กรอบที่ต้องสลาย "อสม.ติดดาว"


ละลายกรอบ...แบบไม่มีรูปแบบ

       การดำเนินกลุ่มของเวที อสม. ในภาคเช้านั้น ได้แบ่งออกเป็นกลุ่มตามสาขาการทำงาน เช่น กลุ่มสาขาส่งเสริมสุขภาพและการออกกำลังกาย กลุ่มสาขาทั่วไป กลุ่มสาขาสุขภาพจิตและยาเสพติด กลุ่มสาขาแพทย์แผนไทย เป็นต้น แต่ละกลุ่มนั้นจะประกอบด้วย อสม. จากพื้นที่ต่างๆ คละกันไปตามแต่ละพื้นที่ เป้าหมายที่เราคาดหวังอยากให้เกิดขึ้น คือ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในสิ่งที่เป็นเกร็ดความรู้ที่ฝังลึกในแต่ละคน(โครงการไตรภาคีฯ)

       ดำเนินกลุ่มไปได้สักพัก ท่านอาจารณ์หมอวิจารณ์ได้มาสะกิด ให้เกิดข้อคิดว่า "เราพลาดไปแล้ว!" ในการเดินเวที ในทีมก็หยุดคิด...คิด ว่าอะไรคือสิ่งที่พลาดไป ในหนึ่งประเด็นที่เราได้พบ คือ กลุ่มที่เกิดขึ้นนั้นดำเนินไปอย่างไม่เป็นธรรมชาติ จากการสังเกตในส่วนดิฉันเอง พบว่า กลุ่มมีการพูดคุยกันอย่างพยายามที่ให้ได้มาซึ่งคำตอบที่เป็นไปตามแนวทางการดำเนินงานที่เป็นขั้นตอน 1 2 3 4 ...และแต่ละกลุ่มจะมีพี่เลี้ยงที่เป็นบุคลากรทางด้านสาธารณสุขคอยนำ อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการเกร็งในการคิด เพราะ อสม. จะกลัวว่าสิ่งที่คิดหรือพูดนั้นจะไม่ถูกต้องตามกรอบทางสาธารณสุข ดั่งเช่นที่ พี่พันธ์ บอกว่า "การที่เจ้าหน้าที่คอยชี้นำให้คิดให้พูด อาจทำให้เราเกร็ง ไม่กล้าพูด กลัวพูดผิด" สำหรับข้อคิดที่อาจารย์หมอวิจารณ์มองเห็นท่านบอกว่าอยากให้เขา (อสม.) ได้เล่าเรื่องที่เป็นลักษณะการสนทนาแบบ "สุนทรียสนทนา" หมายถึงอะไร ...หมายถึงการพูดคุยแลกเปลี่ยนที่เป็นเชิงบวก ไม่ถก ไม่เถียง ไม่ใช่อภิปราย แต่เป็นลักษณะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่แต่ละคนนำเรื่องราวของตัวเองมาเล่าสู่กันฟัง และมีการซักถาม พร้อมทั้งกระตุ้นให้เกิดการบอกเล่าถึงประสบการณ์ที่คล้ายคลึงแลกเปลี่ยนกันได้...

       จากนั้นในช่วงพักกลางวันอาจารย์หมอวิจรณ์ได้ขอพูดคุยกับแกนนำของทีมแต่ละกลุ่ม เพื่อแลกเปลี่ยนซักซ้อมความเข้าใจในสิ่งที่อยากให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างแท้จริง พี่พันธ์เสนอว่า "ขอเป็นธรรมชาติ...ตามรูปแบบที่ทำไม่ต้องมีกรอบมาก" ส่วนลุงจรัญเสนอว่า "พอได้เล่าเรื่องตามที่หมอกำหนด จะทำให้เล่าไม่ได้และไม่มีอะไรจะพูด"...จากการมีการ ลปรร. กันในวงอาหารมื้อกลางวันนั้น คุณ"ชายขอบ" เลยขอสรุปฟันธงไปเลยว่า...ละลายกรอบ เดินเรื่องอย่างเป็นอิสระ..เปลี่ยนรูปแบบใหม่..แบบไม่มีรูปแบบ...

       สิ่งที่เรารู้สึกจากการเดินเรื่องที่เสมือนก้าวขาผิดข้างนั้น เราคนทำงานในทีมมองว่าไม่ใช่ความผิดพลาดที่เลวร้ายอะไร แต่กลับเป็นโอกาสให้เราเกิดกระบวนการเรียนรู้ เพิ่มขึ้นมาจากประสบการณ์จริง สถานการณ์จริง...จัดว่าเป็นสิ่งสำคัญที่มีค่ามากที่มีคนมาชี้สะท้อนให้เรามองเห็น"เรา"ในมุมที่แตกต่าง ไม่งั้นเรา..ก็อาจจะเดินลุยไปอย่างไม่รู้ตัว และกว่าจะรู้ตัวอีกครั้ง นั่นก็อาจจะใช้เวลานานมากเกินไปแล้วก็ได้..งานนี้ต้องกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์หมอวิจารณ์และเสียงสะท้อนของเหล่าพี่น้อง อสม. ที่ทำให้เราไหวตัวและปรับกระบวนท่าได้ทันท่วงที

 


 

หมายเลขบันทึก: 29602เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2006 15:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • จริงนะครับ บางทีเราชอบสร้างกรอบให้ชาวบ้าน ความจริงถ้าชาวบ้านดำเนินการเอง จะถาวรและยั่งยืน ลองดูกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ที่สงขลาสิครับ น้าอัมพรทำได้ประสบความสำเร็จดีมาก
  • ถ้าราชการไม่กำหนดกรอบให้จะดีมากเลยครับ
  • อย่าลืมเล่าให้ฟังอีกนะ สู้ตายครับ

เรามักพลั้งเผลอ...นำกรอบมาครอบตัวเอง...

หากเรารู้ตัว นิ่ง สติ...ในตน...

กรอบนั้นก็จะไม่เกิด...

ประสบการณ์มักสอนเรา..อย่างไม่รู้ตัว

สติเท่านั้น...ที่คอยกระตุ้นเตือนให้เราต้อง"หยุดคิด"...

คิดอย่างมีปัญญา...และก้าวเดินไป

ในทางที่..ควรเดิน

ถ้ากระทรวง กรม ไม่กำหนดนโยบาย (เป็นตารางเก็บข้อมูล โปรแกรม นั่นนี่ ที่ต้องใช้ไปเป็นตัวกำหนดว่า ใครจะได้งบประมาณเท่าไหร่) การทำงานของ เจ้าหน้าที่ อสม. ชาวบ้าน คงจะสุนทรีย์ มากขึ้นอีกเป็น หลาย ๆ กองครับ

กว่าจะได้งบมาทำอะไร บ้าง ชาวบ้านเขาก็ ไม่ว่างแล้วครับ นโยบายมันกำหนดลงมาถึงการปฏิบัต ต้อง 1234 ห้าม แวะ ห้ามแยก ห้ามมี ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท