แม่น้ำเนรัญชรา


         แม่น้ำเนรัญชรา แม่น้ำสำคัญในพุทธประวัติ ชาวบ้านแถบนั้นเรียกว่า "ลิลาจัน" มาจากคำสันสกฤตว่า "ไนยรัญจนะ" แปลว่า แม่น้ำที่มีสีใสสะอาด แต่จริงแล้วเนรัญชรามีแต่ทรายเต็มไปหมด ทางน้ำไหลก็ตื้นเขินมาก และผู้คนสามารถเดินข้ามฝั่งไปมาได้ แต่วันที่ 10 กันยายน 2552 ฝนตกหนักทั้งวันทั้งคืนทำให้แม่น้ำเนรัญชรามีน้ำเต็มฝั่ง น้อยครั้งที่จะได้เห็น บางคนเดินทางมาที่นี้ไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้งก็ยังไม่เคยได้เห็น แม้แต่ผู้คนในประเทศอินเดียจำนวนมากมายต่างหลั่งไหลเหมือนกระแสน้ำเนรัญชราในเวลานี้จากทั้งสาระทิศมาทำพิธีขอพรจากแม่น้ำเนรัญชรา

 

       

              ในอดตีกาลขณะที่พระพุทธองค์บำเพ็ญทุกรกิริยาอยู่ที่เขาดงคสิริ ในตำบลอุรุเวลาเสนานิคม อยู่ไม่ห่างไกลกับบ้านนางสุชาดา ซึ่งเป็นธิดาของคหบดีผู้มั่งคั่งในตำบลนั้น มีบ้านอยู่บนเนินเขา อยู่ริมฝั่งทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเนรัญชรา ภิกษุทั้ง 5 รูปคือ ปัญจวัคคีย์ ก็คอยเฝ้าปฏิบัติบำรุง หวังไว้ว่าเมื่อตรัสรู้แล้วจะได้แสดงธรรมโปรดตนต่อมาพระสิทธัตถะทรงพิจารณาเห็นชัดว่า ทุกรกิริยาไม่ใช่ทางแห่งการตรัสรู้แน่นอนจึงกลับเสวยพระกระยาหารตามเดิม แล้วหันมาบำเพ็ญเพียรทางจิต ปัญจวัคคีย์เห็นเช่นนั้นเลยเข้าใจว่า พระองค์คงจะละความเพียรพยายาม หมดหวังในการตรัสรู้ จึงพากันละทิ้งพระองค์ไปอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวันแขวงเมืองพาราณสี

        

           ณ.แม่น้ำเนรัญชรา นี้นักโบราณคดีสัณนิษฐานว่า นางสุชาดาได้นำข้าวมธุปายาส ใส่ถาดทองคำจนเต็มไปถวายพระพุทธองค์ ซึ่งประทับอยู่ที่โคน ต้นไทรหันพระพักตร์ทางทิศตะวันออก พระสิทธัตถะได้เสวยจนหมด แล้วทรงถือถาดลงไปสู่แม่น้ำอธิษฐานเสี่ยงพระบารมีว่า "ถ้าหากข้าพเจ้าจะได้บรรลุอนุตร-สัมมาสัมโพธิญาณขอให้ถาดนั้นจงลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไป" ด้วยอานุภาพบารมีของพระองค์ ถาดทองคำก็ลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไป ประมาณ 1 เส้น แล้วจมลงในเส้นดิ่งตรงกับต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ซึ่งอยู่บนฝั่งทางทิศตะวันตก

หมายเลขบันทึก: 300015เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2009 09:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

หวัดดีคับ ลุงเอก..

ก่อนอื่น กู๊ดดี้ขอบพระคุณคุณลุงมากคับ ที่แวะไปเยี่ยมกู๊ดดี้ที่บล็อค..

กู๊ดดี้ก็เลยแวะมาอ่านเรื่องราวของ แม่น้ำเนรัญชรา แม่น้ำสำคัญในพุทธประวัติ .. เพราะคุณปู่คุณย่าก็เพิ่งเขียนจดหมายเล่าเรื่องการเดินทางไปอินเดีย ว่าจะเอามาลงให้อ่านเหมือนกันคับ..

เรื่องที่คุณลุงเอก ถามมาว่า คุณพ่อน้องกู๊ดดี้เป็นคนทุ่งสงหรือเปล่า??

คุณพ่อฝากถามมาคับว่า.. ถ้าคุณลุงเอก เป็นคนทุ่งสงที่มีบ้านอยู่ใกล้ๆ บ้านคุณพ่อ แล้วเคยวางแผนกันเมื่อสมัยเด็กๆ ว่าจะขุดอุโมงค์ทะลุจากบ้านคุณลุงเอกมาที่บ้านคุณพ่อ อิอิ..((คุณพ่อเล่าให้ฟังคับ))

ถ้าใช่...ก็...ก็...เอ่อ....((แอ่น แอ้น แอ๊นนน..))

ถูกต้องแล้วคร๊าบบบบบบบบบบ... คุณพ่อบอกว่า ดีใจที่ได้เจอคุณลุงเอกเช่นกันคับ..((โลกไซเบอร์มันก็ดีอย่างนี้นี่เอง))

ดีครับ ปัญหาที่ลูกกู๊ดดี้ถามไว้ครับ ใช่แล้วครับคนเดียวกัน (ลุงเอกที่เป็นคนทุ่งสงที่มีบ้านอยู่ใกล้ๆ บ้านคุณพ่อ แล้วเคยวางแผนกันเมื่อสมัยเด็กๆ ว่าจะขุดอุโมงค์ทะลุจากบ้านคุณลุงเอกมาที่บ้านคุณพ่อ) นี้ก็เกือบจะสิบปีแล้วนะที่คุณลุงกับพ่อหนูไม่เคยได้เจอหรือคุยกันเลย ดีใจที่เพื่อนมีครอบครัวที่น่ารัก คิดถึงและดีใจมากๆๆ ..ที่ลูกกู๊ดดี๊บอกว่าโลกไซเบอร์มันก็ดี ก็จริงครับ ลุงเห็นด้วย เป็นเด็กดีนะครับ

สวัสดีค่ะ

มาชมแม่น้ำสำคัญในพระศาสนาค่ะ

  • ตามมาดูแม่น้ำครับ
  • โอโหเหมือนบ้านเราเลย
  • อยากไปเที่ยวอินเดีย
  • แต่ยังไม่มีโอกาสครับ
  • ถ้าผ่านมาทางเกษตรศาสตร์ แวะบ้างนะครับ

สวัสดีครับ อ.ขจิต ฝอยทอง ครับบรรยากาศที่นี้เหมือนเมืองไทยแต่มีกลิ่นไอแบบโรตีครับ ดินแดนแห่งพุทธศาสนาควรหาโอกาสไปครับ ยินดีรับคำเชิญ

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณค่ะที่แวะไปอ่านบันทึก เหตุที่พระพุทธองค์ต้องทรง "เดินเท้า" ไปปรินิพพาน ค่ะ

หวัดดีคับ คุณลุงเอก..

ตกลงแปลนที่เราจะขุดอุโมงค์ เริ่มเมื่อไหร่ดีคับ..กู๊ดดี้พร้อมแล้ว..อิอิ

กู๊ดดี้แวะมาราตรีสวัสดิ์ลุงเอกคับ..

ดีครับลูกกู๊ดดี้ ราตรีสวัสดิ์

สวัสดีค่ะ

.ดิฉันไปสังเวชนียสถานช่วงเดือนตุลาคมค่ะ ไม่เห็นน้ำเต็มอย่างนี้เลย ดีจังค่ะที่อาจารย์ได้เห็น ดิฉันเห็นน้ำเล้กน้อย นอกนั้นก็เต็มไปด้วยสันทราย โอกาสหน้าจะไปอีกครั้งค่ะ

. รูปสวยงามมากค่ะ มีชีวิตชีวาดีจังค่ะ

สวัสดีครับ คุณอุมดมพันธ์

ครับแม่น้ำเนญชราไม่มีน้ำเต็มฝั่งให้เห็นบ่อยๆ ครับ ส่วนมากมักจะเจอแต่สันทรายอย่างที่คุณอุดมพันธ์ไปเจอมา ขอบคุณมากที่เข้ามาเยี่ยมชมครับ

ขอบคุณณัฐรดาเช่นเดียวกันที่แวะมาเยี่ยม

เคยเห็นแม่น้ำนี้เต็มในหน้าน้ำ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท