พรรณไม้ในพุทธประวัติ - 3 หว้า


พรรณไม้ที่มีเหตุการณ์สัมพันธ์กับพุทธประวัติ

หว้า ชาวฮินดูเรียก จามูนะ หรือ จามาน

มีส่วนเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติอยู่ 3 ตอน

ในตอนแรก คือเมื่อทรงมีพระชนมายุได้ 8 ชันษา ในปีนั้นพระบิดาทรงจัดให้มีพระราชพิธีจรดพระนังคัล แรกนาขวัญ ที่ทุ่งนานอกเมืองกบิลพัสดุ์ ซึ่งพระเจ้าสุทโธทนะทรงเป็นพระยาแรกนาด้วยพระองค์เอง และทรงโปรดให้พระราชโอรสเสด็จตามด้วย

ทรงประทับอยู่ใต้ต้นหว้า ซึ่งปฐมสมโพธิเรียกว่า ต้นชมพูพฤกษ์ เมื่อถึงเวลาแรกนา เหล่านางพระกำนัล ต่างชวนกันไปดูพระราชพิธีกันหมด ทิ้งพระองค์ไว้เพียงพระองค์เองใต้ต้นไม้ใหญ่ อันกวีท่านพรรณนาว่า กอปรด้วยสาขาแลใบ อันมีพรรณอันเขียวประหนึ่งอินทนิลคีรี มีปริมณฑลร่มเย็นเป็นรมณียสถาน ด้วยพระทัยที่บริสุทธิ์ อันจะได้บรรลุโพธิญาณ เมื่อได้อยู่ในสถานอันวิเวก จึงเจริญสมาธิจนบรรลุ ปฐมฌาน เป็นครั้งแรกใต้ต้นหว้านั้นเอง

paint

ขณะนั้นแม้เป็นเวลาบ่ายคล้อย เงาต้นหว้ากลับไม่ได้ทอดคล้อยตามแสงตะวันไป หากทิ้งลงใต้ต้นไม้ราวกับเป็นเวลาเที่ยงวัน พระพี่เลี้ยงซึ่งวิ่งกลับมาหาเจ้าชายสิทธัตถะเห็นดังนั้น จึงวิ่งกลับไปทูลพระราชบิดา

พระเจ้าสุทโธทนะ เมื่อเสด็จมาทอดพระเนตร ถึงกับไหว้พระโอรสของพระองค์เองเป็นครั้งที่ 2 ด้วยความปิติในความอัศจรรย์

paint

ต่อการที่พระราชบิดาวันทาพระโอรสนี้ มีเหตุให้เกิดขึ้นทั้งหมด 3 ครั้ง

ครั้งแรกหลังจากที่เจ้าชายประสูติ อสิตดาบส หรือ กาฬเทวินดาบส ซึ่งเป็นฤาษีมีที่พำนักอยู่เชิงเขาหิมพานต์ หรือหิมาลัย ได้มาถวายพระพร เมื่อได้เห็นพระลักษณะเจ้าชายต้องตามตำรับมหาบุรุษลักษณ์ ก็แสดงอาการผิดสมณะ 3 อย่างคือ ยิ้มแย้ม(บางที่ว่าหัวเราะ) ร้องไห้ และก้มลงกราบพระบาทพระราชกุมาร

ที่ท่านแย้ม เพราะบุรุษลักษณะเช่นนี้ หากเป็นฆราวาส จะเป็นมหาจักรพรรดิที่เกรียงไกร หากเป็นนักบวช จะได้เป็นศาสดาเอก ที่ท่านร้องไห้ เพราะท่านแน่ใจว่า เจ้าชายจะออกบวช และเสียดายที่ตนมีอายุไม่ยืนยาวพอที่จะได้ฟังธรรมที่ราชกุมารประกาศ และที่ท่านกราบพระกุมาร ก็ด้วยเหตุต่างๆเหล่านี้

พระเจ้าสุทโธทนะ เมื่อเห็นพระดาบสไหว้พระโอรส จึงไหว้ตาม นั้นเป็นครั้งแรก

ครั้งสุดท้ายคือเมื่อเสด็จกลับไปเยี่ยมพระราชบิดาตามคำอาราธนา อันนับเป็นครั้งแรกที่เสด็จสู่กรุงกบิลพัสดุ์หลังจากที่ทรงตรัสรู้

อีกเหตุการณ์หนึ่งของต้นหว้าคือ หลังจากที่ทรงแสดงพระธรรมวินัยจนมีสาวกบรรลุพระอรหันต์ได้ 60 รูป ทรงส่งพระอรหันต์ทั้ง 60 รูปนั้นไปประกาศพระศาสนา ส่วนพระองค์เอง ได้เสด็จกลับไปยังอุรุเวลาเสนานิคมอีกครั้ง เพื่อแสดงธรรมต่อชฎิล 3 พี่น้อง ซึ่งมีอิทธิพลต่อความเชื่อของประชาชนอย่างมากในช่วงเวลานั้น

ชฎิลพี่ชายใหญ่ คืออุรุเวลกัสสป ตั้งอาศรมบำเพ็ญพรต ประกาศตนเป็นพระอรหันต์ บูชาไฟอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราตอนเหนือ ได้ทูลนิมนต์ภัตตกิจ พระพุทธองค์ตรัสให้พระฤาษีเดินทางไปก่อน ในขณะนั้นเอง ทรงเหาะไปเก็บผลไม้ในป่าหิมพานต์ แล้วเสด็จไปถึงโรงเพลิง ก่อนที่พระฤาษีจะไปถึง

ในโรงไฟ ทรงปราบพญานาคที่อุรุเวลกัสสปบูชาจนสิ้นฤทธิ์ จนเวลาต่อมา ชฎิลทั้ง 3 พี่น้อง พากันเลิกพิธีบูชาไฟ หันมาเป็นภิกษุในพระธรรมวินัยที่พระองค์ค้นพบ

หว้า คือหนึ่งในผลไม้ที่ทรงเก็บมานั้นเอง

อีกตอนหนึ่งคือหลังจากที่ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา แล้วยังไม่ทรงพบหนทางบรรลุโพธิญาณ ทรงมีพระดำริถึงเหตุการณ์ใต้ต้นหว้าเมื่อครั้งยังพระเยาว์ ว่าขณะนั้น ทรงอยู่ใต้ร่มเงาหว้าเพียงลำพังพระองค์ ทรงสงัดจากกาม จากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌานอันเกิดแต่ความวิเวก นั่นคงเป็นหนทางแห่งการตรัสรู้กระมัง หากร่างกายผ่ายผอม จะบรรลุความสุขอย่างนั้นคงไม่ง่าย ถ้ากระไร เราพึงบริโภคอาหารหยาบ คือข้าวสุกและขนมสดเถิด

เหล่านี้เป็นเหตุการณ์ของหว้า อันมีความสัมพันธ์กับพุทธประวัติ

..................................................................

อ้างอิงเรื่อง และรูป

เหม เวชกร สมุดภาพพระพุทธประวัติ ธรรมสภา 35/270 จรัลสนิทวงศ์ 62 บางพลัด บางกอกน้อย กรุงเทพ

เสถียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต สิ่งแรกในพระพุทธศาสนา เกษมอนันต์พริ้นติ้ง 02-809-7452-4

ศาสตรจารย์ พเยาว์ เหมือนวงษ์ญาติ ไม้พุทธประวัติ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด้จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชวังดุสิต กรุงเทพ

พนิตา อังจันทรเพ็ญ พระพุทธประวัติ สมุดภาพจิตรกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ 81 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ธรรมสภา 1 / 4-5 ถ.บรมราชชนนี เขตทวีวัฒนา กรุงเทพ

หมายเลขบันทึก: 296585เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2009 17:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ตุลาคม 2013 10:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

หิวลูกหว้าค่ะพี่ตุ๊กตา..แสดงว่าต้นหว้านั้นนานมาแล้วมีอยู่มากมายคู่กับป่าเขามาโดยตลอดเลยนะคะ..

คงอย่างนั้นมังคะ อยากลองชิมเหมือนกันค่ะ

สวัสดีครับคุณณัฐรดา

แวะมาดื่มด่ำรสธรรมะที่เผื่อแผ่ให้ครับ

ขอบคุณครับ

  • สวัสดีครับ คุณณัฐรดา
  • มาหาความรู้ ..เติมครับ
  • ผมปลูกหว้าสวน ไว้ที่สวนใกล้ชายเขา เกือบ ๒๐ ต้น
  • ขณะนี้ สูงประมาณ ๑.๕๐-๒.๕๐ เมตร แล้วครับ
  • หวังได้ร่มเงา ที่ร่มเย็นและเป็นแหล่งอาหารของนกป่า ครับ
  • ขอบคุณมากครับ

 

สวัสดีค่ะ

  •  ยามเช้าเข้ามารับรู้เรื่องที่เป็นศิริมงคลแก่ชีวิตค่ะ 
  • มีความสุขในวันหยุดนะคะ 

ขอบคุณที่นำเรื่องราวดีๆ ที่หาอ่านได้ยากมากสำหรับสุ คะ  ได้รับเรื่องราวดีๆ ขอบคุณมากๆ คะ

เข้ามาเติมอาหารสมองความรู้ใหม่สำหรับผมครับ "หว้า"

ขอบคุณสำหรับบันทึกดีๆครับ

นกกาเหว่าส่งเสียงร้องยามเช้า...คงจะเข้ากันได้กับลูกหว้า นะครับ ขอบพระคุณครับ

"หว้า"...ต้นไม้ในพุทธประวัติ             ท่านสะกัดออกมาน่าเรียนรู้

สื่อภาพสวยด้วยข้อความน่าตามดู      ขอคุณครูเมตตาพาพบธรรม

 

สวัสดีค่ะ

ตามมาอ่านได้ความรู้เพิ่มเติมค่ะ

หว้า ชาวฮินดูเรียก “จามูนะ” หรือ “จามาน”

ไม่เคยได้ทราบมาก่อนเลยค่ะ... น่าสนใจมาก ๆ เลย

จะตามอ่านต่อนะคะ

(^___^)

สวัสดีค่ะ

หนูมาติดตามอ่านเรื่องต้นไม้พุทธประวัติทุกบันทึกค่ะ

ปริ้นต์เอ้าท์ออกไปฝากคุณครูสอนสังคมและเพื่อน ๆด้วยค่ะ

หนูขอขอบพระคุณมากค่ะ

วันนี้หนูขึ้นบันทึกใหม่ค่ะ  แต่ไม่มีคนรู้จัก  เพราะหนูยังไม่เข้าใจระบบค่ะ

บันทึกของหนูอยู่ที่นี่นะคะ

http://gotoknow.org/blog/wittayasamphan/297058

ตามมาอ่านตอนที่สามครับ

จริงสิ ผมเกือบลืมไปแล้วว่ามีต้นไม้นี้ในพุทธประวัติด้วย

ขอบคุณครับ

  • สวัสดีค่ะ คุณณัฐรดา
    สำหรับโรงเรียนทั้ง ๕ นี้ คงส่งตรงถึงท่านผู้อำนวยการของแต่ละโรงเรียนคงได้มั๊งค่ะ
  • ส่วนที่อยู่ เท่าที่ทราบก็ประมาณนี้แหละค่ะ
  • โรงเรียนบ้านท่ายาง หมู่ที่ 3 ตำบลยางหัก อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี 70140 โทรฯ 032-720-029
  • โรงเรียนวัดหนองตาหลวง หมู่ที่ 3 ต.หินกอง อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี 70000 โทร. 0-3222-7612
  • โรงเรียนบ้านโป่ง หมู่ที่ 3 ตำบลอ่างหิน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี 70140 โทรศัพท์, โทรสาร 0-3222-9244
  • โรงเรียนบ้านหนองโก ต.หนองพันจันทร์ กิ่งอำเภอบ้านคา จ.ราชบุรี รหัสไปรษณีย์ 70180 โทรฯ 081-9420544
  • โรงเรียนบ้านตะโกล่าง อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี โทรฯ 0-3272-0001
  • ขอบพระคุณแทนเด็กๆ ทั้ง ๕ โรงเรียนด้วยนะค่ะ ^^
  • โอ้วว ส่วนโรงเรียนวันครู สงสัยต้องไปถามที่บล๊อคท่านอาจารย์วิรัตน์เสียแล้วหล่ะค่ะ ... ประเดี๋ยวจะสอบถามให้นะค่ะ หรือท่านอาจจะมาโพสตอบนะค่ะ
  • ขอบพระคุณอีกครั้งค่ะ

สวัสดีค่ะ น้อง ณัฐ

ครูอ้อยตั้งใจมาอ่านเลยนะคะ 

a href="http://www.glitterfy.com/" target="_blank">

ขอบคุณที่ให้ความรู้ครับ....

พอดีที่ข่วง(ลาน)แหล่งเรียนรู้ผะหญาล้านนา-สวนชาปิ้งหินไฟมีร่มต้นหว้าขอ..อนุญาตนำเรื่องนี้ไปพิมพ์ติดไว้ให้ผู้คนได้อ่านนะครับ...

ขอกุศลจงคุ้มครองดั่งร่มหว้าครับ....

ด้วยความปรารถนาดีจากลุงหนาน..พรหมมา

 

คุณ NIKHOM คะ

ดิฉันเคยอยู่เชียงใหม่ 5 ปี ชอบภาษาเมืองค่ะ เลยดีใจเป็นพิเศษที่ได้อ่านกำเมือง

ยินดีค่ะที่จำกรุณาเผยแพร่พรรณไม้พุทธประวัติค่ะ

ยินดีจ๊าดนักเจ้า

มาชม

เห็นในรูปนึกถึงตอนอยู่เมืองอินเดีย ข้างที่พักนักศึกษาในมหาวิทยาลัย...มีต้นไม้นี้ผลดกมาก

พวกลิงมากันเป็นฝูงมากิน เราก็กินมั่งรสฝาดอร่อย ๆ

เคยเดินชมถ้ำที่ทำทุกกรกิริยาของสมณะสิทธัตถะ ณ ภูเขาดงคะสิริ เคยเดินเลียบและข้ามลำธารแห่งแม่น้ำเนรัญชรา...ระลึกพุทธประวัติตอนนี้ละ...

อยากบอกว่า...ต้นไม้...หรือที่เรียก...ชมพูทวีป...เพราะแผ่นดินภารตะนี้มีต้นไม้หว้าชนิดนี้เยอะมากนั้นเอง...

ขอบพระคุณอาจารย์ umi มากค่ะ ที่กรุณามาเติมสิ่งที่ขาดไปให้บันทึกค่ะ

สวัสดี ครับ คุณณัฐรดา

ยกเก้าอี้ ที่บ้านอาจารย์ umi เหนื่อยมั้ย ครับ

นำน้ำเย็นมาเสริฟ์ ครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท