ความเป็นมาของปัญหา


สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

            ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีผลให้สภาพแวด ล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของแต่ละประเทศต้องเปลี่ยนตามไปอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน รวมทั้งด้านการศึกษาก็มีการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้มากมาย การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ทุกรูปแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การเรียนการสอนและอำนวยความสะดวกในการศึกษาหาความรู้ให้แก่นักศึกษา และเป็นที่ยอมรับกันว่าการเรียนการสอนด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์มนลักษณะของ  e-learning มีผลทำให้เกิดการพัฒนาการทางด้านความคิดของผู้เรียนอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งส่งผลให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ(มนต์ชัย  เทียนทอง,2547) ปัจจุบันจึงมากรประยุกต์ใช้ e-learning  สำหรับศึกษาและอบรมทั้งในลักษณะการศึกษาแบบเผชิญหน้า(face-to-face) และการศึกษาทางไกล(distance learning) ในสถานศึกษาและในสถานประกอบการอย่างมาก โดยผู้เรียนไม่จำเป็นต้องเดินทางมายังสถานศึกษา หรือสถานประกอบการอย่างไรก็ตามข้อจำกัดของการใช้งาน   e-learning  ก็มีอยู่เช่นกัน นอกเหนือจากปัญหาภายใน อันได้แก่คุณภาพของบทเรียน ซึ่งเกิดจากความสถิต (static) ของเนื้อหาบทเรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่ายเมื่อศึกษาบทเรียนซ้ำหลายครั้ง ส่วนปัญหาภายนอกก็ได้แก่ความเพียงพอของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์พ่วง (peripherals) ความสามารถของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และปัญหาเรื่องแถบกว้างของความถี่ (bandwidth) ซึ่งส่งผลถึงความเร็วในการส่งผ่านบทเรียนไปยังผู้เรียนปลายทางทำให้กานใช้งาน e-learning   อยู่ในวงจำกัดเพียงในสถานศึกษาหรือสถานประกอบการเท่านั้น แม้ว่าปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ในบ้านพัดอาศัยส่วนใหญ่สามารถจะต่อเชื่อมเข้าสู่ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็ตาม แต่วัตถุประสงค์หลักก็มักจะใช้เพื่อการบันเทิงหรือเพื่อการสืบค้นข้อมูลมากกว่าการศึกษาบทเรียน ทำให้การเรียนการสอนด้วยตนเองในลักษณะของ e-learning  ไม่กระจายไปยังกลุ่มเป้าหมายเท่าที่ควร
            ในขณะเดียวกันโทรศัพท์มือถือ (mobile phone) และคอมพิวเตอร์แบบพกพา (handheld computer) ก็ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสื่อสานและโทรคมนาคม กล่าวกันว่าเมื่อสิ้นปี พ.ศ.2546 มีการใช้โทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์แบบพกพามากกว่า 500 ล้านเครื่องทั่วโลก จึงเกิดแนวทางใหม่ในการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ให้นำเสนอผ่านโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์แบบพกพาโดยใช้เทคโนโลยีโทรศัพท์ไร้สายเป็นช่องทางในการบริหารและจัดการบทเรียนซึ่งเรียกว่า m-learning  ทำให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์แบบพกพาทุกคนสามารถศึกษาบทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเครื่องมือสื่อสารประจำตัวได้ตลอดเวลา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้จัดให้มีการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาที่มีงานทำแล้วเข้ามาศึกษาเพื่อเป็นการเพิ่มวุฒิทางการศึกษาโดยผู้เรียนไม่จำเป็นต้องเข้ามาศึกษาในสถานศึกษาเหมือนนักศึกษาปกติ แต่จะเป็นการศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองเป็นส่วนใหญ่

         ดังนั้นผู้วิจัยเห็นว่าการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนผ่านโทรศัพท์มือถือจะอำนวยความสะดวก ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายรวมทั้งการเพิ่มช่องทางในการศึกษาอีกทางหนึ่งให้แก่นักศึกษาต่อไป
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 29944เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2006 10:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 17:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท