พรรณไม้ในพุทธประวัติ - 18 ไผ่


พรรณไม้ที่มีเหตุการณ์สัมพันธ์กับพุทธประวัติ

ไผ่ มีชื่อบาลีว่า เวฬุ ตจสาโร เวณุ และ วํโส (วัง โส) มีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติอยู่ 2 ครั้ง

pic

หลังจากที่พระเจ้าพิมพิสารได้ฟังธรรมที่สวนตาลหนุ่มแล้ว ได้ทูลอาราธนาพระพุทธองค์พร้อมพระสาวก ไปรับพระกระยาหารเช้าที่พระราชนิเวศน์ในวันรุ่งขึ้น หลังจากที่พระพุทธองค์เสวยเสร็จ พระเจ้าพิมพิสารได้ทูลว่า ที่สวนตาลหนุ่มนั้นอยู่นอกเมือง การเดินทางลำบาก ทรงใคร่ถวายพระราชอุทยานสวนไม้ไผ่ ให้เป็นที่ประทับของพระพุทธองค์ และที่อยู่ของสงฆ์

พระพุทธองค์ทรงรับด้วยพระอาการดุษณี พระเจ้าพิมพิสารจึงหลั่งน้ำจากพระเต้าบนพระหัตถ์พระพุทธองค์ เพื่อเป็นการถวายสวนไผ่ ให้เป็นวัดในพุทธศาสนาแห่งแรก

paint

นอกจากนี้ พระเจ้าพิมพิสารยังโปรดให้ขุดสระน้ำการันธะขึ้น เพื่อให้พระพุทธองค์ได้สรงน้ำด้วย

สวนไผ่แห่งนี้ เดิมเป็นที่ประพาสของกษัตริย์ มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า กลันทกนิวาปสถาน หรือสถานเลี้ยงกระแต เนื่องจากกษัตริย์พระองค์หนึ่งเสด็จมาบรรทมพักที่นั่น พระองค์สะดุ้งตื่นเพราะเสียงกระแตดังเจี๊ยวจ๊าว จึงทอดพระเนตรเห็นอสรพิษตัวหนึ่งเลื้อยมายังที่บรรทม ทรงรอดชีวิตจากอสรพิษได้เพราะเสียงกระแต จึงพระราชทานทุนทรัพย์สำหรับซื้ออาหารเลี้ยงกระแตเรื่อยมา

อีกเหตุการณ์คือ หลังจากที่พระพุทธองค์ได้ส่งพระสาวกไปประกาศพระศาสนาแล้ว ในคืนวันเพ็ญเดือนสาม พระสาวกจำนวน 1,250 รูป ได้มาประชุมพร้อมกันที่วัดเวฬุวันโดยมิได้นัดหมาย ( พระสารีบุตร บรรลุอรหันต์ในวันนั้นพอดี)

พระพุทธองค์เห็นเป็นโอกาสดี จึงทรงแสดง โอวาทปาฏิโมกข์ หรือพระโอวาทอันเป็นหลักสำคัญ 13 ประการคือ

paint

การไม่ทำชั่วทั้งปวง

การทำความดีให้พร้อม

การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้วนี้เป็นคำสั่งสอนขะงพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ขันติคือความอดทน เป็นตบะอย่างยิ่ง

พระนิพพานพระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่าสูงสุด

ผู้ยังทำร้ายผู้อื่นอยู่ไม่นับว่าเป็นบรรพชิต

ผู้ยังเบียดเบียนผู้อื่นอยู่ไม่นับว่าเป็นสมณะ

การไม่ว่าร้ายเขา

การไม่เบียดเบียนเขา

การเคร่งครัดในพระธรรมวินัย

การรู้จักประมาณในการบริโภค

การอยู่ในสถานที่สงบสงัด

และการฝึกจิตให้มีสมาธิอย่างสูงเสมอ

นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ชาวพุทธยึดถือวันนี้เป็นวันสำคัญทางศาสนา คือวัน มาฆะบูชา นั่นเอง

อีกทั้งยังทรงบัญญัติจารีตใหม่ในพระศาสนาคือ ได้ทรงแสดง วิสุทธิอุโบสถ คืออุโบสถที่ประกอบด้วยความบริสุทธิ์ (อันต่างจากยัญพิธีในวันอุโบสถของพราหมณ์ แม้จะใช้คำ "อุโบสถ" เหมือนกัน) โดยแบ่งเป็นทางปฏิบัติสำหรับภิกษุ และทางปฏิบัติสำหรับคฤหัสถ์

ทางปฏิบัติสำหรับภิกษุ กำหนดที่วันขึ้นและแรม 15 ค่ำ ให้ภิกษุสวดโอวาทปาฏิโมกข์ เพื่อตรวจสอบความบริสุทธิ์ทางวินัย ให้เป็นการซักซ้อม และตรวจสอบถึงความพร้อมเพรียงของภิกษุทั้งหลาย

สำหรับคฤหัสถ์ ทรงบัญญัติที่วันขึ้นและแรม 8 ค่ำ กับวันขึ้นและแรม 15 ค่ำ ในวันนั้น คฤหัสถ์ให้ถือศีล 8

...............................................................................

อ้างอิงเรื่อง และรูป

เหม เวชกร สมุดภาพพระพุทธประวัติ ธรรมสภา 35/270 จรัลสนิทวงศ์ 62 บางพลัด บางกอกน้อย กรุงเทพ

เสถียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต สิ่งแรกในพระพุทธศาสนา เกษมอนันต์พริ้นติ้ง 02-809-7452-4

ศาสตราจารย์ พเยาว์ เหมือนวงษ์ญาติ ไม้พุทธประวัติ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด้จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชวังดุสิต กรุงเทพ

พาโนรามา ตามรอยพระพุทธเจ้า อมรินทร์บุ๊คเซ็นเตอร์ 65/60-62 ถ.ชัยพฤกษ์ ตลิ่งชัน กรุงเทพ 10170

วรศักดิ์ มหัทธโนบล (คอลัมน์ เงาตะวันออก) นิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ ปีที่ 29 ฉบับ1483 ประจำวันที่ 16 22 มกราคม 2552

......................................................

บันทึกล่าสุด

พรรณไม้พุทธประวัติ 19สีเสียด298320

พรรณไม้พุทธประวัติ 20 สะเดาอินเดีย298325

พรรณไม้พุทธประวัติ 21 มะตูม298327

หมายเลขบันทึก: 298103เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2009 11:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ตุลาคม 2013 10:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีครับอาจารย์ ติดตามมาเรื่อยๆ....บัว  สาละ  หว้า  ไทร หญ้าคา  หญ้าแพรก โพธิ จิก เกต สมอ ส้ม มะม่วง มะขามป้อม ทองหลาง กุ่มบก ฝ้าย  ตาล ไผ่..ขอบพระคุณ ครับ

อยากรู้ซึ้งถึงศาสนาพระพุทธเจ้า       ยิ่งลึกเข้าเลิศล้ำธรรมขันธ์

หน้าที่พุทธศึกษา-ปฏิบัติช่วยยืนยัน    เผยแผ่ธรรมทานออกไปไม่หลงทาง

ชาวพุทธชอบหลงทางต่างลัทธิ          น่าตำหนิรู้ไปทั่วมั่วหัวหาง

คนศาสน์อื่นเข้ารู้เขาเราเลือนลาง       ศาสน์พุทธอย่างบางคนปรนซิกซ์พราหมณ์

เดี๋ยวก็แวะไปคริสต์อิสลาม                 จักดื่มด่ำหรือเข้าใจไม่ลึกล้ำ

อุตสาหะเพียรเรียนรู้อยู่ประจำ            ถึงพระธรรมแก่นแท้จึงแน่นอน   

สวัสดีครับพี่

วันนี้วุ่นทั้งวันเลย ตามมาอ่านเรื่องราวของไผ่ จากพี่รู้สึกสงบขึ้นก่อนกลับบ้านครับ

ขอบคุณครับพี่

สวัสดีคะ..

แวะมาชื่นชมกับบล็อกที่เต็มไปด้วยสาระคะ

โลกแคบจังแม้แต่ออนไลน์

เราก็มาเจอกันอีก

เหมือนคุ้นๆกันนะคะ

"พลาญชัย"เองคะ

ติดตามพรรณไม้พุทธประวัติต่อไปค่ะพี่...ทราบมาว่าหากไผ่ออกดอกเมื่อไหร่...ต้นไผ่ก็จะตายเมื่อนั้น...ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีค่ะ

  • พี่คิมนั่งรอเด็กมาเข้าห้องเรียนค่ะ
  • วันนี้ข้าหน่อยเพราะฝนตกหนักค่ะ
  • มีบันทึกข้อมูลเกียวกับเด็กมาฝากค่ะ
  • http://www.krukimpbmind.com/
  • ขอขอบพระคุณสำหรับ..บันทึกนี้ค่ะ

สวัสดีค่ะ

วันนี้มาอ่านเรื่อง "ไผ่" ดีใจที่ได้อ่าน “โอวาทปาฏิโมกข์” หรือพระโอวาทอันเป็นหลักสำคัญ 13 ประการด้วยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

(^___^)

ภาพ ดอกไผ่ฟิลิปปินส์ ค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท