การวิจัยเรื่องการพัฒนาคู่มือการตรวจขั้นที่ 5 ขั้นปฏิบัติการและประเมินผล( APPLICATION AND EVALUATION ) ในกองลูกเสือโรงเรียน


คู่มือการตรวจขั้นที่ 5 ขั้นปฏิบัติการและประเมินผล ( APPLICATION AND EVALUATION ) ในกองลูกเสือโรงเรียน กลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมลูกเสือ ( ประเภทลูกเสือสำรอง , ลูกเสือสามัญ และลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ) แบ่งออกเป็น 5 ส่วนมีเนื้อหาประกอบด้วย ส่วนที่ 1 หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจขั้นที่ 5 ขั้นปฏิบัติการและประเมินผล ( APPLICATION AND EVALUATION ) ในกองลูกเสือโรงเรียน ส่วนที่ 2 การบริหารงานในกองลูกเสือโรงเรียน ส่วนที่ 3 พิธีประชุมกอง การจัดการเรียนการสอนตามกระบวนการลูกเสือ ส่วนที่ 4 การประชุมนายหมู่ และ ส่วนที่ 5 การสวนสนาม

เรื่องที่ดำเนินการ       การวิจัยเรื่อง การพัฒนาคู่มือการตรวจขั้นที่ 5 ขั้นปฏิบัติการและ

                              ประเมินผล ( APPLICATION  AND  EVALUATION )

                             ในกองลูกเสือโรงเรียน

 ผู้รายงาน              นายทศพล  วงษ์เนตร

 ปีที่ผลิต                พ.ศ.  2549-2551

บทคัดย่อ

                 การวิจัยเรื่องการพัฒนาคู่มือการตรวจขั้นที่ 5 ขั้นปฏิบัติการและประเมินผล( APPLICATION  AND  EVALUATION ) ในกองลูกเสือโรงเรียน  สำหรับครูในโรงเรียนสังกัด สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นลักษณะการวิจัยและพัฒนา ( Research and Development )  มีวัตถุประสงค์  (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาคู่มือการตรวจขั้นที่ 5 ขั้นปฏิบัติการและประเมินผล ( APPLICATION AND EVALUATION ) ในกองลูกเสือโรงเรียน ด้วยการนิเทศแบบโคชชิ่ง และการประเมินผลตามสภาพจริง กับครูสอนลูกเสือ-เนตรนารี ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนคร ศรีอยุธยา เขต 1  สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2) เพื่อพัฒนาคู่มือการตรวจขั้นที่ 5 ขั้นปฏิบัติการและประเมินผล ( APPLICATION  AND  EVALUATION ) ในกองลูกเสือโรงเรียน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80 / 80 (3) เพื่อทดลองใช้คู่มือ  การตรวจขั้นที่  5  ขั้นปฏิบัติการและประเมินผล ( APPLICATION  AND  EVALUATION ) ในกองลูกเสือโรงเรียน และ (4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงคู่มือการตรวจขั้นที่ 5 ขั้นปฏิบัติการและประเมินผล( APPLICATION  AND  EVALUATION ) ในกองลูกเสือโรงเรียน

           กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ครูที่สมัครเป็น ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ  ในกองลูกเสือโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 จำนวน 30 คน จาก 24โรงเรียน ได้มาโดยการสุ่มแบบอย่างง่าย (  Simple  Random  Sampling  ) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย คู่มือการตรวจขั้นที่  5  ขั้นปฏิบัติการและประเมินผล ( APPLICATION  AND  EVALUATION  ) ในกองลูกเสือโรงเรียน  แบบสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาแบบสอบถาม ความคิดเห็น   แบบประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจขั้นที่  5 แบบประเมินผลงาน การประเมินผลตามสภาพจริง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( Χ )ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D.) ค่าสถิติที่ (t –test Dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

               ผลการวิจัยพบว่า  

        

(1)ผู้บังคับบัญชาลูกเสือและผู้เกี่ยวข้องต้องการ ให้จัดทำคู่มือการตรวจขั้นที่  5  ขั้นปฏิบัติการและประเมินผล ( APPLICATION  AND  EVALUATION ) ในกองลูกเสือโรงเรียน  กลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมลูกเสือ (  ประเภทลูกเสือสำรอง , ลูกเสือสามัญ  และลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่  ) แบ่งออกเป็น  5  ส่วนมีเนื้อหาประกอบด้วย  ส่วนที่ 1 หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจขั้นที่   5  ขั้นปฏิบัติการและประเมินผล ( APPLICATION  AND  EVALUATION ) ในกองลูกเสือโรงเรียน  ส่วนที่  2  การบริหารงานในกองลูกเสือโรงเรียน  ส่วนที่  3 พิธีประชุมกอง การจัดการเรียนการสอนตามกระบวนการลูกเสือ  ส่วนที่ 4  การประชุมนายหมู่ และ ส่วนที่  5  การสวนสนาม 

(2)  คู่มือการตรวจขั้นที่  5  ขั้นปฏิบัติการและประเมินผล ( APPLICATION  AND  EVALUATION ) ในกองลูกเสือโรงเรียน  ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ของคู่มือ ขอบข่ายเนื้อหา คำแนะนำการใช้คู่มือ แบบประเมินตนเองก่อนศึกษาคู่มือ  หลักการพื้นฐานการตรวจขั้นที่ 5  แบบประเมินตนเองหลังศึกษาคู่มือ คู่มือประสิทธิภาพเท่ากับ 90.18 / 94.17   

(3)  ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ  ศึกษาด้วยตนเองตามคำแนะนำการใช้คู่มือ มีการนิเทศติดตามผลการศึกษาคู่มือเป็นเวลา 2-4 สัปดาห์ พบว่าผู้บังคับบัญชาลูกเสือมีความสนใจและตั้งใจศึกษาคู่มือ สามารถใช้เป็นแนวทางการพัฒนากิจกรรมลูกเสือได้ตามกระบวนการตรวจขั้นที่  5 

(4) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจขั้นที่  5  ก่อนและหลังศึกษาคู่มือ  มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 โดยคะแนนเฉลี่ยของผู้บังคับบัญชาลูกเสือ หลังศึกษาคู่มือสูงกว่าก่อนศึกษาคู่มือ หลังจากศึกษาคู่มือผู้บังคับบัญชาลูกเสือมีความรู้ความเข้าใจ เรื่อง  การสอนตามพิธีประชุมกอง มากที่สุด รองลงมาได้แก่ การสวนสนาม   การประชุมนายหมู่ และการบริหารงานธุรการในกองลูกเสือ   

คำสำคัญ (Tags): #scouting for boys
หมายเลขบันทึก: 301371เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2009 00:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะ อาจารย์

  • เยี่ยมเลยค่ะ
  • ครูอ้อย เป็นกำลังใจให้เสมอค่ะ

ดีจังเลยครับ ขอเอาไปให้ผู้สนใจดูนะครับ ขอบคุณครับ

ขอบคุณครับท่าน ดร.ขจิต

อยากได้มีโอกาสไปเป็นศิษย์ท่านเหมือนกัน

สิงหานี้จะตรวจขั้นที่5..กลัวมันปูด!

กลัวอะไรกันแน่ Nai9

" ครูจะเป็นแบบอย่างที่เด็กจะทำตาม ครูทำอย่างไร เด็กกด็ทำอย่างนั้น...... คนที่เขา.เกลียด...ลูกเสือ ก็เพราะเห็นแบบอย่างที่ไม่ดีจากครู.."

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท