โรคไข้เลือดออกเดงกี (บุษยา ลิมปิทีปราการ 45312006)


เลี้ยงปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูง ปลาแกมบูเชีย ปลากัด ปลาสอด ปลาหัวตะกั่วฯลฯ โดยใส่ไว้ในโอ่งหรือบ่อซีเมนต์ที่ใส่น้ำสำหรับใช้ (ไม่ใช่สำหรับดื่ม) ปลาเหล่านี้จะช่วยกินลูกน้ำสำหรับ ใช้ (ไม่ใช่สำหรับดื่ม) ปลาเหล่านี้จะช่วยกินลูกน้ำในน้ำ เป็นการช่วย ควบคุมยูงลายได้ทางหนึ่ง
โรคไข้เลือดออกเดงกี


 
ฝ่ายอาโบไวรัส
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
สาเหตุการเกิดโรค
      การเกิดไข้เลือดออกนั้นมีสาเหตุจากเชื้อโรคได้หลายชนิด แต่สำหรับโรคที่เกิดการติดเชื้อไวรัสเดงกีนั้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นในเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี เชื้อไวรัสเดงกีจะทำให้ผู้ได้รับเชื้อไม่มีอาการ, มีอาการที่ไม่รุนแรง ซึ่งเรียกว่าไข้เดงกี หรือมีอาการรุนแรง ซึ่งเรียกว่าไข้เลือดออกเดงกี ความรุนแรงอาจจะทำให้มีภาวะช็อกเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ ถ้าไม่ได้รับการวินิจฉัยและดูแลรักษาอย่างถูกต้อง

      ไวรัสเดงกี มี 4 ชนิด ได้แก่ ไวรัสเดงกีชนิดที่หนึ่ง , ไวรัสดงกีชนิดที่สอง , ไวรัสเดงกีชนิดที่สาม และไวรัสเดงกีชนิดที่สี่ เมื่อมีการติดเชื้อชนิดใดชนิดหนึ่งแล้วจะมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสเดงกีชนิดนั้นอย่างถาวรแต่จะมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสเดงกีอีก 3 ชนิดในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 6-12 เดือน ดังนั้นผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่มีไวรัสเดงกีชุกชุมอาจมีโอกาสติดเชื้อได้ถึง 3 หรือ 4 ครั้ง
การแพร่กระจายของไวรัสเดงกี
      เชื้อไวรัสเดงกีแพร่กระจายจากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่งได้โดยมียุงลายเป็นตัวนำที่สำคัญ ถึงแม้ว่าจะมียุงลายหลายชนิดที่สามารถแพร่เชื้อได้ แต่ที่มีความสำคัญทางด้านระบาดวิทยาของโรคไข้เดงกีและไข้เลือดออกเดงกี คือ ยุงลายบ้าน (Aedes aegypti  ) ยุงลายมีขนาดค่อนข้างเล็ก สีขาวสลับดำ แหล่งเพาะพันธุ์ คือภาชนะขังน้ำที่คนทำขึ้นและมีน้ำขังเกิน โดยทั่วไปยุงลายจะออกหากินกัดคนในเวลากลางวัน พบอยู่ภายในบ้านและรอบๆบ้าน มีระยะบินไกล 50 เมตร จะพบยุงลายชุกชุมมากในฤดูฝน
อาการทางคลินิกของโรคไข้เลือดออก
      หลังจากได้รับเชื้อจากยุงประมาณ 5-8 วัน ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการของโรค ซึ่งจะมีความรุนแรงแตกต่างกันได้ ตั้งแต่มีอาการไม่รุนแรงคล้ายไข้เดงกี ไปจนถึงมีอาการเลือดออก อาจรุนแรงมากจนถึงช็อกและเสียชีวิตได้
การดำเนินโรคของไข้เลือดออกเดงกี
      การดำเนินการของโรคไข้เลือดออกเดงกีที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนประมาณ 7-10 วันแบ่ง ได้เป็น 3 ระยะ คือ
1. ระยะไข้ ประมาณ 2-7 วัน ทุกรายจะมีไข้สูงเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ซึ่งบางรายอาจมีอาการชักได้ ผู้ป่วยมักจะมีหน้าแดง ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการน้ำมูกหรืออาการไอ และอาจมีอาการเบื่ออาหาร อาเจียน บางรายอาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วย อาการเลือดออกที่อาจพบได้ในระยะนี้ คือ จุดเลือดออกเล็กๆกระจายอยู่ตามแขน ขา ลำตัว รักแร้ อาจมีเลือดกำเดาออก หรือเลือดออกตามไรฟันได้
2. ระยะวิกฤต/ช็อก เป็นระยะที่มีการั่วของพลาสมา โดยระยะรั่วจะมีประมาณ 24-48 ชั่วโมง ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจทำให้เกิดอาการช็อกได้ หากผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีและถูกต้อง ส่วนใหญ่ก็จะฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว
3. ระยะฟื้นตัว ระยะฟื้นตัวของผู้ป่วยค่อนข้างเร็ว ในผู้ป่วยที่ไม่ช็อกเมื่อไข้ลดส่วนใหญ่ก็จะดีขึ้น ส่วนผู้ป่วยช็อกถึงแม้จะมีอาการรุนแรง ถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ก็จะฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว
การวินิจฉัยโรค
      การวินิจฉัยโรคจะอาศัยอาการทางคลินิก 4 ประการ คือ
1) ไข้เกิดอย่างเฉียบพลัน สูงลอย 2-7 วัน
2) อาการเลือดออก
3) ตับโต
4) ภาวะช็อก
      ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของผลทางเลือด 2 ประการ ได้แก่
1) มีเกล็ดต่ำ
2) ความเข้มข้นของเลือดสูงขึ้น
การพยาบาลผู้ป่วยไข้เลือดออกเดงกี/ไข้เดงกี
      เมื่อผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัย หรือสงสัยว่าติดเชื้อไวรัสเดงกีแล้ว แพทย์จะตรวจติดตามอาการผู้ป่วยไปจนกว่าไข้จะลดลง 24 ชั่วโมงแล้ว จึงวินิจฉัยได้ว่าเป็นไข้เลือดออกหรือไข้เดงกี ผู้ป่วยส่วนมากจะมีอาการไม่มาก ไม่จำเป็นต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล

      การรักษาเบื้องต้นที่ผู้ปกครองสามารถทำได้ที่บ้าน คือ เมื่อผู้ป่วยมีไข้ให้เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำธรรมดา ถ้ามีไข้สูงเกิน 39 องศาเซลเซียส ให้ยาลดไข้พาราเซตตามอล ถ้าไข้ไม่ลดลงหลังให้ยาลดไข้ ให้เช็ดตัว ห้ามให้ยาลดไข้ถี่กว่า 4 ชั่วโมง ห้ามให้ยาลดไข้ชนิดอื่น เช่น แอสไพริน ยาซอง หรือ NSAID โดยเด็ดขาดเพราะอาจจะทำให้เลือดออกมาก, มีอาการทางสมอง หรือตับวายได้ ให้ดื่มน้ำเกลือแร่ หรือน้ำผลไม้

      อย่างไรก็ตามเนื่องจากผู้ป่วยไข้เลือดออกเดงกีบางรายอาจมีอาการรุนแรงจนเกิดภาวะช็อก ดังนั้นให้ผู้ปกครองรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการ ปวดท้องมาก, อาเจียนมาก, กระสับกระส่าย เอะอะโวยวาย, ซึมมาก, ไม่รับประทานอาหารหรือดื่มน้ำ หรือกระหายน้ำมาก, เลือดออก, อาการเลวลงเมื่อไข้ลง, ผิวหนังเย็น เหงื่อออก, ปัสสาวะน้อย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการไวรัสเพื่อยืนยันการติดเชื้อไวรัสเดงกี
      การตรวจเพื่อยืนยันการติดเชื้อไวรัสเดงกีเป็นการสนับสนุนการวินิจฉัยโรคของแพทย์ นอกจากนี้ยังมีความสำคัญ และนำไปใช้ประโยชน์ในการเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกเดงกี โดยมี 2 หลักการ คือ

       1. การตรวจหาตัวเชื้อไวรัส หรือชิ้นส่วนของไวรัส/สารพันธุกรรมของไวรัส ตัวอย่างเลือดที่ใช้ควรเป็นตัวอย่างที่เจาะจากผู้ป่วยในระยะที่มีอาการไข้อยู่ ซึ่งในปัจจุบันนิยมใช้การตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัส ด้วยวิธี PCR เพราะเป็นวิธีการที่ใช้เวลารวดเร็ว ใช้เวลาตรวจ 1-2 วันเท่านั้น นอกจากนี้ยังสามารถบอกชนิดของเชื้อไวรัสเดงกีที่ผู้ป่วยติดเชื้อได้อีกด้วย
      2. การตรวจภูมิคุ้มกัน ตรวจพบในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการเจาะเลือดในระยะที่ไข้ลดลงแล้ว ใช้เวลาตรวจ 1-2 วัน

       ส่งตรวจได้ที่ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ในส่วนภูมิภาค
การควบคุมยุงลาย
      ได้แก่การตัดวงจรชีวิตของยุงลาย
      1. ระยะไข่ ทำได้ง่ายๆโดยการขัดล้างตามผิวภาชนะต่างๆเป็นประจำทุกสัปดาห์
      2. ระยะลูกน้ำและตัวโม่ง กระทำได้โดย ปกปิดภาชนะเก็บน้ำด้วยฝาอย่างมิดชิด, ถ้าเป็นภาชนะที่ปิดฝาไม่ได้ ให้ใส่ทรายอะเบท หรือหมั่นขัดล้าง เปลี่ยนน้ำทุก 7 วัน หรือเลี้ยงปลาหางนกยูง, การใช้แบคทีเรีย BTI, คว่ำภาชนะที่ไม่ได้ใช้, ทำลายเศษวัสดุที่อาจเป็นที่ขังน้ำ,ใส่เกลือ หรือน้ำส้มสายชู หรือผงซักฟอกลงในจานรองขาตู้กันมด เป็นต้น
      3. ระยะยุงตัวเต็มวัย สามารถกำจัดได้โดย การใช้สารเคมี, การใช้ไม้แบดไฟฟ้า และการป้องกันไม่ให้ยุงกัด โดยใช้สารทาป้องกันยุง (repellents) ในระยะยาวต้องปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมไม่ให้เอื้อต่อการแพร่พันธุ์ของยุงลาย

" การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกจะได้ผลดีต้องผสมผสานหลายๆวิธี
เข้าด้วยกันและความร่วมมือของชุมชนเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการควบคุมโรคไข้เลือดออก "
ขจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย...การป้องกันที่ดีที่สุด
เพราะยุงลายเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก การป้องกันที่ดีที่สุดก็คือ กำจัดหรือลดแหล่งเพาะ พันธ์ยุงลาย และพยายามมาหา ทางป้องกันไม่ให้ถูกยูงลายกัด
ควรปิดปากภาชนะเก็บน้ำด้วยผ้าตาข่ายไนล่อน อะลูมิเนียม หรือวัสดุอื่นที่สามารถเปิด ปากภาชนะเก็บน้ำนั้นได้อย่างมิดชิดจนยุงไม่สามารถปิดปากภาชนะเก็บน้ำนั้นได้อย่างมิดชิดจนยุงไม่ สามารถเล็ดลอดเข้าไปวางไข่ได้
หมั่นเปลี่ยนน้ำทุก 7 วัน ซึ่งเหมาะสำหรับภาชนะเล็ก ๆ ที่มีน้ำไม่มากนัก เช่น แจกันดอกไม้ สด ทั้งที่เป็นแจกันที่หิ้งบูชาพระ แจกันที่ศาลพระภูมิหรือแจกันประดับตามโต๊ะรวมทั้งภาชนะ และ ขวดประเภทต่าง ๆ ที่ใช้เลี้ยงต้นพลูด่าง ฯลฯ
ใส่ทรายในจานรองกระถางต้นไม้ใส่ให้ลึกประมาณ 3 ใน 4 ของความลึกของจานรองกระ ถางต้นไม้นั้น เพื่อให้ทรายดูดซึมน้ำส่วนเกินจากการรดน้ำต้นไม้ไว้ ซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสำหรับกระถาง ต้นไม้ที่ใหญ่และหนักส่วนต้นไม้เล็กอาจใช้วิธีเทน้ำที่ขังอยู่ในจานรองกระถางต้นไม้ทิ้งไปทุก 7 วัน
การเก็บทำลายเศษวัสดุ เช่น ขวด ไห กระป๋อง ฯลฯ และยางรถยนต์เก่าที่ไม่ใช้หรือคลุมให้ มิดชิดเพื่อไม่ให้รองรับน้ำได้ การนำยางรถยนต์เก่ามาดัดแปลงให้เป็นประโยชน์แทนการวางทิ้งไว้เลย ๆ จะช่วยกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงได้ดี เช่น นำมาทำเป็นที่ ปลูกต้นไม้ที่ปลูกพืชผักสวนครัวเป็นที่ทิ้งขยะ เป็นเก้าอี้ เป็นฐานเสา เป็นรั้ว เป็นชิงช้าหรือทำเป็นที่ปีนป่ายห้อยโหนสำหรับเด็ก ๆ แต่จะต้องดัดแปลง ยางรถยนต์เก่านั้นให้ขังน้ำไม่ได้ หากจะทำเป็นที่ทิ้งขยะหรือเครื่องเล่นในสนามเด็กเล่นจะต้องเจาะรู ให้น้ำระบายไหลออกไปได้ง่ายหากจะทำเป็นรั้วก็ควรฝังดินให้ลึกพอที่ด้านล่างของยางรถยนต์นั้นไม่ สามารถขังน้ำได้ฯลฯ
บริเวณที่ปลูกต้นไม้ หากมีต้นไม้เยอะ ๆ ก็ทำให้มียุงเยอะ เพราะยุงจะชอบเกาะพักอยู่ในที่ มืด ๆ อับ ๆ ควรแก้ไขให้ดูโปร่งตาขึ้น ถ้าเป็นต้นไม้ประดับในบริเวณบ้าน ก็ต้องคอยสังเกตดูว่ารดน้ำ มากไปจนมีน้ำขังอยู่ในจานรองกระถางหรือเปล่า พยายามเทน้ำทิ้งบ่อย ๆ
เลี้ยงปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูง ปลาแกมบูเชีย ปลากัด ปลาสอด ปลาหัวตะกั่วฯลฯ โดยใส่ไว้ในโอ่งหรือบ่อซีเมนต์ที่ใส่น้ำสำหรับใช้ (ไม่ใช่สำหรับดื่ม) ปลาเหล่านี้จะช่วยกินลูกน้ำสำหรับ ใช้ (ไม่ใช่สำหรับดื่ม) ปลาเหล่านี้จะช่วยกินลูกน้ำในน้ำ เป็นการช่วย ควบคุมยูงลายได้ทางหนึ่ง
ใช้ทรายอะเบทในน้ำ ทรายชนิดนี้เป็นทรายเคลือบสารเคมีในกลุ่มออร์แกโนฟอสเฟตใช้ใส่ ในน้ำเพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลายอัตราส่วนที่ควรใช้คือทรายอะเบท 1 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ทรายอะเบทนั้นได้ รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลกว่าปลอดภัยสำหรับการใส่ในน้ำดื่มแต่มีข้ออ่อนตรงที่ราคาค่อน ข้างแพง และยังหาซื้อได้ยากจึงควรใช้ในกรณีที่จำป็นจริง ๆ เท่านั้น

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 2996เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2005 09:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท