หนูรี
นารี เอี่ยมวิวัฒน์กิจ ชูเรืองสุข

ขนมลา...ตามแกะรอยการทำขนมลาแบบโบราณ(1)


ไปทำบุญเดือนสิบปีนี้ โชคดีมากที่ได้เจอคุณลุงตั้น หรือที่ชาวบ้านแถวเชียรใหญ่รู้จักในนามโกตั้นขนมลาเจ้าเก่าต้นตำรับลาโบราณเจ้าอร่อยอีกเจ้าหนึ่งแห่งอำเภอเชียรใหญ่จังหวัดนครศรีธรรมราช แต่ตอนนี้ไม่ได้ทำขนมลาขายมา 2-3ปีแล้วค่ะ เพราะคนทำขนมลาตัวจริงคือภรรยาของลุงตั้น ซึ่งได้เสียชีวิตไปแล้ว

 

และวันนี้น้าเต้งน้องชายแม่ถิวแนะนำให้ฉันรู้จัก ฉันจึงขอให้คุณลุงตั้นช่วยอธิบายวิธีการทำขนมลาแบบโบราณให้ฟังหน่อย คุณลุงเล่าด้วยสีหน้ายิ้มแย้มอย่างผู้ใหญ่ใจดี

 

•คุณลุงตั้น พูดกับฉันในสำเนียงถิ่นใต้นครศรีฯว่า *“ลูกเอ้ยเดี๋ยวนี้เขามีแป้งสำเร็จรูปขาย แค่เอามาผสมน้ำผึ้งจากหรือน้ำผึ้งโหนดก็ทอดได้แล้วไม่ต้องแช่สารทิ่มแป้งเองเหมือนแต่ก่อนแล้ว ทำเหมือนแต่แรกนั่นมันทำยาก หวางอีกเสร็จมันนาน หลายขั้นตอน”

 

(*คุณลุงพูดว่า ปัจจุบันนี้มีแป้งสำเร็จรูปขายเพียงเรานำมาผสมน้ำตาลที่ได้จากต้นจากหรือน้ำตาลตะโหนดก็ทอดขนมลาได้แล้วไม่ต้องแช่ข้าวสารตำแป้งเหมือนเมื่อก่อน การทำแบบเดิมทำยาก กว่าจะได้ต้องทำหลายขั้นตอน)

 

•คุณลุงตั้นเริ่มเล่าจากส่วนผสมว่า “ใช้ *ข้าวสารเจ้า 1ถัง ผสมกับข้าวสารเหนียว 2-3กิโลกรัม”

 

ฉันแอบสงสัยข้าวสาร 1ถังมันกี่กิโลหรือ? ...แต่ไม่เป็นไรเดี๋ยวค่อยกลับไปหาคำตอบที่หลัง...มาแอบถามแม่ถิว... แม่ถิวบอกว่า “16โล”

 

“จากนั้นก็นำข้าวสารเจ้าและข้าวสารเหนียวมาล้างจนน้ำใสแล้วแช่ข้าวสารไว้ 1-2วันให้ข้าวสารพองตัวจนนิ่ม สรงขึ้น(ตักขึ้น)ใส่ลงในกระสอบ ลุงบอกว่าใช้กระสอบปุ๋ยก็ได้ แล้วใส่*ใบคุระ ลงไปด้วย”

 

ฉันสงสัย จึงถามลุงว่า “ใบคุระเป็นแบบไหน ใส่ไปเพื่ออะไร ?”

 

 “ใบของต้นคุระ ต้นคุระเป็นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งมีมากแถบจังหวัดนครศรีธรรมราช แถบยะลาไม่มีให้ใช้ใบยอแทนได้  ใบคุระเมื่อใส่ลงในกระสอบข้าวสารที่เราจะบ่มจะช่วยให้ข้าวสารเกิดความร้อนเมล็ดข้าวจะนิ่มเปื่อยยุ่ยเป็นแป้งเร็วขึ้นนั่นเอง ในขั้นตอนนี้จะต้องบ่มแป้งไว้ 2-3วัน”

 

“เมื่อบ่มข้าวสารได้ที่แล้วก็นำข้าวสารมาทิ่ม(ตำ)กับครกทิ่ม(ตำ)ข้าวจนเนียน(ละเอียด) แล้วนำมาละลายน้ำแล้วกรองกับผ้าเพื่อให้ได้แป้งที่เนื้อละเอียด นำน้ำแป้งวางไว้จนตกตะกอน ส่วนบนจะเป็นน้ำใสๆส่วนด้านล่างจะมีแป้งขาวๆอยู่ ให้รินน้ำออกให้หมดแล้วเทแป้งใส่ในผ้าดิบแล้วมัดและแขวนไว้ให้แป้งแห้ง (ในขั้นตอนนี้ถ้าเร่งรีบ ต้องใช้ท่อนไม้ตีถุงแป้งเพื่อช่วยให้น้ำตกเร็วขึ้น”

 

เสร็จไปหนึ่งขั้นตอน ทำยากเหมือนกันน่ะค่ะกว่าจะเป็นขนมลา...นี่แค่เตรียมแป้งน่ะนี่ แต่ในขั้นตอนไม่สงสัยนึกภาพออกแจ่มแจ้ง

 

และลุงบอกว่า “สมัยนี้สะดวกสบายมีเครื่องทำแป้งเสร็จไม่ต้องทุบแป้งอย่างเมื่อก่อนแล้ว”

 

เมื่อได้แป้งที่แห้งน้ำแล้วก็มาถึงขั้นตอนการผสมแป้ง...นี่ซิเป็นปัญหา เพราะคุณลุงบอกว่า “ลุงผสมไม่เป็นเมียลุงนั้นเป็นคนผสมแป้ง ลุงทำแป้งอย่างเดียว...”

 

“ไม่เป็นไรค่ะลุง” ฉันคุยต่อ... “แล้วน้ำตาลที่ใช้เป็นน้ำตาลอะไรค่ะ”

 

ลุงตอบ... “ใช้ *น้ำผึ้งจาก แถวนี้(อ.เชียรใหญ่)เขาจะใช้น้ำผึ้งจากบ้านเรามีต้นจากมากแต่แถวอ.ระโนดเขาใช้ *น้ำผึ้งโหนด

 

น้ำผึ้งจาก...คือน้ำตาลที่ได้จากต้นจาก น้ำผึ้งโหนด...คือน้ำตาลที่ได้จาก ต้นตาลตะโหนด ชาวปักษ์ใต้เรียกสั้นๆว่า “ต้นโหนด” ไม่ใช่น้ำผึ้งจากรวงผึ้งหรอกน่ะค่ะ แต่ถ้าเป็นน้ำผึ้งจากรวงผึ้ง ภาษาปักษ์ใต้จะเรียกว่า “น้ำผึ้งรวง”

 

คราวนี้ยังทำขนมลาไม่เสร็จเพราะคุณลุงตั้นผสมแป้งไม่เป็น...

ฉันคงต้องแกะรอยตามหากรรมวิธีการทำขนมลาโบราณต่อไป

สรุปว่าวันนี้ฉันได้เรียนรู้เรื่องการเตรียมแป้งขนมลา

และได้รู้จักต้นคุระ

•ต้นคุระ•

ขอบคุณค่ะคุณลุงตั้น

•สวัสดีค่ะ•

*น้ำผึ้งจาก = น้ำตาลจากต้นจาก

*น้ำผึ้งโหนด =น้ำตาลจากต้นตาล

หมายเลขบันทึก: 299237เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2009 16:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:35 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

หนูรี ครับ หนม จาก กับหนม ลา เขาพลัดพรากเหมือนกัน เอาประวัติหนมจากมาเล่าด้วยแล้

แต่ก็ขอบคุณ ลุงตั้น คนต้นเรื่อง ขอบคุณหนูรี คนเล่าเรื่อง

ที่ทำได้รู้เรื่องเชิงลึกเรื่องหนมลาครับ

สวัสดีค่ะคุณberger0123

ขอบคุณค่ะ หากจะจองต้องวางมัดจำด้วยน่ะเบอร์เกอร์จ๋า...คิๆๆๆ

สวัสดีค่ะ บังวอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--
หนมจาก กับ หนมลา เหลือไว้แต่ความคิดถึง ใช่หม้ายละบัง
ความจริงแล้วมันมีหลายความหมายน่าบังวอญ่า
*จาก = ต้นไม้ชื่ิอว่าต้นจาก
*จาก = จากกันไปไกลแสนไกล
*ลา = ภาษาใต้นั้นหมายถึง การทา การเช็ดๆถูๆ เช่น "เอาน้ำมันมา ลา ทะสักหีดต่ะน้อง" (เอาน้ำมันมาทากระทะสักนิดเถอะน้อง)
ส่วนเรื่องตำนานหนมจาก ต้องตามแกะรอยก่อน เพราะหนูรียังเล่าไม่ถูกค่ะ
ขอบคุณค่ะ
พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)
  • เคยจำพรรษาที่ภาคใต้หลายปี
  • งานบุญเดือนสิบนี่งานใหญ่มากและมีความหมายทางธรรม
  • เรื่องการกตัญญูต่อพรรพบุรุษอย่างยิ่ง
  • หนมลาและหนมาจากก็อร่อยด้วย
  • คนภาคกลางฝากถามคุณหนูรีว่า บุญเดือนสิบ ทำไมถึงเรียกว่าทำบุญชิงเปรต

ขอเจริญพร

นมัสการพระมหา เจ้าค่ะ

•คำถามที่ถามมาหนูรีขอตัวช่วยน่ะเจ้าค่ะ

ประเพณีชิงเปรต จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ชิงเปรต เป็นประเพณีของภาคใต้ที่ทำกันในวันสารทเดือนสิบ เป็นประเพณีที่ดำรงอยู่บนความเชื่อของการนับถือผีบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ[1]ไปแล้วหากยังมีบาปอยู่จะกลายเป็นเปรตในนรกปีหนึ่งจะถูกปล่อยให้มาเมืองมนุษย์ 15 วัน โดยมาในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งถือว่าเป็นวัน "รับเปรต" หรือวันสารทเล็ก ลูกหลานต้องเตรียมขนมมาเลี้ยงดูให้อิ่มหมีพีมันและฝากกลับเมืองเปรตในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 นั่นคือวันส่งเปรตกลับคืนเมืองเรียกกันว่าวันสารทใหญ่[2]

ผู้เฒ่าผู้แก่หลายคนได้ยืนยันว่าการชิงเปรตไม่เป็นความอัปมงคลแก่ผู้ชิงเปรตแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามกลับถือว่าเป็นการได้บุญเพราะเชื่อกันว่าลูกหลานของเปรตใดชิงได้ เปรตตนนั้นย่อมได้รับส่วนบุญนั้น[3]

[แก้] พิธีกรรม

การตั้งเปรตและชิงเปรตจะกระทำกันในวันยกหมฺรับไปวัดหลักๆก็จะเป็นขนมพอง ขนมลา ขนมเบซำ(ดีซำ)นอกจากนี้ก็อาจจะมีเป็นผลไม้หรืออาหารแห้งอื่นๆที่บรรพบุรุษที่เป็นเปรตชอบไปวางรวมกันไว้บน "ร้านเปรต" หลังจากที่พระสงฆ์ได้ทำพิธีกรรมและกำลังฉันเพล ชาวบ้านก็จะออกมาตักบาตรข้าวสวยและเริ่มชิงเปรตกันซึ่งขั้นตอนนี้ก็จะมีทั้งความชุลมุนและความสนุกสนานผสมกันเป็นที่เฮฮาของบรรดาผู้ที่มาชิงเปรต

ขอบพระคุณค่ะ

วันก่อนแม่ซื้อขนมลาที่จังหวัดพัทลุงมาฝากค่ะพี่หนูรี

มันอร่อยมาก ๆ เลย เค้าเรียกว่าขนมลาอะไรสักอย่างนี่แหละ

กอล่ะจำชื่อไม่ได้

  • อยู่หลังดอย.. หลงป่าเสียนาน
  • อื้อ.ฮือ..ของดีๆ ที่น่ารู้ น่ากิน อยู่ที่ทั้งนั้น
  • จะค่อยๆมาเรียนรู้...
  • ขอบคุณครับ

สุดสายป่านสวัสดีค่ะน้องกอ

ขนมลาที่พัทลุงจะเป็นลาลอยมัน คือทอดแบนน้ำมันมากๆ แป้งขนมจะหนาและกรอบอร่อยไปอีกแบบค่ะ/ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะคุณสามสัก

ว่างๆอย่าลืมแวะมาบ่อยๆน่ะค่ะ/ขอบคุณค่ะ

ช่วยหาภาพมาประกอบขั้นตอนการทำขนมลาในแต่ละขั้นตอนให้หน่อยน่ะค่ะคุณหนูรี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท