สิ่งที่ได้จากการประเมินคุณภาพการศึกษา ณ ศูนย์วิทยบริการนอกจังหวัดพิษณุโลก


ระบบการจัดการที่เกิดจากการปฏิบัติจริง แนวคิด และข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการฯ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการประกันคุณภาพการศึกษา

การประเมินตรวจสอบคุณภาพการศึกษา ณ ศูนย์วิทยบริการนอกจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 10 จังหวัด ประกอบด้วย กำแพงเพชร เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ พิจิตร เพชรบูรณ์ แพร่ สุโขทัย อุตรดิตถ์ อุทัยธานี และปิดท้ายด้วยศูนย์วิทยบริการกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2549 ซึ่งดิฉันได้มีโอกาสทำหน้าที่เป็นเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งมี 2 ชุด คือ ชุดที่ 1 มี ดร.จตุรพร  รักษ์งาร เป็นประธาน และ อ.เอกรินทร์  ชุลีกร เป็นกรรมการ และชุดที่ 2 มี ผศ.ดร.นงนุช  โอบะ  เป็นประธาน  และ ดร.ปาจรีย์  ทองสนิท เป็นกรรมการ  โดยมีการประเมิน 3 องค์ประกอบ (1,9 และ 10) รวม 13 ดัชนี

       จากการทำหน้าที่ดังกล่าว คิดว่าเป็นกำไรแห่งความรู้อย่างยิ่ง ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงว่าศูนย์วิทยบริการมีการพัฒนาตนเอง โดยอาศัยการประกันคุณภาพทางการศึกษา ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการตรวจสอบ  ผู้ที่เกี่ยวข้องมีความตระหนักเรื่องการประกันคุณภาพ ซึ่งดูได้จากการเขียนรายงานการประเมินตนเอง การจัดเตรียมและระบบการจัดเอกสารสำหรับผู้ประเมินตรวจสอบ เป็นระบบการจัดการที่เกิดจากการปฏิบัติจริง และที่สำคัญ แนวคิดและข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการประเมินตรวจสอบ มีความสำคัญยิ่งต่อการประกันคุณภาพการศึกษา    นอกจากนี้ยังได้แอบจดจำเทคนิค วิธีการและกลวิธีในการสัมภาษณ์ให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากคณะกรรมการฯ เพื่อเป็นประโยชน์และใช้ในการพัฒนาหน่วยงานได้อีกด้วย

หมายเลขบันทึก: 30015เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2006 15:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สนใจไปดูรายงานการประเมินตนเองที่สนง.บัณฑิตวิทยาลัยครับ แต่ไม่ได้ส่งรายชื่อไปครับ
  • ถ้าพี่ตา ได้เล่าเทคนิค วิธีการ และกลวิธิในการสัมภาษณ์ให้ฟัง จะเป็นประโยชน์มากสำหรับชุมชนสำนักงานเลขานุการครับ

ขอบคุณน้องบอยมากค่ะ ที่สนใจดูรายงานการประเมินตนเองของสนง.เลขานุการบัณฑิตฯ (แหมมิได้ส่งชื่อก็เข้าร่วมกิจกรรมได้นะค๊ะ)ก็ได้ผ่านประเมินผ่านไปเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2549 สำหรับปีการศึกษา 2548 ด้วยความภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ที่ได้คะแนน 4.67 เพิ่มจากปีการศึกษา 2547 ซึ่งได้4.17 คะแนน  และที่สำคัญที่สุดได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่ง จากบุคลากรทุกคนของสนง.เลขานุการบัณฑิตฯ เราได้ประชุมร่วมกันเพื่อทำการสรุปการพัฒนางานประกันคุณภาพการศึกษาของสนง.โดยได้ดำเนินการดังนี้

1.  นำผลการประเมินตรวจสอบปีที่ผ่านมา รวมทั้งข้อเสนอแนะมาพิจารณาแก้ไขปรับปรุง

2.  เสนอแผนงาน/โครงการ เพื่อพัฒนาตามข้อเสนอแนะ

3.  ประชุมติดตามการพิจารณาตามประเด็นต่าง ๆ

4.  รวบรวมสิ่งที่ได้ทำและพัฒนาทั้งหมดมาเขียนรายงานการประเมินตนเอง

ขอเล่าถึงความภาคภูมิใจที่ได้รับมามากแล้ว ก็ขอเล่าเรื่องในสิ่งที่บอยต้องการให้เล่าถึงวิธีการสัมภาษณ์ของคณะกรรมการนั้น ก็"ครูพักลักจำ"มานะค๊ะ ลองคร่าว ๆ นะค๊ะว่า หากกรรมการฯ ท่านต้องการรู้เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของบุคลากรหรือนิสิตในการจัดทำแผนปฏิบัติการ หรือ มีส่วนร่วมในการบริหารงานอย่างไร ท่านก็จะสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องว่าเรารู้ได้อย่างไรว่าในแต่ละปี จะมีโครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเราบ้าง ถ้าผู้ที่ถูกสัมภาษณ์ตอบว่าได้เข้าร่วมการจัดทำแผนฯ ร่วมคิดโครงการให้ครอบคลุมภารกิจ ได้ร่วมประชุมเพื่อวางแผนและดำเนินงานในโครงการต่าง ๆ ฯลฯ

เท่านี้คณะกรรมการฯ ก็ได้ทราบแล้วว่าบุคลากร/นิสิตได้มีส่วนร่วมในการวางแผน ตลอดจนมีส่วนร่วมในการบริหารงานอีกด้วย

หวังว่าอ่านแล้วคงจะเข้าใจไม่มากก็น้องนะคณะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท