ขอมือเธอหน่อย


ขอมือเธอหน่อย ไว้คอยกระชับให้ชื่นใจ ขอมองตาหน่อย ไว้คอยเตือนเธอเมื่อเหงาใจ ขอใจเธอหน่อย ไว้คอยเป็นแรงผลักดัน ฝันอันยิ่งใหญ่ หากมีหัวใจของเธอ ก็สุขเกินพอ
         ห้องผ่าตัด ให้บริการผ่าตัด  เกี่ยวกับอวัยวะต่าง ๆ  ตามร่างกาย  ถึงแม้ว่าโรงพยาบาลชุมชนจะให้บริการเฉพาะผ่าตัดเล็ก  แต่ในมุมมองของคนที่มารับบริการในแผนกนี้ น้อยรายหรืออาจจะไม่มีเลยที่จะไม่กลัว บางคนแสดงออกมาทางสีหน้า หรือคำพูด และมักตามคำถามว่า  “จะเจ็บไหม?  จะฟื้นไหม? ทำนานไหม?”   บางคน จะมีสีหน้าเรียบเฉย แต่เข้าห้องผ่าตัดแล้ว มีสีหน้าตื่น และกังวล  หรือบางคนบอกว่ากลัวแต่ต้องทำ   เหล่านี้  เจ้าหน้าที่ทีมผ่าตัด รู้และเข้าใจดี  จึงมีการเยี่ยมก่อนผ่าตัดเพื่ออธิบายขั้นตอนการทำ  และทำความคุ้นเคยกับผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกเป็นกันเอง                                                                                            
         ภายในห้องสี่เหลี่ยมแอร์เย็นฉ่ำ  เครื่องปรับอากาศถูกปรับไว้ที่ 25 องศาเซลเซียส   เมื่อผ่านเลยประตูทางเข้าไปในห้อง  ที่มีพื้นที่ใช้สอยขนาด 6 x 6 เมตร  ผนังห้องสีฟ้าอ่อนที่ปูด้วยกระเบื้องทั้งสี่ด้านของผนังห้อง   ทุกคนในห้องประมาณ 5-6  ต่างสาละวนในการทำหน้าที่ของตัวเอง  ไฟกลางห้องแบบรังผึ้งอันใหญ่  มีหลอดไปในนั้นจำนวนมากถูกเปิดและสว่างวาบขึ้นมาทันที  แสงจากหลอดไฟแม้จะหลายดวง  ก็ไม่สามารถที่จะแผ่รังสีความร้อนออกมาทานกับความเย็นของเครื่องปรับอากาศได้  ยามนี้  เมื่อสัมผัสมือของผู้ป่วยจะรู้สึกเย็นมาก
         ผู้ป่วยหญิงรายหนึ่งรับบริการขูดมดลูก  เนื่องจากแท้ง โดยไม่ทราบว่าตนเองตั้งครรภ์ ก่อนทำการผ่าตัดทุกรายจะได้รับการเยี่ยมจากพยาบาลห้องผ่าตัดเพื่อให้คำแนะนำ  และเตรียมพร้อมก่อนรับการผ่าตัด   การเยี่ยมก่อนผ่าตัด มีการให้กำลังใจ เตรียมด้านร่างกาย  และจิตใจ   ผู้ป่วยถามว่าจะเจ็บไหมพี่ ? จะเป็นอย่างไร?  ทำนานไหม?  ข้าพเจ้าอธิบายเกี่ยวกับขั้นตอนการทำ  และ บอกว่าไม่เจ็บเนื่องจาก ไม่รู้สึกตัว   ทำเสร็จแล้ว นอนพัก  รู้สึกตัวดี สามารถรับประทานอาหารได้  ถ้าไม่ทำอาจเป็นอันตราย  และเสียเลือดได้  ผู้ป่วยเข้าใจ แต่ยังมีสีหน้ากังวล ข้าพเจ้าจึงให้กำลังใจ และบอกว่า จะดูแลอย่างใกล้ชิด   แพทย์ผู้ทำมีความชำนาญ ใช้เวลาไม่มาก  ผู้ป่วยยิ้ม
         เมื่อผู้ป่วยเข้าห้องผ่าตัด  ผู้ป่วยมีสีหน้าหวาดกลัว  สายตามมองมาที่ข้าพเจ้าเพียงคนเดียว  ซึ่งข้าพเจ้าประเมินเอาเองว่า  เขาคงรู้จักข้าพเจ้าคนเดียว  เมื่อมองดูทุกคนในห้องผ่าตัดแล้ว  สายตาที่มองมาเหมือนจะบอกกับข้าพเจ้าว่า  “หมอหนูกลัว”     ลำตัวผู้ป่วยเริ่มสั่นเทาเล็กน้อย  ข้าพเจ้ารีบเอามือทั้งสองข้างที่ยังไม่ได้สวมถุงมือสัมผัสกับมือผู้ป่วย  ความเย็นของมือทั้งสองข้างมันถ่ายทอดมายังตัวข้าพเจ้าและเย็นวาบถึงหัวใจ  ว่าเขาต้องการกำลังใจอย่างมาก    พยายามหาที่ยึดเหนี่ยวด้วยการจับมือทั้งของข้าพแน่น  และไม่อยากปล่อย  จนข้าพเจ้าต้องปลอบใจและให้กำลังใจ อยู่ข้างๆ
         “ พี่เจ็บไหม? ”   ผู้ป่วยถาม พร้อมกับมีสีหน้ากังวล ข้าพเจ้าบอกว่าไม่เจ็บ  ไม่รู้สึกตัว  ฉีดยาให้หลับก่อนจึงขูดมดลูก  พร้อมกับลดแอร์ลง  เนื่องจาก ความกลัว และความเย็นอาจเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยตัวสั่นได้   ข้าพเจ้าและทีม พยายามชวนพูดคุย  เพื่อให้ผู้ป่วยคลายความกังวล  ในขณะรอแพทย์ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น   แต่ยังคงมีสีหน้ากังวลเล็กน้อย และตัวสั่น  เป็นพัก ๆ  ก่อนเริ่มทำวิสัญญีพยาบาลฉีดยานอนหลับ ผู้ป่วยเริ่มกลัวอีกครั้ง ข้าพเจ้าแตะมือเพื่อให้กำลังใจและเป็นสัญญาณว่าจะอยู่ใกล้ๆและดูแลอย่างดีตามที่บอกไว้  ผู้ป่วยเรียกข้าพเจ้าว่า  “พี่”  จับมือข้าพเจ้าแน่น  และค่อย ๆ  หลับ  เวลาผ่านไปแพทย์ขูดมดลูกเสร็จ  ผู้ป่วยเริ่มรู้สึกตัว  ข้าพเจ้าเรียกชื่อผู้ป่วย   ผู้ป่วยเริ่มลืมตา  ข้าพเจ้าบอกว่า ขูดมดลูกเสร็จแล้ว  ผู้ป่วยคว้ามือข้าพเจ้าไปกอด ที่หน้าอก   และบอกว่า “ขอบคุณมากพี่”  พูดซ้ำอย่างนี้อยู่หลายครั้ง  และน้ำตาไหล ผู้ป่วยร้องไห้  นั่นเป็นสิ่งที่ข้าพเจ้าตื้นตันใจ  และอมยิ้มเช่นกัน  เล็ก ๆ  น้อย ๆ ของความเข้าใจ   การบริการที่ไม่ใช่แค่หน้าที่ของการทำผ่าตัด  แต่เข้าใจถึงความรู้สึก ถ้าเราเข้าห้องและรับการผ่าตัด เหมือนผู้ป่วย  เราต้องการอะไร?
         ข้าพเจ้าไปเยี่ยมผู้ป่วยวันรุ่งขึ้น ผู้ป่วยมีสีหน้าสดใส แต่งตัว เตรียมกลับบ้าน เมื่อแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้  ผู้ป่วย ยิ้มเมื่อข้าพเจ้าเข้าไป  และขอบคุณ หลายครั้ง  ข้าพเจ้ายิ้มเช่นกัน และให้ความรู้ในการปฏิบัติตัว หลังทำผ่าตัด  ข้าพเจ้าถามว่า ตอนนั้นรู้สึกอย่างไร?  เจ็บไหม?  ผู้ป่วยตอบว่า ไม่เจ็บ  ไม่รู้สึกตัว  แต่กลัวมาก
คุณค่าของความช่วยเหลือ การทำความดี   บางครั้ง ก็สอดแทรกอยู่ในงานที่ทำ ไม่เพียงแค่ ทำตามหน้าที่  แต่ทำตามหน้าที่บวกใจ   การเข้าใจ   ก็สามารถช่วยคนๆหนึ่ง ที่ตกอยู่ในความทุกข์  ความหวาดกลัว  จากสิ่งที่เขากำลังเผชิญ  ให้หลุดพ้น  เท่านี้  ก็ทำให้เกิดสิ่งดี ๆ  มิตรภาพ  ความรู้สึกดี ๆ  ระหว่างผู้ป่วย  เจ้าหน้าที่  และโรงพยาบาล 

                               เรื่องโดย   วีรยา  ด่านเสนา   หัวหน้างานห้องผ่าตัด

คำสำคัญ (Tags): #sha narrative
หมายเลขบันทึก: 303770เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2009 01:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะ มาเยี่ยมเยียนคน OR เช่นกันค่ะ

ขอบคุณเรื่องราวดีดี

  • เป็นกำลังใจจากผู้ทำงานจริงๆๆ
  • ขอบคุณพี่วีรยาที่แบ่งปันนะครับ
  • เอามาฟ้อง

24.

อย่าบอก อ.addy นะคะ กลัวใจน้อย แค่จะบอกว่าอ.addy เขียนเก่ง และ update เสมอ คือว่าจะชมน่ะค่ะ กลัวจะแปลเป็นอย่างอื่น ว้า! แย่จังเลยเรา

  • วันที่ ไปสรุปงานทำอะไรบ้างครับ

เธอห่างไป ไม่เห็นหน้า

แต่เวลา ก็จัดให้

ฝากเรื่องราว ดีดีไว้

เพื่อใครๆ ที่ติดตาม

เพียงห่างกาย ใจใกล้อยู่ ไ

ด้รับรู้ ไม่ต้องถาม

ส่งถึงกัน ทุกโมงยาม

นี่คือความ เป็นน้ำชา....

รักนะ จุ๊บ จุ๊บ

555

from     behind the mountain

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาให้กำลังใจชาว SHA โรงพยาบาลแก่งคอย
  • ผู้ให้บริการที่ดีต้องให้ในสิ่งที่นอกเหนือหน้าที่เสมอ
  • ชื่นชมค่ะ

กลับมาแล้วจ้าน้อง jaja

กลับกล่องเรื่องเล่ามากมาย

แต่ลงไม่ทันอีกแย้ว

  • ขอบคุณค่ะคุณ AJ ดีใจจังเลยพบชาว OR ด้วยกัน
  • ขอบคุณค่ะ อ.ขจิต  ได้ยินแต่น้องน้ำชาและทีมงานพูดถึง  คงมีโอกาสได้พบกันบ้างนะคะ
  • ขอบคุณค่ะคุณบุษรา 
  • ขอบคุณ sha-รพ.แก่งคอย ที่นำเรื่องราวจากมุมเล็กที่ภูมิใจมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท