ ๑.๑ ทันที่       ๑.๑ ให้ผู้ถือธงใช้มือซ้ายไปจับคันธงชิดมือขวาและเหนือมือขวา แล้วใช้มือซ้ายยกคันธงขึ้นมาในแนวตรงเสมอไหล่ขวา ข้อศอกซ้ายตั้งเป็นมุมฉากกับลำตัว มือขวายังคงเหยียดตรง และจับคันธงไว้ แล้วทำกึ่งขวาหัน

  ๑.๒ เมื่อได้ยินคำสั่ง “วันทยา – วุธ” พร้อมกับบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ให้ผู้ถือธงค่อยๆ ลดปลายคันธงลงไปทางไหล่ซ้ายอย่างช้าๆ ตามจังหวะของเพลง พร้อมกับเลื่อนมือซ้าย ที่กำคันธงอยู่ในแนวไหล่ขวามาทางด้านไหล่ซ้าย โดยการลดข้อศอกซ้ายลงแนบลำตัว จนคันธงอยู่ในแนวขนานกับพื้น มือซ้ายอยู่เสมอแนวไหล่ซ้ายห่างจากลำตัวเล็กน้อย มือขวาจับคันธงยกขึ้น จนแขนขวาเหยียดตรงไปทางขวามือตามคันธง และให้คันธงวางอยู่บนร่องระหว่างนี้วหัวแม่มือ  และนิ้วชี้ของมือขวา  (เมื่อเพลงบรรเลงไปได้ครึ่งเพลง)

  ๑.๓ ครั้งแล้วให้ยกปลายคันธงกลับขึ้นในท่าเคารพช้าๆ ให้ได้จังหวะเช่นเดียวกับขาลง โดยใช้มือขวากดโคนคันธงลงจนคันธงตั้งตรง และแขนขวาแนบลำตัว แล้วทำกึ่งซ้ายหันกลับ เมื่อเพลงสรรเสริญพระบารมีบรรเลงจบ ๑.๔ เมื่อได้ยินคำสั่ง “เรียบ – อาวุธ” ให้ลดคันธงลงในท่าตรงยกมือซ้ายกลับเข้าที่เดิม

  ๒. เวลาเคลื่อนที่ ให้แบกธงด้วยบ่าขวา ยกธงขึ้นด้วยมือขวาและใช้มือซ้ายช่วย นำคันธงขึ้นพาดบนบ่าขวา  ต้นคันธงเฉลียงลงเบื้องล่าง ข้อศอกขวาทำมุม ๙๐ องศา กับลำตัวแล้วลดมือซ้ายกลับมาอยู่ที่เดิม

  ๓. การทำความเคารพในขณะเดินสวนสนามให้ปฏิบัติดังนี้ -เมื่อถึงธงที่ ๑ (ธงระวัง) ให้ลดธงลงจากท่าแบกมาแนบลำตัว โดยการเหยียดแขนขวาให้ตึงคันธงตั้งตรง มือขวากำคันธง ยกมือซ้ายมาจับคันธงในแนวไหล่ซ้าย ยกข้อศอกให้ตั้งได้ฉากกับลำตัว

 -เมื่อถึงธงที่ ๒ (ธงทำความเคารพ) ให้เหยียดแขนซ้ายตรงออกไปข้างหน้า มือซ้ายกำคันธงไว้ ให้คันธงเอนไปข้างหน้าประมาณ  ๔๕ องศา มือขวาแนบลำตัว ตาแลตรงไปข้างหน้า ขนานกับพื้น ไม่ต้องสะบัดหน้าไปยังประธานในพิธี

-เมื่อถึงธงที่ ๓ (ธงเลิกทำความเคารพ) ให้ยกธงขึ้นมาอยู่ในท่าแบกธงตามเดิม และลดมือซ้ายลงแกว่งแขนตามปกติ 

 ด้านหน้าที่ประทับ (หรือด้านหน้าองค์ประธานในพิธี) จงมีธงเป็นเครื่องหมายอยู่ ๓ ธง ธงที่ ๑ คือ ธงระวัง (สีเหลือง) ธงที่ ๒ ธงทำความเคารพ (สีแดง) ธงที่ ๓ ธงเลิกทำความเคารพ (สีเขียว)

  vลูกเสือในแถวเมื่อได้ยินคำสั่งว่า “แลขวา – ทำ” ให้ทุกคนสะบัดหน้าไปยังประธานในพิธีจนถึงธงที่ ๓ จึงสะบัดหน้ากลับ แล้วเดิมตามปกติ ยกเว้นคนที่ขวาสุดของแต่ละแถว ไม่ต้องสะบัดหน้า คงมองตรงไปข้างหน้าขนานกับพื้น ลูกเสือที่มีไม้พลองหรือไม้ง่าม เวลาสะบัดหน้าต้องแกว่งแขนด้วย ส่วนลูกเสือที่ไม่มีไม้พลองหรือไม้ง่าม เวลาสะบัดหน้า แขนทั้ง ๒ ข้างไม่แกว่ง   ลูกเสือเมื่อได้ยินคำสั่ง “แลขวา – ทำ” ให้ทุกคนทำ แม้แต่ตนจะยังไม่ถึงธงที่ ๒ ก็ตาม แต่เมื่อถึงธงที่ ๓ ตับใดถึงก่อนก็ให้สะบัดหน้ากลับโดยอัตโนมัติ

  vผู้บังคับบัญชาลูกเสือที่ไม่มีไม้ถือและผู้ควบคุมแถว เมื่อถึงธงที่ ๒ ให้ทำ วันทยหัตถ์พร้อมกับสะบัดหน้าไปยังประธานในพิธี แขนไม่แกว่งจนถึงธงที่ ๓ จึงสะบัดหน้ากลับ และเดินแกว่งแขนตามปกติ

  vผู้บังคับบัญชาลูกเสือที่มีไม้ถือ ให้เดินท่าบ่าอาวุธ  เมื่อถึงธงที่ ๑ ให้ยกไม้ขึ้นมาเสมอปาก ห่างจากปากประมาณ ๑ ฝ่ามือ(แขนซ้ายยังแกว่งอยู่) ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ เมื่อถึงธงที่ ๒  ให้ทำท่าวันทยาวุธ พร้อมกับสะบัดหน้าไปยังประธานในพิธี (แขนซ้ายไม่แกว่ง) จนถึงธงที่ ๓ จึงสะบัดหน้ากลับ ยกไม้ขึ้นเสมอปาก แล้วลดลง ในท่าบ่าอาวุธและเดินแกว่งแขนตามปกติ

  qรองผู้กำกับลูกเสือ (ที่เดินควบคุมแถว) เมื่อถึงธงที่ ๑ ให้สั่ง “ระวัง” ให้แถวลูกเสือเดินเข้าระเบียบอย่างดีที่สุด และเมื่อใกล้ถึงธงที่ ๒ ให้รองผู้กำกับสั่ง “แลขวา – ทำ” ขณะเดียวกัน ให้ผู้สั่งทำความเคารพพร้อมกับคำว่า ”ทำ” เมื่อถึงธงที่ ๒ (ตัวเองทำวันทยาวุธถ้ามีไม้ถือ ถ้าไม่มีไม้ถือให้ทำวันทยหัตถ์) พร้อมกับสะบัดหน้าไปยังประธานในพิธีแขนซ้ายไม่แกว่งจนถึง ธงที่ ๓ จึงสะบัดหน้ากลับแล้วเดินแกว่งแขนตามปกติ

  พิธีทบทวนคำปฏิญาณและสวนสนาม เพื่อถวายความจงรักภักดี แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์พระประมุขของคณะลูกเสือแห่งชาติ ในส่วนกลาง กราบบังคมทูลอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ เป็นประธานในพิธี สำหรับต่างจังหวัด จะทำพิธีอัญเชิญธงลูกเสือประจำจังหวัด แทนองค์พระประมุขของคณะลูกเสือแห่งชาติ การแต่งกาย  เครื่องแบบลูกเสือชุดฝึก  ผ้าผูกคอตามสังกัด

  เดินตามปกติ คำบอก       “หน้า – เดิน” การปฏิบัติ   โน้มน้ำหนักตัวไปข้างหน้า พร้อมกับก้าวเท้าซ้ายออกเดินก่อน ขาเหยียดตึง ปลายเท้างุ้มส้นเท้าสูงจากพื้นประมาณ 1 คืบ เมื่อจะวางเท้าและก้าวต่อไป ให้โน้มน้ำหนักตัวไปข้างหน้าตบเต็มฝ่าเท้าอย่างแข็งแรง ทรงตัวศีรษะอยู่ในท่าตรง แกว่งแขนตามธรรมดาเฉียงไปข้างหน้าและข้างหลังพองาม เมื่อแกว่งแขนไปข้างหน้า ข้อศอกงอเล็กน้อย เมื่อแกว่งแขนไปข้างหลัง ให้แขนเหยียดตรงตามธรรมชาติ หันหลังมือออกนอกตัว แบมือให้นิ้วเรียงชิดติดกัน ความยาวของก้าว 40-60 ซม.(นับจากส้นเท้าถึงส้นเท้า) รักษาความยาวของก้าวให้คงที่ อัตราความเร็วในการเดินนาทีละ 90-100 ก้าว

  เดินสวนสนาม คำบอก       “สวนสนาม, หน้า - เดิน” การปฏิบัติ    ก้าวเท้าซ้ายออกเดินก่อนอย่างแข็งแรง ขาซ้ายตึงปลายเท้างุ้ม ยกส้นเท้าสูงจากพื้นประมาณ 1 คืบ ทรงตัวและศีรษะอยู่ในลักษณะท่าตรง แกว่งแขนเฉียงไปข้างหน้า ตรงข้ามกับเท้าที่ก้าว ฝ่ามือผ่านประมาณกึ่งกลางลำตัวเสมอแนวหัวเข็มขัด ห่างจากหัวเข็มขัดประมาณ 1 ฝ่ามือ มือแบนิ้วเรียงชิดกัน แขนท่อนล่างขนานกับพื้นระดับ และแกว่งไปข้างหลัง ให้แขนเหยียดตรงตามธรรมชาติ เมื่อจะวางเท้าและก้าวต่อไป ให้โน้มน้ำหนักตัวไปข้างหน้า และตบเต็มฝ่าเท้าอย่างแข็งแรง ยืดตัวอย่างองอาจ ความยาวของก้าว 40-60 ซม.(นับจากส้นเท้าถึงส้นเท้า) รักษาความยาวของก้าวให้คงที่ อัตราความเร็วในการเดินนาทีละ 90-100 ก้าว

ลักษณะไม้ถือของผู้บังคับบัญชาลูกเสือ

  ต้องมีลักษณะกลม เส้นผ่าศูนย์กลางหัวไม้ 1.8 ซม. กลางไม้ 1.5 ซม. ปลายไม้ 1.2 ซม. ยาว 75 ซม.        ที่หัวไม้และปลายไม้ให้มีปลอกทองเหลืองหุ้มทางด้านหัวยาว 6 ซม. ด้านปลายไม้ยาว 4 ซม. จากหัวไม้ลงมา 12 ซม. ให้ผูกพู่ และจากหัวไม้ลงมา 16 ซม. ให้มีปลอกทองเหลืองเป็นตราคณะลูกเสือแห่งชาติหุ้มอยู่

  การใช้ไม้ถือของผู้บังคับบัญชาลูกเสือ จะใช้ในโอกาสที่จัดแถวลูกเสือในพิธีใดๆ ที่ลูกเสือถือไม้พลองหรือไม้ง่าม ผู้บังคับบัญชาลูกเสือที่คุมแถวก็ต้องถือไม้ถือ(ยกเว้นผู้บังคับบัญชาลูกเสือสำรอง ไม่ต้องถือไม้ถือ) ซึ่งมีวิธีดังต่อไปนี้

  1.วิธีถือไม้ในท่าปกติ  โดยปกติไม้ถือจะหนีบอยู่ในซอกรักแร้ซ้าย แขนซ้ายท่อนบนแนบขนานกับลำตัวหนีบไม้ไว้ แขนซ้ายท่อนล่างเหยียดตรงไปข้างหน้า มือซ้ายกำไม้ถือให้ฝ่ามือหงายขึ้น ห่างจากโคนไม้ประมาณ 1 ฝ่ามือ ให้ไม้ขนานกับพื้น

  2.ท่าบ่าอาวุธ  ใช้มือขวาจับโคนไม้ถือ ให้ฝ่ามือคว่ำลง แล้วนำไม้ถือมาแนบข้างตัวทางขวาในท่าตรง ให้นิ้วทั้งสี่เรียงกันอยู่ด้านนอก หัวแม่มืออยู่ด้านใน ให้โคนไม้อยู่ระหว่างนิ้วชี้กับนิ้วหัวแม่มือ ปลายไม้อยู่แนบร่องไหล่ขวา พร้อมกับปล่อยมือซ้ายลงข้างตัว

  3.ท่าทำการเคารพอยู่กับที่  เมื่อสั่งบอกแถวทำความเคารพ “ทางขวา(ทางซ้าย, หรือตรงหน้า) ระวัง” ผู้ควบคุมแถวใช้มือขวานำไม้ ถือ มาอยู่ในท่าบ่าอาวุธ เมื่อสั่ง “วันทยา – วุธ” ให้ยกไม้ถือขึ้นมาให้ปลายไม้ตั้งตรงนิ้วหัวแม่มือหันเข้าหาตัว ตั้งตรงขึ้นตามไม้ ปลายนิ้วหัวแม่มือเสมอปาก ห่างจากปาก 1 ฝ่ามือ แล้วฟาดปลายไม้ถือและแขนขวาลงอยู่ในท่าตรง มือขวากำโคนไม้ถือ ให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ข้างบน และชี้ปลายนิ้วไปทางปลายไม้ ให้ปลายไม้ถือชี้ตรงไปข้างหน้า และเฉียงห่างจากพื้นประมาณ 1 คืบ

  4.ท่าเรียบอาวุธอยู่กับที่         ท่าเรียบอาวุธ เมื่อสั่ง “ เรียบ – อาวุธ” เมื่อมีคำสั่งว่า “เรียบ” ให้ยกไม้ถือขึ้นมาเสมอปาก แล้วนำลงมาในท่าบ่าอาวุธ และเมือมีคำสั่งว่า “อาวุธ” ให้ยกไม้ถือชูแขนขวาขึ้นเหนือศีรษะ เฉียงไปข้างหน้าทางกึ่งขวาพร้อมกับเอนปลายไม้ลง เหน็บที่ซอกรักแร้ มือซ้ายยกขึ้นกำโคนไม้ถือไว้แล้วปล่อยมือขวาลงในท่าตรงตามเดิม

  ควบคุมแถวลูกเสือเดิน  เมื่อสั่งลูกเสือแบกอาวุธ ผู้บังคับบัญชาลูกเสือต้องอยู่ในท่าบ่าอาวุธ และเดินไปในท่าบ่าอาวุธ จนกว่าจะสั่งให้ลูกเสือเรียบอาวุธ สวนสนาม ถึงธงแรกให้ทำท่าระวัง คือยกไม้ถือจากท่าบ่าอาวุธมาอยู่เสมอปากแขนซ้ายยังคงแกว่งอยู่ เมื่อถึงธงที่ 2 ให้ฟาดไม้ถือลงในท่าวันทยาวุธ พร้อมกับทำแลขวาแขนซ้ายไม่แกว่ง เมื่อถึงธงที่ 3 ให้ยกไม้ถือขึ้นเสมอปาก แล้วลดลงในท่าบ่าอาวุธ สะบัดหน้าตรงและเดินแกว่งแขนต่อไปตามปกติ

ลักษณะพู่ไม้ถือของผู้กำกับ 

  เป็นด้ายหรือไหมพรม สีตามประเภทของลูกเสือหรือตำแหน่งของลูกเสือ ถักเป็นเชือกผูกติดกับไม้ถือ ปลายเชือกยาวข้างละ 6 ซม. ต่อจากปลายเชือกแต่ละข้าง ทำเป็นพู่ยาวข้างละ 7 ซม.ขนาดโตพอสมควร

Øผู้กำกับและรองผู้กำกับลูกเสือสามัญ              เชือกและพู่เป็นสีเขียว

Øผู้กำกับและรองผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ เชือกและพู่เป็นสีเลือดหมู

Øผู้กำกับและรองผู้กำกับลูกเสือวิสามัญ              เชือกและพู่เป็นสีแดง        (ลูกเสือสำรองไม่มีอาวุธ ผู้บังคับบัญชาลูกเสือสำรองไม่มีไม้ถือ)

  การใช้คำบอกคำสั่งในพิธีการทบทวนคำปฏิญาณและสวนสนามของลูกเสือ – เนตรนารี
ในงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ วันที่ ๑ กรกฎาคม
ในส่วนกลาง

  ๑.เมื่อองค์ประธานเสด็จถึงภายในสนาม      ผู้บังคับขบวนสวนสนาม สั่ง “ ลูกเสือ-ตรง”      “ถวายความเคารพแด่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร” “ตรงหน้า,ระวัง” “วันทยา – วุธ”      วงดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี

  ๒.จบเพลงสรรเสริญพระบารมี      ผู้บังคับขบวนสวนสนาม สั่ง “ เรียบ - อาวุธ”      “ตามระเบียบ, พัก” ๓.สภานายกสภาลูกเสือแห่งชาติกราบบังคมทูลรายงานกิจการลูกเสือในรอบปี ๔.ประธานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ    เบิกตัวผู้เข้ารับพระราชทานเหรียญลูกเสือสรรเสริญ ๕.เลขาธิการคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ   นำลูกเสือกล่าวคำปฏิญาณ

  “ลูกเสือเตรียมกล่าวคำปฏิญาณ , ตรง”       “ลูกเสือสำรองกล่าวคำปฏิญาณตามข้าพเจ้า”     “ ข้าสัญญาว่า/    

ข้อ ๑/ ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ/ ศาสนา/ พระมหากษัตริย์/    

 ข้อ ๒/ ข้าจะยึดมั่นในกฎของลูกเสือสำรอง/ และบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่นทุกวัน”/

  ลูกเสือสามัญ, สามัญรุ่นใหญ่, วิสามัญ, เนตรนารี, สมาชิกผู้บำเพ็ญประโยชน์, ผู้บังคับบัญชา และลูกเสือชาวบ้าน กล่าวคำปฏิญาณตามข้าพเจ้า”      “ด้วยเกียรติของข้า/ ข้าสัญญาว่า/    

 ข้อ ๑/ ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ/ ศาสนา/ พระมหากษัตริย์/    

อ ๒/ ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ/    

ข้อ ๓/ ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ

  ๖.สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร พระราชทานพระราโชวาท    ๖.๑ จบพระราโชวาท ผู้บังคับขบวนสวนสนาม สั่ง     “ ลูกเสือตรงหน้า,ระวัง” “วันทยา – วุธ”      วงดุริยางค์ลูกเสือบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี      จบเพลงสรรเสริญพระบารมี      ผู้บังคับขบวนสวนสนาม สั่ง “ เรียบ - อาวุธ” ๗.แตรเดี่ยวเป่าให้สัญญาณเตรียมสวนสนาม ๒ ครั้ง  ผู้บังคับขบวนสวนสนาม สั่ง “ ลูกเสือเตรียมส

คำสำคัญ (Tags): #อบรม a.t.c
หมายเลขบันทึก: 305306เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2009 18:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบคุณครับคุณทูลเพื่อความก้าวหน้าลูกเสือไทย

  • เข้ามาทบทวนคำปฏิญาณเนตรนารีด้วยคน
  • อ่านแล้วอยากกลับไปเป็นเด็ก  อิอิ
  • ขอบคุณค่ะ

ตอนนี้กำลังทำผลงานหากอาจารย์เปิดอบรมอร่วมเป็นวิทยากรด้วยได้ใหมครับ

นายทองใส จันทะรัตน์

พี่แมวส่งข่าวต่างๆน้องบ้าง 0810500806

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท