งานวิจัยที่เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน


แนวคิดจากงานวิจัย

ชื่อปัญหาการวิจัย การผลิตคอมพิวเตอร์ช่วยสอน“การปฐมพยาบาล” [Computer Assisted Instruction (First Aid) : Development and Evaluation]

[Computer Assisted Instruction (First Aid) : Development and Evaluation]

 

ชื่อผู้วิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทิพย์วัลย์ เรืองขจร

Assist. Prof..Tipawan Ruangkajorn)

 

ทำการวิจัยเสร็จเรียบร้อย พ.ศ. 2544

พ.ศ. 2544

ผลการวิจัย

 

การดำเนินการวิจัยตามขั้นตอน ได้ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้

 

1. ได้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน “การปฐมพยาบาล” แบบนำเสนอเนื้อหา ในระบบสื่อหลายแบบ ที่สร้างตามแนวคิดในการใช้มาตรการทางการศึกษา เพื่อลดอัตราการตายและความรุนแรงของการบาดเจ็บที่เกิดจากอุบัติภัยการจราจรทางบก โดยโปรแกรมคอมพิว
เตอร์ช่วยสอนมีหน่วยความจำรวม 650 เมกะไบต์ (MB) บรรจุอยู่ในซีดีรอม และเป็นโปรแกรมที่ใช้งานได้ดีกับคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย พีซี (multimedia PC) ที่มีมาตรฐานตั้งแต่ระดับกลางจนถึงระดับสูง

 

2. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน “การปฐมพยาบาล” ได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพภายใน และแก้ไขปรับปรุงตามผลการตรวจสอบ

 

3. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน “การปฐมพยาบาล” เป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีประสิทธิภาพใช้เป็นบทเรียนได้ โดยมีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ ด้านเจตคติ และด้านการปฏิบัติ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ดังนี้

 

พฤติกรรมสุขภาพ

เกณฑ์ที่กำหนด

(ประสิทธิภาพของกระบวนการ/ประสิทธิภาพของผลลัพธ์)

ประสิทธิภาพของบทเรียน

ด้านความรู้

80/80

80.29/83.16

ด้านเจตคติ

80/80

86.80/81.40

ด้านการปฏิบัติ

75/75

89.06/83.72

 

ผลการวิจัยสรุปได้ว่า โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน “การปฐมพยาบาล” ในระบบสื่อหลายแบบที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพที่สามารถใช้เป็นบทเรียน ที่นักศึกษาของสถาบันราชภัฏสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เพราะเมื่อผู้เรียนปฏิบัติตามคำแนะนำในการเรียน และเรียนตามอัตราเร็วในการเรียนรู้ของตนเอง ก็จะสามารถเรียนรู้ได้ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนด โดยมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ ทั้งด้านความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติ

 

ข้อเสนอแนะ

 

จากการวิจัยเพื่อพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน “การปฐมพยาบาล” แบบนำเสนอเนื้อหา ในระบบสื่อหลายแบบครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะแยกเป็น 2 ด้าน ได้แก่ ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กับข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีสาระข้อเสนอแนะแต่ละด้าน ดังนี้

 

ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

 

1. ควรจะมีการศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติต่อการเรียน ระหว่างการเรียนด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีผู้สอนดูแล กับไม่มีผู้สอนดูแลในระหว่างการเรียน เพื่อนำผลวิจัยมาสนับสนุนการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ตามพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ

 

2. ควรมีการวิจัยพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในรายวิชาที่ขาดแคลนผู้สอน หรือรายวิชาที่บริหารการสอน โดยการจัดเป็นกลุ่มเรียนขนาดใหญ่ เพราะจะสามารถให้ผู้เรียน เรียนทบทวนได้ด้วยตนเอง หรืออาจเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่ใช้ในกิจกรรมการสอนรูปแบบอื่น ๆ เช่น แบบฝึก การสาธิต เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันการศึกษา ที่มีข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (local area network หรือ LAN) เพราะสามารถเก็บโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไว้ในเครื่องบริการ (server) ซึ่งผู้เรียนจะเรียนได้จากคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ที่อยู่ในข่ายงานบริเวณเฉพาะที่เดียวกัน

 

ข้อเสนอแนะหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

1. สถาบันการศึกษาต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันราชภัฏ ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ให้หลากหลายวิชาและสาขาวิชา โดยกำหนดเป็นนโยบาย แผนงาน และโครงการ ที่มีแนวปฏิบัติ ดังนี้

 

1.1 จัดสรรงบประมาณ เพื่อจัดซื้อลิขสิทธิ์ซอฟแวร์โปรแกรมช่วยสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ตลอดจนซอฟแวร์งานสื่อหลายแบบ เพื่อให้ผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่ไม่สามารถเขียนชุดคำสั่งได้ด้วยตนเอง สามารถพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้

 

1.2 จัดชุดพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่ประกอบด้วยบุคลากร 3 ฝ่าย ได้แก่ อาจารย์ในสาขาคอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมช่วยสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน อาจารย์ในสาขาเทคโนโลยีการศึกษา และอาจารย์ในสาขาวิชาที่จะพัฒนาโปรแกรม หรือผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา

 

1.3 สนับสนุนงบประมาณดำเนินการ

 

2. สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา สนับสนุนและส่งเสริมการใช้งานวิจัยพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 29775เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2006 14:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 10:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท