การควบคุมลูกน้ำยุงลาย [ สิริประภา เครือจันทร์ 46311619 ]


ยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออก

                                                                                                    

          ยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออกยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกเป็นแมลงจำพวกหนึ่งที่สำคัญมีอยู่ 2 ชนิด คือ ยุงลายบ้านและ ยุงลายสวน ยุงลายเป็นยุงที่มีขนาดปานกลาง วงจรชีวิตของยุงลายประกอบด้วยระยะต่างๆ 4 ระยะ ได้แก่ ระยะไข่, ระยะตัวอ่อนหรือลูกน้ำ, ระยะดักแด้หรือตัวโม่ง, และ ระยะตัวเต็มวัยหรือตัวยุง ทั้ง 4 ระยะมีความ แตกต่างกันทั้งรูปร่างลักษณะและการดำรงชีวิต ลักษณะสำคัญทั่วไปของยุงลาย คือ
        ระยะตัวเต็มวัย (ตัวยุง)
1.  ร่างกายอ่อนนุ่ม เปราะบาง แบ่งเป็น 3 ส่วนแยกออกจากกันเห็นได้ชัดเจนคือ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง ลำตัวยาวประมาณ 4-6 มม. มีเกล็ดสีดำสลับขาวตามลำตัวรวมทั้งส่วนหัวและส่วนอกด้วย
2.  มีขา 6 ขาอยู่ที่ส่วนอก ขามีสีดำสลับขาวเป็นปล้องๆ ที่ขาหลังบริเวณปลายปล้องสุดท้ายมีสีขาวตลอด
3.  มีปีกที่เห็นได้ชัดเจน 2 ปีกอยู่บริเวณส่วนอก ลักษณะของปีกบางใส มีเกล็ดเล็กๆบนเส้นปีก ลักษณะของเกล็ดแคบ ยาว บนขอบหลังของปีกมีเกล็ดเล็กๆเป็นชายครุย นอกจากนี้ที่ส่วนอกยังมีอวัยวะที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัวอยู่ใกล้กับปีก
4.  มีปากยาวมาก ลักษณะปากเป็นแบบแทงดูด

5.  เส้นหนวดประกอบด้วยปล้องสั้นๆ 14-15 ปล้อง ที่รอยต่อระหว่างปล้องมีขนขึ้นอยู่โดยรอบ ในยุงตัวผู้เส้นขนเหล่านี้ยาวมาก (ใช้รับคลื่นเสียงที่เกิดจากการขยับปีกของยุงตัวเมีย) มองดูคล้ายพู่ขนนก ส่วนในยุงตัวเมียเส้นขนที่รอยต่อระหว่างปล้องจะสั้นกว่าและมีจำนวนน้อยกว่า ลักษณะของหนวดยุงจึงใช้ในการจำแนกเพศของยุงได้ง่าย

       ระยะไข่

ไข่ยุงลายมีลักษณะรีคล้ายกระสวย เมื่อวางออกมาใหม่ๆจะมีสีขาวนวล ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและดำสนิทภายใน 24 ชั่วโมง

      ระยะลูกน้ำ
ไม่มีขา ส่วนอกมีขนาดใหญ่กว่าส่วนหัว ส่วนท้องยาวเรียวประกอบด้วยปล้อง 10 ปล้อง มีท่อหายใจอยู่บนปล้องที่ และมีกลุ่มขน 1 กลุ่มอยู่บนท่อหายใจนั้น
      ระยะตัวโม่ง

ไม่มีขา มีอวัยวะสำหรับหายใจอยู่บนด้านหลัง (บริเวณที่เป็นส่วนหัวรวมกับส่วน

                                          แบคทีเรียกำจัดลูกน้ำ

แบคทีเรียกำจัดลูกน้ำเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในดินตามธรรมชาติ จึงไม่เป็นพิษต่อคนและสัตว์เลี้ยง ออกฤทธิ์กำจัดลูกน้ำยุงภายใน 24 ชั่วโมง และคงประสิทธิภาพในการควบคุมลูกน้ำได้นานหลายสัปดาห์ ได้รับการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุข องค์การอนามัยโลก และคณะกรรมการ สิ่งแวดล้อม สหรัฐอเมริกา ภายในเซลล์ของแบคทีเรียมีผลึกโปรตีนที่มีสารพิษ (toxin) ลูกน้ำจะกินแบคทีเรียเข้าไป โดยที่ภายในกระเพาะอาหาร ของลูกน้ำมีสภาพเป็นด่าง เมื่อมีเอนไซม์ออกมาย่อย polypeptides ที่เป็นองค์ประกอบของผลึกโปรตีนนี้ ผลึกโปรตีนก็จะแสดงความเป็นพิษต่อ ลูกน้ำ โดยทำให้เกิดอาการเป็นอัมพาตซึ่งทำให้ลูกน้ำตายได้

        แบคทีเรีย B.t.i. (Bacillus thuringiensis var. israelensis serotype H-14) มีประสิทธิภาพดีในการกำจัดลูกน้ำยุงลายและลูกน้ำยุงก้นปล่อง แต่ได้ผลไม่มากนักสำหรับการกำจัดลูกน้ำยุงรำคาญ แบคทีเรียที่มีประสิทธิภาพดีในการกำจัดลูกน้ำยุงรำคาญ มีชื่อเรียกว่า Bacillus sphaericus หรือ B.s. แบคทีเรียที่ได้รับการผลิตออกจำหน่ายตามท้องตลาดมีชื่อการค้าแตกต่างกันไป เช่น Bactimos, Teknar, VectoBac, Larvitab ฯลฯ และมีหลายสูตรให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมกับชนิดของแหล่งน้ำและชนิดของลูกน้ำยุง เช่น
       1. สูตรเคลือบเม็ดทราย ใช้ได้กับภาชนะกักเก็บน้ำต่างๆเพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย เนื่องจากลูกน้ำยุงลายหากินที่ก้นภาชนะ (เป็น bottom feeder) แบคทีเรียสูตรเคลือบเม็ดทรายจะจมลงสู่ก้นภาชนะ ลูกน้ำยุงลายก็จะกินแบคทีเรียเข้าไป เมื่อแบคทีเรียผ่านเข้าไปสู่กระเพาะอาหารของลูกน้ำยุง ที่มีสภาพเป็นด่าง ผลึกสารพิษของแบคทีเรียก็จะแตกตัว ทำให้ระบบทางเดินอาหารของลูกน้ำเป็นอัมพาต เยื่อบุกระเพาะอาหารถูกทำลาย ทำให้ ลูกน้ำยุงตายภายใน 24 ชั่วโมง แบคทีเรียสูตรเคลือบเม็ดทรายไม่เหมาะที่จะใช้ในแหล่งน้ำธรรมชาติ เพราะทรายจะจมลงไปกับโคลนตม ทำให้ ประสิทธิภาพลดลง อย่างไรก็ตาม บริษัทผู้ผลิตได้ยกเลิกการผลิตแบคทีเรียสูตรเคลือบเม็ดทรายไปแล้ว
      2.  สูตรของเหลว ใช้ได้กับภาชนะกักเก็บน้ำต่างๆเพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย อัตราที่แนะนำให้ใช้ คือ 1 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร สำหรับการใช้กับแหล่งน้ำ ธรรมชาติเพื่อกำจัดลูกน้ำยุงรำคาญและตัวอ่อนของริ้นน้ำจืดชนิดต่างๆ แนะนำให้ใช้ในอัตรา 500 ซีซี ต่อพื้นที่ 1 ไร่

      3.  สูตรเม็ด ใช้ได้กับภาชนะกักเก็บน้ำต่างๆเพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย เนื่องจากสูตรเคลือบเม็ดทรายต้องมีการตวง (เช่น 2.5 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร) จึงไม่ค่อยสะดวกในทางปฏิบัติ สำหรับสูตรเม็ดนี้จะใช้ได้สะดวกกว่า (เช่น 1 เม็ดต่อน้ำ 200 ลิตร) อย่างไรก็ตาม การใช้กับภาชนะที่มีขนาดบรรจุ น้ำน้อยกว่า 200 ลิตรจะต้องมีการลดขนาดของแบคทีเรียลงตามส่วน เช่น ครึ่งเม็ด หรือ 1/4 เม็ด เป็นต้น แบคทีเรียสูตรเม็ดมีหลายความเข้มข้น ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตแต่ละราย
     4 . สูตรเคลือบซังข้าวโพด เหมาะสำหรับใช้กำจัดลูกน้ำยุงก้นปล่องในแหล่งน้ำธรรมชาติ เนื่องจากลูกน้ำยุงก้นปล่องมักหากินบริเวณผิวน้ำ (เป็น surface feeder) ซังข้าวโพดก็ลอยน้ำทำให้แบคทีเรียกระจายตัวอยู่บริเวณใกล้ผิวน้ำ ลูกน้ำยุงก้นปล่องจึงมีโอกาสกินแบคทีเรียเข้าไปได้มากกว่า สูตรอื่นๆ อัตราที่แนะนำให้ใช้ คือ 180 กรัมต่อพื้นที่ผิวน้ำ 100 ตารางเมตร แบคทีเรียสูตรนี้ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้กำจัดลูกน้ำยุงลายที่ต้องใส่ลง ในภาชนะกักเก็บน้ำ เพราะเมื่อซังข้าวโพดเปื่อยยุ่ยจะทำให้น้ำเน่าเสียได้
     การเก็บรักษา
ควรเก็บแบคทีเรียกำจัดลูกน้ำไว้ในที่แห้งและเย็น อย่าให้ถูกแสงแดด ความร้อน และความชื้น และควรเก็บให้พ้นมือ เด็ก ห่างไกลจากอาหารและสัตว์เลี้ยง 


                                   อาการผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออกมีอาการสำคัญที่เป็นรูปแบบค่อนข้างเฉพาะ 4 ประการ เรียงตามลำดับการเกิดก่อน - หลัง ดังนี้
1. ไข้สูงลอย 2 - 7 วัน
2. มีอาการเลือดออก ส่วนใหญ่จะพบที่ผิวหนัง
3. ตับโต กดเจ็บ
4. มีภาวะการไหลเวียนโลหิตล้มเหลว / ภาวะช็อก
ผู้ป่วยทุกรายจะมีอาการไข้สูงแบบเฉียบพลัน ส่วนใหญ่ไข้จะสูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส ไข้อาจสูงถึง 40 - 41 องศาเซลเซียส บางรายอาจถึงชักได้ ผู้ป่วยมักจะมีหน้าแดง ผิวหนังแดงบริเวณคอ หน้าอก และลำตัว เด็กบางคนอาจบ่นปวดศีรษะ และปวดเมื่อยตามตัวพร้อม ๆ กับมีไข้สูง ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะไม่มีอาการน้ำมูกไหล หรืออาการไอ เด็กโตอาจบ่นปวดศีรษะ ปวดรอบกระบอกตา อาการทางระบบทางเดินอาหารที่พบบ่อย คือ เบื่ออาการ อาเจียน บางรายอาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วย
อาการเลือดออกที่พบบ่อยที่สุด คือ จุดเลือดออกที่ผิวหนัง ตามแขนขา รักแร้ และลำตัวบางรายมีเลือดกำเดาออก เลือดออกที่ใต้เยื่อบุตา เลือดออกตามไรฟัน อาการเลือดออกที่รุนแรง คือ เลือดออกในกระเพาะอาหารและลำไส้ ผู้ป่วยจะอาเจียนเป็นเลือดสีน้ำตาล หรือถ่ายดำ อาการเลือดออกมักจะเริ่มเกิดขึ้นประมาณวันที่ 2 - 3 นับแต่เริ่มป่วย จุดเลือดออกตามผิวหนังมักหายไปภายใน 3 - 4 วัน
ตับมักจะโตและคลำได้ใต้ชายโครงขวา อาจจะกดเจ็บ มักจะตรวจพบได้ประมาณวันที่ 3 - 4 นับแต่เริ่มป่วย
ในรายที่อาการรุนแรงผู้ป่วยจะมีการช็อก ซึ่งมักจะเริ่มประมาณวันที่ 3 - 4 นับแต่เริ่มมีไข้ผู้ป่วยจะช็อกก่อนไข้จะลงหรือภายในระยะ 24 - 48 ชั่วโมง หลังจากไข้ลง ผู้ป่วยจะมีอาการกระสับกระส่ายมือเท้าเย็น รอบปากเขียว ชีพจรเบาเร็ว ความดันโลหิตต่ำ ระยะช็อกนี้จะเกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วถ้าให้การรักษาไม่ทันผู้ป่วยมักจะเสียชีวิตภายใน 24 - 48 ชั่วโมง
ในระยะหลัง ๆ มานี้เริ่มพบผู้ป่วยที่มีการทางสมองคล้ายสมองอักเสบ หรืออาการภาวะของตับล้มเหลว หรือมีความผิดปกติของไตร่วมด้วยในผู้ป่วยบางราย หลังจากไข้หายแล้ว 24 - 48 ชั่วโมง อาการช็อกก็จะเริ่มดีขึ้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเข้าสู่ระยะฟื้นตัว เริ่มรับประทานอาหารได้มากขึ้น อาจจะมีผื่นแดงตามแขนขา และวงขาว ๆ ตรงกลางได้ (Convalescent rash)


                            วิธีรักษาผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเบื้องต้น
ขณะนี้ยังไม่มียาต้านไวรัสที่มีฤทธิ์เฉพาะสำหรับเชื้อไข้เลือดออกและไม่มีวัคซีนป้องกันการรักษาโรคนี้เป็นแบบการรักษาตามอาการและประคับประคอง ซึ่งจะได้ผลดีถ้าให้การวินิจฉัยโรคได้ตั้งแต่ระยะแรก
      การรักษา มีหลักปฏิบัติดังนี้
1.        ในระยะไข้สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่มีประวัติเคยชัก หรือในรายที่ปวดศีรษะและปวดเมื่อยตามตัว อาจให้ยาลดไข้ ควรใช้ยาพวกพาราเซตามอล ไม่ควรใช้ยาพวกแอสไพริน เพราะจะทำให้เกล็ดเลือดเสียการทำงาน และเลือดออกได้ง่ายขึ้น ควรให้ยาลดไข้เป็นครั้งคราวเวลาที่ไข้สูงเท่านั้นเนื่องจากเป็นระยะที่มีเชื้อไวรัสในกระแสเลือด ซึ่งเมื่อหมดฤทธิ์ยาแล้ว ไข้ก็อาจขึ้นสูงได้อีก จนกว่าเชื้อไวรัสจะหมดจากกระแสเลือด ร่างกาย สร้างภูมิคุ้มกันขึ้น (Antibody)
2.        ให้ผู้ป่วยได้น้ำชดเชย เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่มีไข้สูง เบื่ออาหาร และอาเจียนทำให้ขาดน้ำและขาดเกลือโซเดียมด้วย ควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำผลไม้หรือสารละลายผงน้ำตาลเกลือแร่ (โอ อาร์ เอส) ในรายที่อาเจียนควรให้ดื่มครั้งละน้อย ๆ และดื่มบ่อย ๆ
3.        จะต้องติดตามดูอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อจะได้ตรวจพบและป้องกันภาวะช็อกได้ทันเวลา ภาวะช็อกมักจะเกิดพร้อมกับไข้ลดลง หรือภายใน 24 - 48 ชั่วโมง หลังจากไข้ลด มักเกิดประมาณตั้งแต่วันที่ 3 ของการป่วย ควรแนะนำให้พ่อแม่ทราบอาการนำของช็อก ซึ่งอาจจะมีอากาซึม เบื่ออาการ ไม่รับประทานข้าว หรือดื่มน้ำติดต่อกันหลายวัน อาจมีอาการปวดท้องใต้ชายโครงขวา หรือมีอาการปัสสาวะน้อยลง กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ควรแนะนำให้รีบส่งโรงพยาบาลทันทีที่มีอาการเหล่านี้
4.        เมื่อผู้ป่วยไปตรวจที่โรงพยาบาล แพทย์จะตรวจเลือดดูปริมาณเกล็ดเลือดและฮีมาโตคริตและอาจนัดมาตรวจดูการเปลี่ยนแปลงของเกล็ดเลือดและฮีมาโตคริตเป็นระยะ ๆ เพราะถ้าปริมาณเกล็ดเลือดเริ่มลดลงและฮีมาโตคริตเริ่มสูงขึ้น เป็นเครื่องชี้บ่งว่าน้ำเลือดรั่วออกจากเส้นเลือด และอาจจะช็อกได้ จำเป็นต้องให้สารน้ำชดเชย
5.        โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องรับผู้ป่วยเข้ารักษาในโรงพยาบาลทุกราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะแรกที่ยังมีไข้ สามารถรักษาแบบผู้ป่วยนอก โดยให้ยาไปรับประทาน และแนะนำให้ผู้ปกครองเฝ้าสังเกตอาการตามข้อ 3 หรือแพทย์นัดให้ไปตรวจที่โรงพยาบาลเป็นระยะ ๆ โดยตรวจดูการเปลี่ยนแปลงตามข้อ 4 ถ้าผู้ป่วยมีอาการหรือแสดงอาการช็อก อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด ถึงแม้อาการไม่มากก็ต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาลทุกราย และถือว่าเป็นเรื่องรีบด่วนในการรักษา
นางสาวสิริประภา   เครือจันทร์ 46311619  คณะวิทยาศาสตร์ สาขาชีววิทยา ชั้นปีที่ 3

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 2970เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2005 17:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 20:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท