ต้นไม้ดอก ไม้ประดับ ดูดสารพิษ


ปลูกตันไม้ดูดสารพิษ เพื่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม บริเวณบ้านดีมาก

    ดร. บี ซี วูฟเวอร์ตัน นักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานกับ สถาบันวิจัยอวกาศองค์การนาซ่า สหรัฐอเมริกา ได้ทำงานวิจัยมาเป็นเวลา 25 ปี จนค้นพบความสามารถและประสิทธิภาพของไม้ประดับในการกำจัดสารพิษ หรือมลภาวะในอากาศได้อย่างดีเยี่ยมและความรู้นี้ได้เปิดเผยแพร่ไปทั่วโลก

หลายประเทศที่เผยแพร่และประชาชนหามาปลูก บางประเทศสั่งซื้อจากประเทศเรา  เป็น ล้านๆต้น เช่น เกาหลี สั่ง ต้น ลิ้นมังกร เราชาวไทยรู้น้อยนัก

ช่วยกันบอกช่วยกันปลูกกันไว้   อากาศไม่ดีขึ้นเรื่อยๆ

 

    ดร.บี ซี วูฟเวอร์ตันได้นำเรื่องราว เกี่ยวกับไม้ประดับดูดสารพิษมาเขียนเป็นหนังสือ

eco-friendly house plant หรือ ไม้ประดับที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไว้ 50 ชนิด

ที่มีความสามารถในการดูดสารพิษจากอากาศไม่ว่าจะเป็น

 

 ฟอร์มาดิไฮด์ แอมโมเนีย ไซรีน ทูลีน เป็นตัน    ที่มีในไทยที่หาปลูกได้ คือ

 

หมากเหลือง จั๋ง ปาล์มไผ่  ยางอินเดีย  ไอวี่  สิบสองป้นนา  ไทรใบเล็ก  

บอสตันเฟิร์น    เดหลี    วาสนาอธิษฐาน    พลูด่าง    เฟร์น   เบญจมาศ

เยอบีร่า    ประกายเงิน    เข็มริมแดง   มรกตแดง   ออมทอง    สาวน้อยประแป้ง

 ปาล์มใบไผ่   ไทรย้อนใบแหลม    หนวดปลาหมึก   ฟิโลเดนดรอน    ฟิโลใบห้วใจ

 สโว์ดรอป    สนฉ้ตร ทิวลิป   กล้วยไม้  ผีเสื้อราตรี   กุหลาบหิน    คริสตมาส

เสน่ห์จันทร์แดง   แววมยุรา     กล้วยแคระ   ไอวี่ใบโอ๊ก     ซุ้มกระต่าย 

กล้วยไม้พันธุ์หวาย    เศรษฐีเรือนใน     เขี่ยวหมื่นปี     ดอกหน้าวัว    โกสน

( ลิ้นมังกรหริอหอกพระอินทร์    ว่านหางจระเข้     สับปะรดสี     เป็นต้นไม้

   ที่คายออกซิเจนตอนกลางคืน เหมาะที่จะไว้ในหัองนอน แต่ต้องให้ได้รับแดดด้วย

   ไม่งั้นต้นไม่โตหรืองาม )

 

 เมื่อปี 2534 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัส  เกี่ยวกับคาร์บอนไดออกไซด์  กับปรากฏการณ์เรือนกระจก และดำริให้มีการวิจัย ว่าตันไม้ชนิดใดบ้างที่สามารถ  ลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์  ในอากาศลงได้

 

   ดังนั้นทีมผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงตั้งชุดทำงานเฉพาะกิจขึ้นมาโดย มี  ดร.พูนพิภพ เกษมทรัพย์ อาจารย์ประจำ ภาควิชาพืชไร่นา  คณะเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นหัวหน้าชุดทำงาน   

  จากการวิจัยของทีม ดร.พูนพิภพ  พบว่าไม้ประดับที่สามารถช่วยลดปริมาณ

คาร์บอนไดออกไซด์       ในอากาศได้ปริมาณสูง แบ่งตามประเภทของต้นไม้คือ

 

ประเภทไม้ดอก   ได้แก่    ดาวเรือง  ยี่โถ    เวอร์บีนา   แพงพวยฝรั่ง

ประเภทไม้ประดับ ได้แก่ ตีนตุ๊กแก  เทียนทอง  เกล็ดแก้ว มะขามเทศด่าง

ประเภทผัก ผลไม้ ได้แก่ ผักบุ้งจีน  คะน้า  กระเจี๊ยบเขียว

ประเภทไม้ยืนต้น  ได้แก่ เสม็ดแดง มะเกลือ ราชพฤกษ์  พญาสัตบรรณ ชงโค

 

 ถ้าจะปลูกต้นไม้เพิ่ม หาต้นไม้ดูดสารพิษมาปลูกไว้บ้าง อากาศรอบบ้านจะดี

การดูแลต้นไม้ เพี่อให้ต้นไม้ทำกิจกรรมของมันได้ดีก็ต้องหมั่นดูด้วยว่า

ได้แสงแดดหรือไม่ จะได้ดูดคาร์บอนไดออกไซด์หรือสารพิษได้ดี คายออกซิเจน

         ได้ดีทำอากาศดี  ต่อสุขภาพ

น้ำ  ถ้าขาดน้ำ การดูด   การคาย  ก็ไม่ดี  เราก็ได้อากาศไม่ดี 

ฝุ่นหรืออื่นๆ ที่ปิดบนผิวใบ ก็ต้องช่วยเช็ดหรือล้าง บ้างเพี่อให้ พีชคายน้ำ    ออกซิเจน  ให้เราได้รับอากาศดีพืชมี  ปากใบ ถ้าโดน ปิดนานๆ เราก็ไม่ได้อากาศดี ไม่ได้ความชื้น ที่ให้เราเย็นสบาย เราตัองช่วยตันไม้ด้วย เวลาใบไม้มีสิ่งต่างๆเกาะบนใบ เพื่อเราจะได้ออกซิเจน  ดีต่อเรา

                                   

   ขอบคุณข้อมูล  จากหนังสือ ไม้ประดับดูดสารพิษ  โดย คมสัน  หุตะแพทย์

 

 

                        สับประรดสี  

 

            

           

                           เบญจมาศ

 

    

 

              ลิ้นมังกร หรือ หอกพระอินทร์

   

ด้วยความปรารถนาดี  กานดา  แสนมณี                                     

 

 

หมายเลขบันทึก: 298502เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2009 19:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ป้าเหมียวจะไปหามาปลูกบ้างล่ะค่ะ ขอบพระคุณค่ะ...

สว้สดีค่ะคุณป้าเหมียว

       ค่ะปลูกไว้หลายๆต้นนะคะ บริเวณบ้านได้อากาศดีค่ะ

 

เบญจมาศ ดูดสารพิษได้มากนะคะถ้ามีบริเวณ ทำแปลงปลูก

หรือเยอบีร่าก็ดูดสารพิษได้มากค่ะ ทั้ง2อย่างดอกสีสวยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท