อัลไซเมอร์หรือขี้ลืม


หากวันหนึ่ง คุณตื่นลืมตาขึ้นมา แล้วจำไม่ได้ว่าคุณคือใคร คุณจะทำอย่างไร

ลองอ่านดูนะคะว่าคุณมีอาการที่เข้าข่ายอัลไซเมอร์หรือแค่หลงลืม (กันแน่)

ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข
ปัจจุบันคนไทยเป็นโรคสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ ประมาณ 218,000 คนโดยอนาคตจะมีผู้สูงอายุที่มีปัญหากลุ่มอาการสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น เพศหญิงเป็นมากกว่าเพศชาย ๒ เท่าคนอเมริกันกว่า ๔.๕ ล้านคนเป็นอัลไซเมอร์และจำนวนเพิ่มขึ้นมากกว่า ๒ เท่านับจากปี ๒๕๒๓ และคาดว่าจะมียอดผู้ป่วยสูงขึ้นอีกในปี ๒๕๙๓จากผลการสำรวจพบว่าประชากรทุก ๑ ใน ๑๐ คน มีผู้ป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์  และทุก ๑ ใน ๓ คน รู้จักผู้ที่ป่วยเป็นอัลไซเมอร์
ข้อมูลจากอายุรแพทย์สมอง
อัลไซเมอร์จัดอยู่ในกลุ่มโรคหลงลืม ซึ่งทั้งสองโรคมีอาการคล้ายคลึงกันมาก
อัลไซเมอร์ เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมสลายของเซลสมอง โดยเกิดในกลุ่มคนที่มีอายุ ๓๐ ปีเป็นต้นไป
โรคหลงลืม เป็นโรคที่สมองผู้ป่วยมีอาการบกพร่องของหน้าที่ในเรื่องวิเคราะห์ประมวลข้อมูล การบริหารจัดการในสิ่งต่างๆ อาทิ การวางแผน การตัดสินใจ การเรียกชื่อ การสร้างประโยค ฯลฯ หรือในส่วนที่เรียกว่า Executive function
อาการหลงลืมถือเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน เช่น ถ้ายังสามารถขับรถไปทำงานได้ถือว่าไม่ใช่โรค
ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ จะไม่สามารถขับรถได้โดยไม่เกิดปัญหา อย่างเช่น ลืมกุญแจรถไว้ในบ้านนึกไม่ออกว่าวางไว้ที่ไหน หรืออาจลืมว่าสตาร์ทรถอย่างไร หรือลืมเส้นทางทั้งที่ใช้เส้นทางนี้มาตลอด ๓๕ ปี
คนที่เข้าขั้นอยู่ในกลุ่มโรคหลงลืม จะมีการลืม  ขาดวิจารณญาณ หลงเวลาและสถานที่ ฯลฯซึ่งมีปริมาณมากจนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันแบบปกติ
สัญญาณที่บอกว่าเป็นอัลไซเมอร์
ลืมเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านไปสดๆร้อนๆจนมีผลเสียต่อการทำงาน
ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆได้
ใช้ถ้อยคำผิดเวลาสื่อสารกับคนอื่น
หลงเวลาและสถานที่
การใช้วิจารณญาณเสียไป
การสูญเสียจินตนาการ
ทำของหายบ่อยๆ
มีการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์และพฤติกรรมอย่างรวดเร็ว
มีอาการหงุดหงิด ซึมเศร้า วิตกกังวล สับสน และกระวนกระวาย
เทคนิคแก้ลืม
ควรฝึกสมองบ่อยๆซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น
อ่านหนังสือ ต้องนึกภาพตามใช้สมอง ๗๐ ถึง ๘๐เปอร์เซนต์
การฟังวิทยุใช้สมอง ๔๐ เปอร์เซนต์
การดูทีวี ใช้สมอง ๑๐ เปอร์เซนต์
ลองเปลี่ยนใส่นาฬิกาสลับข้าง
ปรับการใช้เส้นทาง
คิดเลขในใจ
เรียนรู้สิ่งใหม่ๆทั้งภาษาและเรื่องที่ตนเองสนใจ เล่นเกมส์ที่ต้องใช้สมอง

การหลงลืมที่เกิดชั่วคราว
การไม่ให้ความสนใจ
สมาธิไม่ดี เครียด  อดนอน  มีอะไรต้องทำมากจนทำให้แบ่งความสนใจไปทำสิ่งที่สนใจมากที่สุดก่อน สภาพร่างกายไม่พร้อม อ่อนเพลีย  ทานอาหารไม่ครบ ๕ หมู่  ดื่มสุรา กินยานอนหลับบ่อยๆ
วิธีง่ายๆที่ช่วยให้ดีขึ้น
ทานอาหารให้ครบ ๕ หมู่ โดยเฉพาะสารอาหารบำรุงสมอง เช่น DHA ได้จากเนื้อปลาทะเล  ไข่แดง  คาร์โบไฮเดรต วิตามิน เกลือแร่
การออกกำลังกาย
ตั้งสติในการทำอย่างใดอย่างหนึ่ง

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 30255เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2006 22:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

แวะมาอ่านบันทึกแรก ครับ

อิอิ

  • ตามมาอ่านจ้า 
  • พี่มีนอนดึก ก็เข้าข่าย นะเนี่ย 
  • ไว้จะนำไปใช้นะคะ กลัวเหมือนกัน อัลไซเมอร์
  • อิอิ

กลัวที่สุดเลยค่ะ เรื่องอัลไซเมอร์ เห็นแม่เป็นแล้วสงสารมากค่ะ ดูแม่แล้ว เหมือนเป็นโรคหลงลืม แต่ว่า วิตกกังวล สับสนมากเลย เห็นแล้ว อยากร้องไห้

อ่านหนังสือ แล้วคิดตาม ป้องกันอัลไซเมอร์ได้ใช่มั้ยคะ ป้าแดงอ่านนิยายที่ไร นึกว่าตัวเองเป็นนางเอกทุกที อย่างนี้ไม่รู้จะช่วยเพิ่มอาการรึป่าวค่ะ  :-))

มีอาการหลงลืมจนรู้สึกว่ามากเกินไป ไม่รู้ว่าเป็นด้วยสาเหตุอะไรแต่ระดับความรุนแรงเริ่มเพิ่มขึ้นทุกวันจนคนรอบข้างมองเป็นเรื่องปกติ แต่การหลงลืมมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันมาก ๆ ทำให้ต้องเสียเวลา เสียทรัพย์ อยากหายจากอาการนี้ พยายามศึกษาหาข้อมูลอยู่ให้ตัวเองดีขึ้น ใครมีคำแนะนำที่ดีก็ขอความกรุณาแจ้งกันบ้างนะคะ จะขอบคุณมาก ๆ เลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท