รายงานการพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5


รายงานการพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

รายงานการพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีจุดมุ่งหมายเพื่อ

(1) พัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านเชิงคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80

(2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างคะแนนทอดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านเชิงคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านกุดคอก่านโคกสำราญ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายโสธร เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าได้แก่

- แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 12 เล่ม โดยมีแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เล่มละ 5 ข้อ รวม 60 ข้อ

- แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  จำนวน 12 แผน โดยมีผลบันทึกหลังแผนฯ ในการใช้นวัตกรรม คือแบบฝึกทักษะการอ่านเชิงคิดวิเคราะห์ประกอบแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้

- แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทักษะการอ่านเชิงคิดวิเคราะห์ ก่อนเรียนและหลังเรียนเป็นแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ โดยใช้วัดผลก่อนและหลังการใช้นวัตกรรมครบ 12 เล่ม

-แบบประเมินแบบฝึกทักษะการอ่านเชิงคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  โดยมีแบบประเมินกิจกรรมย่อยของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงคิดวิเคราะห์ ซึ่งมี 3 กิจกรรม

-แบบสอบถามความพึงพอใจของครูและผู้เรียนที่มีต่อการเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ t-test

ผลการศึกษาพบว่า

1.แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 88.97 / 83.97 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ 80/80

2.นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 โดยคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

3.ครูมีความพึงพอใจต่อการนำแบบฝึกทักษะการอ่านเชิงคิดวิเคราะห์ไปใช้จัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ที่ระดับมากที่สุดมีคะแนนรวมเฉลี่ย 4.74 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.34

4.นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ที่ระดับมากที่สุด มีคะแนนรวมเฉลี่ย มีคะแนนรวมเฉลี่ย 4.70 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.23

หมายเลขบันทึก: 301703เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2009 09:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 13:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท