ระบบกำจัดของเสีย( SEWAGE TREATMENT SYSTEM )


ระบบกำจัดของเสีย( SEWAGE TREATMENT SYSTEM )

ระบบกำจัดของเสีย( SEWAGE TREATMENT SYSTEM )

               ระบบกำจัดของเสีย มีจุดประสงค์หลักในการกำจัดของเสียที่ไม่สามารถย่อยสลายได้โดยธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งของเสียที่เกิดจากระบบขับถ่ายของมนุษย์ ถ้าไม่ทำการกำจัดก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำอาจจะเป็นสาเหตุของโรคระบาด หรือไปปนเปื้อนกับน้ำได้ และก็มีเหตุผลความจำเป็นในการติดตั้งคล้ายคลึงกับ เครื่องแยกน้ำมัน แต่ผลเสียอันเกิดจากการระบายทิ้งของของเสียนี้จะมีน้อยกว่าน้ำมัน เท่านั้น

                ระบบกำจัดของเสียที่จะกล่าวถึงนี้ เป็นระบบการกำจัดของเสียโดยการย่อยสลายโดยใช้แบคทีเรีย ซึ่งเป็นระบบการกำจัดของเสียระบบหนึ่งในหลาย ๆ ระบบ

 

การทำงาน

                ระบบกำจัดของเสีย มีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ

  1. Aeration Compartment
  2. Clarification Compartment
  3. Chlorination Compartment

ของเสียจะถูกส่งมาตามท่อทางและเข้าสู่ส่วนของ Aeration Compartment ซึ่งในส่วนนี้จะมีท่อลมเป่าอยู่ทางส่วนล่างของเสียก็จะถูกย่อยสลายให้มีอนุภาคเล็กลงโดยลมและแบคทีเรีย จากนั้นน้ำส่วนที่เกินและของเสียที่ยังย่อยไม่ได้ก็จะล้นไปยังส่วนต่อไปคือ Clarification Compartment ในส่วนนี้ส่วนที่ยังย่อยสลายไม่ได้จากส่วนแรกจะถูกแยกออกมา ส่วนที่เป็นน้ำก็จะไหลไปตามท่อ ผ่านชุดฆ่าเชื้อโรค (Chlorinator) โดยคลอรีนเม็ด ก่อนที่จะไปรวมกันในส่วนของ Chlorination Compartment ก่อนที่จะถูกปั๊มออกนอกตัวเรือไป

  1. Aeration Compartment ในส่วนนี้จุลชีพที่มีอยู่ในของเสียจะดูดเอาออกซิเจนที่ไม่ละลายในของเหลว และจะมีผลต่อของเสีย ซึ่งส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยคาร์บอน ออกซิเจน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน และซัลเฟอร์ ให้กลายเป็น คาร์บอนไดออกไซด์และแบคทีเรียตัวใหม่

คาร์บอนไดออกไซด์ที่ได้จะถูกระบายออกไปทางท่อระบายอากาศ ในขณะที่น้ำและแบคทีเรียจะไหลไปรวมกันยังส่วนของ Clarification ต่อไป ลมที่ถูกส่งเข้ามาในระบบนี้ จะไปผ่านหัวพ่นที่ก้นถัง อากาศหรือลมเหล่านี้จะช่วยให้ออกซิเจนแก่ขบวนการย่อยสลาย และยังช่วยให้ของเสียที่ลงมาใหม่ผสมกับของเก่าได้เป็นอย่างดี

  1. Clarification Compartment ของเหลวที่ไหลมายังส่วนนี้ ส่วนที่เป็นน้ำจะแยกออกจากส่วนที่ยังเป็นของเสียและไหลล้นไปยังส่วนของ Chlorination Compartment ในขณะที่ของเสียต่าง ๆ ที่ยังไม่ย่อยสลายจะถูกส่งกลับไปยังส่วน Aeration Compartment ทางด้านล่างของ Clarification Compartment เพราะส่วนนี้มีลักษณะเป็นกรวย การไหลกลับนี้จะใช้ลมจาก AIR COMPRESSOR มาช่วย ส่วนช่วงบนของส่วนนี้จะมีชุดคอยดักของเสียที่มีน้ำหนักเบาและไม่ย่อยสลายซึ่งลอยอยู่บนผิวหน้า เช่น เมล็ดผลไม้ต่าง ๆ แล้วส่งกลับไปยังส่วน Aeration Compartment อีกครั้งหนึ่ง
  2. Chlorination Compartment น้ำสะอาดที่ไหลล้นมาจากส่วน Clarification จะต้องผ่านกระบอกที่บรรจุเม็ดคลอรีนก่อนที่ไหลเข้าไปในส่วน Chlorination ดังนั้นน้ำที่ได้จึงเป็นน้ำที่ผ่านการฆ่าเชื้อโรคโดยคลอรีนแล้ว ก่อนที่จะถูกสูบทิ้งโดยปั้มที่ควบคุมด้วยสวิตซ์ลูกลอย 1 ตัวคือ High Level Switch , Low Level Switch และมีท่อระบายฉุกเฉินติดตั้งอยู่ในกรณีที่สวิตช์ใช้งานไม่ได้
  3. Chlorinator ในนี้น้ำสะอาดจะไหลผ่านเม็ดคลอรีนโดยตรง โดยจะเป็นแท่งกระบอก 2 แท่ง เรียงกัน ทางด้านบนมีช่องสำหรับเติมคลอรีน ส่วนด้านล่างของกระบอกจะมีรูเมื่อน้ำผ่านแท่งกระบอกนี้จะสัมผัสกับเม็ดครอรีนโดยตรง
  4. Discharge Pump เป็นปั้มแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง
  5. Air compressor ควรที่จะมีอย่างน้อย 2 ตัว ตัวหนึ่งทำงาน อีกตัวหนึ่งคอยเตรียมพร้อมไว้ มีหน้าที่เป่าลมให้กับระบบ ช่วยให้เกิดการย่อยสลายและช่วยในการดำรงอยู่ของแบคทีเรีย
  6. Float Switch มีทั้งหมด 3 ตัวด้วยกันคือ High Level, Low Level, High Level Alarm ซึ่งทั้งหมดนี้จะติดตั้งอยู่ที่ส่วน Chlorination

 

          แผงสวิตช์ควบคุม  ที่แผงควบคุมจะประกอบไปด้วยปุ่มกดสำหรับสตาร์ท  Discharge Pump และ Air Compressor ซึ่งมีหลักในการทำงานดังนี้คือ

 

-          เมื่อปุ่ม Control Switch ของ Discharge Pump อยู่ในตำแหน่ง Auto การทำงานของปั๊มก็จะเป็นแบบอัตโนมัติ คือเมื่อระดับน้ำสูงจนถึงระดับที่กำหนดไว้ ปั้มก็เดินดดยอัตดนมัติทำการสูบทิ้งน้ำออกนอกตัวเรือจนกระทั่งระดับน้ำลดลงมาจนถึงระดับที่กำหนดไว้ปั๊มก็จะหยุดทำงาน

-          ส่วน Air Compressor นั้นต้องเดินอยู่ตลอดเวลา จะต้องทำการสลับตัวเดินทุก ๆ วัน และถ้า High Level Alarm ทำงาน Air compressor ก็จะถูกตัดด้วย

 

การใช้เครื่อง

                เนื่องจากระบบน้ำใช้ประโยชน์จากแบคทีเรียช่วยในการทำงาน

  1. หลังจากเริ่มเดินเครื่องใหม่ซึ่งอาจใช้เวลาประมาณ 10-30 วัน ก่อนที่แบคทีเรียจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ระหว่างนี้การทำงานของเครื่องจึงจะยังไม่ดีเท่าที่ควร (ทั้งนี้รวมไปถึงการเดินเครื่องใหม่ภายหลังการล้างระบบด้วย
  2. ไม่ควรที่จะหยุดเดินเครื่องเกินกว่า 24 ชั่วโมง เพราะว่าแบคทีเรียจะมีจำนวนลดลงเนื่องจากขาดออกซิเจน และอาหาร
  3. ถ้ามีความจำเป็นต้องเลิกเครื่องชั่วคราวไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ให้ทำความสะอาดภายในของระบบทั้งหมดด้วย
  4. ไม่ควรใช้สารเคมีในการทำความสะอาดห้องน้ำ เพราะสารเคมีเหล่านั้นจะไปทำลายแบคทีเรีย
  5. ในกรณีไฟฟ้าดับ ให้ปิดสวิตซ์เครื่องอัดลม และให้งดใช้ห้องน้ำชั่วคราวหรือให้เปิดออกนอกตัวเรือโดยตรง

 

การทำความสะอาด

  1. ชุด คลอริเนเตอร์  จะต้องมีการล้างทำความสะอาดตามระยะเวลา เพราะภายในแท่งทรงกระบอกนี้จะบรรจุคลอรีนอัดเม็ดไว้ ซึ่งเม็ดคลอรีนเหล่านี้จะมีบางส่วนที่ไม่ละลายน้ำและติดค้างอยู่ ซึ่งจะไปมีผลต่อการไหลของน้ำในระบบได้
  2. การล้างถัง

-          ต้องทำการล้างถังนอกเขตน่านน้ำ

-          ขณะล้างให้เดินเครื่องอัดลมไว้ด้วยเพื่อป้องกันเศษต่าง ๆ ไหลย้อนกลับเข้าไปอัดตันภายในท่อทางต่าง ๆ

-          ควรล้างก่อนที่เรือจะเข้าเมืองท่าประมาณ 10 วัน เพราะแบคทีเรียจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 10 วันในการเจริญเติบโตและมีจำนวนมากพอ

 

ขั้นตอนในการล้าง

  1. ปิดลิ้นทางเข้าของระบบ งดการใช้ห้องน้ำชั่วคราว
  2. ปิดสวิตช์ ปั๊มสูบทิ้ง
  3. เปิดลิ้นทางดูดของทุกถัง และลิ้นทางออกของปั๊มรวมทั้งลิ้นออกนอกตัวเรือ
  4. ปิดลิ้นน้ำทะเลเข้าระบบ
  5. เดินปั๊มสูบทิ้ง
  6. เมื่อของเหลวหมดให้เลิกปั๊ม
  7. ล้างภายในถังอีกครั้ง โดยการเปิดลิ้นน้ำทะเล หรืออาจใช้สายยางฉีดก็ได้
  8. เลิกเครื่องอัดลม
  9. ตรวจสอบดูว่ามีอะไรภายในเสียหายหรือไม่

 

การบำรุงรักษา

                โดยปกติในช่วงเวลาที่เครื่องเดินอยู่ ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบจะต้องหมั่นตรวจสอบการทำงานอยู่เสมอโดยมีส่วนที่จะต้องตรวจสอบดังนี้

-          ดูค่าความดันของเครื่องอัดลมว่าอยู่ในเกณฑ์หรือไม่

-          ตรวจสอบ Sludge Return Line & Scum Return Line ว่ามีการไหลตามปกติหรือไม่

-          ตรวจสอบปริมาณเม็ดคลอรีนว่ามีอยู่ในระดับที่กำหนดหรือไม่

-          ตรวจสอบหาค่าปริมาณคลอรีนที่อยู่ในน้ำที่จะสูบทิ้ง

-          ตรวจสอบปริมาณน้ำมันหล่อลื่นของปั๊มและเครื่องอัดลม รักษาให้อยู่ในระดับที่ถูกต้อง

 

หมายเลขบันทึก: 301869เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2009 16:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 00:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท