เล่า
คุณ ชุติมา อินทรประเสริฐ

Learning Gallery เยี่ยม สคส.


คนเราถ้ารู้ตัวเอง เข้าใจตัวเองมากขึ้น ก็เรียนรู้ได้มากขึ้น ก็สามารถ lead ตัวเองให้เข้ากับสิ่งที่ตัวเองต้องการมากที่สุด

บ่ายวานนี้ (22 พฤษภาคม 2549)  

คุณมยุรา ภักดีรอด และ ดร.นิตยา  นีรนาทโกมล จาก Learning Gallery แวะมาคุยกับ สคส.  อาจารย์ประพนธ์ให้การต้อนรับ   ทั้งสำนักงานเหลือแต่พวก back office  อาจารย์หมอวิจารณ์ และหนุ่มสาว PO ออกปฏิบัติภารกิจ  ......ก็เลยได้รับโอกาส ดีๆ มาเล่าอีกเช่นเคย

(I) เล่า..ที่มา...สักนิด
คุณมยุรา.... รู้จักสคส.และ..อาจารย์ประพนธ์  ครั้งที่ สคส.จัดกิจกรรม KM ที่พิษณุโลก  และเมื่อเร็วๆ นี้ได้เห็นชื่อสคส.ทางรายการ การศึกษาสัญจร ช่อง 11 จึงคิดว่าสิ่งที่ Learning Gallery ทำนี้น่าจะเชื่อมโยงหรือจะเป็นประโยชน์กับการศึกษาบ้านเราได้  ก็เลยขอนัด อ.ประพนธ์แวะมาคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน 

ส่วนตัว ได้ยินคำว่า “Learning Gallery” ก็หูผึ่ง!!!         ....น่าสนใจค่ะ....


Learning Gallery ที่มี proverb ว่า “A wise teacher makes learning a joy!” ใช่มั๊ยน้า? 

.....ไม่ว่านักเรียนจะเรียนวิชาอะไร  มีโหม๊ด..ภาพ...แสง ..สี.. เสียง...นักเรียนก็จะตื่นตาตื่นใจ....เรียกว่าส่องกันทั้งโลก..ทะลุทะลวง...ไปยังอวกาศ...(to learn, to explore, to understand; from the microscope to the comic…) 

ที่คิดเองทั้งหมด...นั้น...ไม่ใช่ค่ะ!

Learning Gallery ของคุณมยุรา และดร.นิตยามานำเสนอ............  เป็น

เครื่องมือ “ EMERGENETICS ”   สำหรับทำ “Self Assessment”   

Emergenetics มาจาก “Emerge + Genetics” ซึ่งนำเรื่อง “ทฤษฎีสมอง” มาเกี่ยวข้อง
ทฤษฎีสมอง ที่เราคุ้นๆ กัน  ก็พระเจ้าสร้างให้สมองคนเรามี 2 ซีก ซ้าย-ขวา  ทำหน้าที่ประสานกันอย่างน่าอัศจรรย์ คนจะมีบุคลิกเป็นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับ  คนนั้นใช้สมองซีกไหน จนบางประเทศ เช่น อินเดีย ถึงกับแบ่งคนในสังคม เป็นสองพวก

1)       พวกสมองซีกซ้าย (Left-Brain): คิดเป็นเหตุ เป็นผล  (logic thinking) ต้องมีข้อมูลเชิงตัวเลข กฎเกณฑ์ ระเบียบปฏิบัติ ได้แก่อาชีพ ทนาย นักบัญชี การเงิน เป็นต้น
2)       พวกสมองซีกขวา (Right-Brain): คิดสร้างสรรค์ จินตนาการ งานศิลปะ ไม่ชอบกฏเกณฑ์ ข้อบังคับ ได้แก่อาชีพ ศิลปิน  นักประพันธ์ นักคิดค้นอะไรใหม่ๆ เป็นต้น

(แต่อย่างไรก็ตาม “สมองจะตอบสนองต่อสิ่งที่ผ่านมารอบตัวเราตามประสบการณ์ที่แต่ละคนได้รับมา”)

อีก 3 ระบบของสมองที่นำมาเกี่ยวข้องคือ ส่วนของการเคลื่อนไหว  ความจำ และการเรียนรู้

(II) วิธีการใช้เครื่องมือ “Emergenetics”
หลักการคือ การศึกษาลักษณะการเรียนรู้และพฤติกรรมของคน โดยการใช้หลักสถิติ
1)      ทำแบบทดสอบ เพื่อหา จุดแข็ง และ ข้อจำกัดของตน (strength and limitation)
2)      ป้อนข้อมูลที่ได้เข้าโปรแกรม  ให้วิเคราะห์
ผลที่แสดงออกมา  จะแสดงเป็นกราฟวงกลม และกราฟแท่ง แบ่งตามสัดส่วนจากผลทดสอบ 3  ช่วง  1/3   2/3    และ 3/3   แบ่งเป็น 4 สี และ มีคำอธิบาย  ลักษณะและพฤติกรรมของผู้ที่ทำแบบทดสอบ  และ  ลักษณะและพฤติกรรมของคนนั้นเมื่อเที่ยบกับผู้ที่ทำแบบทดสอบทั่วโลก (กำลังติดต่อคุณมยุราเพื่อขอนำภาพกราฟมาแสดง)

ลักษณะการเรียนรู้
-Analistic: คิดวิเคราะห์ ต้องมีข้อมูลประกอบ
-Structural: ละเอียด เป็นขั้นเป็นตอน  step 1..2…3…
-Social: เรียนรู้จากความสัมพันธ์   คนอื่น  นิทาน
-Conceptual: คิดนอกกรอบ  intuition

พฤติกรรม
-Expressiveness: การแสดงออก
-Assertiveness: มุ่งมั่น
-Flexibility: พร้อมปรับ  ยอมรับการเปลี่ยนแปลง

การเรียนรู้ทัศนคติ/พฤติกรรมคน เชื่อว่าจะสามารถจัดคนให้เข้ากับลักษณะงานได้ (put the right man to the right job….happy ทั้งพนักงาน และ องค์กร) ปกติ คนเราเห็นกันเองแค่ “Tip of the iceberg” มีอะไรข้างล่างอีกมากมาย คนเราถ้ารู้ตัวเอง เข้าใจตัวเองมากขึ้น ก็เรียนรู้ได้มากขึ้น ก็สามารถ lead ตัวเองให้เข้ากับสิ่งที่ตัวเองต้องการมากที่สุด (นึกถึง Osho เลยค่ะ อ.ประพนธ์…รู้ตัวเอง...lead ตัวเอง...แล้วก็ “หลุด”!!!)

คุณมยุราเล่าให้ฟังว่า ได้ใช้ “Emergenetics Tool” แล้วกับ
- Youth For Understand (YFU) เป็นโปรแกรมนักเรียนเรียนแลกเปลี่ยนคล้ายๆ กับ AFS นักเรียนจะต้องมี Profile โดยทำแบบทดสอบเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมใหม่ที่ต้องเรียนรู้
- Grooming before getting a job!
ซึ่งได้ผลดี และอีกโครงการที่กำลังดำเนินการ  ดร.นิตยา เล่าให้ฟังว่า จะเปิดตัว “Assessment Center” ในเดือนมิถุนายน นี้ โดย Assessment Center นี้ เป็นความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยอัชสัมชัญ (ABAC) ให้ผู้สนใจในระดับ ปริญญาโท-เอก ที่อยากจะ ประเมินตัวเอง เมื่อเข้าใจตัวเองมากขึ้น ก็จะทำให้โยงถึงเรื่อง core competency ของตนเองได้ง่ายขึ้น

หลังจากแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รู้เขารู้เราและรู้จักเครื่องมือ ที่จะทำให้รู้เราแบบเป็นเรื่องเป็นราว (ใช้ software)  เวลาก็ผ่านไปเกือบ 2 ชั่วโมง คุณมยุรา ก็จบด้วยคำถาม  ที่ตั้งใจมา...คือเรื่อง “การศึกษา” ที่เป็นปัญหากันมาเนิ่นนาน...แต่ก็แก้กันไม่ได้สักที  คุณมยุราก็ยกคำขวัญ ปี’49 นี้  (ที่หวังว่า) เด็กไทย...ต้อง...
                “คิดเป็น...วิเคราะห์เป็น....ทำเป็น..เน้น..จริยธรรมคุณธรรม”
แล้วคุณมยุราก็เสนอ passion ด้านการศึกษา 3 ส่วน                       

             *Assessment Center    เพื่อรู้จักตัวเอง  วิเคราะห์
             *Development Center  เอาผลมาวางแผนพัฒนาตนเองให้สอดคล้องกับสิ่งที่ตนเองต้องการ
             *Learning Center         เข้าฝึกฝนพัฒนาตนเองภายใต้บรรยากาศแห่งการเรียนรู้

และ ที่สำคัญที่คุณมยุราเน้นคือ ครูต้องปรับ จากการเป็น  Teacher  มาเป็น Assessor และ Developer ส่วนในเรื่อง  how to ทาง Learning Gallery พร้อมที่จะร่วมมือหากมีสถานศึกษาหรือผู้เกี่ยวข้องสนใจ

อาจารย์ประพนธ์ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมในภาคส่วนการศึกษา ที่สคส. มีภาคี และน่าที่จะเกิดความร่วมมือได้ โดย เล่าให้ฟังถึง 2 โรงเรียน ที่เป็น Best Practice  ในเรื่องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และน่าจะมีความพร้อม (เนื่องจากเป็นโรงเรียนเอกชน)   ได้แก่ โรงเรียนเพลินพัฒนาและ โรงเรียนจิระศาสตร์วิทยา  โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนเพลินพัฒนา ที่กำลังดำเนินการเปิดระดับมัธยม ซึ่งอาจทำเป็นต้นแบบ (success story) ได้

…..ค่ะ...ก็สนุกสนาน ได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ  อีกเช่นเคย สคส.ก็คงต้องเอาไปคิด..ปรับ.......ทำต่อ.... (นึกถึงที่บอร์ดของสคส. ท่านอ.สุมน commented  ไว้ อยู่ในรายงานประชุมบอร์ดล่าสุด Link ที่มี 3 ข้อ ที่เราดำเนินการแล้วแต่ยังไม่สำเร็จน่ะค่ะ 
             1.การเปลี่ยนระบบคิด  -- เรื่องจุดหมายของการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่  *** 
             2.ระบบคิดในการพัฒนาคนและองค์กรยังคงพัฒนาคนโดยต้อง training         ตลอด ยังเปลี่ยนจาก Training เป็น Learning ไม่ได้  ***
             3.ข้อนี้เป็นเรื่อง “การสร้างสุขภาวะทางสังคม”  ที่เราคงต้องหาทางทำต่อ (ยังไม่เกี่ยวข้องเรื่องนี้โดยตรง)
 

หากสนใจ  เครื่องมือ self assessment –“ Emergenetics Tool” คุยต่อ …ได้ที่

Mayura Phakdeerod                                        Dr.Niyaya Neranartkomol
Managing Director                                          Director
Learning Gallery Co., Ltd.                                NWS Co., Ltd.
1124/142 Soi Phaholyothin 32                         550 Soi Patannakarn 44
Phaholyothin Rd., Jatujak                                Suan Luang
Bangkok 10900                                              Bangkok 10250
[email protected]                                    [email protected]

สุดท้าย...อีกนิ๊ดเดียวค่ะ
..อยากจะเชิญชวนผู้ที่มี passion  มีเครื่องไม้ เครื่องมือ เด็ดๆ ที่ใช้แล้ว ...อึ่ม..work work...ก็แวะเวียน...กันมาแลกเปลี่ยน  จะแบบ B2B หรือ เห็นหน้าเห็นตา ..ก็นัดกันมานะคะ


เล่าสู่กันฟัง..............

คำสำคัญ (Tags): #self#assessment#emergenetics#tool
หมายเลขบันทึก: 30458เขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2006 18:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 เมษายน 2012 11:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรื่องบทบาทของครูที่ต้องเปลี่ยนจาก Teacher มาเป็น Assessor และ Developer นั้น ...สงสัยผมคงจะอคติกับคำว่า Developer ...อันเนื่องมาจาก "การพัฒนา" ด้านต่างๆ ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา

...ผมอยากมองผ่านเลนส์ KM ว่า ถ้าครูรู้จักใช้กระบวนการ KM และทำตัวเป็น "ผู้เอื้ออำนวย" คือเป็น Facilitator ที่สามารถ "กวน" และ "กระตุ้น" ให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ โดยที่ครูเองต้องไม่ลืมเป้าหมายใหญ่ ("หัวปลา") ว่ากำลังจะพัฒนาเด็กไปทางไหน ...จะให้เก่งอย่างเดียว หรือว่าเก่งด้วยดีด้วย เพื่อจะได้ไม่ไปผิดทาง

นอกจากนั้นท่านบรรดาครูเหล่านี้จะต้องขยันพอที่จะสร้างคลังความรู้ ("หางปลา") เอาไว้ด้วย หากทำได้แค่นี้ ผมถือว่าน่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ และเป็นการทำบุญให้กับแผ่นดินไทยของเราครับ ครูทั้งหลายจะได้ไม่ต้องไปประชุมเรื่อง "การปฏิรูปการศึกษา" แทนที่จะใช้เวลาอยู่กับนักเรียนครับ

เขียนไปเขียนมาชักยาว ขออนุญาตนำไป post ใน http://beyondKM.gotoknow.org ด้วยนะครับ

I've known K.Mayura for years. She's one of a kind!! I wish all the teachers of English were like her.

Regards,

Pattama

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท