การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย


ไม่ว่าจะร่ำรวยเพียงใด ประสบความสำเร็จแค่ไหน เมื่อถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ไม่มีอะไรอีกแล้วที่มนุษย์เราต้องการมากไปกว่าการตายอย่างสงบ ความสงบในยามนี้ เงิน ชื่อเสียง ก็ช่วยไม่ได้ ส่วนเทคโนโลยีก็มิใช่คำตอบ มีแต่ความรักของญาติมิตร ตลอดจนแพทย์ และพยาบาลเท่านั้นที่จะช่วยประคองให้เขามาถึงวาระสุดท้ายของชีวิตได้อย่างสงบ นี้เป็นกุศลกรรมอย่างยิ่งที่มนุษย์พึงกระทำต่อมนุษย์ด้วยกัน

          ผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่ศูนย์มะเร็งฯ เป็นเสมือนเครือญาติของเรา เนื่องด้วยโรคมะเร็งเป็นโรคเรื้อรัง แผนการรักษาส่วนใหญ่จะต้องใช้ระยะเวลานาน ได้แก่ การผ่าตัด เคมีบำบัด โดยเฉพาะรังสีรักษา ผู้ป่วยที่มารับบริการส่วนใหญ่มาพบแพทย์เมื่อมีอาการมากแล้วดังนั้นระยะของโรคย่อมดำเนินไปไกลพอควร ทำให้แผนการรักษาจำเป็นต้องมุ่งเป้ามาที่ paliative care โดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย

          บุคคลากรทางการแพทย์จำนวนไม่น้อยอาจรู้สึกลำบากใจในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย หรือผู้ป่วยใกล้ตาย เนื่องจากภาวะใกล้ตายของผู้ป่วยอาจกระตุ้นความวิตกกังวลเกี่ยวกับความตายของตัวผู้รักษาเอง หรืออาจรู้สึกล้มเหลวที่ไม่สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้ หรือมองไม่ออกว่าจะช่วยเหลือผู้ป่วยในระยะนี้ได้อย่างไร ทำให้รู้สึกท้อแท้ หรืออึดอัดใจ และพยายามหลีกเลี่ยงการเผชิญกับปัญหา โดยให้เวลากับผู้ป่วยน้อยลง หรือหลีกเลี่ยงที่จะพูดคุยกับผู้ป่วย

          จุดสำคัญในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายจึงอยู่ที่ การทำความเข้าใจและเอาชนะความรู้สึกอึดอัดใจของตนเอง โดยมองให้เห็นถึงสิ่งที่เราสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้

          หากสังเกตดูตามความเป็นจริง จะพบว่าในฐานะบุคคลากรทางการแพทย์นั้น เราสามารถให้การรักษาผู้ป่วยได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น สิ่งที่ทำได้มากกว่าคือการช่วยบรรเทาอาการ แต่ในบางครั้งแม้แต่การบรรเทาอาการเราก็ยังไม่สามารถทำได้ สิ่งเดียวที่เราสามารถทำได้เสมอ และเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการมากก็ คือ การให้การดูแลเอาใจใส่และความห่วงใย (cure sometimes, comfort often, care always).

          ผู้ป่วยระยะสุดท้ายนอกจากจะต้องเผชิญกับความทุกข์ทางกายแล้ว ยังมีความทุกข์ทางใจอีกด้วย ความทุกข์ประการหลังนี้ย่อมส่งผลให้อาการทางกายทรุดลง และไม่สนองตอบต่อการรักษาหรือเยียวยาทางกาย อีกทั้งในท้ายที่สุดแล้วย่อมไม่อาจทำให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบได้

          การจากไปอย่างสงบ โดยไม่ทุรนทุรายหรือทุกข์ทรมานอย่างน้อยในทางจิตใจนั้น เป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อผู้ป่วย อันที่จริงแล้วต้องถือว่าความสงบในวาระสุดท้ายของชีวิตเป็นสิ่งมีค่าสูงสุดประการสุดท้ายที่มนุษย์ทุกคนควรจะได้ประสบก่อนละจากโลกนี้ไป ประสบการณ์ดังกล่าวมิใช่เรื่องสุดวิสัยสำหรับปุถุชนเลย มนุษย์ทุกคนมีความสามารถที่จะเผชิญกับความตายอย่างสงบ หากมีการฝึกฝนมาดีพอหรือได้รับการตระเตรียมช่วยเหลือจากกัลยาณมิตร

          ผู้อยู่รอบข้างมีความสำคัญอย่างมากต่อผู้ป่วยระยะสุดท้าย ไม่ว่าเป็นญาติมิตร แพทย์ พยาบาล ล้วนมีบทบาทในการช่วยให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายเผชิญกับความตายอย่างสงบ ไม่ตื่นตระหนก ทุรนทุราย มีหลายสิ่งที่ผู้อยู่รอบข้างสามารถทำได้เพื่อให้ความช่วยเหลือทางจิตใจแก่ผู้ป่วยเหล่านี้ อาทิ  (พระไพศาล วิสาโล,2552)

๑. การให้ความรัก

ความทุกข์ที่รบกวนจิตใจผู้ป่วยระยะสุดท้ายอย่างมากได้แก่ความกลัว เช่น กลัวตาย กลัวที่จะถูกทอดทิ้ง กลัวที่จะตายไปอย่างโดดเดี่ยว ตลอดจนกลัวความเจ็บปวดที่รุมเร้า ในยามนี้ความรักหรือเมตตาจิตของญาติมิตร แพทย์ และพยาบาล จะช่วยให้ผู้ป่วยมีความกลัวน้อยลง จิตใจเข้มแข็งมั่นคงขึ้น ในสภาวะที่จิตเปราะบางอ่อนแออย่างยิ่ง ผู้ป่วยต้องการใครสักคนที่เขาจะพึ่งพาได้ คนที่จะอยู่กับเขาในยามวิกฤต ถ้ามีใครสักคนที่พร้อมจะให้ความรักแก่เขาได้อย่างเต็มเปี่ยมหรือไม่มีเงื่อนไข เขาจะยิ่งมีกำลังใจที่จะเผชิญกับทุกข์ภัยนานาประการที่เข้ามา จะว่าไปแล้วความรักอาจเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการมากที่สุด มากกว่ายารักษาโรคด้วยซ้ำ

 

๒.การช่วยให้ผู้ป่วยยอมรับความตายที่จะมาถึง

ผู้ป่วยจำนวนเป็นอันมากนึกไม่ถึงว่าตนเองกำลังเป็นโรคที่ร้ายแรง และอาการได้พัฒนามาถึงระยะสุดท้ายชนิดที่มีโอกาสรักษาให้หายได้น้อยมาก ผู้ป่วยเหล่านี้ยากที่จะยอมรับว่าตนเองกำลังจะตาย จึงพยายามปฏิเสธที่จะรับรู้เรื่องนี้ การปฏิเสธความตายดังกล่าวย่อมทำให้ผู้ป่วยทุรนทุราย ดิ้นรนขัดขืน และดังนั้นจึงทำให้ยากที่จะเผชิญความตายด้วยใจสงบได้ ญาติมิตร แพทย์ และพยาบาลสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยดังกล่าวได้ด้วยการพูดคุยให้เขายอมรับความจริงในที่สุด โดยทั่วไปแล้วแพทย์จะมีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ โดยเฉพาะหลังจากที่ได้สร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดหรือได้รับความไว้วางใจจากผู้ป่วยแล้ว แต่แม้กระนั้นการทำให้ผู้ป่วยยอมรับความตายที่กำลังจะเกิดขึ้น มักเป็นกระบวนการที่ใช้เวลานาน นอกเหนือจากความรักและความไว้วางใจแล้ว แพทย์ พยาบาล ตลอดจนญาติมิตร จำต้องมีความอดทน และพร้อมที่จะฟังความในใจจากผู้ป่วย การที่ผู้ป่วยไม่ยอมรับความตายที่จะมาถึงอาจเป็นเพราะมีบางสิ่งบางอย่างที่ยังคั่งค้าง หรือเพราะความกังวลกับบางเรื่อง รวมทั้งความกลัวต่าง ๆ นานา สิ่งเหล่านี้ควรได้รับการเปิดเผยหรือระบายออกมา เพื่อจะได้บรรเทาและเยียวยา ในการนี้แพทย์ พยาบาล และญาติมิตร ไม่ควรเริ่มต้นด้วยการเทศนาสั่งสอน แต่ควรเป็นฝ่ายซักถาม และรับฟังเขาด้วยใจเปิดกว้างให้มากที่สุด หากเขามั่นใจว่ามีคนที่พร้อมจะเข้าใจเขา เขาจะรู้สึกปลอดภัยที่จะเผยความในใจออกมา ขณะเดียวกันการซักถามที่เหมาะสมอาจช่วยให้เขาระลึกรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ทำให้เขามิอาจยอมรับความตายได้ หรือทำให้เขาได้คิดขึ้นมาว่าความตายเป็นสิ่งที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้และไม่จำต้องลงเอยอย่างเลวร้ายอย่างที่เขากลัว การช่วยให้เขาคลายความกังวลเกี่ยวกับลูกหลานหรือคนที่เขารัก อาจช่วยให้เขาทำใจรับความตายได้มากขึ้น บางกรณีผู้ป่วยอาจระบายโทสะใส่แพทย์ พยาบาล และญาติมิตร ทั้งนี้เพราะโกรธที่ปิดบังความจริงเกี่ยวกับอาการของเขาเป็นเวลานาน ปฏิกิริยาดังกล่าวสมควรได้รับความเข้าใจจากผู้เกี่ยวข้อง หากผู้ป่วยสามารถข้ามพ้นความโกรธ และการปฏิเสธความตายไปได้ เขาจะยอมรับสภาพความเป็นจริงที่เกิดกับตัวเขาได้ง่ายขึ้น

๓.การช่วยให้จิตจดจ่อกับสิ่งดีงาม

การนึกถึงสิ่งดีงามช่วยให้จิตใจเป็นกุศลและบังเกิดความสงบ ทำให้ความกลัวคุกคามจิตได้น้อยลง และสามารถเผชิญกับความเจ็บปวดได้ดีขึ้น เราสามารถน้อมนำให้ผู้ป่วยนึกถึงสิ่งดีงามได้หลายวิธี เช่น นำเอาพระพุทธรูปหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้ป่วยเคารพนับถือมาตั้งไว้ในห้องเพื่อเป็นเครื่องระลึกนึกถึง หรือชักชวนให้ผู้ป่วยทำวัตรสวดมนต์ร่วมกัน การเปิดเท้ปธรรมะหรือพระสวดมนต์เป็นอีกวิธีหนึ่งในการน้อมจิตของผู้ป่วยให้บังเกิดความสงบ นอกจากนั้นเรายังสามารถน้อมใจผู้ป่วยให้เกิดกุศลด้วยการชักชวนให้ทำบุญถวายสังฆทาน หรือชวนให้ผู้ป่วยระลึกถึงความดีที่ตนเองได้บำเพ็ญในอดีต ซึ่งไม่จำเป็นต้องหมายถึงการทำบุญกับพระหรือศาสนาเท่านั้น แม้แต่การเลี้ยงดูลูก ๆ ให้เป็นคนดี เสียสละ ดูแลพ่อแม่ด้วยความรัก หรือสอนศิษย์อย่างไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก เหล่านี้ล้วนเป็นบุญกุศลหรือความดีที่ช่วยให้เกิดความปีติปลาบปลื้มแก่ผู้ป่วย และบังเกิดความมั่นใจว่าตนจะได้ไปสุคติ ความมั่นใจดังกล่าวเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วยในยามที่ตระหนักชัดว่าทรัพย์สินเงินทองต่าง ๆ ที่สะสมมานั้น ตนไม่สามารถจะเอาไปได้ มีแต่บุญกุศลเท่านั้นที่จะพึ่งพาได้ในภพหน้า คนทุกคนไม่ว่าจะยากดีมีจน หรือทำตัวผิดพลาดมาอย่างไร ย่อมเคยทำความดีที่น่าระลึกถึงไม่มากก็น้อย

 

๔.การช่วยปลดเปลื้องสิ่งค้างคาใจ

เมื่อผู้ป่วยรู้ว่าวาระสุดท้ายของชีวิตใกล้มาแล้ว สิ่งหนึ่งซึ่งจะทำความทุกข์แก่จิตใจ และทำให้ไม่อาจตายอย่างสงบ (หรือ "นอนตายตาหลับ" )ได้ ก็คือ ความรู้สึกค้างคาใจในบางสิ่งบางอย่าง สิ่งนั้นอาจได้แก่ภารกิจการงานที่ยังคั่งค้าง ทรัพย์สินที่ยังแบ่งสรรไม่แล้วเสร็จ ความโกรธแค้นใครบางคน หรือความรู้สึกผิดบางอย่างที่เกาะกุมจิตใจมานาน ความปรารถนาที่จะพบคนบางคนเป็นครั้งสุดท้าย โดยเฉพาะคนที่ตนรัก หรือคนที่ตนปรารถนาจะขออโหสิกรรม ความห่วงกังวลหรือความรู้สึกไม่ดีที่ค้างคาใจเป็นสิ่งที่สมควรได้รับการปลดเปลื้องอย่างเร่งด่วน หาไม่แล้วจะทำให้ผู้ป่วยทุรนทุราย พยายามปฏิเสธผลักไสความตาย และตายอย่างไม่สงบ ซึ่งนอกจากจะหมายถึงความทุกข์อย่างมากแล้ว ในทางพุทธศาสนาเชื่อว่าจะส่งผลให้ผู้ตายไปสู่ทุคติด้วยแทนที่จะเป็นสุคติ

ญาติมิตร ตลอดจน แพทย์ และพยาบาล ควรเปิดใจและฉับไวกับเรื่องดังกล่าว บางครั้งผู้ป่วยไม่พูดตรง ๆ ผู้อยู่รอบข้างควรมีความละเอียดอ่อน และสอบถามด้วยความใส่ใจและมีเมตตา ไม่รู้สึกรำคาญ ในกรณีที่เป็นภารกิจที่ยังคั่งค้าง ควรหาทางช่วยเหลือให้ภารกิจนั้นเสร็จสิ้น หากเขาปรารถนาพบใคร ควรรีบตามหาเขามาพบ หากฝังใจโกรธแค้นใครบางคน ควรแนะนำให้เขาให้อภัย ไม่ถือโทษโกรธเคืองอีกต่อไป ในกรณีที่เป็นความรู้สึกผิดที่ค้างคาใจเนื่องจากทำสิ่งที่ไม่สมควร ในยามนี้ไม่ใช่เวลาที่จะประณามหรือตัดสินเขา หากควรช่วยให้เขาปลดเปลื้องความรู้สึกผิดออกไป อาทิเช่น ช่วยให้เขาเปิดใจและรู้สึกปลอดภัยที่จะขอโทษหรือขออโหสิกรรมกับใครบางคน ขณะเดียวกันการแนะนำให้ฝ่ายหลังยอมรับคำขอโทษและให้อภัยผู้ป่วย ก็เป็นสิ่งสำคัญที่คนรอบข้างสามารถช่วยได้

๕.การช่วยให้ผู้ป่วยปล่อยวางสิ่งต่าง ๆ

การปฏิเสธความตาย ขัดขืนไม่ยอมรับความจริงที่อยู่เบื้องหน้า เป็นสาเหตุแห่งความทุกข์ของผู้ป่วยในระยะสุดท้าย และเหตุที่เขาขัดขืนดิ้นรนก็เพราะยังติดยึดกับบางสิ่งบางอย่าง ไม่สามารถพรากจากสิ่งนั้นได้ อาจจะได้แก่ ลูกหลาน คนรัก พ่อแม่ ทรัพย์สมบัติ งานการ หรือโลกทั้งโลกที่ตนคุ้นเคย ความรู้สึกติดยึดอย่างแน่นหนานี้สามารถเกิดขึ้นได้แม้กับคนที่มิได้มีความรู้สึกผิดค้างคาใจ(ดังกล่าวในข้อ ๓.) เมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมทำให้เกิดความกังวล ควบคู่กับความกลัวที่จะต้องพลัดพรากสิ่งอันเป็นที่รักเหล่านั้น ญาติมิตร ตลอดจนแพทย์และพยาบาลควรช่วยให้เขาปล่อยวางให้มากที่สุด เช่น ให้ความมั่นใจแก่เขาว่า ลูกหลานสามารถดูแลตนเองได้ หรือพ่อแม่ของเขาจะได้รับการดูแลด้วยดี หรือเตือนสติแก่เขาว่า ทรัพย์สมบัตินั้นเป็นของเราเพียงชั่วคราว เมื่อถึงเวลาก็ต้องให้คนอื่นดูแลต่อไป

ในบรรดาความติดยึดทั้งหลาย ไม่มีอะไรที่ลึกซึ้งแน่นหนากว่าความติดยึดในตัวตน ความตายในสายตาของคนบางคนหมายถึงความดับสูญของตัวตน ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาทนไม่ได้และทำใจยาก เพราะลึก ๆ คนเราต้องการความสืบเนื่องของตัวตน ความเชื่อว่ามีสวรรค์นั้นช่วยตอบสนองความต้องการส่วนลึกดังกล่าวเพราะทำให้ผู้คนมั่นใจว่าตัวตนจะดำรงคงอยู่ต่อไป แต่สำหรับคนที่ไม่เชื่อเรื่องสวรรค์หรือภพหน้า ความตายกลายเป็นเรื่องที่น่ากลัวอย่างที่สุด

ในทางพุทธศาสนา ตัวตนนั้นไม่มีอยู่จริง หากเป็นสิ่งที่เราทึกทักขึ้นมาเองเพราะความไม่รู้ สำหรับผู้ป่วยที่มีพื้นฐานทางพุทธศาสนามาก่อน อาจมีความเข้าใจในเรื่องนี้ไม่มากก็น้อย แต่คนที่สัมผัสพุทธศาสนาแต่เพียงด้านประเพณีหรือเฉพาะเรื่องทำบุญสร้างกุศล การที่จะเข้าใจว่าตัวตนนั้นไม่มีอยู่จริง (อนัตตา) คงไม่ใช่เรื่องง่าย อย่างไรก็ตามในกรณีที่ญาติมิตร แพทย์ และพยาบาลมีความเข้าใจในเรื่องนี้ดีพอ ควรแนะนำให้ผู้ป่วยค่อย ๆ ปล่อยวางในความยึดถือตัวตน เริ่มจากความปล่อยวางในร่างกายว่า เราไม่สามารถบังคับร่างกายให้เป็นไปตามปรารถนาได้ ต้องยอมรับสภาพที่เป็นจริง ว่าสักวันหนึ่งอวัยวะต่าง ๆ ก็ต้องเสื่อมทรุดไป ขั้นตอนต่อไปก็คือการช่วยแนะให้ผู้ป่วยปล่อยวางความรู้สึก ไม่ยึดเอาความรู้สึกใด ๆ เป็นของตน วิธีนี้จะช่วยลดทอนความทุกข์ ความเจ็บปวดได้มาก เพราะความทุกข์มักเกิดขึ้นเพราะไปยึดเอาความเจ็บปวดนั้นเป็นของตน หรือไปสำคัญมั่นหมายว่า "ฉันเจ็บ" แทนที่จะเห็นแต่อาการเจ็บเกิดขึ้นเฉย ๆ การละความสำคัญมั่นหมายดังกล่าวจะทำได้ต้องอาศัยการฝึกฝนจิตใจพอสมควร แต่ก็ไม่เกินวิสัยที่ผู้ป่วยธรรมดาจะทำได้ โดยเฉพาะหากเริ่มฝึกฝนขณะที่เริ่มป่วย มีหลายกรณีที่ผู้ป่วยด้วยโรคร้าย สามารถเผชิญกับความเจ็บปวดอย่างรุนแรงได้โดยไม่ต้องใช้ยาแก้ปวดเลย หรือใช้แต่เพียงเล็กน้อย ทั้งนี้เพราะสามารถละวางความสำคัญมั่นหมายในความเจ็บปวดได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือใช้ธรรมโอสถเยียวยาจิตใจ

๖.การสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อความสงบใจ

ความสงบใจและความปล่อยวางสิ่งค้างคาติดยึดในใจผู้ป่วยนั้น จะเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่องจำต้องมีบรรยากาศรอบตัวเอื้ออำนวยด้วย ในห้องที่พลุกพล่านด้วยผู้คนเข้าออก มีเสียงพูดคุยตลอดเวลา หรือมีเสียงเปิดปิดประตูทั้งวัน ผู้ป่วยย่อมยากที่จะประคองจิตให้เป็นกุศลและเกิดความสงบได้ กล่าวในแง่จิตใจของผู้ป่วยแล้ว สิ่งที่ญาติมิตร รวมทั้งแพทย์และพยาบาลสามารถช่วยได้เป็นอย่างน้อยก็คือ ช่วยสร้างบรรยากาศแห่งความสงบ งดเว้นการพูดคุยที่รบกวนผู้ป่วย งดการถกเถียงในหมู่ญาติพี่น้อง หรือร้องห่มร้องไห้ ซึ่งมีแต่จะเพิ่มความวิตกกังวลและความขุ่นเคืองใจแก่ผู้ป่วย เพียงแค่ญาติมิตรพยายามรักษาจิตใจของตนให้ดี ไม่เศร้าหมอง สลดหดหู่ ก็สามารถช่วยผู้ป่วยได้มาก เพราะสภาวะจิตของคนรอบตัวนั้นสามารถส่งผลต่อบรรยากาศและต่อจิตใจของผู้ป่วยได้ จิตของคนเรานั้นละเอียดอ่อน สามารถรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่นได้ แม้จะไม่พูดออกมาก็ตาม ความละเอียดอ่อนดังกล่าวมิได้เกิดขึ้นเฉพาะในยามปกติ หรือยามรู้ตัวเท่านั้น แม้กระทั่งผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะโคม่าก็อาจสัมผัสกับกระแสจิตของผู้คนรอบข้างได้
       

          สิ่งที่สร้างความทุกข์แก่ผู้ป่วยระยะสุดท้ายนั้น ถึงที่สุดแล้ว มิใช่ความเจ็บปวดหรือความเสื่อมทรุดแตกสลายทางกาย หากได้แก่ความกลัว ความวิตกกังวล และความบีบคั้นทางใจมากกว่า การเยียวยาและให้ความช่วยเหลือทางจิตใจจึงเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยระยะสุดท้ายต้องการเป็นอย่างยิ่ง

          ไม่ว่าจะร่ำรวยเพียงใด ประสบความสำเร็จแค่ไหน เมื่อถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ไม่มีอะไรอีกแล้วที่มนุษย์เราต้องการมากไปกว่าการตายอย่างสงบ ความสงบในยามนี้ เงิน ชื่อเสียง ก็ช่วยไม่ได้ ส่วนเทคโนโลยีก็มิใช่คำตอบ มีแต่ความรักของญาติมิตร ตลอดจนแพทย์ และพยาบาลเท่านั้นที่จะช่วยประคองให้เขามาถึงวาระสุดท้ายของชีวิตได้อย่างสงบ นี้เป็นกุศลกรรมอย่างยิ่งที่มนุษย์พึงกระทำต่อมนุษย์ด้วยกัน

          การช่วยให้บุคคลไปสู่ความตายอย่างสงบ พยาบาลมีกิจกรรมที่สำคัญได้แก่
1. การดูแลให้ความสุขสบาย (Care and comfort) ช่วยเหลือบุคคลให้สามารถจัดการกับปัญหาทางสุขภาพและการเจ็บป่วย (health illness continuum) ได้ด้วยตนเอง
หน้าที่ของพยาบาลจึงมุ่งที่จะวิเคราะห์ข้อมูลทางการพยาบาล เพื่อให้ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล (assessment and diagnosis)
2. ให้คำแนะนะ คำสอนด้านสุขภาพ (health teaching) เพื่อคงไว้ซึ่งสุขภาพอันดีและส่งเสริมผลการรักษา มุ่งด้านการดูแลตัวเอง (Self care) ด้วยการส่งเสริมสนับสนุนของสมาชิกในครอบครัว
3. ให้คำปรึกษา (counseling) ด้านสุขภาพอนามัยทั้งในภาวะปกติ และขณะที่มีภาวะกดดันอันเป็นเหตุให้สุขภาพเบี่ยงเบนไปจากปกติ
4. ให้การดูแลด้านสรีรจิตสังคม (physiopsychosocial intervention) โดยใช้วิธีปฏิบัติ
ทางการพยาบาล การบริการสุขภาพด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ : ปรัชญพื้นฐานของการพยาบาล

 

อ้างอิง

Buckman R, Kason Y. How to break bad news: A guide for health-care professionals. London: Papermac, 1992: 11-81.

Donovan K. Breaking bad news. In: Division of Mental Health, World Health Organization. Communicating bad news: Behavioral science learning modules. Geneva: Division of Mental Health, World Health Organization, 1993: 3-14.

Dubovsky SL, Weissberg MP. Clinical psychiatry in primary care, 3rd ed. Baltimore: Williams & Wilkins, 1986: 176-82.

Premi JN. Communicating bad news to patients. In: Division of Mental Health, World Health Organization. Communicating bad news: Behavioral science learning modules. Geneva: Division of Mental Health, World Health Organization, 1993: 15-21.

http://tumentalclinic.multiply.com/reviews/item/59

หมายเลขบันทึก: 299790เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2009 13:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (28)

ทำไมตัวหนังสือมันเล็กแบบนี้อ่ะค้า

แย่จังๆๆ

ไปประชุม C3THER ก่อน เด๋วมาแก้ไขใหม่ค่า

สวัสดีค่ะ

  • คนที่ดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องมีใจรัก
  • และเสียสละพอสมควรนะคะ
  • ขอส่งเสริมคนดีๆในการช่วยเหลือสังคมต่อไปค่ะ *^__^*

 

สวัสดีค่ะคุณน้องพิชชา

ขอบคุณค่ะ ^__^

มีผู้ป่วยระยะสุดท้ายรายนึงที่ยังเป็นปัญหาคาใจ ต้องการขอความคิดเห็นจากผู้รู้ด้วยค่ะ

แต่สงสัยจัง ทำไมตัวหนังสือมันเล็กนิดเดียวอ่ะน้า แหะๆๆ งงๆๆ

  • ตามมาอ่าน
  • อยากให้อ่านงานหมอสกล หมอเต็มศักดิ์ครับ
  • ตัวอักษรไม่เล็กนี่ครับ
  • ถ้าเล็กกดนี้ครับ
  • Large_font
  • อยู่ขาวมือข้างบน สำหรับ สว ฮ่าๆๆ
  • น้องหนึ่งกล้าใช้หรือครับ ก๊ากๆๆๆๆๆๆ

สวัสดีค่ะอาจารย์ขจิต

อ๋อ...ตัวอักษร ก ไก่ ที่อยู่มุมบนขวาใช่ป่าวคะ

สำหรับ สว. โดยเฉพาะเลยเหรอคะเนี่ย อิอิ

สงสัยว่าจะต้องใช้บริการ ตัว ก ไก่ ที่ว่านี้แล้วเหมือนกันนะค้า 5555

แหะๆๆ ทดลองใช้แล้ว ตัวอักษรมันใหญ่ไปอ่ะค่า

แบบเดิมดีกว่าๆๆๆ อิอิ

งานอาจารย์หมอสกล กับอาจารย์หมอเต็มศักดิ์เหรอคะ

ตามไปอ่านๆๆๆๆๆๆค่า

ปล.ขอสอบถามอาจารย์ขจิตอีกนิดได้ป่าวคะ

เวลาเราเขียน comment แล้วต้องการใส่รูปตรงที่ comment ด้วย คือว่าต้องทำยังไงอ่ะคะ

(แหะๆๆๆ ยังต้องเรียนรู้อีกเยอะเลยค่า >_<)

  • รูปอะไรครับ
  • ถ้าเป็นรูปที่ load แล้วจะเอาขึ้นมาได้ครับน้องหนึ่ง
  • เช่น
  • ข้างล่างเขียนว่า คลิกที่นี่เพื่อแทรกภาพไงครับ
  • ส้มตำ KU

โอยเห็นภาพสเต็กที่มหาวิทยาลัยแล้ว หิวๆๆๆ

ง่า... รูปตัวอย่างเรียกน้ำย่อยมากๆๆค่ะอาจารย์ขจิต อิอิอิ หิวๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ทดสอบๆๆๆ

 

เย้ๆๆๆๆ ขอบคุณมากๆๆเลยค่า ทำได้แล้วๆๆๆๆๆ

(รูปเดิมๆๆเลยค่ะ อิอิ)

  • เย้ๆๆเยี่ยมมาก
  • ทะเลสวยมาก
  • ถ้าไม่มีนางแบบบดบังวิว
  • ฮ่าๆๆ

นางแบบขอนั่งมุมเล็กๆแล้วนะคะเนี่ย อิอิ

ฟ้าสวย ทะเลใส นางแบบสวยใสเหมือนฟ้ากับทะเลค่า 5555 (ชมตัวเองซะงั้น 555)

  • เอาภาพเคลื่อนไหวมาให้ดู
  • load เก็บไว้ในไฟล์อัลบั้มก่อนนะครับ
  • ไม่เจอหน่อยเดียวเป้นตัวการ์ตูนไปเสียแล้ว
  • ฮ่าๆๆๆๆๆ
  • ก๊ากๆๆๆๆ
  • ก็ยังไม่ download มันเลยไม่เคลื่อนไหวครับ
  • ทำไปได้

55555

ภาพนี้หนึ่งลองทำ presentation คล้ายๆที่ใช้โชว์ในงานแต่งงานต่างๆอ่ะค่า น่ารักมั้ยค้า

แต่เป็นงานชิ้นแรก ที่หัดทำ ใช้โชว์ในงานรับน้องที่ผ่านมา อิอิ

เอารูปเพื่อนๆทุกคนมาทำเป็นตัวการ์ตูนหัวโตแบบนี้ แล้วก้อยึกยักๆแบบนี้ ไม่มียกเว้นค่า

แล้วก้อใส่เพลงลงไป ประมาณว่าแนะนำรุ่งพี่ 16 ชีวิตอ่ะค่า เซฟไฟล์เป็นดีวีดีซะด้วย จะเอาลงยังไงดีคะ

ผลงานชิ้นแรก ผลิตโดย Hana จัง 555

หัวสั่นด๊อกแด๊ก...

แวะมาเยี่ยมครับ

สวัสดีค่ะคุณหนานเกียรติ

แหะๆ หัดใช้ photoshop สู้ๆค่า อิอิ

เพื่อนพี่ที่ทำงานด้วยกันสนิทกันมากกำลังอยู่ในระยะนี้

น่าสงสารมากค่ะ

มาขอบคุณไกด์ลาวด้วยค่ะ  555

สอนพี่ด้วยค่ะ หัวด๊อกแด๊กๆๆๆ

ชอบมากๆๆๆ

 

สวัสดีค่ะพี่ครูอรวรรณ

ทำหัวด๊อกแด๊กๆๆแบบนี้เหรอคะ ไม่ยากๆๆค่า

ได้เล้ยๆๆๆๆ..^___^

ตามมาก่อกวนจากโรงพยาบาล ฮ่าๆๆ

สวัสดีค่าอาจารย์ขจิต

จากโรงพยาบาลเหรอคะ

ง่า..ว่าแต่อาจาย์ขจิตไปทำอะไรที่โรงพยาบาลอ่ะคะ

Dsc04375Dsc03878

เห็นกันแต่ในบล็อคพอเจอกันจริงๆ ชี้หน้ากัน  ใช่น้องแดงหรือเปล่า ใช่พี่สุหรือเปล่า

น้องฮาน่า พี่สุมาเยี่ยมคะ และมาอ่าน เรื่องราวคนป่วยระยะสุดท้าย  ข้อ 4 น่าสงสารจังเลย  หาคนที่ต้องการพบ หาคนมาอโหสิกรรม หา หา  บางคนห่วงทรัพย์สินยังไม่ได้แบ่ง  ห่วง พี่สุเป็น สว.อ่านหมดเลย  แต่ดีนะเขามี ก.ทำให้ตัวหนังสือโต อ่านง่าย แต่ก็มาติตนเองเดี่ยวนี้  รู้สึกสายตาแย่ลง มากเลย จะเป็นเพราะเล่นคอมพิวเตอร์มากไป  น้องฮานา จำพี่สุได้หรือเปล่า  เอาภาพมาฝากคะ  ขอบคุณเรื่องราวดีๆ ในยามระยะสุดท้าย  มักจะเป็นแบบนี้

 

สวัสดีค่ะพี่สุ (ขออนุญาตเรียกพี่สุนะคะ ^__^)

หนึ่งจำพี่สุได้แม่นเลยค่า เห็นปุ๊บจำได้ปั๊บเลยค่า

ดีใจที่ได้พบพี่สุตัวเป็นๆในงาน G2K นะคะ เสียดายยังไม่ได้คุยกัน เลยกลับมาคุยใน blog เหมือนเดิมค่า อิอิ

พี่สุคุยเก่ง คุยสนุกด้วย และร่าเริงมากๆค่ะ (ฟังจากตอนแนะนำตัวอ่ะค่า อิอิ)

ขอบคุณสำหรับภาพด้วยค่ะพี่สุ วันนั้นหนึ่งลืมเอากล้องไป รอเก็บภาพความประทับใจจากพี่ๆใน blog ค่า

สำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้ายหากได้รับการเตรียมความพร้อมและการดูแลแบบองค์รวม(กาย จติ สังคม จิตวิญญาณ)

ก็จะเป็นการช่วยเหลือผู้ป่วยให้เดินทางไปสู่ความตายอย่างสงบ อย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ค่ะ

  • ชอบวิธีการเขียนที่มีการอ้างอิงแหล่งข้อมูลนะครับ เป็นการให้เกียรติต้นฉบับเขา
  • ถ้าได้เติมประสบการณ์ทีเด็ดของตนเองด้วยล่ะเยี่ยมเลยครับ ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์เต็มศักดิ์

หนึ่งเป็นมือใหม่หัดเขียนค่ะ แหะๆ

ขอบคุณอาจารย์มากๆเลยค่ะที่แวะมาเยี่ยม และให้คำแนะนำ

ปลื้มอาจารย์มานานแล้วค่ะ หนึ่งแอบเห็นอาจารย์ตัวจริงเสียงจริงในงานสมาคมรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ที่ชะอำด้วยค่ะ ^^

หา blog ได้โดยบังเอิญ อ่านแล้วเข้าใจได้ดีมากๆ ครับ ยินดีมากๆ ที่ได้อ่านบทความดี มีความชื่นอกชื่นใจ ในตัวของผู้เขียนมากๆ ขอเป็นกำลังใจ สนับสนุน สิ่งที่ที่ท่านผู้เขียนได้ทำไว้ครับ จะขอเรียนสอบถามสักนิดว่า พ่อของผมได้รับการฉายแสงที่คอ มีอาการเจ็บคอมากๆ ผ่าตัดเนื้องอกที่คอแล้วฉายแสง ฉายมาได้ 23 แสง อีก 7 แสงจะครบกำหนด แต่มีเหตุที่เจ็บคอมากๆ ทำให้ท่านไม่อยากมารับการรักษาอีก จึงอยากจะเรียนว่า ผลข้างเคียงของกายฉายแสง การเจ็บคอ จะทุเลาเบาบางไปได้ใช้ระยะเวลาเท่าใดครับ และ ถ้าไม่รับการรักษาต่อจะมีผลเช่นไรครับ และมีวิธีในการบรรเทาการเจ็บคอได้อย่างไรครับ

ด้วยความนับถือ

[email protected]

สวัสดีค่ะคุณ sirawit

ขอบคุณมากค่ะสำหรับกำลังใจ ^^

สำหรับคำถามอยากให้คุณ sirawit ได้อ่านบันทึกนี้ด้วยค่ะ => ผู้ป่วยปฏิเสธการรักษาเพียงเพราะทนผลข้างเคียงไม่ไหว

การทนต่อรังสีของผู้ป่วยแต่ละรายแตกต่างกันค่ะ ขึ้นอยู่กับหลายๆปัจจัย อายุ เพศ ภาวะโภชนาการ สภาพช่องปากก่อนรักษา เป็นต้น  การเกิดเจ็บปากเจ็บคอระหว่างการรักษาเกิดขึ้นได้ทุกรายค่ะ แต่มากน้อยต่างกัน ทางการแพทย์เราจะมีการแบ่งระดับความรุนแรงเอาไว้ และมีมาตรฐานการให้การดูแลรักษาในแต่ละระดับความรุนแรงเอาไว้ด้วยค่ะ

เช่น เบื้องต้นเปลี่ยนอาหารจากอาหารธรรมดาเป็นอาหารอ่อน หรืออาหารเหลว เช่นข้าวต้ม โจ๊กปั่น ถ้าเจ็บมากทานไม่ได้แม้แต่อาหารเหลว หรือดื่มน้ำก็ยังเจ็บก็จะพิจารณาให้ยาชา xylocain viscus อมและกลืนก่อนอาหาร เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถทานอาหารได้ไม่เจ็บปากเจ็บคอ แต่อาจไม่รู้รสชาดอาหาร ถ้ายังเจ็บปากเจ็บคอมาก ใช้ยาชาไม่ได้ผล อาจต้องให้อาหารทางสายยางค่ะ และถ้าเกิดแผลในช่องปากมาก ผู้ป่วยทนไม่ไหว แพทย์จะพิจารณาพักแสงเพื่อให้เซลล์ในช่องปากของผู้ป่วยฟื้นตัว แผลในช่องปากทุเลาอาการลงก่อนแล้วมาฉายแสงต่อค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท