โครงการพัฒนาภาวะผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพของอาชีวศึกษา (ส่วนกลาง) รุ่นที่ 2 ระยะที่ 1


สวัสดีครับชาว Blog และลูกศิษย์ที่รักทุกท่าน             ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสทำงานอย่างต่อเนื่อง คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยการจัดหลักสูตรการเรียนรู้ "
มีต่อ

เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ท่านอาจารย์ขยันและทำงานหนักจริง ๆ นะครับ

สรุปคำกล่าวเปิดและให้ข้อคิดในการเรียนรู้เพื่อการพัฒนา

โดย     รองฯ ประเสริฐ แก้วเพ็ชร

            รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

 

ขอแสดงความยินดีกับทุกท่านในวันนี้ที่ได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาภาวะผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพ ของอาชีวศึกษา (ในระดับส่วนกลาง) โครงการนี้เป็นนโยบายสำคัญของท่านเฉลียว อยู่สีมารักษ์ ท่านเลขาธิการ ซึ่งท่านได้มอบหมายให้สสอ. อบรมข้าราชการส่วนกลาง และขอรับการสนับสนุนทางด้านวิชาการจากท่านอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์

ระยะเวลาที่พูดคุยกันเกี่ยวกับการดำเนินโครงการนี้กว่าจะได้เริ่มทำจริง ๆ ก็ใช้เวลาเกือบปี สาเหตุก็เพราะพวกเราในส่วนกลางไม่ค่อยมีเวลา และถ้าให้เป็นแบบนี้เรื่อย ๆราก็จะไม่มีเวลาไปตลอด  คือมัวแต่กองอยู่กับส่วนกลาง กองอยู่กับภารกิจ ในที่สุดท่านเลขาฯ ได้สั่งการชัดเจนว่าพวกเราต้องทำโครงการนี้ให้ได้เพราะเป็นโครงการที่สำคัญต่อการทำงานของอาชีวศึกษาในอนาคตเพราะเป็นการเตรียมความพร้อมและพัฒนาศักยภาพให้แก่บุคลากรที่เป็นกำลังสำคัญ และมีแนวทางการทำงานที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพราะฉะนั้นเราต้องปลดภาระออกไปให้ได้

ผมและคณะผู้บริหารฯ เห็นว่าโครงการนี้จะช่วยเสริมสร้างความรู้ ประสบการณ์ แนวคิดที่เป็นประโยชน์สำหรับพวกเราต่อไป และเมื่อจบตลอดโครงการฯ กว่า 9 เดือนเราจะได้เรียนรู้อย่างมากมาย

ในอนาคตเมื่อเราเปลี่ยนเป็นสถาบันฯ เราจะต้องทำงานร่วมกับอุดมศึกษา 19 แห่ง วิธีการทำงานจะเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง เพราะฉะนั้นพวกเราต้องเตรียมตัวรับการเปลี่ยนแปลง

ซึ่งโครงการนี้จะช่วย..

  1. เตรียมทีมงาน
  2. เตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง
  3. ทำให้ทุกคนทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข

โครงสร้างตำแหน่งของ สอศ. ในอนาคตที่จะต้องดำเนินการในปีหน้านี้จะมีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับพวกเราอย่างแน่นอน ต่อไปในส่วนกลางจะต้องมีคนที่อย่างน้อยที่สุดต้องชำนาญการขึ้นไป คนเก่ง ๆ ที่จะมองอนาคต มองภาพกว้างจะต้องอยู่ที่ส่วนกลาง ส่วนคนอื่น ๆ ในระดับปฏิบัติการต้องไปอยู่ตามสถาบัน เราจะต้องติดต่อกับต่างประเทศมากขึ้น เราต้องเก่งภาษา คนที่อยู่ส่วนกลางจะต้องทำงานประสานกับหลาย ๆ หน่วยงาน เราจะต้องกว้าง และมีความสามารถ มีความหวังในการเจริญเติบโตในสายงาน และการทำงานวันนี้เราจะต้องไม่สร้างคอกให้ตัวเอง การอยู่ร่วมกันในโครงการนี้จะช่วยทำให้เราทำงานได้ง่ายขึ้น

วันนี้เราต้องมองอนาคตและช่วยกันขับเคลื่อนไปในทิศทางที่ดีขึ้น  วันนี้เราต้องตระหนักว่าวันนี้เราได้สร้างประโยชน์ให้แก่อาชีวศึกษาอย่างไรบ้าง?

ชีวิตการทำงานขอผมเริ่มจากเป็นครูในโรงเรียนเหลือเลือกที่จังหวัดสงขลา พบความจริงว่าไปโรงเรียนต้องเดินไป พบกับความยากลำบากมากมาย แต่ทำให้เราแข็งแกร่งเมื่อเจอปัญหาต่าง ๆ และถือเป็นการเรียนรู้ พัฒนาตนเอง ผมเป็นคนชอบอ่านหนังสือมากจนหลายคนว่าผมเป็นหนอนหนังสือ เพราะการอ่านทำให้เราสร้างจินตนาการได้ รู้จักวิธีการคิด วิธีการแก้ปัญหา คนที่อ่านมาจะได้เปรียบจะมองเห็นความคิด เรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้อื่น เรายิ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงมากเท่าไหร่ เรายิ่งต้องแก้ปัญหาที่ยากขึ้นเท่านั้น

วันนี้หลักสูตรปริญญาตรีอาชีวศึกษา ต้องแตกต่างจากคนอื่น เราต้องสร้างความแตกต่างให้ได้ เพราะเป็นความคาดหวังของสังคม ก็ขอฝากทุกคนไว้ว่าเหล่านี้เป็นเรื่องที่สำคัญ

วิธีการทำงานของเราในวันนี้ก็ต้องเปลี่ยนไปเช่นเดียวกัน เราต้องทำงานกับคนหมู่มากขึ้น เช่น การทำงานร่วมกับบอร์ด เราต้องเรียนรู้ในทุกระดับ ระดับส่วนกลาง ระดับสถาบัน ซึ่งจะมีกระบวนการที่แตกต่างกันออกไป และโอกาสในวันข้างหน้านั้นเป็นของพวกเรา เราจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญจริง ๆ ในแต่ละสาขา ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มี การปฏิรูปรอบสองของพวกเราจะต้องเน้นคุณภาพของการทำงาน

            การจะทำงานและเป็นผู้นำในวันนี้ต้องแยกให้ออกระหว่างเรื่องงานกับเรื่องส่วนตัว อย่าทำตัวให้หนัก หมายถึง เอาปัญหาส่วนตัวเข้ามามากเกินไป บางคนหนักเพราะขาดวิสัยทัศน์ หนักเพราะทำงานร่วมกับผู้อื่นไม่ได้ หนักเพราะมีจิตใจคับแคบ ฯลฯ เพราะฉะนั้น การเรียนรู้ในวันนี้ผมก็ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านประสบความสำเร็จในการทำงานของเราต่อไป

 

 

Workshop 1 หลังจากฟังอาจารย์แล้ว

  1. สิ่งที่เห็นด้วยคืออะไร? 1 เรื่อง
  2. สิ่งที่ไม่เห็นด้วยคืออะไร? 1 เรื่อง

กลุ่ม 2

  1. เห็นด้วยกับรูปที่แสดงว่าเป้าหมายของเราคือการทำงานให้ได้ผลที่สุด
  2. สิ่งที่ไม่เห็นด้วย คือ เราไม่ได้ Stand alone และ Stakeholders ที่สำคัญที่สุดของเรา คือ สถานประกอบการ

กลุ่ม 1

  1. เห็นด้วย คือ ระบบการศึกษาของเราไม่ได้เน้นความเป็นเลิศที่ผลผลิตคือนักศึกษาของเรา (ลูกค้า)
  2. ไม่เห็นด้วยที่ว่าเราสอนให้เด็กคิดไม่เป็น แต่น่าจะเป็นเพราะปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้บุคคลภายนอกมองเราแบบนั้น

กลุ่ม 3

  1. สิ่งที่อาจารย์บรรยายให้เราสั้น ๆ วันนี้เป็นการกระทุ้งให้เราสร้างจินตนาการใหม่ (Re-imagine) และเราเห็นด้วยว่าพวกเราควรจะถูกใช้งานให้มากกว่านี้ในฐานะที่เราเป็นที่ปรึกษามากกว่าเป็นเสมียน
  2. สิ่งที่เห็นแตกต่าง คือ เราจะต้องเป็น Consult ในลักษณะ Team Consult เพื่อทำให้ Tacit Knowledge ของพวกเราออกมา

กลุ่ม 6

  1. สิ่งที่เราเห็นด้วยกับการวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของการทำงานของส่วนกลางในปัจจุบัน
  2. สิ่งที่ไม่เห็นด้วย คือ ที่อาจารย์บอกว่าเรามีอำนาจและใกล้อำนาจ จริง ๆ แล้วเราไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ

กลุ่ม 4

  1. สิ่งที่เราเห็นด้วยกับการบริหารแบบพบกันครึ่งทาง
  2. สิ่งที่อาจจะเห็นแตกต่างคือการ Networking กับบุคคลภายนอก ซึ่งจริง ๆ แล้วเรามีเครือข่ายมากมายแต่อาจจะขาดการเชื่อมโยงอย่างจริงจัง

กลุ่มที่ 5

  1. สิ่งที่เราเห็นด้วย คือ ภาพของการทำงานในอนาคตของอาชีวศึกษาที่จะต้องเน้นการทำงานแนวนอนมากขึ้น
  2. สิ่งที่ขัดหูในเรื่องของจุดแข็ง คือ เรื่องการมีอำนาจและใกล้อำนาจเพราะจริง ๆ เราไม่ค่อยมีอำนาจ

 

นายบุญเลิศ น้อมสระ

แนวคิดของเนลสัน แมนเดลา

1 บริหารศัตรู

2 หาเพื่อบ้านแนวรวมมากๆ

3 ไม่เน้นความถูกผิด 100%

ทวีศักดิ์ จันทร์หอม

ปรับแนวคิดมาใช้กับอาชีวฯ

1 รู้จักเข้าหาศัตรูและผูกมิตร

2 ทำงานร่วมกันได้

3 ทำงานตามเป้าไม่จำเป็นต้องถูกหรือผิด 100% ทำด้วยเหตุผล

ลักษณะผู้นำที่ต้องการ

1 ควรมีวิสัยทัศน์มีความเป็นผู้นำ มีความสามารถบริหารเชิงกลยุทธ์

2 มีภาพลักษณ์ บารมี คุณธรรม ความมีมนุษยสัมพันธ์ วาทศิลป์ การเจรจาต่อรอง กล้าตัดสินใจ

3 ความมุ่งมันสู่ความสำเร็จ ความมุ่งมั่นไม่ใช่

เป็นความคิดที่จะทำ แต่เป็นพลังของจิตใจสำนึกที่จะขับเคลื่อนทีมงาน มุ่งมั่นสู่เป้าหมาย และความสำเร็จ แม้ว่าจะมีอุปสรรค ปัญหาใดก็ตาม

นายอรรณพ แก้วปาจุมทิพย์

 มีวิสัยทัศน์ที่ยาวไกล และไม่ใช่การสร้างภาพ

 มีความกล้าที่จะทำ โดยมีการศึกษาอย่างรอบคอบ

 สู้และให้กำลังใจผู้ใต้บังคับบัญชาโดยไม่คำนึงถึงความเหนื่อยยากที่ต้องเผชิญ

นางบรรจง จันทร์หอม

ลักษณะผู้นำของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

ในความคิดของข้าพเจ้า นางบรรจง จันทร์หอม สังกัดสำนักติดตามและประเมินผลการอาชีวศึกษา มีดังนี้

1 ผู้นำมีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีหลักการบริหารจัดการที่ดี มีความคิดสร้างสรรค์ ไม่ปิดกั้นโอกาส ดูแลและรักษาผลประโยชน์ที่ผู้ใต้บังคับบัญชาควรได้

2 ผู้นำต้องมีความเป็นกันเอง ไม่แบ่งชนชั้นวรรณะ รับฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา

3 ผู้นำต้องมีภาพลักษณ์ที่ดี สร้างองค์กรให้เป็นที่รู้จัก เป็นที่ยอมรับของสังคมได้

ผู้นำสำหรับการอาชีวศึกษาที่ใฝ่ฝัน

1 เป็นผู้นำด้วยจิตวิญญาณ คือทำเพื่อการอาชีวศึกษา เพื่อสังคมประเทศชาติฃ

2 เป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีความรอบรู้ด้านการอาชีวศึกษา

3 เป็นผู้นำที่มีภาพลักษณ์ที่ดี มีความซื่อสัตย์ มีคุณธรรมจริยธรรม บริหารจัดการด้วยความโปร่งใส

นายจักรพันธ์ พุทธวงศ์

แนวคิดของ เนลสัน แมนเดลา

1 การเป็นผู้นำอย่างไปเน้น ถูกหรือผิด แบบ 100%

2 การจัดการบริหารศัตรู

3 การจะอยู่อย่างผู้นำควรใกล้ชิดกับเพื่อน

นายจักรพันธ์ พุทธวงศ์

แนวคิดของ เนลสัน แมนเดลา

1 การเป็นผู้นำอย่างไปเน้น ถูกหรือผิด แบบ 100%

2 การจัดการบริหารศัตรู

3 การจะอยู่อย่างผู้นำควรใกล้ชิดกับเพื่อน

ปรับใช้กับแนวคิดของสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา

1 การทำงานของเจ้าหน้าที่นั้น ไม่สามารถที่จะกล่าวอ้างว่า ปฏิบัติไม่ถูกต้องทั้งหมด 100% หรือถูกต้องทั้งหมด เพราะการทำงานชั้นใดชั้นหนึ่งของแต่ละบุคคลมีแนวคิด วิธีการปฏิบัติงาน ความชำนาญงาน จะประสบการณ์ในแต่ละศาสตร์ไม่เหมือนกัน จึงควรกำหนดผลสัมฤทธิ์ของงานที่เข้าข่ายว่าประสบผลตามเป้าหมายประมาณ 80% ไม่เกิน 5% ก็น่าจะถือว่าเน้นตามเป้าหมายการคิดแล้ว

2 การสำรวจข้อผิดพลาดของเป้าหมายควรกำหนดที่ไม่ตรงกับนโยบายรัฐบาลนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาแล้วนมาปรับใช้กับลักษณะงานที่จะต้องทำในอนาคตต่อไป

3 การสร้างความสัมพันธ์ในแนวดิ่ง จากผู้บริหารจนถึงระดับปฏิบัตงานให้มีบรรยากาศการร่วมมือกับทำงาน เพื่อพัฒนาองค์กรในลักษณะทุกคนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนองค์กรด้วยตนเองร่วมกัน ตามระดับความสำคัญของงาน

นางสาวทัชธกร อ่อนน้อม

ผู้นำในฝันของนางสาวทัชธกร อ่อนน้อม

รักองค์กร เข้าใจในระบบบริบท และวัฒนธรรมองค์กร มีความจริงใจที่จะพัฒนาและนำพาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ เป็นที่ยอมรับของสังคม อย่างสง่างามมีเกียรติมีศักดิ์ศรี

มีวิสัยทัศน์ มีความคิดสร้างสรรค์ก้าวทันต่อเหตุการณ์ของสังคมโลก กล้าคิด กล้าตัดสินใจในสิ่งที่ถูกต้อง หนักแน่น มีการบริหารจัดการที่ดีมีความยืดหยุ่นให้โอกาสผู้ใต้บังคับบัญชา ใช้ทั้งพระเดช และพระคุณ

มีความอบอุ่น เป็นมิตร เป็นกันเอง มีเหตุและผล เป็นที่ไว้วางใจ เป็นจุดศูนย์รวมของพลังรักและศรัทธา ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะหลอมรวมความเป็นหนึ่งเดียว การมีเอกภาพ ที่จะช่วยกันนำพา การอาชีวศึกษา สู่ความเป็นเลิศ

แนวคิดของเนลสัน แมนเดลา

1 มีความมุ่งมั่นที่จะทำให้ได้ในสิ่งที่คิด

2 เห็นทุกคนเป็นมิตร

3 จัดนำศัตรูมาเป็นส่วนร่วม

ปรับแนวคิดมาใช้กับอาชีวะฯ

1 ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายให้ดีที่สุด

2 รับฟังความคิดเห็นของเพื่อร่วมงาน

3 ควรมีความสามัคคีทั้งให้มากกว่านี้

การวิเคราะห์ลักษณะความเป็นผู้นำของ แมนเดลา มีลักษณะบุคลิกที่ผสมผสานกัน กล่าวคือ เป็นผู้นำที่มีหลักการมีความชัดเจน ถูกต้อง รวมทั้งมีความเข้มแข็งมุ่งมั่น มั่นใจในตัวเองเป็นอิสระ ในเวลาเดียวกัน มีความสงบนิ่ง อดทน คือเงียบจึงสามารถสร้างศรัทธาในหมู่ปวงชนได้

วิเคราะห์ เมนเดลลา

1 มีความตั้งใจจริง

2 มีเป้าหมายทางการทำงาน

3 มีอุดมการณ์อแน่วแน่

4 มองไปข้างหน้า

5 สู่คุณธรรม

6 เปิดใจ ยอมรับฟังผู้อื่น

ผู้นในระบบอาชีวศึกษาควรเป็นอย่างไร

1 ควรเป็น หัว+หน้า

หัว - ฉลาด รอบรุ้ใฝ่รู้ มีเหตุผล

วางแผนเก่ง + จัดการดี มาตรฐาน

ทำได้จริง ทให้ดูเป็นตัวอย่าง สากล

มีวิชั่น

นำไปสู่ คิดในภาพรวม

หน้า - รับผิดและชอ (รับผิดชอบ)

มีจรรยาบรรณ

มีคุณธรรม

2 เป็นศูนย์รวมของ ความศรัทธาในผู้นำ

3 เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ ไม่ทำเพื่อตัวเอง แต่ทำเพื่อส่วนรวม องค์กร สังคม ประเทศ มวลมนุษย์ในโลก

คุณค่าของการเป็นมนุษย์ที่ดี คืออะไร

วัดจากหลังตายไปแล้ว มีคนยกย่อง ควมดีของเขา

1 รุ้จักหน้าที่ ตั้งใจทำให้เต็มที่

2 มีความกล้า กล้าคิดนำเสนอ กล้ารับผิดรับชอบ

3 เผชิญ เปิดเผยเมื่ออยู่ข้าหน้า สนับสนุนใครก็ทำอย่างจริงจัง

4 การบริหารคู่แข่ง ศึกษา วิเคราะห์ คู่แข่ง ห้ามละเลยศัตรู

เลี้ยงให้อยู่ (กันชน) ตีให้ตาย รู้เขารุ้เรา

5 มีภาพลักาณ์ที่ดี ให้เป็นพฤติกรรม เป็นสังคมนั้นๆ

6 ไม่มีถูกหรือผิด 100% รู้จักยืดหยุ่น นำสู่ win win

7 รู้จักพอและถอย แบ่งกันกิน แบ่งกันอยู่ ใช้ วงการเดียวกัน มนุษย์เป็นสัตว์สังคม อยู่คนเดียวไม่ได้ อย่าเห็นแต่ตัวมากเกินค้ำเสรีภาพผู้อื่น รู้จักหน้าที่สิทธิ เสรีภาพ

สุดท้ายอย่าลืมดูแลสุขภาพ เงินซื้อ ไม่ได้ทุกอย่าง คนใกล้ตัว ต้องมีความสุข

คิดดี ปฏิบัติดี ย กระทำดี รอบข้างสุข เราก็สุข หน้าตาดี (สร้างได้)

ใช้เวลาทั้งชีวิต ชอบอยากเป็นพระเอง กระทำโดยตัวเอง ของดีและถุก ไม่มีในโลก ตะเนินเหยื่อ ถ้าโง่แล้วโลกมาก

ทิพย์วรรณ เย็นตระกูล

การนำแนวทางความเป็นผู้นำของ เมนเดลล่า มาปรับใช้กับการบริหารงาน สอศ.คือ

1 ภาวะผู้นำ ที่มองอนาคตและเส้นทางขององค์กรที่ชัดเจนและมีเป้าหมายที่แน่นอน

2 ความกล้าหาญ ที่จะทำให้องค์กรสามารถเดินไปสู่ความเป็นและเป็นที่ยอมรับของสังคม มีภาพลักษณ์ที่ดี

3 การรู้เขารู้เรา เพื่อให้การพัฒนาองค์กรไปในทิศทางที่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศและสามารถในการแข่งขัน

ภาวะผู้นำ สอศ.

1 กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ

2 เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง

3 ให้ขวัญและกำลังใจผู้ร่วมงาน

อุษณี ตันติชัยรัตนกุล

ลักษณะผู้นำของ สอศ.ในความคิดของข้าพเจ้า

1 ต้องการ ให้ผู้นำมีความเป็นกันเองไม่มีการแบ่งชนชั้น ไม่ใช้ระบบเจ้าขุนมูลนาย

2 ต้องการให้ผู้นมีวิสัยทัศน์กว้างไกล รับฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา

3 ต้องการให้ผู้นมีการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้เกิดกับองค์กรมีการประชาสัมพันธ์การื่อสารแบบ 360 องศา การสร้างเครือข่าย เพื่อนำองค์กรให้เจริญก้าวหน้าก้าวสู่สังคมอย่างสง่างาม

นางแน่งน้อย วรวงศ์

ลักษณะผู้นำ สอศ. ในความคิดของข้าพเจ้า

1 มีความเป็นกันเอง มีความเป็นมิตร สร้างความอบอุ่นและความประทับใจให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา ทำให้เกิดความศรัทธาภักดีต่อองค์กร

2 มีวิสัยทัศน์ก้าวไกล มีหลักการบริหารจัดการที่ดี ดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาให้ได้รับความเป็นธรรม มีคามก้าวหน้าในสายงาน

3 มีความเป็นเหตุผล รับฟังความเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา มีอัธยาศัยที่ดีให้คำแนะนำให้คำปรึกษา มีจิตใจที่หนักแน่น ถูกต้อง ชัดเจน

ลักษณะผู้นำของ สอศ. ในการคิดของข้าพเจ้า

1 มีความมุ่งมั่นที่จะให้หน่วยงานพัฒนาไปจากรูปแบบเดิมๆ (ล้าหลัง)

2 กล้าคิด กล้าทำ และจุดประกายความคิดในรูปแบบใหม่ ที่ถูกต้องและรวดเร็ว

3 ใส่ใจในรายละเอียดของการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชา รับฟังความคิดเห็นและยอมรับในสิ่งที่ถูกต้อง

ทองเปลว แป้นประหยัด

ลักษณะผู้นำของ สอศ. ในความคิดของข้าพเจ้า

1 กล้าตัดสินใจ มีเหตุผลให้ความเมตตาต่อบุคคลโดยทั่วไป

2 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

3 มีความเป็นกันเอง ต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ทุกระดับชั้น

สอศ.ต้องการผู้นำ 3 เรื่อง คือ

1 ผู้นำที่มารถตัดสินใจ แก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมในทุกสถานการณ์

2 ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ในการนำองค์กรไปข้างหน้า กล้คิดนอกกรอบไม่ยึดติดแนวคิดเดิม ๆ ยอมรับการเปลี่ยนแปลง

3 ผู้นำที่มีคุณธรรม จริยธรรม

สันติ อภิสิทธ์รัตนากร

ข้าพเจ้าคิดว่า ภาวะผู้นำของ สอศ. ควร

1 เป็นผู้นำองค์กรที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีความยุตธรรมให้ทั้งคุณและโทษแก่ข้าราชการด้วยความบริสุทธิ์ใจเป็นที่ตั้ง ไม่เห็นแก่อามิสทรัพย์สิน มีความเที่ยงตรงเป็นที่พึ่งของบุคลากรทั้งหลายในองค์กร

2 เป็นผู้นำที่มีวิชั่น เป็นผู้มองการณ์ไกล รู้ทันต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลก สามารถนำองค์กรไปยังเป้าหมายดโดยใช้กลยุทธ์ที่ถูกต้องและนำองค์กรไปสู่สากลอย่างเหมาะสมแก่สภาวการณ์

3 เป็นผู้มีบารมีจากการสั่งสมประสบการณ์ สร้างศรัทธาให้เกิดแก่ข้าราชการ จากการที่มีผู้นำเป็นแบบอย่างที่ดีในด้านความสามารถในการบริหารองค์กร คิดถูกต้องทำสิ่งที่ถูกต้อง มุ่งผลสัมฤทธิ์ให้เกิดแกองค์กรเพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ

การนำแนวทางความเป็นผู้นำของเมนเดลว่า มาปรับใช้กับการบริหารงานของ สอศ. คือ

1 ต้องเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ในแต่ละด้าน และเป็นคนที่สามารถเชื่อมโยง การทำงานของ สอศ. สู่หน่อยงานภายนอกได้

2 ต้องเปิดใจกว้าง รับฟังผู้ร่วมงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชา

3 สร้างแรงจูงใจให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา เมื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างคุณค่าในการทำงานผู้ใต้บังคับบัญชา

ผู้นำของสอศ. ควรมีภาวะดังนี้

1 มีจิตใจใฝ่รู้

2 ตั้งมั่นบนความโอบอ้อมอารีและรู้จักให้อภัย

3 ฉลาดเฉลียว การศึกษาที่ มีข้อมูลพร้อม

ภานุรุจ กลิ่นโพธิ์

แนวคิดของเนลสัน มันเดลา

1 ความกล้าหาญ

2 การบริหารศัตรู

3 การเป็นผู้นำที่ดี ต้องรู้ว่า “จังหวะไหนจะพอหรือจะถอย”

ปรับใช้กับแนวคิดในการบริหารจัดการสำนักงานฯ

1 ความกล้าหาญ ต้องกล้าตัดสินใจยึดมั่นในหลักการเช่น การกระจายอำนาจสู่สถานศึกษาหรือสถาบันให้โอกาสข้าราชการพลเรือนสู่ความเจริญก้าวหน้า

2 การบริหารศัตรูผูกมิตรกับเพื่อร่วมงานสร้างเครือข่ายแนวร่วม

3 การเป็นผู้นำที่ดีรู้จักพอ ยึดหลักจริยธรรมและเศรษฐกิจพอเพียง

จากการอ่านความเป็นผู้นำของเมนเดลา มีความเห็นว่า เขาเป็นผู้นำที่มีความอดทน มีความกล้าหาญเป็นผู้นำอย่างชาญฉลาดซึ่งผู้นำในการจัดการอาชีวศึกษา สามารถนำไปใช้ในการบริหารงานในองค์กรได้เป็นอย่างดี ซึ่งวิเคราะห์ผู้บริหารอาชีวศึกษาควรมีลักษณะดังนี้

1 ต้องมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ซึ่งสามารถมาสู่การปฏิบัติได้ มีทุกองค์กรหลัก

2 ต้องมีบุคลการที่มีคุณภาพในการบริหารจัดการเพื่อให้สามารถให้วิสัยทัศน์บรรลุผล

3 ต้องมีการบริหารงานอย่างโปร่งใส เป็นธรรม

ลักษณะการเป็นผู้นำ (ของ สอศ.) ที่ดี ควรมีลักษณะดังนี้

1. ต้องมีวิสัยทัศน์ (Vision – Creative / Innovative)

2. ต้องมีความรู้ (Knowledge) ด้านการศึกษา/การอาชีวศึกษา (Know how – Know who)

3. ต้องมีทักษะ (Skills) หลักของการบริหารจัดการองค์กร/ บุคลากร “Put the right man on the right job at the right time in the right place.”

4. ต้องมีปัญญา “wisdom” กล้าตัดสินใจ กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง

5. ต้องมีคุณธรรมจริยธรรม และความเป็นธรรม

6. ต้องมีภาพลักษณ์และบุคลิกภาพที่ดี

“สรุปก็คือต้องเป็นทั้งนักการศึกษาและนักบริหารที่ชาญฉลาด”

นางธีรวรรณ วระพงษ์สิทธิกุล

ผู้นำของ สอศ. ควรมีลักษณะเป็น 3C Model ดังนี้

1. เป็น Creative Model: เป็นผู้มีวิธีคิดที่กล้าหาญ เฉียบคม และมุ่งมั่น แต่มีความพร้อมที่จะปรับวิธีคิด และวิธีการทำงานแบบ 360 องศา เพื่อไปสู่ความสำเร็จที่เป็นจุดยืนทางความคิด

2. เป็น Coaching Model: เป็นผู้เพียบพร้อมทักษะปฏิบัติ และมีกลยุทธ์ในการร่วมปรับปรุง แก้ไขปัญหาองค์กรสู่ความเป็นเลิศที่แยบยล

3. เป็น Compromise Model: เป็นผู้เข้าใจเรื่องจังหวะและโอกาสแห่งชัยชนะ รู้เขารู้เรา พร้อมทั้งหากลักประนีประนอมและตกลงร่วมกันแบบ win – win

ผู้นำควรเป็นองค์กรอาชีวศึกษา

1. มีความมุ่งมั่น และมีเป้าหมายในการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดสู่ผู้ใต้บังคับบัญชาได้

2. สนับสนุน ส่งเสริมให้ผู้ใต้บังคับบัญชา และทีมงานไปสู่จุดหมายของความสำเร็จ

3. มีหลักการและภาพลักษณ์ที่ดีเป็นที่เชื่อถือของบุคลากรภายนอกองค์กรและมี Creativity เสนอแนวทาง วิธีการให้องค์กรโดดเด่น และแนวทางที่นำไปสู่การปฏิบัติได้ สร้างความเชื่อถือให้กับองค์กร

ปรียนันท์ อารมณ์รัตน์

ภาวะผู้นำของสอศ.ที่ต้องการ

1. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มองการณ์ไกล มีวิสัยทัศน์ที่ดีที่ทำให้องค์กร (สอศ.) มีความเจริญ ก้าวหน้า เป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับของหน่วยงานอื่น ๆ

2. มีความจริงใจ ซื่อสัตย์ มีคุณธรรมในใจ มีจริยธรรมที่ดี

3. มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

4. มีการให้รางวัลแก่ผู้ที่ทำงานได้ผลดี มีประสิทธิภาพ นำผลสัมเร็จให้แก่ สอศ.

5. รู้จักระบบการจัดการที่ดี

ภาวะผู้นำของสอศ.ที่ต้องการ

1. มีคุณธรรมจริยธรรม

2. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

3. มีความยุติธรรม

4. มีความซื่อสัตย์สุจริต

5. มีมนุษยสัมพันธ์ดี

6. มีความรับผิดชอบสูง

7. เป็นผู้นำที่ดี

ภาวะผู้นำของสอศ.ที่ต้องการ

1. เป้าหมายในการทำงานชัดเจน ยึดมั่นอุดมการณ์สู่เป้าหมายของงาน

2. มีความเสียสละ

3. มองการณ์ไกล มีวิสัยทัศน์

4. มีความเอื้ออาทร ซื่อสัตย์ ยุติธรรมและมีคุณธรรม

อ.พรทิพย์ เอกมหาราช

ภาวะผู้นำของสอศ.ที่ต้องการ

1. กล้าคิด กล้าทำ กล้าเปลี่ยนแปลงในสิ่งใหม่ ๆ ที่ทันสมัย ก้าวหน้า มีวิสัยทัศน์

2. มีความเสียสละ

3. สร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา มองช่องทางและสร้างโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชา มีช่องทางที่จะมีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน

4. ยึดมั่นในอุดมการณ์ที่จะทำให้งานบรรลุเป้าหมาย

5. มีความยุติธรรม

นางสุปรียา ลำเจียก

ภาวะผู้นำของสอศ.ที่ต้องการ

1. มีวสัยทัศน์ที่ชัดเจน สามารถนำมากำหนดเป็นพันธกิจ เป้าประสงค์ และกลยุทธ์ขององค์กรได้ (Vision)

2. เป็นผู้นำของการเปลี่ยนแปลงตามโลกาภิวัตน์ (Change Agent)

3. มีความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)

4. รู้ปัญหาต่าง ๆ ของผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อหาทางแก้ไข ปรับปรุง (Coaching)

5. สนับสนุนและเป็นต้นทางของการทำงานเป็นทีม (Teamwork)

นายจิตวุฒิ แสงสิริโรจน์

จากบทความของ Nelson Mandela ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ คนที่ 11 มีเป้าหมายในการทำงานชัดเจน มีความมุ่งมั่นในการบริหารจัดการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งในการที่ได้มีการดำเนินที่เป็นระบบชัดเจน

สำหรับบทบาทผู้นำของอาชีวศึกษา ควรมีดังนี้

1. เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในด้าน IT

2. มีวิสัยทัศน์กว้างไกล

3. ทำงานอย่างมีความมุ่งมั่น

จากบทความของ Nelson Mandela ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ คนที่ 11 มีเป้าหมายในการทำงานชัดเจน มีความมุ่งมั่นในการบริหารจัดงานเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ โดยใช้กลยุทธ์ในการดำเนินงานโดยเริ่มจากการเป็นผู้เคลื่อนไหวในทางสันติ และกลายมาเป็นผู้นำกลุ่มกองกำลังติดอาวุธ ตลอดจนมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่อต้านใต้ดินโดยใช้อาวุธ อาทิ การก่อวินาศกรรม จนเป็นที่รู้จักในฐานะนักต่อต้านนโยบายแยกคนต่างผิว และสามารถสร้างความปรองดองด้วยนโยบายประธานไมตรี

สำหรับบทบาทผู้นำของอาชีวศึกษา ควรมีดังนี้

1. เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มุ่งมั่นที่จะพัฒนาการอาชีวศึกษาด้วยการบริหารจัดการยุคใหม่ในการผลิตนักศึกษาสู่สังคมอย่างมีคุณภาพสูงสุด

2. เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงที่จะปฏิรูปจัดการอาชีวศึกษาให้ทันการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนความต้องการของตลาดแรงงาน

3. ส่งเสริมบุคลากรในองค์กรให้มีความก้าวหน้าในการทำงาน พิจารณาความดีความชอบและเลื่อนตำแหน่งด้วยความยุติธรรม โปร่งใส

ศิริพร กลิ่นปาน สวม. 081-449-0714

การมีศรัทธา เชื่อมั่นในคุณค่าของตนเองและต้องดึงมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

บรรจง จันทร์หอม 089-887-3974

การพัฒนาคนเพื่อนำไปปรับใช้กับตัวเราเองและเพื่อนร่วมงาน และนำไปใช้ในการปฏิบัติงานจริงให้ได้ประโยชน์สูงสุด

ทวีศักดิ์ จันทร์หอม 089-130-1287

ควรศึกษาเรียนรู้ตลอดชีวิต

แน่งน้อย วรวงศ์ 081-632-3584

เรื่องคนคือทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในองค์กร

สุวรรณี ยุวชาติ 081-612-3414

ใน 2 วันนี้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการค้นหาคุณค่าของตัวเองและของผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อดึงคุณค่าและศักยภาพของเขาเหล่านั้นในการสร้างทีมงาน และมอบหมายงานได้ตรงตามความสามารถของเขา

ได้รับความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีต่างๆ เกี่ยวกับภาวะผู้นำซึ่งสามารถจุดประกายความคิดให้นำไปพัฒนาการอาชีวศึกาให้เข้มแข็งสามารถผลิตนักศึกษาที่มีคุณภาพสูงสุด สู่สังคมและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเทคโนโลยี เศรษฐกิจและสังคมโลกที่พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

สิ่งที่ได้รับ

1 วิธีการบริหารจัดการองค์กรในฐานะผู้นำ โดยเฉพาะการบริหารทรัพยากรบุคคล

2 วิธีการรักษาทรัพยากรบุคคลให้อยู่คู่กับองค์กรด้วยความรักและศรัทธา

Lesson Learn จากการเรียนรู้

1 วิธีการค้นหาคุณค่าของวิธีการเพิ่มคุณค่าของตัวเองรวมถึงวิธีการนำคุณค่าของตัวเองไปพัฒนาปรับไปใช้ในการทำงาน เพื่อให้งานที่ได้รับมอบหมายสำเร็จและการมีความสุขในการทำงาน

สวรรสิริ ฤทธิ์เลื่อน

 ทฤษฎีภาวะผู้นำ

 วิธีการเรียนรู้

 การให้ความสำคัญทรัพยากรมนุษย์

อรรณพ แก้วประทุมทิพย์

ได้แนวความคิดในการมองภาพองค์รวมว่าการจะขับเคลื่อนองค์กรได้ดีต้องประกอบด้วยบุคลากรที่พร้อมที่ดี การที่บุคลากรที่พร้อมต้องเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตนเองเพื่อยกระดับตนเองและองค์กรให้สูงยิ่งขึ้น

สิ่งที่ได้รับ

ได้มีการริเริ่มและมีหลักเกณฑ์และแนวทางการบริหารงาน การสร้างบรรยากาศในการพัฒนาบุคคลในการทำงานร่วมกัน ผู้ร่วมงานที่บุคลิกภาพที่แตกต่างจากตัวเอาเพื่อปรับสภาพในการทำงานที่มีประสิทธิภาพ

มองเห็นคุณค่าและความสามารถของบุคลากรในองค์กรของเรา

ทำให้เกิดความเชื่อมั่น มั่นใจ ทำให้เกิดพลังอยากะทำงานให้ได้ประสิทธิภาพต่อไป เพื่อต่อสู้กับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต

อ.พรทิพย์ เอกมหาราช

ได้แนวคิดและหลักการในการเป็นผู้นำที่ดีในการทำงานให้ประสบความสำเร็จและทำงานอย่างมีความสุขและมีส่วนร่วมของทุกคน ทำให้เกิดพลังในการทำงานขององค์กรกลุ่มงาน ฯลฯ

ในระยะเวลาที่อยู่ร่วมกันกับหลักสูตรนี้ ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการทำงานเป็นแนวทางในการทำงานชัดเจนมากขึ้น

ได้แนวคิดในการทำงาน การเห็นคุณค่าของตนเอง

สิ่งที่อยากให้เพิ่มเติม

อยากให้มีระบบอาวุโส ในการแต่งตั้งผู้บริหาร

สิ่งที่ได้จากการเข้ารับการอบรม ได้หลายสิ่งจากการอบรม แต่สิ่งที่ถูกใจและพอใจ คือเรื่องการสร้างเครือข่ายการมีคุณธรรม จริยธรรม อยู่ในใจ หรืออให้ความเป็นธรรมกับลูกน้อง (อย่างที่บอกว่าอยากได้อะไรจากคนอื่นต้องให้เขาก่อนเสมอ หรือเป็นตัวอย่างที่ดีให้เขาก่อน)

สิ่งที่ได้จากการรับการพัฒนาในช่วง 2 วัน ทำให้เกิดความไม่ท้อแท้ในการทำงานเหมือนได้รับแรงกระตุ้นให้สามารถกลับไปสู้กับงานที่คิดว่ามีอุปสรรคมากมาย จากที่เคยเบื่อหน่ายกับการติดต่อบุคลากรในองค์กรทำให้เข้าใจและสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับประยุกต์ใช้ในการการทำงานกับแต่ละบุคคลได้อย่างไรและคิดว่าความรู้ที่ได้รับในครั้งนี้จะนำไปใช้ได้ในอนาคตการทำงานได้ตลอด

ทองเปลว แป้นประหยัด 081-492-0871

การอบรมครั้งนี้ได้รับความประทับใจในครั้งนี้คือ

การนำคุณค่าของบุคคลแต่ละคนไปใช้ในการปฏิบัติงานให้ดีที่สุด

ได้เรียนรู้ว่า

ถ้ามีความเชื่อมั่นในคุณค่าของคนทุกคนในองค์กรและพัฒนาคนในองค์กรให้มีความศรัทธาในผู้นำและศักยภาพของคนทุกคนมาช่วยกันทำงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเกิดความมีส่วนรวมในการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย

การสื่อสารจะช่วยให้เกิดการทำงานได้ง่ายขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้นเห็นภาพองค์รวมของ HRD และ HRM จะต้องดำเนินการได้ด้วยกันถึงบรรลุผลสำเร็จขององค์กรและให้ความสำคัญของการบริหารจัดการคนภายในองค์กร

บุญเลิศ น้อมสระ 081-308-6149

ได้อะไรใน 2 วัน

ได้รู้คุณค่าและศักยภาพของความเป็นมนุษย์

ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กรคือ คน

เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดพลังในการทำงาน

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้

ได้รัยรู้หลักการที่ดีในการบริหารงานมากขึ้น ทำให้สามารถนำไปปรับใช้ได้

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้

การพัฒนากระบวนการสร้างสรรค์ของคน ในองค์กร โดยอาจจัดทำโครงการบูรณาการและการทำงานร่วมกันทุกๆสำนักในการพัฒนาอาชีวศึกษา

ปรียนันท์ อารมณ์รัตน์

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้

การเป็นผู้นำต้องมีความศรัธาในคุณค่าของบุคคลในองค์กร และให้โอกาสในการแสดงออก หรือมีส่วนร่วมในการบริหารงาน

โสภิดา ลิ้มวัฒนาพันธ์

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้

ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนและ เรียนรู้ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ HRD และ HRM เพื่อให้องค์กรสู่ความสำเร็จและมีความสุขในการทำงาน

ทิพวรรณ เย็นตระกูล

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้เป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อการปฏิบัติงาน คือการที่จะนำประสบความสำเร็จและนำพาองค์กรเดินไปสู่เป้าหมายนั้นคือคนที่เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด ในการนำศักยภาพคุณค่าในแต่ละคนมาร่วมกัน ซึ่งเป็นพลังสำคัญในการทำงานและเดินไปสู่เป้าหมายเดียวกัน แต่ในขณะเดียวกันคนเหล่านั้นต้องได้ขวัญและกำลังใจได้รับการดูแล สนับสนุนและพัฒนาศักยภาพให้สูงขึ้น

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้

การที่กระตุ้นให้เกิดความคิดและจุดประกายการเป็นผู้นำ โดยนำหลักแนวคิดในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ และได้เรียนรู้การมีภาวะผู้นำ ได้เรียนรู้ตนเอง ได้เรียนรู้ผู้บริหารเจ้านายหรือลูกน้อง และสามารถนำไปปรับใช้ ให้เกิดประโยชน์กับตนเองและหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้

ต้องเข้าใจคุณค่าของตนเองและเข้าใจคุณค่าของทีมงาน ทำให้กลับไปทำงานต้องทำและต้องตระหนักว่า ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับทีมงานในคุณค่าแห่งตนเองรวมทั้งการขับเคลื่อนองค์กรร่วมกัน มองเป้าหมายองค์กรร่วมกัน

ลดความวิตกกังวลเกี่ยวกับ Career Path มองคุณค่าของการขับเคลื่อนกรมอาชีวศึกษาของประเทศแทน

เปิดโลกแห่งการพัฒนาตนเอง และ Learning Society ในกลุ่มงาน

อุษณี ตันติชัยรัตนกูล

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้ คือได้นำข้อคิดในการนำนำไปใช้ในการปฎิบัติงานคือ ความเข้าใจคุณค่าและการดึงคุณค่าและศักยภาพของตนเองและทีมงาน เพื่อสร้าง Team Work Relationship ระหว่างหัวหน้ากลุ่มงานและทีมงาน มองเป้าหมายรวมกันและพยายามร่วมมือรวมใจกันเพื่อไปถึงเป้าหมายขององค์กร

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้ คือ การหาคุณหาของตนเอง นำเสนอต่อองค์กร และนำคุณค่านั้นใส่ลงในงานในหน้าที่ปฏิบัติงาน แล้วเราจะทำงานอย่างมีความสุข, ประสบความสำเร็จ, win win, ทั้งเราและองค์กร

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้ คือ ได้ความรู้ว่าในบรรดาปัจจัยต่างๆในองค์กร ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือคน เนื่องจากคนเป็นผู้ขับเคลื่อนปัจจัยอื่นๆขององค์กร ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของ บุคคลากรจึงต้องพัฒนาศักยภาพเพื่อให้องค์กรมีความสามารถแข่งขันในสังคมโลกได้

สิ่งที่อยากให้เพิ่มเติมคือ อยากให้มีระบบ อาวุโส ในการแต่งตั้งผู้บริหาร ในส่วนที่ได้จากการเข้าอบรมในครั้งนี้คือเรื่องการสร้างเครือค่าย การคุณธรรมจริยธรรม อยู่ในใจ หรือให้ความเป็นธรรมกับน้องๆ

การเปลี่ยนใดๆ ทั้งสิ้นในองค์กร ก็คือ การเปลี่ยนแปลงคน คนเป็นปัจจัยหลักที่จะขับเคลื่อนและนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ

ไม่ว่าจะเป็นผู้นำหรือผู้ตามแต่การจะเปลี่ยนแปลงคนทั้งหมดในองค์กร ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยาก

เพียงแค่ให้แต่ละคนรู้สึกที่จะเข้ามามีส่วนร่ววมอย่างจริงจัง พัฒนาอย่างจริงจัง เริ่มทำอย่างจริงจัง

แต่ทั้งหมดนี้ ต้องเริ่มที่ตัวเราก่อน ตัวเราต้องรู้จักคุณค่าของตัวเอง รู้จักหน้าที่และความรับผิดชอบของตัวเราเอง

ต้องพาตัวเองไปทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์เพื่อองค์กร เมื่อตัวเราพร้อม การทำงานเป็นทีม เป็นองค์กรก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องยาก

นิทานเรื่องหนึ่ง เล่ากันว่า

ตอนที่พระเจ้าสร้างมนุษย์ขึ้นมาใหม่ๆ อวัยวะต่างๆ

ในร่างกายก็ทะเลาะกันว่า ใครควรจะเป็นหัวหน้า

สมองก็บอกว ่า

ฉันควรจะเป็นหัวหน้า

เพราะฉันคิดและตัดสินใจต่างๆนานา '

เท้าก็เถียงและบอกว่า

ฉันต่างหากที่ควรเป็นหัวหน้า

เพราะฉันเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด

และต้องพาพวก แกทั้งหลายเคลื่อนไปยังจุดหมาย

มือก็สวนขึ้นมาทันที

ฉันต่างหากที่ควรเป็นหัวหน้า

เพราะฉันทำงานหาเงิน มาทำให้พวกแกทั้งหลาย มีชีวิตอยู่ได้ '

แล้วทั้งอวัยวะทั้งร่างกายก็ต่างยกเหตุผลที่ว่าตัวเองควรเป็นหัวหน้า

จนมาถึง ' ตูด '

ยังไม่ทันจะเอ่ยเหตุผลของตัวเอง

ทุกอวัยวะก็ขำกลิ้งแล้วพร้อมใจบอกว่า

ไม่มีทาง พวกเราไม่มีวันให้ตูดเป็นหัวหน้าแน่นอน '

เมื่อเป็นดังนั้น ตูดก็สไตร์ค ไม่ยอมทำงาน

เพียงไม่นาน อวัยวะต่างๆ ก็ปั่นป่วนไปหมด

สมองที่ว่าแน่ๆถึงกับสลบเหมือด

จนในที่สุดต้องยอมให้ตูดเป็นหัวหน้า

จากนั้นทุกอวัยวะก็ต้องก้มหน้าก้มตาทำงานของตัวเองต่อไป

ใน ขณะที่หัวหน้า ก็มีหน้าที่นั่งเฉย แล้วก็ปล่อยอึออกมา

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า อย่าดูถูกในคุณค่าและความสามารถของทุกคน

ทุกคนก้อมีหน้าที่ ที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เหมือนฟันเฟืองที่มำให้องค์กรเดินต่อไปได้

แต่หากคนที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้า ไม่ได้ทำคุณค่าอะไรเลย ภาพลักษณ์ที่ออกมาก้อจะเป็นแค่ "ตูด" เหมือนในนิทานนี่เอง

อาชีวะ ต้องปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร และต้องเข้มแข็งขึ้นกว่านี้

ไม่งั้นสิ่งต่างๆ ที่สั่งสมมา จะมลายหายสิ้น

คนอาชีวะ พันธุ์แท้ ต้องเข้มแข็งเพื่อพวกเราเองและเพื่อองค์กร

นางทิพย์วรรณ เย็นตระกูล

จากหนังสือทรัพยากรพันธ์แท้ ของนายพารณ อิศรเสนา และดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ ได้ข้อติด แนวทางในการบริหารจัดการและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของ ผู้บริหารทุกระดับ ของ สอศ. ดังนี้

1. บริหารองค์กรต้องตระหนัก ให้ความสำคัญ และกำหนดนโยบาย แผนงานและโครงการ ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรทุกระดับ อย่างเป็นธรรม ทั่วถึงและสมำเสมอ

2. องค์ต้องกำหนดกิจกรรม แผนการดำเนินการที่แสดงให้เห็นว่าองค์กรเห็นคุณค่าของบุคลากร ให้ความสนใจ ใกล้ชิด สนับสนุนความก้าวหน้าในสายงาน ที่ชัด เป็นรูปธรรม และทันสถานการณ์

3. บุคลากรทุกคนต้องได้รับการสนับสนุนให้มีการพัฒนาตนเอง และการเข้าร่วมรับการพัฒนาตามแผนที่องค์กรกำหนด เพื่อให้เป็นบุคลากรที่มีความเก่ง คือ เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด และเก่งเรียน และคนดี คือ เป็นผู้มีความประพฤติดี มีนำใจ ใฝ่ความรู้ มุคุณธรรม มีจิตใจรักองค์กร นอกจากนั้นยังต้องมีหลักการทำงานที่มีเป้าหมายและเน้นคุณภาพ เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ แต่ในขณะเดียวกันองค์กรก็ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน ด้วย

4. ปัญหา ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะของบุคลากรในองค์ต้องได้รับการดูแลแก้ไขอย่างมีระบบ รวดเร็ว เป็นรูปธรรม และต่อเนื่อง

5. พัฒนาระบบการสื่อสารภายในองค์กรให้มากขึ้น เป็นการสร้างความเข้าใจ มองภาพองค์รวม มีเป้าหมายเดียวกัน รู้เส้นทางที่จะปฏิบัติไปสู่เป้าหมายที่ชัดเจน การสร้างขวัญและกำลังใจ รวมถึงเส้นทางความก้าวหน้าให้บุคลากรทุกคนทีชัดเจน

นางทิพย์วรรณ เย็นตระกูล

จากบทความในหนังสือพิมพ์แนวหน้า :ศึกษากรณีคุณยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายในกับการชี้แจง ครม.เรื่องการประมูลข้าวโพด มีประโยชนและแง่คิดต่อการทำงานของอาชีวศึกษา คือ การปฏิบัติงานราชการมีกฎ ระเบียบ วินัย ข้อบังคับ ให้ทุกคนพึงปฏิบัติ ดังนั้นการปฏิบัติงานไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตาม ต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ตามหลักธรรมาภิบาล ในขณะเดียวกันต้องพึงสำนึกเสมอว่า ทุกคนมีคุณค่า และศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์

นางทิพย์วรรณ เย็นตระกูล

การวิเคราะห์แนวคิดของ Mind Mapping เปรียบเทียบกับแนวคิด 4 L's และ 2R's ของอาชีวะ แล้วพบว่ามีความสอดคล้องและสามารถปรับใช้กับการเรียนรู้ในองค์กรได้เป็นอย่างดี เนื่องจากการทำ Mind Mapping เป็นการมองภาพ และร่วมวางแผนในองค์รวม โดยการนำแนวทฤษฎี 4 L's และ 2R's ที่มีการเรียนรู้แบบใหม่ วิเคราะห์แลกเปลี่ยนความคิด สร้างบรรยากาศการแสวงหาความรู้ร่วมกัน สร้างโอกาสในการเรียนรู้พบปะแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นโอกาสในการร่วมสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่กันและกัน เมื่อมีการรวมตัวกันส่งผลให้เกิดเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ในองค์กร มีการติดต่อสื่อสารกันได้ตลอดเวลา ทั้งนี้ทั้งนั้นอยู่บนพื้นฐานของความจริงและตรงประเด็นในเรื่องนั้น ๆ

จากบทความในหนังสือพิมพ์แนวหน้า :ศึกษา

นายโยธิน สมโนนนท์

1. บทเรียนจากบทความในหนังสือพิมพ์แนวหน้า ศึกษากรณีของคุณยรรยง

1.1 การเป็นข้าราชการประจำ ต้องมีจุดยืนของการบริหารองค์กร ไม่เป็นเครื่องมือหาผลประโยชน์ให้นักการเมือง

1.2 ข้าราชการประจำต้องบริหารให้องค์กรหรือราชการได้ประโยชน์อย่างสุงสุด

1.3 การบริหารจัดการทุกอย่างต้องมีหลักการ โปร่งใส ตรวจสอบได้

2. esson learn จากบทความภาษาอังกฤษ

ระบบราชการไทยควรยกเลิกระบบอุปถัมภ์ในแง่ของการพิจารณาความดีความชอบ และควรเน้นการพิจารณากันที่ฝีมือและผลงาน

นอกจากนี้ต้องให้โอกาสคนทุกคนได้มีโอกาสทำงานและแสดงฝีมืออย่างเสมอภาคและเท่าเทียม

3. เปรียบเทียบแนวคิด Mind Mapping และ 4L's และ 2R's แตกต่างหรือสอดคล้องกันอย่างไร

Mind Mapping ช่วยสอนให้บุคลลคิดอย่างเป็นระบบและปฏิบัติอย่างสมำเสมอ ซึ่งเป็นการพัฒนาส่วนบุคคล ส่วน 4L's และ 2R's เป็นหลักการที่นอกจากจะเน้นให้บุคคลพัฒนาตัวเองแล้ว ยังเน้นให้มองในภาพรวมขององค์กรด้วย

1.ประเด็นแง่คิดต่อการทำงานของอาชีวศึกษาจากบทความในหนังสือพิมพ์แนวหน้า : ศึกษากรณี คุณยรรยง พวงราช

1.1 การทำงานของข้าราชการยุคใหม่ นอกจากงานที่ต้องเน้นคุณภาพแล้ว ตัวข้าราชการเองก็ต้องมีคุณธรรมควบคู่ไปด้วยกล้ายืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้องแม้จะถูกแทรกแซง ถูกกดดันทั้งจากฝ่ายการเมืองหรือจากอำนาจที่ไม่ชอบธรรม

1.2 ผู้บังคับชาต้องเป็นตัวอย่างที่ดี มีเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจน รู้บทบาทหน้าที่ของตน ต้องฝึกตัวเองให้ใฝ่รู้ตลอดเวลา ฝึกการคิดวิเคราะห์กลั่นกรองก่อนตัดสินใจ รู้จักใช้การสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจและได้รับความร่วมมือจากฝ่ายต่างๆ

1.3 การสร้างความตระหนักให้เกิดกับข้าราชการทุกคนว่า “การเข้ามาเป็นข้าราชการ คือ การมาทำงานให้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุดเพื่อเป็นการทดแทนบุญคุณพระองค์ท่าน”

2.ประเด็นแง่คิดที่เป็นประโยชน์ จากบทความภาษาอังกฤษ The new Office social contract

การรักษาคนที่มีทั้งความสามารถและมีความรักในองค์กรให้อยู่กับองค์กรไว้นานๆ เป็นเรื่องที่ยาก เพราะเด็กรุ่นใหม่มีความสามารถในการทำงานแต่ขาดความรัก ความผูกพันกับองค์กร กับคนรุ่นเก่าที่มีความรักองค์กรแต่ขาดประสิทธิภาพในการทำงาน องค์กรควรหาทางแก้ไขความแตกต่างโดยให้คนทั้งสองรุ่น เรียนรู้ซึ่งกันและกันทั้งประสิทธิภาพในการทำงานและวัฒนธรรมองค์กรเพื่อรักษาคนไว้ให้นานที่สุด

3.เปรียบเทียบ Mind Mapping กับ 4L's และ 2R's

การทำ Mind Mapping เป็นการช่วยวางระบบความคิดของคนให้สามารถเชื่อมโยงเรื่องต่างๆอย่างมีเหตุมีผล ทำได้ทุกเรื่องทั้งเรื่องเล็กเรื่องใหญ่ และสามารถเห็นกรอบความคิดในภาพรวมได้ทั้งหมดในกระดาษเพียงหน้าเดียว สามารถประยุกต์ใช้กับองค์กรได้คล้ายกับแนวคิดของ 4L's และ 2R's

นางทิพย์วรรณ เย็นตระกูล

จากบทความภาษาอังกฤษ : ในองค์ใดก็ตามย่อมมีบุคลากรในหลาย ๆ รุ่น ทั้งรุ่นใหม่ที่มีความรู้ ทักษะในนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่กับรุ่นเก่าที่มีความรู้และประสบการณ์การทำงาน รักองค์กร จะทำอย่างไรให้เกิดการผสมผสานศักยภาพระหว่างคนทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ เพื่อพัฒนางานขององค์กรให้ก้าวหน้า มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และองค์กรจะมีกลวิธีอย่างไรที่จะรักษาบุคลากรให้อยู่ในองค์กรนาน ๆ

นางสุปรียา ลำเจียก

หนังสือ"ทรัพยากรมนุษ์พันธุ์แท้" ที่ได้รับมอบจาก ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างปรเทศ ในโอกาสที่เข้าร่วม การอบรมหลักสูตรการพัฒนาภาวะผู้นำ ระยะที่ 1 (รุ่นที่ 2) ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ระหว่างวันที่ 21-23 ก.ย. 2552 ณ. จังหวัดนครนายก เป็นหนังสือที่มีคุณค่า ให้ความรู้

บุคคลที่ส่งคุณค่า 2 ท่าน ได้แก่ คุณพารณ อิสรเสนา ณ.อยุธยา และ ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ มีความเชื่อ ศรัทธาและความ

มุ่งมั่น เรียก "คน" ว่าคน เป็นสินทรัพย์ที่สำคัญที่สุดต่อองค์กร (Human Capital) ดังนั้นต้องมีการลงทุน

คน : เป็นสินทรัพย์ที่สำคัญที่สุดต่อองค์กร (Human Capital) ด้วยทฤษฎี (8K' s (K-kapital )

K1 - Human Capital K2 - Intelleetual Capital

ทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา

k3 - Extrical Capital K4 - Happiness Capital

ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความสุข

k5 - Social Capital k6 - Sustaniable

ทุนทางสังคม ทุนแห่งความยั่งยืน

k7 - Digital Capital k8 - Talented Capital

ทุนแห่งเทคโนโลยี สารสนเทศ ทุนทางความรู้

การพัฒนาคน : HR เป็นยุทธศาสตร์ ( Strategies )ที่ใช้การบริหารบุคคล ( Personal Functional ) ประกอบด้วย

1. องค์กรและผู้นำ มีปรัชญา เน้นคนเป็นสำคัญ

2. วางแผนคนให้สอดคล้องกับงาน ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

3. สร้างศักยภาพของคนให้เห็น ความสามารถในการเรียนรู้และสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต (Learning Organization)

4. สร้างแรงจูงใจ (Motivation) ให้อิสรภาพในการทำงาน เพื่อเพิ่มผลผลิต

5. เสริมสร้างคุณภาพชีวิต (สุขภาพกายและจิต)

การสร้างศักยภาพการแข่งขันของประเทศ ( Competitiveness) : คนต้องเป็น "ผู้เรียนรู้ที่ดี" (Good Learner) มีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอและขยายวงกว้างสู่ภาคประชาชน เพื่อเป็น "Global Citizen)

สรุป : ต้นแบบของคน ต้อง "เก่ง" - เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด "ดี" - ประพฤติดี มีน้ำใจ ใฝ่ความรู้คู่คุณธรรม

นางสุวรรณี ยุวชาติ

จากหนังสือทรัพยากรพันธุ์แท้ของนายพารณ อิศรเสนาและ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้ข้อคิดแนวทางในการบริหารจัดการและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ดังนี้

1. บุคลากรทุกระดับมีคุณค่า มีความสำคัญทุกคนเหมือนฟันเฟืองทุกตัวต้องทำงานไปพร้อม ๆ กัน

2. ต้องสร้างองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

3. ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดความรักในองค์กร

4. ให้ทุกคนได้เห็นความก้าวหน้าในการทำงานทุกตำแหน่ง ด้วยความสามารถ โปร่งใสและเป็นธรรม

5. กาวิธีการให้บุคลากรมีแนวคิดในการคิดเชิงบวกและคิดนอกกรอบในการทำงาน

นางสุวรรณี ยุวชาติ

จากบทความในหนังสือพิมพ์แนวหน้าที่แจกกรณีที่คุณยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายในได้ชี้แจง ครม. เรื่องการประมูล

ข้าวโพด เป็นการชี้แจงแบบสอนมวยนักการเมือง นั้น เป็นประเด็นที่สามารถนำมาใช้เป็นแง่คิดต่อการทำงานของข้าราชการประจำ

ดังนี้

1. การทำงานต้องศึกษาข้อมูล กฎ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้รอบคอบ

2. ทำงานอย่างโปร่งใส

3. รักเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นข้าราชการประจำ

4. ทำงานด้วยการเดินสายกลาง

นางสุวรรณี ยุวชาติ

การวิเคราะห์แนวคิดของ Mind Mapping เปรียบเทียบกับแนวคิด 4 L's และ 2 R's มีความสอดคล้องกันและสามารถนำมาปรับใช้

กับการเรียนรู้ในองค์กรได้ เพราะ Mind Mapping เป็นการมองภาพในองค์รวมที่สามารถอธิบายถึงวิธีการที่จะไปถึงจุดหมาย

ปลายทางได้หลาย ๆ ทาง เช่นเดียวกับการเรียนรู้ในองค์กรก็สามารถเรียนรู้ได้หลายทาง ซึ่งการเรียนรู้ที่เป็นองค์รวมนั้น หากนำ

ทฤษฎี 4 L's และ 2 R's มาใช้จะทำให้เกิดวิธีการเรียนรู้ สร้างโอกาสและสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ รวมถึงการรวมกลุ่มกัน

เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งการเรียนรู้ในองค์กรก็ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ได้พบเห็นและได้จากการทำงานที่เกิดจากประสบการณ์

นางสุวรรณี ยุวชาติ

แง่คิดที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานและการบริหารคนใน สอศ. จากบทความภาษาอังกฤษ "The new office social contract

Loyalty is out, performance is in" คือ การสร้างบรรยากาศการทำงานระหว่างองค์กรกับบุคลากรให้เกิดความผูกพัน ความศรัทธา

และภักดีต่อองค์กร ซึ่งจะส่งผลต่อการบริหารจัดการองค์กร โดยประเมินผลการทำงานจากผลงานที่ได้ทำอย่างเป็นธรรม รวมถึง

การซื้อใจบุคลากรด้วยความเสียสละของผู้บริหาร มีการสร้างบรรยากาศในการทำงาน มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการทำงานและ

มีการฝึกฝนพัฒนาบุคลากรให้ทำงานอย่างมีคุณภาพและต่อเนื่อง

นายสันติ อภิสิทธิรัตนากร

จากบทความภาษาอังกฤษ The new Office Social Contract: Loyalty is out, Performance is in บทความนี้บรรยายถึงความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย สภาวะการแข่งขันของการตลาด การมุ่งเน้นผลผลิต ส่งผลให้ความรู้สึกของคนในองค์กรในด้านแรงจูงใจในการทำงานพลอยเปลี่ยนไปตามยุคด้วย ซึ่งตามบทความได้ยกตัวอย่างของบริษัทยักษ์ใหญ่มาแต่อดีต IBM นาย Vincent Papke ซึ่งทำงานให้ IBM มาตั้งแต่เมื่อ 27 ปีก่อน ความพอใจในการทำงานของเขาคือการได้อยู่ในองค์กรที่มั่นคง มีบรรยากาศแบบครอบครัว คนในองค์กรมีความรู้สึกผูกพัน ภักดีกับองค์กร แตกต่างกับ นาย Steven Cohn อายุ 29 ปี ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ แรงจูงใจในการทำงานของเขาคือการได้รับค่าจ้างตามสัญญาข้อตกลงการจ้างที่ตนพอใจ และบริษัทฯ จะได้ผลงานตามข้อตกลงนั้น ซึ่งเป็นรูปแบบธุรกิจ ไม่มีความผูกพันทางจิตใจกับองค์กร เป็นแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้คนตามกาลเวลา ที่คนใกล้จะเป็นเครื่องจักรมากขึ้น ความผูกพันทางจิตใจลดน้อยถอยลง ซึ่งเราสามารถสังเกตสภาพความเปลี่ยนแปลงของสังคมในบ้านเราได้ เช่น สภาพสังคมในชนบทที่คนในชุมชนมีความผูกพันกันเหมือนญาติพี่น้อง กับสังคมชีวิตในเมืองใหญ่ที่เน้นปัจเจกชน การเอาชีวิตของตนให้อยู่รอด ความรู้สึกผูกพันฉันท์ญาติลดน้อยลง

ในองค์กรใหญ่ต่าง ๆ จึงต้องบริหารคนให้มีความเหมาะสมเพราะยังมีบุคคลากรใน 2 ยุค ต้องผสมผสานให้บุคคลากรกลุ่มเก่าดั้งเดิมได้เข้าใจในความเปลี่ยนแปลงของโลก และต้องบริหารจัดการสมัยใหม่ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ขณะเดียวกันต้องพัฒนาคนทั้งสองกลุ่มให้มีศักยภาพสูง เพื่อให้เขาได้ผลิตผลงานที่มีคุณภาพให้แก่องค์กรด้วย

นายสันติ อภิสิทธิรัตนากร

จากบทความในหนังสือพิมพ์แนวหน้า กรณีของอธิบดีฯ ยรรยง พวงราช ในกรณีชี้แจง ครม.เรื่องการประมูลข้าวโพด ของกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 13 พค.52 นายยรรยง ฯ เป็นข้าราชการประจำ ในตำแหน่งอธิบดีกรมการค้าภายใน ได้รับมอบหมายจาก รมว.กระทรวงพาณิชย์ ให้มาชี้แจงต่อครม.ในเรื่องมติของครม.ชุดที่แล้ว ซึ่งได้อนุมัติเรื่องการประมูลข้าวโพดไปแล้ว จึงจะขอให้ ครม.ชุดนี้ให้ความเห็นชอบตามมติดังกล่าว

บทบาทของข้าราชการประจำในการนำเสนอพิจารณาในเรื่องนโยบาย ที่มีผลประโยชน์มหาศาลเข้ามาเกี่ยวข้อง ควรใช้ประสบการณ์และข้อมูลที่ครบถ้วน ชัดเจน บนพื้นฐานฃองการโปร่งใส เพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ โดยไม่ตกเป็นเครื่องมือของนักการเมือง

นายสันติ อภิสิทธิรัตนากร

การเปรียบเทียบ Mind Mapping กับทฤษฏี 4L's และ 2R's ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไรนั้น Mind Mapping เป็นเรื่องของการถ่ายทอดความคิดและข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสมองลงสู่กระดาษ เพื่อให้สามารถมองเห็นภาพในองค์รวมและข้อมูลส่วนย่อยที่มีความเชื่อมโยงกันระหว่างความคิดหลักและความคิดรอง ทำให้สามารถนำภาพองค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีอยู่ดังกล่าว ไปคิดต่อยอดหรือสร้างมูลค่าเพิ่มได้อีก (ฮั่นแน่!) ย่อมมีความสัมพันธ์กับทฤษฏี 2R's อย่างแน่เท้ เพราะการถ่ายทอดความคิดในลักษณะ Mind Map จะต้องมองความเป็นจริงหรือใช้ R ตัวที่ 1 คือ Reality การใช้ข้อมูลที่เป็นจริง มองภาพที่เป็นจริงไม่บิดเบือน และการเขียนผังความคิดจะต้องมีความ Relevance มองให้ตรงประเด็น ตรงกับเนื้อหาให้มากที่สุด ใช้ข้อมูลที่มีความเกี่ยวพัน หรือมีความเชื่อมโยงกับเนื้อหาที่ต้องการให้มากที่สุด เพื่อให้ Mind Map นั้นมีความแจ่มชัด (Oh! my god)

Mind Mapping มีความเกี่ยวพันกับทฤษฏี 4L's ซึ่งเป็นทฤษฏีของการเรียนรู้ Mind Mapping เป็น Learning Methodlogy ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นการคิดวิเคราะห์ แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และสรุปรวบยอด การใช้วิธีการของ Mind Mapping มาใช้ ทำให้เกิด Learnging Environment สร้างบรรยาการในการเรียนรู้ร่วมกัน ทุกคนนำข้อมูลของตนมาแลกเปลี่ยนและเขียนลงในผังความคิดที่มีความเชื่อมโยงกันได้ และยังสร้าง Learning Opportunity สร้างโอกาสในการเรียนรู้เพราะทุกคนได้พบปะ แลกเปลี่ยนข้อมูลและสามารถร่วมกันสร้างองค์ความรู้ใหม่ขึ้นได้ ประการสุดท้าย Mind Mapping ทำให้เกิดจุดเริ่มต้นของ Learning Communities สร้างชุมชนในการเรียนรู้ ได้ทำ workshop ร่วมกัน ติดต่อสื่อสารถึงกันได้ตลอดเวลาทาง Internet หรือผ่าน blog ถึงกัน เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ขึ้น (ไม่ใช่ย่อย เฮียแกสรุปได้ไงเนี่ย!)

ส่งการบ้าน มาทางเมลล์..Zip file เรียบร้อยแล้วนะคะ

โดยสรุป อ่านแล้วน่าสนใจมากค่ะ แต่หากผู้บริหารต้องเข้าใจและเห็นประโยชน์ของ HRD และ HRM อย่างจริงใจ

จากบทความในหนังสือพิมพ์แนวหน้า กรณีของอธิบดีฯ ยรรยง พวงราช ชี้แจง ครม.เรื่องการประมูลข้าวโพด ที่เป็นประโยชน์และให้แง่คิดต่อการทำงานของอาชีวศึกษา คือการเปลี่ยนแปลงที่สูงมาก ทั้งในด้านเศรษฐกิจ ธุรกิจ สังคม การศึกษา การเมือง ดังนั้นผู้บริหารแนวใหม่ ต้องเชื่อมโยงกับโลกความจริง ( Reality) ให้ความสำคัญในเรื่องระบบเปิดโดยองค์กรจะต้องมีปฏิสัมพันธ์อย่างกว้างขวางกับสภาพแวดล้อม ต้องเป็นนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีโลกทัศน์กว้างไกล มุ่งผลประโยชน์ของประเทศชาติมากกว่าบรรยากาศทางการเมือง เพื่อทำให้องค์กรเป็นองค์กรที่มุ่งเน้นความสำเร็จของงาน

สวัสดีครับอาจารย์และพี่ๆ

บทความเรื่อง The new office social contract

บทความกล่าวถึงลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับคนทำงาน

ในอดีต คนทำงานต้องการความมั่นคงและค่าแรงเพิ่มสม่ำเสมอจากบริษัท

ขณะที่บริษัทต้องการความซื่อสัตย์จงรักภักดีอยู่กับบริษัทไปอย่างยาวนาน

ในขณะที่เกิดความเปลี่ยนแปลงในยุคต่อๆมา คนทำงานต้องการความตื่นเต้นท้าทาย

ต้องการบริษัทที่มีแววความเจริญก้าวหน้าที่จะช่วยทำให้เขาพัฒนาตัวเองและอาชีพได้มากขึ้น

ซึ่งรายได้ก็ต้องยุติธรรมและสอดคล้องกับตลาด

และบริษัทก็ต้องการ “ผลิตภาพ”และ” “พันธะสัญญา” จากคนทำงาน

เป็นการแลกเปลี่ยนในรูปแบบ ถ้าคุณให้ (ตามที่เราต้องการ) คุณก็จะได้(รับสิ่งที่ตกลงกันไว้)

หรือเรียกว่าเป็นสัญญาผลิตภาพ

สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปสำหรับคนทำงานและองค์กรคือ เลิกพูดเรื่อง ภักดีต่อองค์กรได้แล้ว

เอาความสามารถมาแสดงให้ดูเลยดีกว่า ถ้าคุณไม่มีความสามารถสร้างประโยชน์ต่อองค์กร ก็ไม่สมควรทำงานที่องค์กรนี้อีกต่อไป

และในทางกลับกัน หากบริษัทไม่ให้ตามความสามรถที่คนทำงานมี คนทำงานก็ย่อมจะจากไปหาบริษัทใหม่ที่มีเงื่อนไขดีกว่า

แม้ว่าจะมีเสียงแย้งว่า งานมีอะไรมากกว่าผลิตภาพ ไม่ว่าใครจะเห็นด้วย ชอบหรือไม่ชอบ

ความเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นแล้วและฝังตัวอยู่ในบริษัทยุคปัจจุบัน

หน่วยงานราชการมีเรื่องนี้หรือไม่ ข้าราชการต้องการเปลี่ยนแปลงให้ผลตอบแทนขึ้นอยู่กับความสามารถ

จริงหรือ หากความมั่นคงยังคงเป็นจุดเด่นของงานราชการ ความสามารถคงวางไว้ห่างตัวได้ สุดปรารถนาคือความสามารถในการ

นำตนเองไปอยู่ในตำแหน่งงานที่มีผลประโยชน์แอบแฝง (เบี้ยเลี้ยง ค่าจ้างพิเศษ ค่าเดินทาง ค่าที่พัก เที่ยวต่างประเทศ จัดประชุม

พิมพ์เอกสาร คุมการเงิน) ในบางประเทศมีข้าราชการสามารถใช้งานราชการที่เป็นงานประจำพลิกไปเป็นการรับจ้างทำงานที่ตนเอง

รับผิดชอบได้ด้วยวิธีการจ้างหน่วยงานอื่นทำงานภารกิจของตนและหน่วยงานอื่นนั้นมาจ้างตนเองทำงานภารกิจของตนอีกที

คนทำงานที่ญี่ปุ่นกลัวตำแหน่งงานที่นั่งใกล้หน้าต่างอย่างยิ่ง แต่ข้าราชการบางประเทศแสวงหาตำแหน่งนั้นตลอดชีวิต

Lesson From A Student Of Life

“Winston Shurchill saved the free world, but Peter Drucker showed us how to make that free world work.”

Peter Drucker กูรูด้านการบริหารจัดการที่เน้นการเรียนรู้ตลอดเวลา ได้รับการยอมรับอยางยิ่งใหญ่เช่นประโยคด้านบน

แต่คนผู้นี้ไม่ยอมรับการให้สัมภาษณ์หรือรับเชิญปรากฏตัวใดๆถึงกับมีการเตรียมพิมพ์โปสการ์ดตอบปฏิเสธไว้แจกเลย

Peter Drucker ไม่เคยลืมคำสอนของเขาที่ว่า อย่าถามว่าคุณบรรลุความสำเร็จแค่ไหนแต่ควรถามว่าคุณเผื่อแผ่ให้ผู้อื่นแค่ไหน เมื่ออายุถึง 85 ปี ถูกถามว่าในจำนวนงานเขียน 26 เล่ม (งานระดับเขย่าโลก) คุณภูมิใจเล่มไหนที่สุด คำตอบของเขาคือ “เล่มต่อไป” แม้จะอายุถึงช่วงบั้นปลายแล้ว เขายังคงมีผลงานทางการบริหารจัดการสู่สาธารณชนโดยตลอด

หลายครั้งสำหรับคนที่เป็น The Great ระดับโลก

พบว่า ความคิด ความรู้ ที่คนเหล่านี้ถ่ายทอด สั่งสอน

เพื่อพัฒนาผู้คนทั้งโลกนั้น มีประโยชน์มหาศาล

แต่สิ่งเหล่านั้นยังมีค่าไม่เท่ากับบทเรียนคำสอน

ที่ The Great เหล่านี้ ใช้วัตรปฏิบัติของการดำรงชีวิต

เป็นบทเรียนสอนโลก

ศึกษากรณี คุณยรรยงที่ ครม.

ข้าราชการกับนักการเมือง

มิติด้านความรู้ประสบการณ์

คน คนหนึ่งทำงานในหน้าที่เรื่องนี้มายาวนาน มีทั้งประสบการณ์ ความรู้ คุณวุฒิ วัยวุฒิ

คนอีกคนหนึ่งมีการศึกษาระดับสูง/ต่างประเทศ มีความพร้อมด้านเศรษฐกิจและสังคม

อายุน้อยกว่าคนข้างบน เริ่มมากทำงานเรื่องนี้เมื่อ 6-7 เดือนที่แล้ว

มิติด้านทัศนคติต่อกัน

คน คนหนึ่งมองว่าคนอื่นรู้น้อยกว่า หรือไม่รู้เรื่องที่ตนรู้ ตนรู้มากกว่า

คนอีกคนหนึ่งมองว่าคนข้างบนมีผลประโยชน์แอบแฝงมาเกี่ยวข้องในการทำงาน

มิติด้านการสื่อสาร

น้ำเสียง น้ำคำ น้ำใจ เจตนา มีปัญหาที่ฝ่ายใด หรือทั้งสองฝ่าย

มิติด้านการมองโลก

I am OK You are not OK

มนุษย์มีศักดิ์ศรีเท่ากัน เสมอภาคกัน

เมื่อไร ที่ใด สถานการณ์ไหน กาลเทศะใด

ที่คนอีกคนมีสิทธิในการดูหมิ่น ดูแคลน ดุด่า คนอีกคน

หรือว่าศักดิ์ศรีคนไม่เท่ากัน

ปริญญาเอกเหนือกว่าประถมสี่ จบการศึกษาจากต่างประเทศเหนือกว่าในประเทศ

เกิดที่กรุงเทพ เหนือกว่า เกิดที่โคราช อายุ 80 เหนือกว่าอายุ 20

พูดภาษาอังกฤษเหนือกว่าพูดลาว นามสกุล ณ วอชิงตัน เหนือกว่า โคกข้อยน้อย

ชำนาญการพิเศษเหนือกว่าปฏิบัติการ ขับแคมรี่เหนือกว่าขับโซลูน่า

รัฐมนตรีเหนือกว่าข้าราชการ นายกรัฐมนตรีเหนือกว่ารัฐมนตรี

มีติอาชีวศึกษา

..................................................................(คำตอบอยู่ที่คุณ)

พรศิริ บุษรารัตน์

Self Study

1.จากบทความในหนังสือพิมพ์แนวหน้าที่แจก : กรณีคุณยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายในกับการชี้แจงครม.เรื่องการประมูลข้าวโพด ขอให้นำเสนอประเด็นที่เป็นประโยชน์และแง่คิดต่อการทำงานของอาชีวศึกษา

สรุปประเด็นที่เป็นประโยชน์และแง่คิดต่อการทำงานของอาชีวศึกษา

การตัดสินใจสำหรับผู้นำหรือหัวหน้างาน ย่อมมีผลกระทบต่องานที่เกิดขึ้น ซึ่งในปัจจุบันทุกองค์กรต่างก็ต้องทำการตัดสินใจทั้งสิ้น โดยในการดำเนินงานภายในองค์กรต่างก็ต้องเผชิญปัญหาต่างๆ มากมาย ในการแก้ปัญหาเหล่านั้นต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ และตัวแปรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในการแก้ปัญหานั้นอาจมีวิธีที่เป็นไปได้หลายทาง จึงจำเป็นต้องทำการตัดสินใจเลือกทางเลือกในการแก้ปัญหาที่เหมาะสม หรือเพื่อให้เป็น ไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กรที่ได้วางไว้มากที่สุด

สาเหตุของการตัดสินใจผิดพลาด 4 เรื่อง

ขาดประสบการณ์

ขาดความรอบคอบในการใช้วิจารณญาณ

มีเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน

เล่นพวกหรือมีความสัมพันธ์ส่วนตัว

การป้องกัน

มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่ถูกต้องครบถ้วนเป็นปัจจุบัน

มีทีมงานที่ปรึกษา

เน้นความเป็นธรรมาภิบาล

มีการดำเนินการติดตามอย่างใกล้ชิด

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษารูปแบบการทำงานส่วนหนึ่งก็หลีกเลี่ยงไม่ได้

มีผลต่อเนื่องมาจากการเมืองในองค์กรเกิดขึ้นเฉกเช่นเสมือนองค์กรอื่นๆในภาคราชการของไทย

ดังนั้นในการตัดสินใจจึงควรมีกรอบในการตัดสินใจเพื่อสามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเหมาะสมมีข้อมูลสนุบสนุน ดังแสดงในรูป

การตัดสินใจ กำหนดปัญหา การแก้ปัญหา

ออกแบบ

เลือก

นำไปปฎิบัติ

ตรวจสอบ

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

Self Study 2 : ประเด็นที่เป็นประโยชน์และแง่คิดต่อการทำงานและการบริหารคนในองค์กร

จากบทความ “ The new office social contract : Loyalty is out , performance is in”

บทความสะท้อนให้เห็นความแนวคิดที่แตกต่างของบุคคล 2 วัยในบริษัทใหญ่ของ IBM วัฒนธรรมการทำงานแบบเก่าเน้นเรื่องความซื่อสัตย์และจงรักภักดีต่อองค์กร เป็นการทำงานในระบบเกื้อหนุนพึ่งพาอาศัยกัน เปรียบองค์กรเป็นเสมือนครอบครัวใหญ่ กิจกรรมการทำงานเปรียบเสมือนกิจกรรมของครอบครัว เน้นความสุข ความผูกพันในการทำงาน แต่การทำงานของวัฒนธรรมแบบใหม่เน้นที่ความมั่นคงขององค์กร โอกาสในการก้าวหน้าในอาชีพคุ้มค่ากับสิ่งที่เขาทำให้กับองค์กร ยิ่งทำงานให้ได้มากก็จะได้รับผลตอบแทนมาก การจ่ายเงินรางวัลและโบนัสจะตัดสินจากผลงานมากกว่าความอาวุโสของการทำงาน ทำให้คนไม่มีความผูกพันกับองค์กร เกิดการย้ายงานมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากการทำงานตามวัฒนธรรมแบบใหม่จำเป็นต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางเทคโนโลยี ความเป็นโลกาภิวัฒน์ของโลกธุรกิจทำให้เกิดการแข่งขันทางการตลาดสูง ซึ่งผลดังกล่าวทำให้องค์กรต้องเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการทำงานมาเน้นที่ผลผลิตหรือผลการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ดังนั้น การบริหารงานในองค์กรในยุคใหม่เราต้องส่งเสริมให้คนได้รับการพัฒนา เน้นความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ส่งเสริมการแข่งขันทางการตลาด และควรทำให้พนักงานรู้สึกว่างานของตนมีความสำคัญ เพื่อให้คนทำงานอย่างมีความสุข มีความคิดสร้างสรรค์ มีความผูกพันกับองค์กร และทำงานให้องค์กรอย่างเข้มแข็งมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีความซื่อสัตย์และจงรักภักดีต่อองค์กร ซึ่งจะก่อให้เกิดการทำงานเป็นทีมเพื่อร่วมแรงร่วมใจกันผลักดันองค์กรไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

Self Study 3. วิเคราะห์แนวคิดของ Mind Mapping เปรียบเทียบกับแนวคิด 4 L’s และ 2 R’s

ข้อ3. วิเคราะห์ แนวคิดของ Mind Mapping มาเปรียบเทียบ กับแนวคิด 4 L’s และ 2 R’s

ทฤษฏี 4 L’s : เพื่อการเรียนรู้และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

Learning Methodology มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี

Learning Environment สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

Learning Opportunities สร้างโอกาสในการเรียนรู้

Learning Communities สร้างชุมชนการเรียนรู้

ทฤษฏี 2 R’s : Reality (มองความจริง) & Relevance (ตรงประเด็น)

ความสอดคล้อง ของ 4 L’s 2 R’s กับ Mind Map เป็นทฤษฎีที่ก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้สำหรับมนุษย์ โดย 4 L’s นั้น เป็นการอธิบายถึง วิธีการเรียน การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ การสร้างโอกาสให้การเรียนรู้ และสร้างชุมชนการเรียนรู้ ทฤษฎี 2 R’s สอนให้เกิดการมองภาพตามความเป็นจริงก่อให้เกิดการคิดเชิงระบบ คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ครอบคลุมได้ตรงประเด็น วิธีการ Mind Map จะทำให้เข้าใจในวิธีการเรียนรู้ซึ่งเป็นเรื่องของการจินตนาการเชื่อมโยงความคิดในเชิงระบบที่สัมพันธ์กันด้วยเหตุและผลในเรื่องที่เราต้องการศึกษาหรือบริหารจัดการ โดยมองความจริง (Reality) และเป็นการช่วยความจำ เกิดความคิดสร้างสรรค์ ช่วยในการนำเสนอ สื่อสาร วางแผนและบริหารงาน สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ทำให้สนุกในการที่จะคิดเชื่อมโยงต่อเนื่องอย่างเป็นระบบสามารถวิเคราะห์ปัญหาและเรียนรู้อย่างตรงประเด็น (Relevance) เท่ากับเป็นการสร้างโอกาสทางการเรียนรู้ ทำให้กระบวนการเรียนรู้ได้มากขึ้น ซึ่งทั้ง 2 วิธีการสามารถนำมาปรับใช้ในการทำงาน เพราะเมื่อบุคลากรในองค์กรมีนิสัยรักการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา ก็จะส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งในอนาคตของการเป็นคลื่นลูกที่ 4 เป็นเรื่องของการแข่งขันกันด้วยเรื่องของ wisdom หรือ knowledgeหากองค์กรใดมีทุนมนุษย์ที่มีองค์ความรู้ที่เข้มแข็งและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากที่สุดองค์กรนั้นย่อมได้เปรียบต่อแข่งขันและการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้น

น.ส. พรศิริ บุษรารัตน์

สสอ. สอศ.

นางธีรวรรค์ วระพงษ์สิทธิกุล

การบ้านสำหรับการเรียนรู้ระยะที่ 1 จากการอ่านหนังสือ

สิ่งที่ได้จากการอ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

คำตอบ

สิ่งที่ได้จากการอ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ คือ แนวคิดในการนำองค์กรให้ประสบสู่

ความเป็นเลิศ

1. ด้านการปฏิบัติงาน

1.1 ควรทำงานเป็น Teamwork และ Trust in Human Value

1.2 ควรมี Network และ Partnership

1.3 ควรสร้าง แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน

1.4 ควรส่งเสริม Innovation

2. ด้านการพัฒนาบุคลากร

2.1 ควรมีนโยบายส่งเสริม Human Capital และ Ethical Capital

2.2 ควรพัฒนาบุคลากรให้มีคุณสมบัติเป็น Global Citizen และ Global Knowledge โดยเฉพาะ

Rational Systematic Thinking

2.2 ควรพัฒนาบุคลากร ให้มี Functional Skill, Conceptual Skill และ Personal Skill

2.3 ควรปรับเปลี่ยนองค์กรเข้าสู่ learning organization

การบ้านสำหรับการเรียนรู้ระยะที่ 2 (Self Study)

4. จากบทความหนังสือพิมพ์แนวหน้าที่แจก : ศึกษากรณีคุณยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน กับการชี้แจง ครม. เรื่องการประมูลข้าวโพด ขอให้นำเสนอประเด็นที่เป็นประโยชน์และแง่คิดต่อการทำงานของอาชีวศึกษา (อาจศึกษาควบคู่กับหนังสือ Think Again)

คำตอบ

ขอเสนอประเด็นที่เป็นประโยชน์และแง่คิดต่อการทำงานของอาชีวศึกษา ดังนี้

1.จะต้องใฝ่รู้ และหมั่นหาประสบการณ์ต่อการทำงานตลอดเวลา

2.ต้องมีความรอบคอบและใช้วิจารณญาณในตัดสินใจบนพื้นฐานข้อมูลที่แท้จริง

3.จะต้องไม่เล่นพวกหรือใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัวแสวงหาผลประโยชน์

4.จะต้องใช้ระบบการติดตามและประเมินผลที่มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล เป็นเครื่องมือในการบริหาร

5.จะต้องนำเสนอแนวคิดที่เฉียบคม อย่างรู้เขารู้เรา

6. ต้องกล้าตัดสินใจ กล้าเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร โดยเน้นหลักธรรมาภิบาล

5.จากบทความภาษาอังกฤษ “The new office social contract : Loyalty is out, performance is in” ขอให้นำเสนอประเด็นที่เป็นประโยชน์และแง่คิดต่อการทำงานและการบริหารคนในองค์กรของท่าน

คำตอบ

ขอเสนอประเด็นที่เป็นประโยชน์และแง่คิดต่อการทำงานและการบริหารคนในองค์กรของอาชีวศึกษา ดังนี้

1.การใช้เครือข่ายในการจัดอาชีวศึกษา

2.ความก้าวหน้าในวิถีทางราชการควรขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานมากกว่าระบบอาวุโส

3. การจ่ายค่าตอบแทนและโบนัส ควรขึ้นกับความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานของแต่ละบุคคล

6. วิเคราะห์แนวคิดของ Mind Mapping ที่เรียนมาเปรียบเทียบกับแนวคิด 4 L’s และ 2 R’s ของอาจารย์จีระว่ามีความสอดคล้องหรือแตกต่างกันอย่างไร และสามารถนำมาปรับใช้กับการเรียนรู้ในองค์กรได้อย่างไร

คำตอบ

1.เปรียบเทียบแนวคิดของ Mind Mapping กับแนวคิด 4 L’s และ 2 R’s

ทั้ง 3 แนวคิด คล้ายกันตรงที่เป็นการแสดงความสัมพันธ์ แต่แตกต่างกันตรงที่การถ่ายทอดนำเสนอเพื่อให้เกิดการปฏิบัติ กล่าวคือ Mind Mapping เป็นการแสดงความสัมพันธ์ในลักษณะการถ่ายทอดความคิด โดยใช้ภาพ สีเส้น และการโยงใย ส่วน 4 L’s เป็นการสะท้อนระดับการเรียนรู้ของสังคมที่ต้องมาบูรณาการโดยใช้ความนึกคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ถ่ายทอดเป็นตัวอักษร และ 2 R’s เป็นการแสดงความสัมพันธ์ในลักษณะการศึกษาและวิเคราะห์ จากความเป็นจริงที่เกิดขึ้น และเกี่ยวข้องสัมพันธ์ตรงประเด็นโดยใช้ความนึกคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ถ่ายทอดเป็นตัวอักษร เช่นเดียวกับ 4 L’s ซึ่งถ้าสามารถ บูรณาการแนวคิดของ 4 L’s และ 2 R’s มาเขียนเป็น Mind Mapping ได้ จะทำให้เห็นเส้นทางการทำงานที่เป็นขั้นตอนชัดเจน และง่ายต่อการบริหารจัดการ เนื่องจาก Mind Mapping เป็นการสื่อด้วยภาพ เส้นสาย จึงง่ายต่อการเข้าใจและจดจำ

2. การนำมาปรับใช้กับการเรียนรู้ขององค์กร

2.1 Mind Mapping ปรับใช้เป็นเส้นทางการสั่งงานของหัวหน้างาน สู่ลูกน้องเริ่ม ตั้งแต่จุด เริ่มต้นของงาน จนถึงจุดหมายปลายทางของงาน (พร้อมแสดงชื่อผู้รับผิดชอบ)

2.2 4 L’s ปรับใช้ในการพัฒนา Learning Organization ให้มีทั้ง 4 ระดับ คือ การเรียนรู้ ในระดับชาวบ้าน การเรียนรู้ในระบบและนอกระบบการศึกษา การเรียนรู้ในระบบการทำธุรกิจและอุตสาหกรรม และการเรียนรู้ในระดับ ประเทศ เพื่อนำความรอบรู้มาบูรณาการ Creative Thinking

2.3 2 R’s ปรับใช้ในการติดตามและประเมินผลการอาชีวศึกษาเพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารบนฐานข้อมูลตรงประเด็นและเป็นจริง

นางสุปรียา ลำเจียก

กรณีศึกษาของคุณยรรยง พวงราช : การทำงานของผู้นำองค์กร จะใช้ความรู้ ความสามารถเชิงวิชาการหรือความเก่ง

เพียงอย่างเดียวไม่ได้ ต้องใช้ความรอบรู้และประสบการณ์ โดยใช้วิจารณญาณ หาข้อมูลให้ครบถ้วน

มีการปรึกษาหารือโดยละเอียดรอบคอบกับทีมงาน เน้นธรรมาภิบาล และต้องติดตามประเมินผลอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ผู้นำองค์กรจะต้องมีความเข้าใจ บทบาทของนักการเมืองกับข้าราชการประจำในระบบประชาธิปไตยแบบไทย ๆ ด้วย ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้ได้รับผลกระทบจากการเมือง

นางสุปรียา ลำเจียก

จากบทความ The new office social contract : ..... วิธีการที่ดีที่สุดในการบริหารจัดการองค์กร ควรจะยึดทางสายกลางโดยมี

นโยบายที่เป็นส่วนผสมลงตัวระหว่างการให้ผลตอบแทนจากการประเมินการทำงานจากผลงานที่ได้อย่างเป็นธรรม แต่ในขณะเดียวกันต้องมีนโยบายที่จะซื้อใจพนักงานให้เกิดความภักดีต่อองค์กรด้วย เช่น มีสวัสดิการที่ดี บรรยากาศทำงานดี มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน รวมถึงมีการฝึกฝนพนักงานให้ทำงานอย่างมีคุณภาพ อย่างไรก็ดีการวางนโยบายโดยยึดทางสายกลาง ควรนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมโดยคำนึงถึงบริบททางสังคมของแต่ละสังคมด้วย เช่น ระบบอุปถัมภ์ที่ทำให้การทำงานมิได้ถูกประเมินอย่างเป็นธรรมและโปร่งใส จนได้บุคลากรที่ไร้ประสิทธิภาพแท้จริงเข้ามาบริหารงาน แต่องค์กรก็เพิกเฉย หากองค์กรสามารถบริหารจัดการให้เป็นตามทางสายกลางดังกล่าว มีนโยบายที่ผสมผสานจากทัศนคติจากทั้งสองด้าน นำไปสู่คุณภาพชีวิตในการทำงานที่ดี ได้รับผลตอบแทนที่แตกต่างชัดเจนตามความสามารถ และมีความรู้สึกที่ดีร่วมกัน ย่อมจะช่วยให้องค์กรฝ่าฟันอุปสรรคในยามวิกฤติและทำให้องค์กรมีความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เรื่อง ส่งงานการเรียนรู้ จาก จันทนา อินทรัตน์

บทความภาษาอังกฤษ " The new office social contract : Loyalty is out. performance is in " ประเด็นที่เป็นประโยชน์และแง่คิดต่อการทำงานและการบริหารคนในองค์กร สอศ.คือ การสะท้อนภาพการเปลี่ยนที่สูงมากขององค์กรในปัจจุบัน บทบาทหน้าที่ของผู้นำ ค้องมีทักษะ เทคนิคการบริหารจัดการภายในองค์กรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง สามารถสร้างความร่วมมือบนพื้นฐานของความแตกต่างของบุคคล ด้านทัศคติ แนวคิดในการทำงาน วัยวุฒิ ความรู้ ความต้องการ โดยหาทางรับมือ/แก้ไข/พัฒนา ให้ถูกทาง ต้องให้บุคลากรเข้าใจว่า การเอาตัวรอดในสังคมเพียงคนเดียวเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ในยุคปัจจุบัน ต้องพึ่งทฤษฎีการอยู่ร่วมกัน ต้องสนใจเรื่องสายใย chain โดยการสร้างพันธมิตรการทำงานร่วมกันเพื่อให้องค์กรมีความเป็นหนึ่งเดียว มีการตกลงเป้าหมายร่วมกัน กำหนด Key Performance ที่กำหนดระยะเวลาและผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน

จันทนา อินทรัตน์

หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้ อ่านแล้วได้ประโยชน์ต่ออาชีวศึกษาในหลายประเด็น อาทิ วิธีคิด วิธีการทำงาน ของนักบริหารมืออาชีพ 2 ท่าน คือ ท่านพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ท่านจีระ หงส์ลดารมย์ ที่มีกลยุทธ์ในการสร้างความเป็นเลิศให้องค์กรจากแรงจูงใจ เป็นแบบอย่างพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของผู้นำต่อการทำให้องค์กรเป็นองค์กรที่มุ่งเน้นความสำเร็จของงาน (Good Execution) เป็นนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีโลกทัศน์กว้างและไกล

ชี้แนะให้ผู้อ่านเห็นความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพความเป็นมนุษย์อย่างเต็มที่ (Human Ability) เน้นการเชื่อว่าคนทุกคนเป็นทรัพย์สินที่มีค่ามากกว่าทรัพยสินอื่นใดในองค์กร ในการพัฒนาคนไม่ใช่พัฒนาแต่พนักงานแต่จะพํฒนาไปถึงผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย ซึ่งทำให้เกิดแนวคิดในการพัฒนา สอศ.ว่า ทำอย่างไรจึงจะสร้างพันธมิตรและการทำงานร่วมกันกับหน่วยงาน และบุคคล อาทิ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนมัธยม ผู้ปกครอง นักศึกษา เพื่อร่วมกันพัฒนาคุณภาพนักเรียนให้ดีขึ้นในทุกระดับชั้น และบริหารไปถึงลูกค้าคือ บริษัท องค์กร หน่วยงานที่ใช้สินค้า เพื่อให้ได้นักศึกษาที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการและเป็นที่เรียกหาของลูกค้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท