ย้อนรอยรำลึกประวัติศาสตร์อยุธยา


เลียบเลาะวัดโคกพระยารำลึกแดนประหารสมัยกรุงศรีอยุธยา (2)

สมเด็จ พระเจ้าหงสาวดีตรัสว่าชะรอยจะเป็นทัพพระมหาจักรพรรดิยกออกมาจะกระทำคชพยุหสงครามกับเรา พระองค์ตรัสให้ยกพลหลวงออกจากค่ายตั้งกระบวนสมเด็จพระเจ้าหงสาวดีทรงเกราะเครื่องพิชัยยุทธ ย่อม ทับถมด้วยวิชาศัสตราเวทย์คาถา แล้วสอดพระมหาสุวรรณสังวาลประดับเพชรพื้นถม สรรพคุณเวทคาถา ต่างๆ ทรงพระมาลา ลงเลขยันต์กันสรรพศัสตราวุธภยันตราย สำหรับราชณรงค์ยุทธเสร็จ เสด็จทรงช้างต้น พลายมงคลปราบทวีปสูงเจ็ดศอกเป็นพระคชาธารประดับคชาภรณ์เครื่องมั่น มีกลางช้างและควาญเครื่องสูง สำหรับราชณรงค์แห่โดยขนัด มีหมู่ทหารถือดาบดั้งหมื่นหนึ่งล้อมพระคชาธาร พระเจ้าแปรทรงอลังการ เครื่องพิชัยยุทธ ทรงช้างต้นพลายเทวนาคพินายสูงหกศอกคืบเจ็ดนิ้ว เป็นพระคชาธาร ประดับคชาภรณ์ เครื่องมั่น มีควาญและกลางช้างยกเป็นกองหน้า มีทหารดาบสองมือพันห้าร้อยล้อมพระคชาธาร และช้าง ท้าวพระยารามัญคับคั่ง ทั้งกระบวนกรรกงเป็นขนัด เหล่าพยุหโยธาหาญเดินเท้าถือสรรพศัสตราดาดาษโดยกระบวน สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีก็ยกพยุหโยธาทวยหาญออกตั้งยังท้องทุ่งตรงหน้าทัพสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ห่างกันประมาณร้อยเส้น เสด็จยืนพระคชาธารคอยฤกษ์”๑ จากความในพระราชพงศาวดารที่ยกมานี้จะเห็นว่า ทัพหลวงของฝ่ายหงสาวดี ตั้งอยู่ ณ ตำบลกุ่มดอง ซึ่งอยู่ที่ตำบลบ้านกุ่ม วัดจุฬามณี อำเภอบางบาล ห่างจากกำแพงพระนครศรีอยุธยาตามเส้นทางตรง ประมาณ ๑๒ กิโลเมตร ทัพพระมหาอุปราชาตั้งอยู่ตำบลเพนียด ทัพพระเจ้าแปรตั้งค่ายตำบลบ้านใหม่ มะขามหย่อง และทัพพระยาพสิมตั้งค่ายอยู่ตำบลทุ่งวัดวรเชษฐ ซึ่งเมื่อตอนเดินทัพมานั้นทัพพระมหาอุปราชาเป็นทัพหน้า ทัพพระเจ้าแปรเป็นกองเกียกกายและทัพพระยาพสิมเป็น กองหลัง ตามลำดับ แต่เมื่อมา ประชิดพระนครศรีอยุธยาแล้ว ก็ได้แปรทัพทั้ง ๓ ออกกระจายล้อมลงมาจากตอนเหนือของเมือง มี ระยะห่างจากกำแพงพระนครฯ ๑๐๐ เส้น หรือประมาณ ๔ กิโลเมตร ในการรบครั้งนั้น การตั้งทัพรับของฝ่ายทัพกรุงศรีอยุธยา มีกำลังพลน้อยกว่าพม่าข้าศึกถึง ๑๐ เท่า ดังนั้นการตั้งรบจึงจำเป็นที่จะต้องกระชับสมรภูมิทุ่งภูเขาทองให้แคบเข้า โดยพระมหานาควัดภูเขาทองได้ สึกออกมารับอาสาตั้งค่ายกันทัพเรือ ตั้งค่ายแต่วัดภูเขาทองลงมาจนวัดป่าพลู พรรคพวกสมกำลังญาติโยม ทาสชายทาสหญิงของพระมหานาค ช่วยกันขุคคูนอกค่ายกันทัพเรือ จึงเรียกว่าคลองมหานาค ในขณะเดียวกัน ก็ตรัสให้พระยาจักรีออกตั้งค่ายตำบลลุมพลี ถือพลหมื่นห้าพันล้วนใส่เสื้อแดงหมวกแดง ถ้าทัพพระมหาจักรพรรดิยืนช้างอยู่วัดโคกพระยานอกบริเวณวัดภูเขาทองแล้ว ทัพพระเจ้าหงสาวดี จะอยู่ในรัศมีบ้านท้ายไผ่ บ้านพุทรา แต่เมื่อทัพทั้งสองต่างฝ่ายต่างเคลื่อนทัพเข้าหากันแล้วทัพพระเจ้าหงสาวดีที่อยู่ที่ตำบลกุ่มดอง จุดที่ยืนทัพห่างกันร้อยเส้น ก็น่าที่จะเป็นไปได้ที่ทัพของพระเจ้าหงสาวดีจะมาตั้ง ทัพรอพระฤกษ์อยู่ที่บ้านท้ายไผ่ บ้านพุทรา และทัพพระมหาจักรพรรดิยืนช้างอยู่ที่วัดโคกพระยา ณ บริเวณทุ่งภูเขาทอง ในพระราชพงศาวดารไม่ได้กล่าวถึงการปะทะทัพกันระหว่างทัพพระมหาจักรพรรดิกับ ทัพพระเจ้าหงสาวดี เพราะตั้งอยู่ห่างจากกัน ดังนั้นเมื่อได้ฤกษ์ปะทะทัพ ”สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ราชาธิราชเจ้า ก็ขับพระคชาธารเข้าชนช้างกองหน้าพระเจ้าหงสาวดี พระคชาธารเสียทีให้หลังข้าศึกเอาไว้ ไม่อยู่ พระเจ้าแปรได้ท้ายข้าศึกดังนั้น ก็ขับพระคชาธารตามไล่ช้างพระมหาจักรพรรดิ” ทั้งนี้เพราะทัพ พระ เจ้าแปรตั้งอยู่ใกล้กว่า คือตำบลบ้านใหม่มะขามหย่อง ซึ่งฐานะของทัพพระเจ้าแปรได้ถูกปรับให้เป็นทัพ หน้าไปโดยปริยาย การเสียทีเพลี่ยงพล้ำช้างของพระมหาจักรพรรดิเป็นไปได้หรือไม่ว่ามีเจตนาจะลวงทัพ พระเจ้าแปรให้เข้าซองที่ถูกกระหนาบโดยทัพของพระมหานาคและทัพพระยาจักรี เพราะฉะนั้นด้วยเหตุผล ดังกล่าวข้างต้นมานี้ ตำแหน่งที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงประทับพระคชาธารรอพระฤกษ์อยู่ก่อน ปะทะทัพพระเจ้าแปรตามที่พระราชพงศาวดารกล่าวถึงนี้จึงน่าจะอยู่ ณ ตำแหน่งใกล้วัดภูเขาทอง หลักฐานอีกชิ้นหนึ่งที่จะนำมาประกอบในการพิจารณาตำแหน่งที่ตั้งของวัดโคกพระยา คือจดหมายเหตุของ อิริมี ฟอนฟลีต หรือที่เรียกกันว่า วันวลิต (IEREMIE VAN VLIET) ซึ่งเขียนในปี ค.ศ. ๑๖๔๗ (พ.ศ. ๒๑๙๐) ได้กล่าวถึงเหตุการณ์จลาจลในอาณาจักรสยาม ในรัชสมัยสมเด็จพระเชษฐาธิราช ตอนหนึ่ง ว่า “ถ้าพระองค์ปรารถนาจะหนีเคราะห์กรรม ซึ่งจะบีบคั้นพระองค์จงทรงระมัดระวังออกญากลาโหม เพราะคนผู้นี้เป็นคนชั่วมีสันดานทรยศมาตั้งแต่หนุ่ม เพราะฉะนั้น เขาจึงถูกลงพระอาญาอย่างหนักบ่อยครั้ง ด้วยพระราชโองการของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ก่อน เขาจะใช้เล่ห์กระเท่ห์อย่างเฉลียวฉลาด และจะชิง มงกุฎจากพระเศียรของพระองค์ ทั้งจะนำพระองค์ไปสู่ความตาม ตลอดจนเชื้อพระวงศ์ทุก ๆ พระองค์ของ พระเจ้าอยู่หัวในพระโกศ ซึ่งทรงเป็นพระเชษฐาของหม่อมฉันและพระราชบิดาของพระองค์ เพื่อตั้งตัวเอง เป็นกษัตริย์ครองบัลลังก์ต่อไป” “พระเจ้าแผ่นดินมิได้มีความซาบซึ้งในคำแนะนำ ทั้งมิได้เกิดความสมเพชเวทนาเลย พระองค์ไม่ ยอมเปลี่ยนแปลงความตั้งพระทัย ซึ่งได้ยึดมั่นอยู่ ตรงกันข้ามทรงมีรับสั่งให้นำพระมหาอุปราชไปสำเร็จ โทษโดยเร็ว พระมหาอุปราชจึงถูกนำตัวไปที่วัด ชื่อ พระเมรุโคกพญา (WAT PRAHIMIN KHOPIR JA) ตรงข้ามกับพระราชวัง เพชฌฆาตให้พระองค์นอนลงบนผ้าแดงและทุบพระองค์ที่พระนาภีด้วยท่อนจันทน์ นี้เป็นวิธีสำเร็จโทษที่ใช้กันในประเทศสยาม ซึ่งใช้กับเจ้านายในราชตระกูลเท่านั้น เสร็จแล้วเขาใช้ผ้านั้น ห่อพระสรีระและไม้จันทน์ แล้วโยนลงไปในบ่อทิ้งให้พระศพเน่าเปื่อยไป๑ ข้อความที่วันวลิตเขียนดังกล่าวข้างต้น ตรงกับเหตุการณ์ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาที่ยกมา กล่าวอ้างไว้ข้างต้นแล้วว่าเป็นเหตุการณ์ที่มีชื่อวัดโคกพระยาเป็นครั้งที่ ๕ ว่าได้จับกุมพระพันปีศรีศิลป์ พระอนุชาของพระเชษฐาธิราช มาประหารชีวิตเสีย ณ วัดโคกพระยา เพียงแต่ในจดหมายเหตุของวันวลิต ระบุสถานที่ของ “พระเมรุโคกพญา” ไว้อย่างชัดเจนว่าอยู่ตรงข้ามกับพระราชวัง ด้วยเหตุผลและหลักฐานเกี่ยวกับวัดโคกพระยาที่กล่าวมาข้างต้น จึงอาจสรุปได้ว่า ชื่อ “โคกพระยา” ที่กล่าวถึงมี ๒ แห่งอยู่ ณ สถานที่ต่างกัน สถานที่ใช้สำเร็จโทษพระบรมวงศานุวงศ์น่าจะเป็นวัดโคกพระ ยาหน้าพระเมรุ ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับพระบรมมหาราชวังตามที่วันวลิตได้บันทึกไว้ ส่วน “โคกพระยา” ที่ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงยืนช้างรอฤกษ์นั้นน่าจะตั้งอยู่ ณ ทุ่งภูเขาทอง และมิใช่ที่สำหรับใช้สำเร็จ โทษพระบรมวงศานุวงศ์ของพระนครศรีอยุธยา วัดโคกพระยา (ร้าง) ที่กล่าวถึงในหนังสือเล่มนี้เป็นลำดับแรก คือ วัดที่ตั้งอยู่เหนือวัดหน้าพระเมรุ ตำบลคลองสระบัว อำเภอพระนครศรีอยุธยา วัดแห่งนี้ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน และ กำหนดเขตที่ดินไว้ ๒ ไร่ ๒ งาน ๕๖ ตารางวา ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๖๓ เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ หน้า ๓๖๒๔ ไว้เป็นโบราณสถานของชาติแล้ว โบราณสถาน ของวัดนี้ ประกอบด้วย เจดีย์ประธาน เจดีย์ราย เจดีย์ทรงปรางค์ วิหาร และแนวกำแพงแก้ว ซึ่งได้รับการ บูรณะแล้ววัดโคกพระยาบริเวณทุ่งภูเขาทอง โบราณสถานวัดโคกพระยาแห่งที่สองนี้ ตั้งอยู่ในตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา อยู่ห่างจากโบราณสถานวัดภูเขาทองมาทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ ๕๐๐ เมตร บริเวณ โบราณสถานมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๔๐ ไร่ ๓ งาน ๘๑ ตารางวา พื้นที่ด้านทิศเหนือและตะวันออกติด กับที่นาของชาวบ้านและมีสระน้ำซึ่งขุดขึ้นใหม่ทางด้านทิศตะวันตก ด้านทิศใต้มีถนนลูกลังทอดเป็นแนว ยาว และมีลำคลองสองไพขนานกับเนินดินด้านทิศใต้ จากการขุดแต่งบูรณะในพุทธศักราช ๒๕๔๑ ได้พบว่าโบราณสถานวัดโคกพระยานี้มีการก่อสร้าง ๓ ครั้ง คือ สมัยแรก สันนิษฐานจากลักษณะของใบเสมาว่าคงอยู่ในสมัยอยุธยาตอนกลาง สถาปัตยกรรมรุ่นนี้ คืออุโบสถและเจดีย์ ซึ่งก่อสร้างอยู่บนฐานยกสูงจากระดับพื้นดิน ด้วยการสร้างแนวกำแพงกันดินเป็นกรอบ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแล้วถมดินด้านในสำหรับเป็นฐานรองรับอาคาร โดยแนวกำแพงกันดินนี้สร้างเป็นฐานบัว ลูกแก้วอกไก่ และอาจใช้เป็นกำแพงแก้วของโบสถ์ในสมัยแรก เจดีย์ ตั้งอยู่บริเวณมุมด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของวัด ภายในแนวกำแพงแก้วเดียวกับโบสถ์ ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงกลม ฐานสี่เหลี่ยม ขนาด ๗.๕ x ๗.๕ เมตร ส่วนยอดและองค์เจดีย์หักพังลงเหลือแต่ ฐานและแกนด้านในองค์เจดีย์ซึ่งก่อเป็นแกนรูปกากบาท อุโบสถ เป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๒๕ เมตร ตั้งอยู่ทางทิศ ตะวันตกของเจดีย์ประธาน ลักษณะอาคารที่ปรากฏเป็นอาคารที่มีประตูทางเข้า ๔ ประตู มีทางเดิน โดยรอบอุโบสถ ฐานไพทีด้านหลังกว้าง ๓ เมตร พื้นปูกระเบื้องดินเผา จากการขุดฐานชุกชีพบชิ้นส่วน พระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ ๑ องค์ และพบร่องรอยการพอกปูนทับฐานชุกชีของเดิม เสาอาคารเป็นเสา แปดเหลี่ยมมีทั้งหมด ๑๐ ต้น จากการขุดตรวจฐานอาคารพบว่ามีการก่อสร้าง ๒ สมัยด้วยกัน สมัยแรกใช้อิฐขนาด ๒๘ x ๑๔ x ๔ เซนติเมตร ภายนอกพบร่องรอยเสาพาไลรองรับ ซึ่งในสมัยหลังถูกปูทับด้วยกระเบื้องปูพื้น แสดงให้ เห็นถึงการเปลี่ยนรูปแบบตัวอาคารโดยในสมัยหลังได้มีการก่อผนังและเสาอาคารขึ้นใหม่ โดยใช้อิฐขนาด ใหญ่และเปลี่ยนลักษณะอาคารเป็นอาคารที่มีส่วนชายคาแคบลง รับน้ำหนักหลังคาด้วยคันทวยหรือเต้าแทน การใช้เสารับพาไลแบบสมัยแรก ส่วนพื้นอาคารนั้นมีการเสริมปูนและปูกระเบื้องดินเผาทับอาคารเดิม ในเสมาที่พบมีความคล้ายคลึงกับใบเสมาของวัดวรเชษฐาราม (ในเมือง) ซึ่งเป็นวัดที่สร้างขึ้นใน รัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถ สมัยอยุธยาตอนกลาง สมัยที่ ๒ ได้มีการบูรณะวัดโคกพระยาเพิ่มเติม โดยบูรณะอุโบสถและกำแพงแก้วที่อยู่รอบอุโบสถ โดยพอกปูนฐานชุกชีและฉาบพื้นอุโบสถใหม่ดังที่กล่าวไว้ในเรื่องของอุโบสถ สำหรับกำแพงแก้วนั้น ได้ ก่อพอกกำแพงแก้วด้านตะวันออกและตะวันตกให้หนาขึ้น สร้างกำแพงด้านทิศใต้เพิ่มอีก ๑ แนว โดยทำ เป็นฐานบัวแล้วถมดินเพื่อปรับระดับพื้นส่วนที่ขยายออกมาจากแนวฐานเดิมมาจนชิดแนวกำแพงนี้ ทำให้ขอบเขตของอุโบสถในสมัยนี้กว้างกว่าในสมัยแรกและใช้เป็นแนวกำแพงแก้วล้อมอุโบสถ ส่วนแนวกำแพง แก้วด้านเหนือคงใช้แนวเดิม

หมายเลขบันทึก: 299294เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2009 21:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท