ฐานข้อมูลวิชาชีพ


เป้าหมาย คือ การหาแนวทางพัฒนาคุณภาพของบุคลากรในวิชาชีพตามภารกิจหลักของคณะกรรมการวิชาชีพ หรือสภาวิชาชีพนั่นเอง

          ดิฉันเป็นหนึ่งในอนุกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิค ด้านการพิจารณาการขึ้นทะเบียนและจัดสอบความรู้  เคยเรียนเสนอในที่ประชุมว่า เราได้จัดสอบมาก็แล้วหลายครั้ง  คลังข้อสอบที่ได้ ควรได้มีการคัดเลือก และจัดเก็บในระบบฐานข้อมูล โดยใช้โปรแกรมฐานข้อมูล  เพื่อความสะดวก ในภายภาคหน้า

          ที่ประชุมก็เห็นดีด้วย  แต่ยังไม่ได้พูดถึงกระบวนการในการดำเนินงาน และการมอบหมายผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน

          นอกจากเรื่องข้อสอบ ซึ่งเป็นเรื่อง routine แล้ว ดิฉันยังเห็นเป็นโอกาสอันดีที่จะได้มีการวางแผนดำเนินงานจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานอื่นๆ อย่างเป็นระบบเสียแต่เนิ่นๆ อาทิ  จำนวนผู้สมัครสอบ  จำนวนผู้สอบได้ / ไม่ได้ เทียบกับผู้สมัครในการสอบแต่ละครั้ง  จำแนกย่อยตามสถาบันการศึกษา  คะแนนสอบสูงสุด / ต่ำสุด โดยรวม และ จำแนกตามสถาบันที่จบของผู้สอบ  ฯลฯ

          ที่กล่าวข้างต้น เป็นเพียงตัวอย่าง  ยังมีข้อมูลอีกหลายอย่างที่ควรจัดเก็บ และวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ทั้งนี้เป้าหมาย คือ การหาแนวทางพัฒนาคุณภาพของบุคลากรในวิชาชีพตามภารกิจหลักของคณะกรรมการวิชาชีพ หรือสภาวิชาชีพนั่นเอง

หมายเลขบันทึก: 29679เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2006 09:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เห็นด้วยคะอาจารย์แต่ไม่อยากให้อาจารย์ใส่ชื่อผู้สอบพร้อมคะแนนดิบกลัวว่าจะเป็นการเปิดเผยเกินไป

เสนอแนวคิดให้ทำเป็นคลังความรู้ แบบ KM

อยากให้คณะอนุฯช่วยทำ AAR ในการสอบแต่ละครั้ง

การพัฒนาเป็นสิ่งดี อยากให้อาจารย์ช่วย วางแนวให้แคบๆเลือกความจำเป็นในการพัฒนามาจัดการก่อน

ก่อนอื่นอยากฝากอาจารย์ช่วยเปิด อบรมเฉพาะด้านเช่น CT,MRI,หรือUS

หรืออบรมวิชาการสร้างระบบให้รังสีเทคนิคทุกระดับส่งผลงานเข้าประกวดในระดับประเทศ และผู้ขนะได้รับโล่ห์ประกาศเกียรติคุณ และประชาสัมพันธ์ไปทุกจังหวัด โดยนำเสนอแบบ ORAL

ขอบคุณอาจารย์ที่ให้โอกาสเสนอแนวคิด

ดีใจจังค่ะ  ที่คุณ toy มีความรักและห่วงใยในวิชาชีพ  และเสนอความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา อยากให้มีคุณ toy ยกกำลัง 1000 คน

ฐานข้อมูลวิชาชีพ เป็นการรวบรวมข้อมูลเฉพาะที่เป็นสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาวิชาชีพ ซึ่งผู้ที่จะรวบรวมข้อมูลต่างๆมาสังเคราะห์ จะต้องตั้งวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนเสียก่อน เช่น 

ถ้าต้องการพัฒนาบัณฑิตที่เป็นผลผลิตของสถาบันต่างๆ  ก็เอาผลสอบ เอาข้อมูลพื้นฐานต่างๆ มาเปรียบเทียบกัน  หาเหตุปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลสอบ ฯลฯ

ถ้าต้องการหาแนวทางพัฒนามาตรฐานบุคลากรในวิชาชีพ  ก็อาจต้องเอาผลสอบมาจำแนกแจกแจง หรือเอาข้อมูลพื้นฐานต่างๆของบุคลากร มาวิเคราะห์หาเหตุปัจจัยมี่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

ถ้าต้องการประเมินคุณภาพการจัดการของคณะกรรมการวิชาชีพ เกี่ยวกับการจัดสอบ ก็ต้องดูซิว่าจำนวนบุคลากรในวิชาชีพทั้งหมด เทียบกับผู้ที่มีใบประกอบวิชาชีพแล้วมีเท่าไหร่.?..จำนวนบุคลากรในวิชาชีพที่มีใบประกอบเปรียบเทียบในแต่ละภูมิภาค  ฯลฯ  ฯลฯ  อะไรเหล่านี้เป็นต้น

ทั้งนี้จะได้มองเห็นปัญหา หรือแนวทางพัฒนาวิชาชีพให้ดียิ่งๆขึ้น และการทำ AAR ของอนุกรรมการจะช่วยได้มาก อย่างที่คุณ Toy กล่าวไว้จริงๆ ค่ะ ถ้าไม่มีเวลาเจอกัน ก็เสวนาผ่าน Blog ก็ได้ จริงมั้ยคะ

ดิฉันขอเรียนฝากท่านกรรมการ และท่านเลขา ผ่าน Blog ด้วยแล้วกันนะคะ

2 - 3 วันมานี้  ทางคณะสหเวช มน. ก็ได้จัดเวทีประชุมวิชาการขึ้น  มีการประกวดนวัตกรรม  และผลงานวิจัยของบุคลากรในกลุ่มสหเวชศาสตร์หลากหลายสาขา  และเป็นที่น่ายินดีว่า  สาขารังสี ส่วนใหญ่เป็นผลงานนวัตกรรม และในงานนี้ก็มีผู้ได้รับโล่รางวัลด้วย  ดิฉันจะทยอยนำรายละเอียดต่างๆ มา ปชส. ผ่าน Blog ให้ทราบทั่วกันอีกทีนะคะ

ส่วนเรื่องการอบรมวิชาการที่เป็น advance technology ดิฉันคิดว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่เป็นสถาบันการศึกษาต่างๆ  สมาคมวิชาชีพ  และอนุกรรมการด้านมาตรฐานวิชาชีพ  ควรเร่งดำเนินการ  หรือสนับสนุนให้มีการดำเนินการกันอย่างจริงจัง 

สำหรับ มน.เอง คิดว่าต้องผลักดันให้ภาควิชารังสีดำเนินการด้วย เพราะการบริการวิชาการ ถือเป็นหนึ่งในภาระกิจที่สำคัญของอาจารย์เช่นกันค่ะ

 

 

อาจารย์ค่ะดิฉันเห็นด้วยกับอาจารย์ทุกเรื่องค่ะถ้าอาจารย์มีอะไรให้ tech ที่อยู่ต่างจังหวัดไกลๆช่วยดิฉันยินดี

การประชาสัมพันธ์ เรื่องต่างๆผ่าน mail ก็ได้ค่ะ รู้สึกว่า go to know รังสียังทราบและเข้ามาใช้น้อยหรือบางคนแค่อ่านอย่างเดียวไม่ค่อยกล้าเสนอความคิดเห็นเพราะเท่าที่ได้คุยกับน้องหลายๆคน มักจะบอกว่าไม่เคยเข้ามาคุยเลย และไม่กล้าที่จะออกความคิดเห็นเพราะยังฝังใจเรื่องสถาบันที่ศึกษา  การยอมรับ RU ของอาจารย์ต่างๆ  และของTech ที่เรียน จบตรง และเรียนต่อเนื่อง ในแนวคิดของน้องๆหรือแม้แต่ตัวเองกลัวว่าอาจารย์ไม่ยอมรับ  ทั้งที่อยากเสนอความคิด อยากปรึกษาอาจารย์เรื่องการเขียนผลงานวิชาการ งานวิจัย เพื่อพัฒนาตนเองและพัฒนาศักยภาพ วิชาชีพของพวกเรา 

ขอบคุณอาจารย์มากค่ะที่สละเวลามาคุยผ่าน Blog

เรียนอาจารย์มาลินี,

 

 สวัสดีครับ ผมสุทธิพร นะครับ ไม่ทราบว่าอาจารย์จำผมได้หรือเปล่า ผมจบ RTMU รุ่น 34 เข้าเรียนปี 40 นะครับ ที่อาจารย์มาสอบสัมภาษณ์ ผมถึงโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน (ผมจำได้ไม่ลืมเลยละครับ) ขอโทษด้วยครับ ที่อาทิตย์ก่อนนู้นผมได้ฝากนามบัตรไว้ แต่ไม่ได้พบอาจารย์ด้วยตัวเอง ตอนนี้ผมอยู่ บริษัท สุพรีม โพรดักส์ จำกัด ในตำแหน่ง Sale Engineer แต่ว่าจะทำงานในตำแหน่ง Specialist in CT พอดีช่วงมีงานประชุมของทางมอนอ ผมก็อยู่พิษณุโลกพอดี แต่พอดีติดงานสอนใช้เครื่อง MDCT ที่โรงพยาบาลพิษณุเวช เลยไม่ได้เข้าไป อยากจะเรียนอาจารย์ว่าตอนนี้ที่พิษณุโลก ได้มีเครื่อง MDCT ชนิด 6 slice แล้วนะครับ ได้เริ่มใช้งานแล้ว รุ้สึกว่าจะมีเทคนิเซียนคนหนึ่งที่จบจากมอนอรุ่น1 อะครับ ชื่อ แอน พอดีผมจำชื่อจริงไม่ได้ ถ้าอาจารย์อยากจะนำนักศึกษาของอาจารย์มาดูการทำงานของเครื่อง ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร อาจจะติดต่อตรงหรือว่าจะผ่านให้ผมช่วยประสานงานให้ก็ได้ครับ แล้วก็ถ้ามีการอบรมพิเศษในเรื่องซีทีหรือเครื่องอื่นก็ยินดีช่วยเหลือเต็มที่ครับ

 

ปล. เห็นด้วยกับอาจารย์ที่จะทำฐานข้อมูลครับ ผมคิดว่า ให้ตัวแทนแต่ละรุ่นของแต่ละสถาบันเก็บข้อมูลมาก็ดีนะครับ จะได้เร็วขึ้น 

อาจารย์จำได้ไม่ลืมเช่นกันค่ะ  ขอบคุณมากนะค่ะ ที่นำข่าวดีดีมาฝาก เป็นประโยชน์แก่รุ่นน้องรังสีเทคนิค ที่ มน. มากเชียวค่ะ

โดยเฉพาะเรื่องการอบรมพิเศษในเรื่องซีที คงต้องขอความอนุเคราะห์ไปแน่เลย

ขอขอบคุณข้อเสนอแนะเกี่ยวกับฐานข้อมูลของทุกๆ ท่านด้วยนะคะ  จะพยายามลุ้นให้สมาคมวิชาชีพดำเนินการค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท