โรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง : เพ่งดาวคนละดวงหรือเปล่า



          วันที่ ๗ ก.ย. ๕๒ ผมเข้าร่วมประชุมผู้ทรงคุณวุฒิ ให้คำปรึกษาแก่ “โครงการพัฒนาศักยภาพการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา” ที่มูลนิธิสยามกัมมาจล  ธนาคารไทยพาณิชย์    การประชุมผู้ทรงคุณวุฒิครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๓   ผมเคยบันทึกการประชุมครั้งก่อนไว้ที่นี่ และที่นี่ 

          ผมนั่งฟังการประชุมด้วยความสนใจยิ่ง    เพราะผมมองว่าโครงการนี้มี complexity สูงมาก   ทั้งในวงดำเนินการและวงสนับสนุน    โดยที่ผมเข้าใจว่าแต่ละ party ที่เข้ามามีส่วนร่วมมี “ดาว” ที่ไม่ใช่ดวงเดียวกันเสียทีเดียว    แม้จะอยู่ทิศเดียวกันของฟากฟ้า    สภาพที่การทำงานมี complexity สูงมากอย่างนี้    ให้การเรียนรู้สูงมาก เป็นแบบฝึกหัดที่สนุกสำหรับผม

          เข็มทิศชี้นำคือ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง    เป้าหมายหรือ “ดวงดาว” ที่หลากหลายได้แก่

•   การสร้างนิสัย ปลูกฝังความคิด นักเรียนให้เป็นคนไม่ฟุ้งเฟ้อ  มีความคิดความมั่นคงในความมีเหตุผล ความซื่อสัตย์ ประหยัด  ทำงานหนัก จิตอาสา เห็นแก่ผู้อื่น ฯลฯ    ซึ่งที่จริงก็คือการปลูกฝังความเป็นคนดีนั่นเอง   โดยทำอย่างเข้มข้นในโรงเรียนจำนวนหนึ่ง ที่เป็นจำนวนน้อย    แล้วหาทางแพร่ขยายไปสู่โรงเรียนทั้งหมด
•   การสร้าง “โรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง” ให้ได้จำนวนตามที่ระบุในแผน   ซึ่งจะต้องครบ ๔๐,๐๐๐ โรงเรียน หรือทั้งประเทศ ในปี ๒๕๕๔   ผมเรียกดาวดวงนี้ว่า ดาวผลงาน   ผมเดาว่าสำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการเพ่งดาวดวงนี้
• การสร้าง “โรงเรียนเพื่อศิษย์” ครูและผู้บริหารเอาใจใส่ลูกศิษย์   ให้ได้เรียนรู้ครบถ้วน ๘ สาระอย่างมีความสุข สนุก และภูมิใจในตนเอง    อย่างที่ท่านภราดา ประภาส ศรีเจริญ ผอ. รร. ลาซาลจันทบุรี (สตรีมารดาพิทักษ์) เล่าให้เราฟังในวันนั้น   รวมทั้งที่ผมได้ฟัง ผอ. สุภาวดี วงษ์สกุล รร. สายปัญญารังสิต   และ ผอ. สุรพงษ์ งามสม รร. สุนทรภู่พิทยา เล่าในการประชุมปฏิรูปประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑ ก.ย. ๕๒   ผมเดาว่าโรงเรียนแกนนำ ๑๗ โรงเรียน และทีม สรส. เพ่งดาวดวงนี้
•   การใช้ขบวนการโรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเครื่องมือสร้างความมั่นคงระยะยาวของแผ่นดินไทย   ผมเดาว่าท่านอดีตนายกฯ อานันท์ ปันยารชุน เพ่งดาวดวงนี้    เพราะท่านย้ำแล้วย้ำอีกให้ไปทำใน ๓ จังหวัดภาคใต้  และในภาคอีสาน ให้มากหน่อย
•   การสร้างสังคมเศรษฐกิจพอเพียง ที่ไม่ขัดแย้งกับสังคมทุนนิยม   น่าจะเป็นดาวของทีมมูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 
•   การประเมินภายในเพื่อเสนอแนะรูปแบบของการจัดการโครงการที่สามารถบรรลุเป้าหมายความลุ่มลึก และขยายผลได้กว้างขวางจริง   เป็นดาวของทีม รศ. ดร. เนาวรัตน์ พลายน้อย
•   การใช้โครงการนี้เป็นคานงัด สร้างการเปลี่ยนแปลงภาพใหญ่ของการบริหารการศึกษาของประเทศ   ให้เป็นการบริหารแบบกระจายอำนาจ กระจายความรับผิดชอบอย่างแท้จริง   ให้แก่โรงเรียนที่พิสูจน์ตัวเองแล้วว่ารับผิดชอบได้    ดาวดวงนี้ผมร่วมเล็งอยู่ด้วย   
 

          ผมมองว่าจริงๆ แล้ว แม้จะเพ่งดาวต่างดวง แต่องศาของลานสายตาก็ไม่ต่างกันมาก   มีส่วนซ้อนทับกันมากกว่าส่วนต่างเป็นสิบเป็นร้อยเท่า    จึงไม่น่าเป็นห่วงในมิติด้านคุณภาพ   แต่ที่น่าเป็นห่วงคือมิติด้านปริมาณหรือจำนวน   การออกแบบโครงการและการบริหารจัดการโครงการ   รวมทั้งการประเมินภายใน ต้องให้ชัดเจนว่ามีเป้าหมายเชิงปริมาณเพียง ๘๔ โรงเรียนในปี ๒๕๕๔ เท่านั้น   คือโครงการนี้มุ่งสร้างโรงเรียนตัวแบบสำหรับเป็น node ของ network ที่กระทรวงศึกษาธิการต้องเป็นผู้สร้างขึ้น   และต้องสร้าง NN (Node and Network ตามแนวคิด INN – Individual, Node, Network) ตามแนวทางที่ถูกต้องจากผลการเรียนรู้ในโครงการ โรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง     

          ทีม สรส. รายงานชัดเจน ว่า จะให้โรงเรียนในโครงการบรรลุเป้าหมาย “โรงเรียนเพื่อศิษย์” จริงๆ   กระทรวงศึกษาธิการต้องเพลาๆ การสั่งการลงไป   และ ศน. ก็ต้องเป็น ศน. พันธุ์ใหม่ คือพันธุ์ “คุณอำนวย” ไม่ใช่พันธุ์ “คุณอำนาจ” อย่างเดิม    ไม่ทราบว่า อ. ศัจธร วัฒนมงคล แห่ง สป. กระทรวงศึกษาธิการจับประเด็นสำคัญนี้ได้ไหม   และเมื่อจับประเด็นได้ จะนำไปสร้างการเปลี่ยนแปลงในการทรวงศึกษาธิการ  โดยเฉพาะใน สพฐ. อย่างไร

 

วิจารณ์ พานิช
๘ ก.ย. ๕๒

                   

หมายเลขบันทึก: 297358เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2009 09:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

  ดาวทุกดวงส่งแสงระยิบระยับ ประดับจักรวาลแห่งเศรษฐกิจพอเพียงค่ะ

ลองสร้างยานเผินน้ำดู ยานแบบนี้ประหยัด ปลอดภัย กว่าเรือและเครื่องบิน

การหาเงินให้ครบจำนวนในเวลาจำกัด สำคัญกับนักเรียนมาก เพราะค่าธรรมเนียมในการเรียนมหาวิทยาลัยปีละหมื่นๆบาท ซึ่งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไม่มีทางทำได้โดยสิ้นเชิง การจะกระทำให้เกิดความพอเพียงได้ ต้องมีความทะเยอทะยาน เย่อหยิ่ง มักใหญ่ใฝ่สูง ก่อน เราต้องรู้เรื่องสถิติก่อน แล้วรู้จักการเปรียบเทียบแบบวิทยาศาสตร์ ดังตัวอย่างข้างล่างนี้ ล้วนแต่ต้องใช้สถิติ และดัชนีชี้วัดทั้งสิ้น มิได้เจือปนด้วยหลักปรัชญาแต่อย่างใด

1.ขายชุดชั้นในสตรีใช้แล้ว ใช้สูตรเลข บวก-ลบ ประถม 4

2.สอนให้นักเรียนใช้ถุงยางอนามัย ฝึกจนเป็นนิสัย ใช้ดัชนีชี้วัดด้านความสิ้นเปลืองทรัพยากรต่อเด็ก1คน

3.ช่วยตัวเอง ใช้ดัชนีชี้วัดด้านค่าใช้จายต่อเด็ก 1 คนจนเรียนจบ ป.เอก

4.อี คอมเมอร์ส

5.ผมต่อต้าน และสอนลูกๆหลานๆว่าต้องต่อต้าน เพราะปรัชญางี่เง่าๆนี่ทำให้ผมเรียนปริญญาเอกไม่จบ

ข้อมูลเพิ่มเติม 0859921962 0858629368 เงินน้อย เลยเรียนไม่จบ รัฐบาลใช้หลักปรัชญานี้เพื่อตัดโอกาสทางการศึกษา เยาวชนไทยจะได้โง่ หลอกง่าย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท