เรียนรู้ KM จากกระจกวิเศษ


ผมจะค้นหา เรียนรู้ KM ต่อไป ทั้งจากการทำงาน(ทั้งทบทวนงานเก่า งานใหม่) การอ่านบันทึก การสังเกต ฯลฯ เพราะแก้วน้ำผมเติมไม่เคยเต็ม

           วันเสาร์-อาทิตย์ (20-21 พฤษภาคม 2549) ที่ผ่านมา ตอนผมเขียนบันทึกนี้ วันจันทร์ที่ 22 พ.ค. 49  ในวันดังกล่าวเมื่อผมมีเวลาจากภาระกิจจำเป็นของวันหยุด  ผมก็จะเตร่มานั่งหน้ากระจกวิเศษ (คอมพิวเตอร์)  ตู้กระจกที่มีความหลากหลายอย่างมหาศาลให้เรียนรู้  สามารถตอบสนอง  ตอบคำถามเมื่อเรามีคำถามในใจ  เราแค่สงสัยกดนิ้วเพียงไม่กี่ครั้งคำตอบจะเกิดขึ้นอย่างมากมายให้เราเลือกและเปรียบเทียบ  ซึ่งคำตอบจะแตกต่างกันไป  เราผู้ถามก็คัดเลือกเอาให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ที่ถามก็แล้วกัน  ช่างวิเศษอะไรอย่างนี้ตู้กระจกเล็ก ๆ นี่  ในขณะเดียวกันก็สามารถให้โทษกับใครก็ได้ที่ใช้มันโดยไม่เข้าใจให้ลึกซึ้ง  เพราะทุกอย่างในโลกมีคู่กันเสมอถ้ามีบวกก็มีลบ  ถ้ามีดีก็ต้องมีเลว 

           ผมเดินทางท่องไปกับกระจกวิเศษนี้  เพื่อค้นหาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ KM เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับตัวเองให้มากขึ้น  เพราะผมจะคิดเสมอว่าผมยังไม่รู้ดีพอจะต้องรู้ให้มากว่าที่เป็นอยู่นี้และรู้แบบเข้าใจและลึกซึ้งด้วย  ไม่เช่นนั้นจะนำไปใช้ยากและเป็นภาระ  แล้วในที่สุดจะมีความรู้สึกที่เป็นลบกับ KM ทันที่  เหมือนดังที่หลายท่านบันทึกไว้ว่า  "มีบางคนมองว่า  KM  เป็นงานที่เข้ามาแทรกงานประจำกลายเป็นภาระที่ต้องทำ" 

           ผมได้เรียนรู้จากบันทึกบอกเล่าของหลาย ๆ ท่าน  ว่า  KM เป็นเครื่องมือที่มาช่วยในการทำงานให้บรรลุตามเป้าที่วางไว้ได้โดยง่าย  (ไม่ใช่เป็นงานที่ต้องทำ ) อย่างมีประสิทธิภาพ  และได้ประสิทธิผล  ผมได้เรียนรู้ว่าความสว่างในความมืดงงของผมมากขึ้นเรื่อย ๆ   

           โมเดลปลาทู   หลายท่านได้บันทึกอธิบาย  ให้ผมเรียนรู้แจ้งขึ้นว่า เป็นเครื่องมือในการสื่อเพื่อความเข้าใจใน KM  โดยได้แบ่งตัวปลาทู(หนึ่งตัว)  เป็น 3 ส่วน

                 ส่วนหัว ส่วนตา : ( KV)  เพ่งมองไปข้างหน้าว่าจะไปทางไหน  ไปทำไมเพื่ออะไร
ซึ่งก็คือมองเป้าของงานในองค์กรว่าเป้าหมายอยู่ที่ไหนคืออะไร
                 ส่วนกลางลำตัว : (KS) เป็นส่วนสำคัญยิ่งเพราะต้องหาความรู้ วิธีการที่จะไปที่เป้าหมายนั้นให้ถึง  โดยต้องค้นหาความรู้และใช้ความรู้จากคนที่เกี่ยวข้องในองค์กรนั้น ๆ มาช่วยเหลือเกื้อกูลกันเพื่อนำพาทุกคนไปสู่จุดหมายให้ได้  คนที่รู้เรื่องวิธีการมากว่าคนอื่นก็ต้องช่วยคนที่รู้น้อยกว่าให้รู้ด้วย  ต่างคนต่างรู้ก็เอามาแบ่งปัน  หากต่างคนต่างไม่รู้ก็มองหาจากข้างนอกเข้ามาซึ่งมีหลายวิธีการ  ในการให้ได้มา
                ส่วนหางปลาทู : (KA) เมื่อรวบรวมความรู้และวิธีการที่มีมากพอที่จะเดินทางไปเป้าหมายแล้ว ก็สรุปเป็นวิธีการสร้างพลังเพื่อการขับเคลื่อนผลักดันในการเดินทาง  ซึ่งแน่นอนว่าปลอดภัย  ถึงที่หมายอย่างมีประสิทธิภาพตามที่ส่วนหัวได้มองไว้

                 โมเดลปลาตะเพียน  ผมเรียนรู้ว่า แม้ว่าลำเรือ "ปลาทู" พร้อมที่จะเดินทางแล่นไปหาเป้าหมายที่มองไว้  แต่หากคนบนเรือปลาทูยังไม่มีความสามัคคีในการเดินทาง  และยังหาผู้นำที่ดีไม่ได้ก็จะขาดพลัง  การเดินทางอาจไปไม่ถึง  หรืออาจถึงช้ากว่ากำหนด  แต่หากสามัคคีมุ่งเป้านั้นแน่ ๆ ใจทุกดวงประสานเป็นหนึ่งแล้วจะถึงทันตามกำหนด  และมีประสิทธิภาพ

                 มุมมองของผมมองว่า  KM  เป็นเครื่องมืออย่างดีที่จะฉุดคนที่ไม่ค่อยกล้าแสดงออก หรือคนที่เขาไม่มีโอกาสได้แสดงความเป็นตัวตนที่แท้จริงของเขาออกมาสามารถแสดงออกมาได้ซึ่งแน่นอนว่าความรู้ที่ซ่อนเร้นที่ถูกปกปิดอยู่จะค่อย ๆ ไหลออกมาให้กับองค์กร 
                 ผมได้ค้นคว้าหาบันทึกเรื่อง KM  มาได้นิดหน่อยเท่านั้นเพราะในบันทึกของหลาย ๆ ท่านยังไม่ได้อ่าน  มีอีกมากมาย  ในความเข้าใจที่ผมถ่ายทอดออกมาจากบันทึกนี้ไม่แน่ใจว่า ที่เข้าใจอยู่ถูกหรือผิด  อยากให้ท่านที่ได้เข้ามาอ่านแล้วช่วยแสดงความคิดเห็นต่อยอดด้วยครับ

                 ผมจะค้นหา เรียนรู้ KM ต่อไป ทั้งจากการทำงาน(ทั้งทบทวนงานเก่า  งานใหม่)  การอ่านบันทึก  การสังเกต ฯลฯ  เพราะแก้วน้ำผมเติมไม่เคยเต็ม

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 30242เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2006 22:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ไพโรจน์ ลิ้มจำรูญ
แวะมาทักทายให้กำลังใจ
ชาญวิทย์ - นครศรี ฯ

ขอบพระคุณมากครับท่านรองฯไพโรจน์

เส้นทางเรียนรู้อันยาวไกล เรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้นไม่มีขอบเขต

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท