ครูสมใจ
ครู ครูสมใจ ครูพณิชยการ เอื้อความดี

การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (หน่วยที่ 5) ต่อ


การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม

หน่วยที่ 5    การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ต่อ)

3)    การรับชำระหนี้จากลูกหนี้การค้าและให้ส่วนลดเงินสด  เมื่อให้ส่วนลดเงินสด ให้บันทึกลดยอดขายและจัดทำรายงานภาษีขาย

เดบิต      เงินสดหรือธนาคาร    XX

ภาษีขายที่ยังไม่ครบกำหนด     XX

ส่วนลดจ่าย     XX

เครดิต    ลูกหนี้การค้า      XX

ภาษีขาย        XX

3.1.3  การให้บริการเป็นเงินสด  เมื่อมีการให้บริการ บันทึกการให้บริการและจัดทำรายงานภาษีขาย

เดบิต      เงินสด        XX

เครดิต    รายได้จากการให้บริการ     XX

ภาษีขาย           XX

3.1.4  การแจกแถมสินค้าที่ประมวลรัษฎากรให้ถือเป็นการขายสินค้าบันทึกค่าใช้จ่ายและจัดทำรายงานภาษีขาย

เดบิต      ค่าใช้จ่ายส่งเสริมการขาย   XX

เครดิต    สินค้า    XX

ภาษีขาย      XX

3.2  รายการเกี่ยวกับภาษีซื้อ 

รายการเกี่ยวกับภาษีซื้อมีรายละเอียดดังนี้

3.2.1  การซื้อสินค้าหรือทรัพย์สินทั้งเงินสดและเงินเชื่อ

1)    เมื่อมีการซื้อ บันทึกการซื้อและจัดทำรายงานภาษีซื้อ

เดบิต      ซื้อสินค้าหรือทรัพย์สิน      XX

ภาษีซื้อ   XX

เครดิต        เงินสดหรือเจ้าหนี้การค้า  XX

2)    เมื่อจ่ายชำระหนี้ให้เจ้าหนี้การค้า

เดบิต      เจ้าหนี้การค้า    XX

 เครดิต    เงินสดหรือธนาคาร    XX

3)    เมื่อส่งคืนสินค้าและได้รับใบลดหนี้แล้ว บันทึกการส่งคืนและจัดทำรายงานภาษีซื้อ

เดบิต      เจ้าหนี้การค้า   XX

        เครดิต            ส่งคืน   XX

        ภาษีซื้อ        XX        

4)    เมื่อจ่ายชำระหนี้ให้เจ้าหนี้การค้าและได้ส่วนลดเงินสด

เดบิต      เจ้าหนี้การค้า             XX

เครดิต    เงินสดหรือธนาคาร      XX

ส่วนลดรับ                    XX

3.2.2  การให้บริการเป็นเงินเชื่อ

1)    เมื่อมีการใช้บริการ บันทึกค่าบริการและได้รับใบแจ้งหนี้

เดบิต      ค่าใช้จ่าย (ระบุ)          XX

เครดิต    เงินสดหรือธนาคาร       XX

2)    เมื่อชำระค่าบริการและได้รับใบกำกับภาษี บันทึกการชำระหนี้และจัดทำรายงานภาษีซื้อ

 เดบิต      ค่าใช้จ่าย (ระบุ) ค้างจ่าย    XX

เครดิต    เงินสดหรือธนาคาร      XX

                  และ

เดบิต      ภาษีซื้อ         XX

เครดิต    ภาษีซื้อที่ยังไม่ครบกำหนด     XX

3.3  การปิดบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม 

ณ วันสิ้นเดือน ผ่านรายการภาษีมูลค่าเพิ่มในรายงานภาษีซื้อและรายงานภาษีขายไปบัญชีแยกประเภทและหายอดคงเหลือในบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม

3.3.1  กรณีภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ

เดบิต      ภาษีขาย       XX

เครดิต    ภาษีซื้อ         XX

เจ้าหนี้กรมสรรพากร     XX

3.3.2  กรณีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย

เดบิต      ภาษีขาย       XX

ลูกหนี้กรมสรรพากร   XX

เครดิต    ภาษีซื้อ    XX

ตัวอย่าง บริษัท ลักษมี จำกัด มีรายการระหว่างเดือนพฤษภาคม และมิถุนายน 25X9 ดังนี้

25X9

 

 

พ.ค.

1

ซื้อสินค้าเป็นเงินสด 100,000 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

 

3

ซื้อสินค้าเป็นเงินสด 300,000 บาท (ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม)

 

5

ส่งคืนสินค้าที่ซื่อเมื่อวันที่ 1 พ.ค. 3,000 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

 

6

จ่ายค่าใช้จ่ายอื่น ๆ 800 บาท

 

10

ขายสินค้าเป็นเงินสด 90,000 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

 

12

ขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ 165,000 บาท เป็นราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

 

15

จ่ายค่าวัสดุสำนักงาน 1,500 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

 

18

ให้บริการในการซ่อม 500 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ลูกค้าขอค้างเงินไว้ก่อน

 

22

จ่ายค่าหนังสือพิมพ์ 200 บาท

 

25

จ่ายค่าเลี้ยงรับรองลูกค้า 963 บาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

 

28

ซื้อเครื่องพิมพ์ดีด 12,000 บาท จากร้านวิทยาเซ็นเตอร์ ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

 

31

ปิดบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม

มิ.ย.

3

จ่ายเช็ควันนี้ซื้อรถยนต์นั่งไม่เกิน 10 คน 450,000 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

 

5

ได้รับค่าบริการที่ให้บริการเมื่อวันที่ 18 พ.ค. เป็นเงินสด

 

9

ซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ 70,000 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

 

10

รับชำระหนี้ค่าสินค้าที่ขายเมื่อวันที่ 12 พ.ค. ให้ส่วนลด 2%

 

12

ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ 40,000 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เป็นเงินสด

 

14

ขายสินค้า 80,000 บาท เป็นเงินสด ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

 

15

ชำระหรือรับคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม

 

18

ตัดบัญชีลูกหนี้เป็นหนี้สูญ 10,000 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

 

22

รับคืนสินค้าที่ขายเมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 5,000 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

 

30

ปิดบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม

ให้ทำ : บันทึกรายการข้างต้นในสมุดรายวันทั่วไปด 

ตัวอย่าง สมุดรายวันทั่วไป 

ว.ด.ป.

รายการ 

เลขที่บัญชี

เดบิต 

เครดิต 

25X7

 

 

 

 

 

 

 

พ.ค.

1

ซื้อสินค้า

 

100,000

-

 

 

 

 

ภาษีซื้อ

 

7,000

-

 

 

 

 

เงินสด

 

 

 

107,000

-

 

 

ซื้อสินค้าเป็นเงินสด

 

 

 

 

 

 

3

ซื้อสินค้า

 

300,000

-

 

 

 

 

เงินสด

 

 

 

300,000

-

 

 

ซื้อสินค้าเป็นเงินสด

 

 

 

 

 

 

5

เงินสด

 

3,210

-

 

 

 

 

ส่งคืนสินค้า

 

 

 

3,000

-

 

 

ภาษีซื้อ

 

 

 

210

-

 

 

ส่งคืนสินค้า

 

 

 

 

 

 

6

ค่าใช้จ่าย

 

800

-

 

 

 

 

เงินสด

 

 

 

800

-

 

 

จ่ายค่าใช้จ่าย

 

 

 

 

 

 

10

เงินสด

 

96,300

-

 

 

 

 

ขายสินค้า

 

 

 

90,000

-

 

 

ภาษีขาย

 

 

 

6,300

-

 

 

ขายสินค้าเป็นเงินสด

 

 

 

 

 

 

12

ลูกหนี้

 

165,000

-

 

 

 

 

ขายสินค้า (165,000 – 10,794.39)

 

 

 

154,204

61

 

 

เงินสด (165,000×7/107)

 

 

 

10,794

39

 

 

ขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ

 

 

 

 

 

 

15

วัสดุสำนักงาน

 

1,500

-

 

 

 

 

ภาษีซื้อ

 

105

-

 

 

 

 

เงินสด

 

 

 

1,605

-

 

 

จ่ายค่าวัสดุสำนักงาน

 

 

 

 

 

ตัวอย่าง สมุดรายวันทั่วไป 

ว.ด.ป.

รายการ

เลขที่บัญชี

เดบิต

เครดิต

25X9

 

 

 

 

 

 

 

พ.ค.

18

ลูกหนี้

 

535

-

 

 

 

 

รายได้ค่าบริการ

 

 

 

500

-

 

 

ภาษีขายที่ยังไม่ครบกำหนดชำระ

 

 

 

35

-

 

 

ให้บริการลูกค้าที่ยังไม่ครบกำหนดชำระ

 

 

 

 

 

 

22

ค่าหนังสือพิมพ์

 

200

-

 

 

 

 

เงินสด

 

 

 

200

-

 

 

จ่ายค่าหนังสือพิมพ์

 

 

 

 

 

 

25

ค่ารับรอง

 

963

-

 

 

 

 

เงินสด

 

 

 

963

-

 

 

จ่ายค่ารับรองลูกค้า

 

 

 

 

 

 

28

เครื่องใช้สำนักงาน

 

12,000

-

 

 

 

 

ภาษีซื้อ

 

840

-

 

 

 

 

เจ้าหนี้-ร้านวิทยาเซ็นเตอร์

 

 

 

12,840

-

 

 

ซื้อเครื่องใช้สำนักงานจากร้านวิทยาเซ็นเตอร์

 

 

 

 

 

 

31

ภาษีขาย

 

17,094

39

 

 

 

 

ภาษีซื้อ

 

 

 

7,735

-

 

 

เจ้าหนี้-กรมสรรพากร

 

 

 

9,359

39

 

 

ปิดบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม

 

 

 

 

 

มิ.ย.

3

รถยนต์

 

481,500

-

 

 

 

 

ธนาคาร

 

 

 

481,500

-

 

 

จ่ายเช็คซื้อรถยนต์ (ภาษีซื้อ 31,500)

 

 

 

 

 

 

 

*ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อหรือเช่าซื้อหรือรับโอนรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสาร ไม่สามารถนำมาหักภาษีซื้อได้

 

 

 

 

 

ตัวอย่าง สมุดรายวันทั่วไป

ว.ด.ป.

รายการ

เลขที่บัญชี

เดบิต

เครดิต

25X9

 

 

 

 

 

 

 

มิ.ย.

5

เงินสด

 

535

-

 

 

 

 

ลูกหนี้

 

 

 

535

-

 

 

รับชำระค่าบริการ

 

 

 

 

 

 

 

ภาษีขายที่ยังมีครบกำหนดชำระ

 

35

-

 

 

 

 

ภาษีขาย

 

 

 

35

-

 

 

โอนภาษีขายที่ยังไม่ครบกำหนดชำระไปภาษีขาย

 

 

 

 

 

 

9

ซื้อสินค้า

 

70,000

-

 

 

 

 

ภาษีซื้อ

 

4,900

-

 

 

 

 

เจ้าหนี้

 

 

 

74,900

-

 

 

ซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ

 

 

 

 

 

 

10

เงินสด

 

161,915

89

 

 

 

 

ส่วนลดจ่าย (154,205.61×2%)

 

3,804

11

 

 

 

 

ลูกหนี้

 

 

 

165,000

-

 

 

รับชำระหนี้ค่าสินค้า

 

 

 

 

 

 

12

เครื่องใช้สำนักงาน

 

40,000

-

 

 

 

 

ภาษีซื้อ

 

2,800

-

 

 

 

 

เงินสด

 

 

 

42,800

-

 

 

ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์

 

 

 

 

 

 

14

เงินสด

 

85,600

-

 

 

 

 

ขายสินค้า

 

 

 

80,000

-

 

 

ภาษีขาย

 

 

 

5,600

-

 

 

ขายสินค้าเป็นเงินสด

 

 

 

 

 

 

15

เจ้าหนี้-กรมสรรพากร

 

9,359

39

 

 

 

 

เงินสด

 

 

 

9,359

39

 

 

ชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม

 

 

 

 

 

ตัวอย่าง สมุดรายวันทั่วไป 

ว.ด.ป.

รายการ

เลขที่บัญชี

เดบิต

เครดิต

25X9

 

 

 

 

 

 

 

มิ.ย.

18

หนี้สูญ

 

10,000

-

 

 

 

 

ภาษีขาย

 

700

-

 

 

 

 

ลูกหนี้

 

 

 

10,700

-

 

 

ตัดบัญชีลูกหนี้เป็นสูญ

 

 

 

 

 

 

22

รับคืนสินค้า

 

5,000

-

 

 

 

 

ภาษีขาย

 

350

-

 

 

 

 

เงินสด

 

 

 

5,350

-

 

 

รับคืนสินค้าที่ขาย

 

 

 

 

 

 

30

ภาษีขาย

 

4,585

-

 

 

 

 

ลูกหนี้-กรมสรรพากร

 

3,115

-

หมายเลขบันทึก: 300436เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2009 15:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

ภาษีซื้อ = 529,876.74

ภาษีขาย = 487,137.07

ภาษีที่ต้องชำระเดือนนี้ 42,739.67

ภาษีที่ชำระเกินยกมา 67,212.14

การบันทึกบัญชีต้อง

DR. ภาษีขาย 529,876.74

CR. ภาษีซื้อ 487,137.07

ลูกหนี้กรมสรรพากร 42,739.67

อยากถามอาจารย์คะว่าการบันทึกบัญชีข้างต้นนี้ถูกต้องแล้วใช่ไหมคะ ขอทราบเหตุผลประกอบการบันทึกด้วยคะ งง มากเลยคะ

ขอบคุณมาก

กาญจนา

จากการพิจารณาดูแล้ว ครูจะอธิบายเป็น 2 กรณี

1. กรณีโจทย์ถูกต้อง

การบันทึกบัญชี 

DR. ภาษีขาย               487,137.07

      ลูกหนี้กรมสรรพากร    42,739.67

             CR. ภาษีซื้อ                  529,876.74

การคำนวณจำนวนเงินส่งสรรพากร

ภาษีที่ชำระเกินยกมา               67,212.14

บวก  ภาษีที่ชำระเกินเดือนนี้      42,739.67

รวมภาษีที่ชำระเกิน                109,951.81

2. กรณีโจทย์ผิด

     ภาษีขาย            529,876.74

     ภาษีซื้อ             487,137.07

การบันทึกบัญชีที่ถามมาถูกต้องแล้ว

การคำนวณเงินส่งสรรพากร

ภาษีที่ชำระไว้เกินยกมา             67,212.14

หัก  ภาษีที่ชำระเดือนนี้             42,739.67

ภาษีที่ต้องนำส่งสรรพากร          24,472.47

 

 

 

 

 

 

 

เรียน ครูสมใจ

ขอบคุณมากคะสำหรับคำตอบ ขอถามอีกคะ

บริษัทมีลูกหนีกรมสรรพากรยกมา 22,413.71 บาท และมีภาษีที่ต้องชำระในเดือน 35,413.48 บาท

การบันทีกแบบที่ 1

-ปิดภาษีซื้อ ภาษีขาย เข้าบัญชีลูกหนี้กรมสรรพากร

DR. ภาษีขาย 462,620.78

CR. ภาษีซื้อ 427,207.30

เจ้าหนี้กรมสรรพากร 35,413.48

-ชำระเงินภาษีวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

DR. เจ้าหนี้กรมสรรพากร 35,413.48

CR. ลูกหนี้กรมสรรพากร 22,413.71

เงินสด 1 12,999.77

การบันทีกแบบที่ 2

-ปิดภาษีซื้อ ภาษีขาย เข้าบัญชีลูกหนี้กรมสรรพากร

DR. ภาษีขาย 462,620.78

CR. ภาษีซื้อ 427,207.30

เจ้าหนี้กรมสรรพากร 12,999.77

ลูกหนี้กรมสรรพากร 22,413.71

-ชำระเงินภาษีวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

DR. เจ้าหนี้กรมสรรพากร 12,999.77

CR. เงินสด 12,999.77

อยากถามอาจารย์ว่าการบันทึกแบบที่ 1 หรือ 2 ถูกคะ และถ้าเป็นภาษีเดือนธันวา ต้องชำระ มกราคม ข้ามปียอดยกไปเดือนมกราเท่าไรคะ และต้องบันทึกอย่างไรคะ และง่ายกับการดูยอดภาษีที่ต้องชำระยกไปในเดือนมกราคมอย่างไรคะ งงกับเครสนี้มากเลยคะ

**อาจารย์คะ และถ้าบริษัทต้องการมีปืนมาไว้ใช้ได้หรือไม่คะ คำถามดังนี้คะ

1.จะบันทึกเป็นสินทรัพย์ได้ไหมคะ

2. มีภาษีซื้อไหมคะ

3.และจะให้เหตุผลซื้อมาเพื่อไรคะ

4. คิดค่าเสื้อมกี่ % กี่ปีคะ

อาจารย์คะหนูต้องขอโทษด้วยนะคะ ทีมีคำถามยาวมากเลยคะ หนูไม่เข้าใจคะ เลยต้องปรึกษาอาจารย์คะ

ขอบคุณมากคะ

กาญจนา

เรียน ครูสมใจ

อาจารย์คะ ยุ่งหรือคะ รบกวนช่วยตอบคำถามหนูด้วยนะคะ ถ้าอาจารย์ว่าง

ขอบคุณมากคะ

ขอแสดงความนับถือ

กาญจนา

ถึง กาญจนา

หากหนูมีปัญาหาก็ถามได้หากครูมีเวลาว่างก็จะตอบให้นะคะ

คำถาม 1.1 บันทึกได้ทั้ง 2 วิธี

1.2 ไม่ว่าจะบันทึกวิธีใด เราก็จะมีบัญชี Dr. ลูกหนี้กรมสรรพากร 22,413.71 Cr.เจ้าหนี้กรมสรรพากร 35,413.48 ยกยอดไปเดือนมกราคม ซึ่งทั้ง 2 ยอดนี้จะต้องหักลบกันอยู่แล้ว ถ้าเจ้าหนี้กรมสรรพากรเหลือมากกว่าก็ต้องนำส่ง และถ้าลูกหนี้กรมสรรพากรเหลือมากกว่าก็ต้องขอคืนหรือถือเป็น Cr.ภาษีเพื่อหักเจ้าหนี้กรมสรรพากรในเดือนถัดไป

คำถาม 2.1 และ 2.3 สัมพันธ์กัน หากบริษัทมีเหตุผลที่เพียงพอซึ่งคงต้องพิจารณาเป็นราย ๆ ไป ก็สามารถซื้อได้และบันทึกบัญชีเป็นสินทรัพย์ได้

2.2 ต้องมีภาษีซื้อแน่นอน แต่เป็นภาษีซื้อต้องห้ามหมายความว่าไม่สามารถนำไปหักภาษีขายได้ แต่สามารถนำภาษีซื้อนี้ไปรวมเป็นมูลค่าของสินทรัพย์ได้

2.3 เป็นสินทรัพย์อื่น หักค่าเสื่อมราคาได้ร้อยละ 20 กี่ปีนั้นอยู่ที่วิธีการคิดค่าเสื่อมราคา

เรียน ครูสมใจคะ

ขอบคุณมากคะสำหรับคำตอบที่อาจารย์ให้

ปืนที่จะซื้อมาเจ้าของบริษัทใช้เองคะ บริษัทนู๋ประกอบธุรกิจซื้อมาขายไป ควรให้เหตุผลใดที่พูดแล้วน่าเชื่อถือเวลาสรรพากร

มาตรวจอย่างไรดีคะ ถ้าให้เหตุผลเพื่อป้องกันตัวเองในการเดินทางติดต่อลูกค้าได้ไหมคะ หรือจะให้เหตุผลใดดีคะ

ขอคำแนะนำด้วยคะ

ขอแสดงความนับถือ

กาญจนา MWW

เรียน ครูสมใจคะ

ครูยุ่งหรือคะ จากคำถามข้างต้นนู๋ขอคำตอบด้วยนะ ว่าควรให้เหตุผลใดดีค่ะ

ขอบคุณมากคะ

ขอแสดงความนับถือ

ดอกเบี้ยและมูลค่าครบกำหนด

ตั๋วลงวันที่15 มีนาคม  2552  กำหนด 45 วัน ดอกเบี้ย 6เปอร์เซน มูลค่า 30000 บาท

ช่วยตอบหนูหน่อยค่ะคุณครู 

บันทึกค่าใช้จ่ายที่มีบางรายการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

1.มูลค่าสินค้าทั้งหมด 2,451.87

2.ภาษีซื้อ  171.63

3.มูลค่าสินค้าที่ยกเว้นภาษ๊ 19.00

4.จ่ายเงินสด  2,643 บาท

ภาษีที่ยกเว้นจะบันทึกยังไงค่ะรบกวนตอบด้วยนะค่ะอาจาร์ย 

นางสาวประวินนา โตจริง

การบันทึกบันชีในสมุดรายวันเกียวกับภาษีขายค่ะ

ถ้ามันถามว่า นำภาษีมูลค่าเพิ่มส่งสรรพากร

เราจะลงสมุดรายวันยังไงค่ะ



ซื้อสินค้าราคา 10000 ส่วนลดการค้า 10% จ่ายเงินสดชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% วิธีการบันทึกลงในสมุดรายวันทำยังไงค่ะ คือไม่เข้าใจเลยค่ะ ช่วยอธิบายหน่อยค่ะ ขอบคุณค่ะ

ขอเรียนถามค่ะ

ณ.วันที่ 15/03/60 บันทึกจ่ายค่าโทรศัพท์

Dr.ค่าโทรศัพท์ 1500

Dr.ภาาีซื้อ 105

Cr. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 45

Cr.เงินสด 1560

แต่เนื่องด้วย ตอนที่บันทึกไลน์ใบกำกับภาษี แล้วบันทึกยอดภาษีผิด ควรปรับปุงยังไงค่ะ (ใช้ Express ) -v[86I8jt

ถ้าเราปิดบัญชีภาษีซื้อขาย โดยที่เดือนนี้ต้องจ่าย แต่เรามีการนำเอาที่เครดิตไว้มาลบออก แต่ยังเหลือยอดลูกหนี้ ควรบันทึกบัญชีอย่างไรค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ขออนุญาตถามนะคะจากตัวอย่าง บริษัท ลักษมี จำกัดหนูอยากทราบว่า วันที่10 กับ วันที่15 ตัวเลขคิดยังไงคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท