ครูสมใจ
ครู ครูสมใจ ครูพณิชยการ เอื้อความดี

การคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายและการบันทึกบัญชี (หน่วยที่ 9)ต่อ1


การคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายและการบันทึกบัญชี

1. กรณีลูกจ้างได้รับเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ตามประกาศข้อ 1 (1) และ หรือ (2) และหรือ (3) และ (4) ด้วย ให้มีสิทธิเลือกเสียภาษีโดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณกับเงินได้อย่างอื่น ในการคำนวณเพื่อหักค่าใช้จ่ายให้นำเงินได้ดังกล่าวมาหักค่าใช้จ่ายได้ทั้งหมด แต่เฉพาะสำหรับเงินได้ตามข้อ 1 (4) ของประกาศฯ มีเงื่อนไขว่าต้องนำมาเปรียบเทียบกับเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยปีที่ทำงาน ซึ่งเงินเดือนเดือนสุดท้ายจะต้องไม่เกินจำนวนเงินเดือนถัวเฉลี่ย 12 เดือนสุดท้ายก่อนออกจากงานบวกร้อยละ 10 ของเงินเดือนถัวเฉลี่ยนั้น ถ้าเงินที่นายจ้างจ่ายตาม (4) มีจำนวนมากกว่าให้นำเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยปีที่ทำงานมาหักค่าใช้จ่ายแทนเงินได้ตาม (4) แต่ถ้าเงินที่นายจ้างจ่ายนั้นมีจำนวนน้อยกว่าให้นำเงินจำนวนตาม (4) มาหักค่าใช้จ่ายได้ทั้งจำนวน

ตัวอย่างที่ 9  นาย ง ออกจากงานในวันที่ 1 ตุลาคม นายจ้างจ่ายเงินให้จำนวนหนึ่งโดยคำนวณจ่ายตามวิธีการเช่นเดียวกับการคำนวณบำเหน็จตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ 200,000 บาท และจ่ายจากกองทุนตามกฎหมายว่าด้วยกอบงทุนสำรองเลี้ยงชีพ 500,000 บาท เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน 220,000 บาท และเงินอีจำนวนหนึ่งตามหลักเกณฑ์ของนายจ้าง 600,000 บาท ในปีนั้นนาย ง ได้รับเงินเดือนเดือนละ 20,000 บาท ติดต่อกันมาหลายปี จนในระยะ 3 เดือนก่อนออกจากงานได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้นเป็นเดือนละ 30,000 บาท ทำงานมาทั้งหมด 10 ปี นาย ง จะเลือกเสียภาษีเงินได้โดยไม่นำไปรวมคำนวณกับเงินได้อย่างอื่น

วิธีคำนวณ

(1)

เงินที่นายจ้างจ่าย (200,000+500,000+220,000+600,000)

=

1,520,000

บาท

(2)

เงินเดือนเดือนสุดท้าย

=

30,000

บาท

(3)

เงินเดือนถัวเฉลี่ย+10%

=

22,500+2,250

บาท

 

[(20,000×9)+(30,000×3)+10%]/12

=

24,750

บาท

(4)

เงินเดือนเดือนสุดท้ายมากกว่าเงินเดือนถัวเฉลี่ยบวกร้อยละ 10 จึงใช้เงินเดือนถึงเฉลี่ยบวกร้อยละ 10 คูณด้วยปีที่ทำงานเป็นเงินได้ที่เป็นเกณฑ์หักค่าใช้จ่าย (24,750×10)

 

 

=

 

 

247,500

 

 

บาท

 

หมายเหตุ กรณีนี้เงินที่จ่ายตามเกณฑ์นายจ้างมากกว่าเงินได้ตาม (4) ให้นำเงินได้ตาม (4) เป็นเกณฑ์หักค่าใช้จ่าย กรณีเงินที่จ่ายตามเกณฑ์นายจ้างจ่ายน้อยกว่าเงินได้ตาม (4) เช่น เงินที่นายจ้างจ่ายมีจำนวน 180,000 บาท ดังนั้นเงินได้ที่นำมาเป็นเกณฑ์หักค่าใช้จ่ายจะมีจำนวน (200,000+500,000+220,000+180,000) = 1,120,000

(5)

รวมเงินได้ที่นำมาเป็นหลักเกณฑ์หักค่าใช้จ่าย

 

 

 

 

(200,000+500,000+220,000+247,000)

=

1,167,500

บาท

(6)

หัก  ค่าใช้จ่าย

 

 

 

 

        ค่าใช้จ่ายส่วนแรก (7,000×10)

=

70,000

บาท

 

        ค่าใช้จ่ายส่วนที่สอง (1,167,500-70,000)×50%

=

548,750

บาท

 

รวมค่าใช้จ่าย (ส่วนแรก+ส่วนที่สอง)

=

618,750

บาท

(7)

เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย (1)-(6)

=

901,250

บาท

 

ภาษีที่ต้องเสีย (100,000×5%)+(400,000×10%)+(401,250×20%)

=

125,250

บาท

 1.1.3   กรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 3 ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่าง   อื่น ๆ และเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 ได้แก่ ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม เงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกำไรฯ ให้คำนวณหักตามบัญชีอัตามภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นอกจากกรณีดังต่อไปนี้

กรณีที่หนึ่ง ให้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายร้อยละ 15 ได้แก่

1)  ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร ดอกเบี้ยเงินฝากสหกรณ์ ดอกเบี้ยเงินกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงินที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ดอกเบี้ยที่ได้จากสถาบันการเงินที่กฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม

2)  ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนพันธบัตร หุ้นกู้หรือตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิ์ในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้เฉพาะที่ตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน

3)  ผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ให้ถือว่าผู้ออกตั๋วเงิน ผู้ออกตราสารแสดงสิทธิในหนี้ หรือนิติบุคคลผู้โอนตั๋วเงินหรือตราสารดังกล่าวให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินและให้ผู้จ่ายเรียกเก็บภาษีเงินได้จากผู้รับในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้ และให้ถือว่าภาษีที่เรียกเก็บนั้นเป็นภาษีที่หักไว้

ในกรณี 1) 2) หรือ 3) ข้างต้น ผู้มีเงินได้จะเลือกเสียภาษีตาที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายในอัตราดังกล่าวโดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่นก็ได้

กรณีที่สอง ให้หักภาษีได้ ณ ที่จ่ายร้อยละ 10 ได้แก่  เงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกำไร หรือประโยชน์อื่นใดที่ผู้รับ ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย (180 วัน) ได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย กองทุนรวมและสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม ให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 10 ของเงินได้ และผู้มีเงินได้จะเลือกเสียภาษีตามที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายในอัตราดังกล่าวโดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่นก็ได้

สำหรับเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 (ข) ซึ่งได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยจะได้รับเครดิตภาษีในการคำนวณภาษีในการคำนวณภาษี โดยให้นำอัตราภาษีเงินได้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสียหารด้วยผลต่างของหนึ่งร้อยหักด้วยอัตราภาษีเงินได้ดังกล่าวนั้น ได้ผลลัพธ์เท่าใดให้คูณด้วยจำนวนเงินปันผลหรือส่วนแบ่งกำไรที่ได้รับ ทั้งนี้เฉพาะผู้มีเงินได้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยหรือเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยเท่านั้น เครดิตภาษีนี้จะนำมาใช้ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตอนสิ้นปีภาษีเท่านั้น แต่ไม่เกี่ยวกับการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย

กรณีที่สาม ไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ได้แก่ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่บุคคลธรรมดา คณะบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนสามัญเป็นผู้จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ผู้รับเงินมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้เอง

ตัวอย่างที่ 11 บริษัท โกมินทร์ จำกัด จ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้นายเพทาย บุษราคัม จำนวนดังต่อไปนี้

ครั้งที่ 1 เดือนมกราคม

=

50,000

บาท

ครั้งที่ 2 เดือนมีนาคม

=

100,000

บาท

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายครั้งที่ 1

=

 

 

เงินได้ที่จ่ายครั้งที่ 1

=

50,000

บาท

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (50,000×5%)

=

2,500

บาท

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายครั้งที่ 2

 

 

 

เงินได้ที่จ่ายครั้งที่ 1

=

50,000

บาท

เงินได้ที่จ่ายครั้งที่ 2

=

100,000

บาท

รวมเงินได้

=

150,000

บาท

ภาษีที่คำนวณจากเงินได้ที่จ่าย 2 ครั้ง

=

10,000

บาท

หัก ภาษีหัก ณ ที่จ่ายครั้งที่ 1

=

2,500

บาท

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายครั้งที่ 2

=

7,500

บาท

1.1.4   กรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5 ได้แก่ เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สิน และเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 6 ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระที่จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้

ตัวอย่างที่ 12  บริษัท เสาวนีย์ จำกัด จ่ายเงินค่าสอบบัญชีให้แก่นายโทนี ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศสเป็นเงิน 400,000 บาท

เงินได้ที่จ่าย

=

400,000 บาท

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (400,000×15%)

=

60,000 บาท

 

1.1.5   กรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5, 6, 7 และ 8 แต่ไม่รวมถึงการจ่ายซื้อพืชผลทางการเกษตรและนอบจากกรณีตามข้อ 6 ที่ผู้จ่ายเป็นรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์กรบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่นซึ่งจ่ายเงินได้ให้แก่ผู้รับรายหนึ่ง ๆ มีจำนวนรวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป แม้การจ่ายนั้นจะได้แบ่งจ่ายครั้งหนึ่ง ๆ ได้ถึง 10,000 บาทก็ดี ให้คำนวณหักภาษีในอัตราร้อยละ 1 ของยอดเงินได้พึงประเมิน ส่วนเงินได้ในการประกวดหรือแข่งขันให้คำนวณหักตามอัตราภาษีเงินได้

ตัวอย่างที่ 13 กรมสรรพากรจ่ายเงินค่าซื้อเครื่องเขียนเป็นเงิน 200,000 บาท ให้แก่นายโกเมท รมณีย์

เงินได้ที่จ่าย

=

200,000 บาท

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (200,000×1%)

=

2,000 บาท

 

ตัวอย่างที่ 14 กรุงเทพฯ ได้จัดประกวดนางงาม และได้จ่ายรางวัลให้นางสาววีรอร ปิยพนธ์ ผู้ชนะการประกวดเป็นเงิน 30,000 บาท

เงินได้ที่จ่าย

=

300,000 บาท

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (100,000×5%)+(200,000×10%)

=

5,000 บาท

 

1.1.6   กรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 เฉพาะที่จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งขายอสังหาริมทรัพย์หรือโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทน ให้คำนวณหักภาษีและนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียน ในกรณีที่ไม่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้นำส่ง ณ ที่ว่าการอำเภอภายใน 7 วัน นับแต่วันที่จ่ายเงินไม่ว่าตนจะได้หักภาษีไว้แล้วหรือไม่

กรณีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ให้คำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายดังนี้

1)       เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หาที่ตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร เทศบาล สุขาภิบาล หรือเมืองพัทยา หรือการปกครองท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะเงินได้จากการขายในส่วนที่ไม่เกิน 200,000 บาท ตลอดปีภาษี โดยให้หักยกเว้น 200,000 บาท ก่อนหักค่าใช้จ่ายร้อยละ 50 ของเงินได้ เหลือเท่าใดถือเป็นเงินได้สุทธิแล้วหารด้วยจำนวนปีที่ถือครอง ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้คำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้ ได้เท่าใดให้คูณด้วยจำนวนปีที่ถือครอง ผลลัพธ์ที่ได้เป็นเงินภาษีที่หักและนำส่ง

2)       เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่นนอกจาก 1) ให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา เหลือเท่าใดถือเป็นเงินได้สุทธิแล้วหารด้วยจำนวนปีที่ถือครอง ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้คำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้ ได้เท่าใดให้คูณด้วยจำนวนปีที่ถือครอง ผลลัพธ์ที่ได้เป็นเงินภาษีที่ต้องหักและนำส่ง

ค่าใช้จ่ายเหมาตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาขึ้นอยู่กับจำนวนปีที่ถือครองอสังหาริมทรัพย์ คือ

จำนวนปีที่ถือครอง

1

2

3

4

5

6

7

8 ปีขึ้นไป

หักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ

92

84

77

71

65

60

55

50

เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรือที่ได้มาโดยมิได้มุ่งทางการค้าหรือหากำไร ผู้มีเงินได้อาจเลือกเสียภาษีตามวิธีการคำนวณข้างต้น (ซึ่งเป็นวิธีการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย) แทนการนำไปรวมคำนวณภาษีตามปกติก็ได้ ภาษีที่คำนวณได้นี้ถ้าเกินร้อยละ 20 ของราคาขาย ก็ให้เสียเพียงร้อยละ 20 ของราคาขายเท่านั้น

ในกรณีที่เลือกเสียภาษีโดยนำไปรวมคำนวณภาษีตามปกติ ให้หักค่าใช้จ่ายร้อยละ 50 ของเงินได้ตาม 1) หรือตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาตาม 2) แล้วแต่กรณี เหลือเท่าใดนำไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้อย่างอื่น

ตัวอย่างที่ 15 นายนาราภัทร ปวีรา ขายที่ดินพร้อมทั้งบ้านซึ่งเป็นมรดกตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยได้รับมาเมื่อ 8 ปีที่แล้วให้แก่นายไวทิน ธนวัต เป็นเงิน 1,000,000 บาท คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายดังนี้

เงินได้จากการขายที่ดินมรดก

=

1,000,000

บาท

ขั้นที่ 1 หักค่าใช้จ่าย 50% ของเงินได้

=

500,000

บาท

คงเหลือ

=

500,000

บาท

ขั้นที่ 2 หารด้วยจำนวนปีที่ถือครอง (8 ปี)

=

500,000/8

 

เงินได้สุทธิ

=

62,500

บาท

เป็นเงินภาษี (คำนวณตามอัตราภาษีเงินได้)

=

3,125

บาท

ขั้นที่ 3 ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (3,125×8)

=

25,000

บาท

หมายเลขบันทึก: 300464เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2009 17:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 16:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอสอบถามกรณี ถ้าเงินถัวเฉลี่ย 12 เดือน บวกกับร้อยละ 10 แล้วมากกว่าจำนวนเงินเดือนสุดท้าย เราจำต้องนำเงินจำนวนไหนมาคิดหักค่าใช้จ่ายคะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท