น้ำใจ (ยังอยู่) สู้ภัยสึนามิ : การสร้างเครือข่าย NGO ที่เริ่มจากศูนย์ (2) มองเชิงกลยุทธ์


ถอด 14 กลยุทธ์

จากตอนที่แล้ว สรุปประเด็นในการสร้างทีมงานร่วมโครงการเพื่อสังคม น้ำใจ (ยังอยู่) สู้ภัยสึนามิ ในเชิงกลยุทธ์ของศศิพร ครูประถมแห่งกาฬสินธุ์ครับ

1. เริ่มจากการอ่านบล็อกของคุณณฐยา ผู้ประสบเหตุ สึมานิ แล้วเขียนถ่ายทอดสิ่งที่เกิดขึ้น เพื่อไม่อยากให้หลายคนลืมเลือน เมื่อเวลาผ่านไป

2. ศศิพร ประทับใจ และอยากมีส่วนช่วยเหลือ ทั้งๆที่ไม่เคยสนใจเหตุการณ์สึมานิมาก่อน

3. ไม่มีทุน แต่อยากช่วยเหลือ คิดที่จะสร้างทีมงาน แต่ในหมู่บ้าน ไม่มีใครได้อ่านบันทึกชิ้นนั้น อย่างเธอ

4. สร้างแนวร่วม และการยอมรับ เข้าไปสร้างมิตรภาพ comment  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยความสนิทสนทคุ้นเคย กับผู้เขียนบันทึก จนรู้จักกันดี  อีกด้านหนึ่ง ชวนเด็กวัยรุ่นไปเรียนคอมพิวเตอร์ แล้วสอนให้ทำ E-book

5. กระตุ้นให้กลุ่มเด็ก แข่งกันออกแบบหนังสือ ตกแต่ง E--book ให้เล่าเนื้อหาใน E-book ให้ฟังว่า ประทับใจบทไหน เพื่อให้เด็กวัยรุ่น อ่านเนื้อหาด้วยความกระตือรือร้น ใฝ่เรียนรู้

6. จับกลุ่มวิเคราะห์เนื้อหา ประเมินผลการทำ E-book แจ้งข้อบกพร่อง เทคนิคต่างๆ มาถึงขั้นตอนนี้ เด็กหลายคนมีทักษะเพิ่มขึ้น

7. ติดต่อเพื่อน ให้นำ E-book ไปเผยแพร่ใน Internet เพื่อนำเสนอผลงานการทำ E-book ของเด็กๆ โดยเฉพาะแจ้งให้เจ้าของเนื้อหาได้รับทราบ เป็นการสร้างความประทับใจระหว่าง 2 ฝ่าย

8. เมื่อเจ้าของเนื้อหา เขียนชื่นชม ก็นำข้อความนั้น ไปให้เด็กวัยรุ่นในกลุ่มได้อ่าน สร้างความรู้สึกร่วมกัน

9. เปิดตัวเอง โดยการเขียนเล่า การทำงานเพื่อสังคมกับเด็ก เยาวชนในพื้นที่ให้คุณณฐยาฟัง  เพื่อให้เธอมองเห็นแนวทางในการทำงาน

10. คุณณฐยา เจ้าของบันทึกสึนามิ  ได้ซื้อหนังสือที่มีภาพ สีสวยงามจากต่างประเทศ มาบริจาคให้เด็กในพื้นที่ประสบภัยสึนามิ และไม่ลืมที่จะส่งหนังสือส่วนหนึ่ง มาที่กาฬสินธุ์ เพราะระลึกถึงเด็กๆและเยาชนในพื้นที่ของคุณศศิพร ที่กาฬสินธุ์  (เครือข่ย เริ่มเชื่อมโยงกันแล้ว)

11. คุณณฐยา เขียนเล่าถึงความฝัน โครงการที่อยากทำต่อไป คุณศศิพร เสนอทำ E-book แล้วตีพิมพ์เป็นหนังสือ เพื่อไปบริจาคให้เด็กๆในพื้นที่ ซึ่งเด็กๆในทีมของคุณศศิพร ขอมีส่วนร่วมผลิตด้วย

12. คุณณฐยา จะเป็นผู้หาทุนมาผลิตหนังสือทำมือ ทีมคุณศศิพรเป็นฝ่ายผลิต แล้วส่งข้อมูล ขั้นตอนต่างๆให้คุณณฐยา ตัดสินใจในขั้นสุดท้าย ทั้งกำหนดเวลา ขั้นตอนต่างๆ ในการทำโครงการร่วมกัน

13. คุณณฐยา มองหาแนวร่วม องค์กรเอกชนอื่นๆ ที่สามารถจะดูแลเด็กกำพร้าในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะมองไกล อยากให้โครงการที่จะทำมีความต่อเนื่องและยั่งยืนในอนาคต

14. ศศิพรและทีมงาน วางแผนที่จะไปร่วมกิจกรรมกับคุณณฐยา ในช่วงธันวาคม โดยนัดหมายที่ กทม. ก่อนที่จะเดินทางลงไปในพื้นที่พร้อมกับคุณณฐยาต่อไป


ถึงจะอยู่คนละที่  (คุณณฐยา อยู่ต่างประเทศ) แตกต่างกันสุดขั้ว เพียงมีใจเดียวกันในการทำสิ่งดีๆเพื่อสังคม ก็สามารถมาร่วมงานกันได้
 
(ยังมีต่อ)

หมายเลขบันทึก: 30308เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2006 11:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท