โครงงานวิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3


รางวัลชนะเลิศการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์  เนื่องในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์

 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี  ระหว่างวันที่ 17-20 สิงหาคม 2552

 --------------------------------------------------------------------------

 ชื่อโครงงาน        :  การศึกษาและเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวัสดุธรรมชาติในการบำบัดน้ำทิ้งจากครัวเรือน

 ผู้จัดทำ              : เด็กชายยุทธภูมิ              สุจารี

 เด็กชายนพเก้า                ทุมรัตน์

 เด็กชายณรงค์เดช           ทาพารักษ์

 ปีการศึกษา        :           2552

 ครูที่ปรึกษา        :        นางสาวอุไรวรรณ            หินทอง

                                นางสาวศศิภา                วันนา

  บทคัดย่อ 

  โครงงาน  เรื่อง การศึกษาและเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวัสดุธรรมชาติในการบำบัดน้ำทิ้งจากครัวเรือน  โดยใช้วัสดุจากพืช  5   ชนิด ได้แก่  ใบสับปะรด  ก้านบัวหลวง  ใยต้นมะพร้าว  ต้นไยราบ  และใบสนทะเล  และวัสดุจากสัตว์ 2  ชนิด  ได้แก่  ขนไก่  และเส้นผม  ทั้งแบบสดและแห้ง  มาทดสอบความสามารถในการบำบัดน้ำทิ้ง   ซึ่งแบ่งการทดลองเป็น  3  การทดลอง  คือ การทดลองที่  1  ศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการดูดซับคราบน้ำมันของวัสดุธรรมชาติแบบสดและแบบแห้ง  พบว่า วัสดุธรรมชาติแบบสดที่มีความสามารถในการดูดซับคราบน้ำมันได้ดีที่สุด  คือ ขนไก่  โดยสามารถดูดซับคราบน้ำมันได้  48.67 มิลลิลิตร จากทั้งหมด  50 มิลลิลิตร (97.33%)  รองลงมาคือ  ใบสนทะเล  39.67  มิลลิลิตร ( 79.33 %)   และใยต้นมะพร้าว  38.67  มิลลิลิตร (77.33%)   ตามลำดับ  สำหรับวัสดุแห้ง ได้แก่ ขนไก่และใบสนทะเล  โดยสามารถดูดซับได้  49.00  มิลลิลิตร ( 98.00%)  รองลงมาคือ  ใยต้นมะพร้าว  41.33  มิลลิลิตร ( 82.67%) และก้านบัวหลวง  40.67 ( 81.33%) ตามลำดับ 

             การทดลองที่  2  ศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการดูดซับสารละลายฟอสเฟตของวัสดุธรรมชาติแบบสดและแบบแห้ง  พบว่า  วัสดุธรรมชาติแบบสดที่มีความสามารถในการดูดซับสารฟอสเฟตได้ดีที่สุด  คือใบสนทะเล   โดยสามารถดูดซับได้  0.59 ppm จากเดิม  0.60 ppm  (98.61%)  รองลงมาคือ  ใบสับปะรด  0.58  ppm  (97.22%)  และเส้นผม  0.53  มิลลิลิตร  (87.50%)  ตามลำดับ  ส่วนวัสดุที่ไม่ดูดซับฟอสเฟต คือ ขนไก่  สำหรับวัสดุแบบแห้ง  ได้แก่ ใบสับปะรด  และก้านบัวหลวง  โดยสามารถดูดซับได้  0.59 ppm (98.61%) รองลงมาคือ  ใบสนทะเล  0.58  มิลลิลิตร (95.83%)  และต้นไมยราบ 0.47  ppm (77.78%) ตามลำดับ  ส่วนวัสดุที่ไม่ดูดซับฟอสเฟต คือ ขนไก่

        การทดลองที่  3  ศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางเคมีของน้ำทิ้งโดยใช้วัสดุธรรมชาติแบบสดและแบบแห้ง  พบว่า วัสดุธรรมชาติแบบสดที่มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงค่าออกซิเจนละลายน้ำ (DO) ค่า pH และอุณหภูมิ ให้มีคุณภาพดีขึ้น  ได้แก่    ใบสนทะเล  และเส้นผม  ซึ่งทำให้น้ำมีค่าออกซิเจนละลายในน้ำเพิ่มขึ้นจาก  2.00  ppm  เป็น 8.00  ppm  สำหรับวัสดุแห้ง ได้แก่  ใบสับปะรด  ก้านบัวหลวง ใยต้นมะพร้าว ใบสนทะเล  และเส้นผม  ซึ่งทำให้น้ำมีค่าออกซิเจนละลายในน้ำเพิ่มขึ้น  ส่วนวัสดุที่ทำให้ค่าออกซิเจนละลาย (DO) ลดลงคือ  ต้นไมยราบและขนไก่  ดังนั้นจะเห็นได้ว่าวัสดุจากธรรมชาติที่มีเส้นใยสามารถบำบัดน้ำทิ้งให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน  ก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำซึ่งจะทำให้ช่วยรักษาคุณภาพของแหล่งน้ำและสิ่งมีชีวิตในน้ำด้วย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 305238เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2009 14:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

เก่งมากเลยค่ะ ขอแสดงความยินดีด้วย

ทำบล็อคได้ดีครับ มีภาพประกอบด้วย จะให้ดีควรลดขนาดภาพเสียก่อนค่อย อัพโหลดนะจ๊ะ

  • โครงงานเป็นการเรียนรู้ที่ยั่งยืนในชีวิตจริงของเด็กๆครับ ดีใจแทนเด็กๆที่ได้รับโอกาส..
  • ขอบคุณความรู้ดีๆครับ

-  ร่วมแสดงความยินดีกับนักเรียนทั้งสามหนุ่ม และคณะครูที่ให้การสนับสนุนและการช่วยเหลือทุกท่านค่ะ

-  ครูนกฝากถามหน่อยนะค่ะ..ทำไมเด็กถึงได้เลือกใช้วัสดุต่อไปนี้ละค่ะ "ใบสับปะรด  ก้านบัวหลวง  ใยต้นมะพร้าว  ต้นไยราบ  และใบสนทะเล  และวัสดุจากสัตว์ 2  ชนิด  ได้แก่  ขนไก่  และเส้นผม  ทั้งแบบสดและแห้ง"

 

 

สวัสดีค่ะ นักเรียนคนเก่ง

ขอให้ชนะระดับประเทศนะคะ

 

ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาทักทายและให้กำลังใจนะคะ เพิ่งเป็นสมาชิกใหม่ของ gotoknow แนะนำด้วยนะคะ

ขอตอบครูนกแทนเด็กๆแล้วกันนะคะ จากที่เด็กเค้าเรียนรู้มาทราบว่าเส้นใยพืชและสัตว์มีคุณสมบัติในการกรองและดูดซับ ก็เลยให้เค้าลองคิดและเลือกใช้วัสดุที่อยู่ใกล้ตัวและสามารถหาได้ง่ายมาทดลอง ซึ่งวัสดุต่างๆที่เลือกมานั้นล้วนพบมากในท้องถิ่น โดยเฉพาะใบสน เพราะที่โรงเรียนมีต้นสนจำนวนมากเลยค่ะ ถ้าครูนกสนใจลองให้เด็กทำดูโดยใช้พืชอื่นๆในท้องถิ่นแล้วเปรียบเทียบดูนะคะ อาจจะได้ความรู้ใหม่เกิดขึ้นก็ได้ค่ะ

ขอแสดงความยินดีกับน้องๆๆด้วยนะคราบ

เคยเจอครูอุไรวรรณ ที่อุบล เมื่อปี 42 น่ารักมาก แอบชอบ แต่ไม่กล้าจีบเพราะคิดว่า สวย น่ารัก ขนาดนี้คงมีแฟนแล้ว ตอนนี้ยังเป็นนางสาว นามสกุลเดิม อยู่ เหรอ เสียดายจัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท