เรียนรู้จากการ "ฟัง"


"คนเราจะพูดมากเพื่อให้คนอื่นฟัง แต่จะไม่ตั้งใจฟังเมื่อผู้อื่นพูด"

          เป็นธรรมชาติของการทำงานที่พวกเราทุกคนต่างก็ต้องได้มีการได้พบปะ พูดคุย  ประสานสัมพันธ์กับผู้คนทั้งที่จำเจ หรือบางท่านก็มีโอกาสได้พบเจอผู้คนมากหน้าหลายตา  แตกต่างกันไปตามแต่สถานะและสภาพการงานที่ทำ

          เมื่อผู้คนพบเจอกันไม่ว่าในรูปแบบใด  ต่างก็ต้องอาศัยการพูดคุยกันเพื่อแลกเปลี่ยน  สื่อสารกันเป็นหลัก  และจากประสบการณ์อันน้อยนิดของผมที่ได้มีโอกาสทำงาน  สื่อสารกับผู้คนทั้งในงานหน้าที่และอื่นๆ  สิ่งที่พบเจอบ่อยๆ  และคิดว่าทุกท่านก็คงจะมีประสบการณ์ที่ไม่แตกต่างกันมานักในสังคมบ้านเราก็คือ  ส่วนมากแล้ว

 

    "คนเราจะพูดมากเพื่อให้คนอื่นฟัง แต่จะไม่ตั้งใจฟังเมื่อผู้อื่นพูด"

 

        การพูดมากนั้นเราก็ทราบกันดีแล้ว  แต่การฟังในที่นี้ไม่ได้หมายความว่านั่งฟังเหมือนความหมายโดยทั่วๆ ไป นะครับที่ฟังให้ได้ยินเสียงแบบทะลุหูซ้ายออกหูขวา  แต่หมายถึงเป็นการฟังที่ได้ยิน...

        ทุกครั้งที่ตั้งใจฟังทั้งการสนทนาโดยทั่วไป  และการประชุมในวาระต่างๆ โดยเฉพาะในการประชุมที่มีคนหมู่มาก ผมจะได้ยินเสียงของแต่ละคนที่สื่อออกมาในลักษณะต่างๆ กันอาทิ

 

  • บางคนมักพูดนอกเรื่อง-นอกประเด็นที่เขากำลังคุยกันอยู่ทำให้เสียเวลา

  • หรือไม่ก็ต่อความยาวสาวความยืดออกไป ทั้งๆ ที่เนื้อหามีนิดเดียว

  • พูดมาก....แบบมีแต่น้ำไม่มีเนื้อ

  • พูดอยู่คนเดียว...ไม่เปิดโอกาสให้คนอื่นได้พูดบ้าง

  • บ้างก็พูดเอามัน..(ไปตามอารมณ์ที่ขุ่นมัว)...ไม่รู้ว่าจะใช้คำไหนดี เอาเป็นว่าพูดแบบมีอารมณ์ฯ

  • พูดเรื่อยเปื่อย  ไปแบบน้ำขุ่นๆ

  • พูดเอาแต่ได้...

  • บ้างก็พูดไม่รู้เรื่อง

  • พูดแบบแสดงอำนาจ...

  • พูดพาดพิงผู้อื่นในเชิงลบ...คนอื่นผิด(ฉันไม่เคยบกพร่อง)

  • บ้างก็พูดกันแต่ปัญหา..แต่ไม่เคยคิดหาทางแก้ไข

  • พูดสวนคำ...รีบแก้ตัว  ทั้งๆ ที่คนอื่นยังพูดไม่ทันจบ

  • ฯลฯ

 

         เมื่อก่อนผมก็ไม่ค่อยได้คิดหรือได้ยินเสียง(อารมณ์/เจตนา)ที่แฝงอยู่  จะว่าเป็นเสียงที่ไม่เคยได้ยิน  ไม่เคยสนใจก็ว่าได้  แต่เมื่อได้ตั้งใจฟังแล้ว(นิ่งฟัง)  สิ่งที่ได้เรียนรู้เหล่านี้กลับเป็นผลดีต่อตัวเองเป็นอย่างมาก  เพราะได้ยินเสียงและมองเห็นอารมณ์-เจตนาของคนพูด  ทำให้ต้องย้อนกลับมาดูตัวเราเองว่า "เราเป็นเช่นนั้นหรือไม่"   มีแน่นอนครับ  หลายครั้งและหลายโอกาส  และที่มองไม่เห็นก็น่าจะมีอีกมาก  ...

          แต่ระยะหลังๆ  มานี้ก็เห็นการปรับเปลี่ยนตนเองเช่นกัน เปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้นฟังมากขึ้นและพูดน้อยลง.... โดยตามความคิดไปเสมอๆ ว่าอย่าหลงปล่อยความคิดไปตามอารมณ์หรือเสียงที่พูดเข้ามาเหล่านั้น  ให้แยกแยะ  ชั่งน้ำหนัก แล้วจะทำอย่างไรต่อก็ค่อยๆ คิด.....

 

         เป็นการบันทึกไว้เพื่อสรุปบทเรียนที่ได้เรียนรู้จากการฟัง และที่สำคัญบันทึกเอาไว้เพื่อเตือนตนเองว่า

  • ต้องฟังให้ได้ยิน  มีสติในการฟัง 

  • ให้คิดก่อนที่จะพูด

  • พูดเท่าที่จำเป็น และ

  • พูดอย่างไม่รีบเร่ง

  • พูดในเชิงบวกและสร้างสรรค์อยู่เสมอ

  • และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ฟังที่ดี

  • ฯลฯ

บันทึกมาเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

สิงห์ป่าสัก  2  ตุลาคม  2552

หมายเลขบันทึก: 302603เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2009 09:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (30)

สวัสดีค่ะ

- ฟังอย่างมีสติ

- เก็บอรรถรสจากการฟัง ค่ะ

  • เป็นกระบวนการฟังจริงๆๆด้วย
  • เจอบ่อยเลยครับ
  • พูดแบบใส่อารมณ์
  • ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆ

สวัสดีครับ สิงห์ป่าสัก

  • "คนเราจะพูดมากเพื่อให้คนอื่นฟัง แต่จะไม่ตั้งใจฟังเมื่อผู้อื่นพูด"
  • ชอบประโยคนี้มากเพราะตรงกับผมบ่อยๆ
  • ถ้าเป็นเรื่องที่ไม่อยากฟัง ไม่ตรงกับสิ่งที่ต้องการ
  • เวลาไปเป็นวิทยากร ก็มักจะพูดแบบตามใจคนเชิญ
  • มากกว่าตามใจคนรับฟัง  เรื่องแยะพูดไปเร็ว กลัวไม่จบ
  • มาเดี๋ยวนี้เพิ่งคิดได้ว่ามันไม่เข้าท่าเลยจริงๆ
  • ขอบพระคุณที่นำเรื่องดีดีมาเตื่อนสติ
  • ขอให้ท่านและครอบครัวมีความสุข โชคดีครับ

สวัสดีค่ะ

เห็นด้วยค่ะ

บางครั้งการประชุมไม่สามารถหาข้อสรุปได้เลย เนื่องจากพูดออกนอกประเด็น มีแต่คิดลบ ทำให้คนเข้าประชุมเบื่อการประชุมไปเลย

(*o*)สวัสดีค่ะพี่สิงห์ป่าสัก

(*o*)จริงด้วยค่ะ การพูดต้องระมัดระวังต้องไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนและเสียใจกับคำพูดที่พูดออกไป

(*o*)ขอบคุณพี่สิงห์ป่าสักที่นำข้อมูลดีมาฝากค่ะ

 (*o*)รักษาสุขภาพด้วยนะพี่...คิดถึงค่ะ

น้องสิงห์ มาเป็นตำราการสื่อสาร ทำรายงานส่งอาจารย์ได้เลย โอ ..เยี่ยมมากครับ

คุณครูสิงห์ป่าสัก

  • ธรรมชาติสร้างมาให้คนเรามีสองหู  หนึ่งปาก
  • ดังนั้น..จึงควรฟังให้มาก ๆ
  • แต่..ทำยังไงดีหละ บางครั้งไม่อยากฟัง เรื่องที่ไม่น่าฟัง
  • ขอบคุณสำหรับสิ่งที่ดี ๆ

การฟังเป็นศิลปเฉพาะตัว ต้องฝึกให้เป็นธรรมชาติ ก่อนที่เราจะพูด ใครๆ ก็พูดได้ พูดแล้วจะมีคนฟังหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง จึงอยากให้ฝึกพูดสี่ภาษาค่ะ กาลเทศะเป็นหัวใจสำคัญของการพูดค่ะ

สวัสดีค่ะ

ฟังให้ได้ยิน....

ขอบคุณค่ะ

(^___^)

สวัสดีค่ะ

มาเรียนรู้กระบวนการฟังด้วยคนค่ะ

  • ผู้น้อยส่วนใหญ่ก็ต้องฟังเสียมาก
  • จะแสดงความรู้สึกก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาต
  • นิ่งๆ จะได้อะไรดีๆ หลายอย่าง
  • เข้าใจคน เข้าใจนิสัย แต่คนนิ่งดูยาก

สวัสดีค่ะ

จริงค่ะ

"คนเราจะพูดมากเพื่อให้คนอื่นฟัง แต่จะไม่ตั้งใจฟังเมื่อผู้อื่นพูด"

คงแย่เลยนะคะถ้าในโลกนี้มีแต่คนพูดไม่มีคนฟัง

เพิ่งเจอกับตัวเองมาเมื่อเร็วๆนี้ค่ะ ประโยชน์ของการเป็นผู้ฟัง ^___^

การใช้ความเงียบ,การฟัง เป็นอีกเทคนิคที่จะใช้สื่อสารเพื่อการบำบัด เป็นประโยชน์ในการให้คำปรึกษา

เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาช่วยเหลือผู้ป่วยอีกทางนึงด้วยค่ะ

  • เวลาจะ "ฟัง"
  • คอยเตือน คอยรั้ง
  • "คุณวิจารณ์" ที่อยู่ในตัวเราด้วยนะน้องนะ
  • แล้วจะรู้ว่า "เราเป็นเช่นไร"
  • มาฟัง
  • มาเรียนรู้เพื่อเตือนตนอง
  • สวัสดีครับคุณ เพชรน้อย
  • ฟังดีๆ มีประโยชน์นะครับ
  • ขอบคุณครับที่แวะมาเยี่ยมเยียน
  • สวัสดีครับ อ.ขจิต ฝอยทอง
  • ใส่อารมณ์ดีๆ นะครับ
  • อิอิ
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับ ผอ. ประจักษ์  ปานอินทร์
  • เรียนรู้เพื่อพัฒนานะครับ
  • ขอบพระคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยมเยียนและต่อยอด
  • สวัสดีครับคุณยุวดี
  • นอกประเด็น...
  • เจอบ่อยๆ นะครับ
  • อดทนครับ
  • ฟังดีๆ ก็จะมีมุมคิดดีๆ เพื่อตัวเองนะครับ
  • ขอบคุณที่แวะมาครับ
  • คุณ สารินี ไกรพจน์
  • "การพูดต้องระมัดระวังต้องไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนและเสียใจกับคำพูดที่พูดออกไป "
  • ขอบคุณครับที่แวะมาต่อยอด

 

 

  • ท่าน วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--
  • ต้นปีมักจะพอมีเวลาสรุปบทเรียน
  • เพื่อนำกลับมาพัฒนตนเองในโอกาสต่อๆ ไปเสมอครับ
  • ขอบคุณครับที่แวะมาครับ
  • สวัสดีครับป้า คนเมืองน้ำดำ
  • อดทนครับ
  • อดทนฟัง ก็ได้เรียนรู้และเกิดปัญญาแก่ตัวเรา
  • ขอบคุณที่แวะมาครับ
  • สวัสดีครับ คนไม่มีราก
  • หลายครั้งที่จะฟัง..แต่ไม่ได้ยิน
  • หากฟังแล้วได้ยินก็จะเกิดคุณแก่ต้วเราอย่างมหาศาล
  • ขอบคุณที่แวะมาครับ
  • สวัสดีครับ อ.Lin Hui
  • ใช่เลยครับ
  • การพูดนั้นมีองค์ประกอบอื่นๆ อีกที่พึงมี
  • ยิ้มแย้มแจ่มใส ภาษากาย ภาษาใจ
  • ขอบพระคุณมากครับที่กรุณาเข้ามาต่อเติม
  • สวัสดีครับ อ.ณัฐรดา
  • ขอบพระคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียนครับ
  • สวัสดีครับคุณ Hana
  • ฟังดีๆ มีประโยชน์นะครับ
  • เห็นด้วยครับ...
  • "การใช้ความเงียบ,การฟัง เป็นอีกเทคนิคที่จะใช้สื่อสารเพื่อการบำบัด เป็นประโยชน์ในการให้คำปรึกษา  เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาช่วยเหลือผู้ป่วยอีกทางนึง"
  • บางครั้งการนิ่งก็เป็นยุทธศาสตร์หนึ่งในการอยู่ร่วมในสังคมอย่างมีความสุขนะครับ
  • อิอิ..
  • ขอบคุณที่แวะมาแลกเปลี่ยนครับ
  • สวัสดีครับ หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
  • สำคัญมากนะครับ...คุณวิจารณ์ภายในตัวเรา
  • ต้องเตือนอยู่ตลอดเวลา
  • ขอบพระคุณมากครับ
  • สวัสดีครับท่าน สามสัก
  • ขอบพระคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยมเยียน
  • บางคน พูดๆๆๆ พูดแล้ว พูดอีก เป็นแผ่นเสียงตกร่องไปเลย
  • ท่าน หนุ่ม ร้อยเกาะ
  • บางครั้งการกระทำก็พลอยตกร่องเดิมๆ ไปด้วยนะครับ
  • ขอบพระคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยมเยียน
  • สบายดีนะครับท่าน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท