ผู้นำสหกรณ์ขั้นสูง รุ่น 4


สรุปปฐมนิเทศ โดย ดร.โชคชัย สุทธาเวศ ผู้อำนวยการสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ในวันที่ 10 กันยายน 2552

  • หลักสูตรนี้เกิดมานานพอสมควร แต่เกิดจากการลองผิดลองถูก ตั้งแต่ปี 2546 มา เมื่อทำมากก็ได้รับทราบจากผู้รู้ แล้วทำจริงจังตั้งแต่ปี 2550 มา
  • ผมรู้จักอาจารย์จีระมา 20 กว่าปี ท่านโชคดีที่ได้เรียนรู้ในหลักสูตรผ่านการกลั่นกรองจากประสบการณ์อาจารย์จีระ
  • พัฒนาการเรียนรู้สหกรณ์ก้าวหน้าขึ้น ท่านจะได้รับความรู้และระบบการจัดการที่ก้าวหน้าขึ้น เอื้ออำนวยต่อความสำเร็จของท่าน
  • เมื่อเรามีหลักสูตรขั้นสูง ควรมีขั้นกลางและขั้นต้นด้วย
  • สิ่งที่ท่านได้เรียนรู้จากสหกรณ์เป็นขั้นต้นและกลาง
  • ถ้าเราคิดต่อไปอีก ต่อจากผู้นำขั้นสูง การเรียนรู้ต้องไม่หยุดนิ่ง ท่านมีโอกาสที่เป็นขั้นสูงกว่าที่เป็น เราจะทำหลักสูตรนี้ให้ได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษา ให้บางท่านอาจนำศึกษาต่อปริญญาโทได้
  • จากการคุยกับอาจารย์ยม และคุณเกรียงไกร ในอนาคตจะเชื่อมต่อหลักสูตรปริญญาโท ทางสันนิบาตสหกรณ์อาจจัดปริญญาโทการบริหารจัดการสหกรณ์ร่วมกับสถานศึกษา
  • สันนิบาตสหกรณ์มีพันธกิจคือ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสหกรณ์ หลักสูตรนี้ตอบสนองพันธกิจนี้
  • สหกรณ์ต้องพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงโดยเน้นที่ผู้นำ
  • ภาวะผู้นำต้องมาทั้งพรสวรรค์และพรแสวง
  • ความสำเร็จความเป็นผู้นำ ทำให้สหกรณ์สำเร็จ ชุมชนประสบความสำเร็จ ขยายขอบเขตสหกรณ์ทำให้สหกรณ์เป็นเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ ตรงตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  • การที่ท่านได้มีโอกาสรับคัดเลือกมาเรียน ควรภูมิใจ
  • การเรียนรู้ในช่วงต่อไปนี้ อาจถูกระตุ้นให้ตื่นตัว แสดงผลงานความเป็นผู้นำอย่างจริงจัง มีความคิดสร้างสรรค์
  • ตอนนี้มีชมรมสตรีพัฒนาสหกรณ์ไทยขึ้น ซึ่งเกิดจากผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรเหล่านี้
  • ชมรมสตรีพัฒนาสหกรณ์ไทยได้เปิดกว้างให้ผู้ชายเข้าไปร่วมการสร้างสรรค์พัฒนาขบวนการสหกรณ์
  • หลักสูตรนี้ แม้ไม่พูดบทบาทหญิงชายกับการเป็นผู้นำ อาจจะสอดแทรกจากวิทยากร หรือนำไปทำโครงการได้
  • การมีส่วนร่วมในโครงการมีความสำคัญ ต้องทำงานเป็นทีม เข้าเรียน ถามวิทยากร ต้องทำรุ่น 4 มีศักยภาพและพลัง
  • การศึกษาดูงานต่างประเทศ ปีนี้ไปไต้หวัน เพราะกลุ่มเกษตรกรเข้มแข็ง ในไทย กลุ่มเกษตรกรหลายกลุ่มไม่ยอมเป็นสหกรณ์ ควรทำให้เป็นสมาชิกหรือเครือข่ายสหกรณ์ ทำให้เข้มแข็งขึ้น
  • การศึกษาดูงานในประเทศ ปีนี้ไปภาคอีสาน
  • ในการดูงาน ต้องนำสิ่งที่เรียนรู้มาใช้จริงกับสหกรณ์ของท่าน
  • สุภาษิตจีน ม้าดีเลือกนายขี่ ท่านต้องพัฒนาตนไปสู่การเป็นนายที่ดี
  • วุฒิบัตรที่ได้จากหลักสูตรนำไปสมัครรับเลือกตั้งกรรมการสันนิบาตสหกรณ์ได้ หรือมาร่วมกิจกรรมในอนาคตได้
  • การเป็นผู้นำ ต้องมองอนาคตการเรียนรู้ในด้านอื่นๆ
  • หลักสูตรอื่นๆที่จะเสริม เช่น หลักสูตรหลังการเป็นผู้นำขั้นสูง เช่นท่านที่สำเร็จหลักสูตรมาพัฒนาต่อยอด
  • สันนิบาตสหกรณ์กำลังจะวัดผลท่านในด้านการเป็นสหกรณ์ดีเด่น มีนักสหกรณ์ดีๆเกิดขึ้น มีการแก้ไขปัญหาชุมชนหลังจากจบหลักสูตรแล้ว
  • ในอนาคต ผมได้เสนอคณะกรรมการคัดเลือกสหกรณ์ดีเด่น ให้เพิ่มการจ่ายค่าบำรุงสันนิบาตสหกรณ์และการส่งคนมาประชุมเป็นเกณฑ์ตัดสินด้วย

สรุปข้อเสนอแนะจากอาจารย์ยม นาคสุข ในวันที่ 10 กันยายน 2552

  • ผู้นำต้องสูงด้วยความคิด สติปัญญาและจิตใจ
  • จากหนังสือ Good to Great องค์กรที่ยืนยาวมักมีผู้นำที่มีอัตตาต่ำ ชีวิตเรียบง่าย ยกความสำเร็จให้ทีมงาน และกล้ารับผิดแทน
  • ตัวชี้วัดผู้นำในอนาคต (CEO)
  • Customer satisfaction สมาชิกพอใจ
  • Employee satisfaction พนักงานพอใจ
  • Organization result ผล
  • ผมพบผู้นำที่เปรียบเสมือนเพชรในหลายรุ่น ประทับใจความมีน้ำใจเอื้ออาทรต่อกัน
  • ขอให้ท่านประสบความสำเร็จดังใจที่ท่านมาในวันนี้

 

เกรียงไกร ขำอินทร์

สรุปกิจกรรม และการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่มที่นำเสนอ ศ.ดร.จีระ

ด้านกิจกรรม โฮมสเตย์ การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การพูด (ลูกน้องกับลูกพี่) การสร้างเครือข่าย (ATM)

ด้านการเรียนรู้ การสร้างสถานการณ์จำลอง การสาธิตและบรรยาย (50:50) การส่งออก

Workshop แต่ละกลุ่มเสนอกิจกรรมหรือวิธีการเรียนรู้ที่ดีกว่า รุ่น 1,2,3 และให้เหตุผลว่าเพราะอะไร

กลุ่ม 1 นำเสนอโดย ผู้แทนจากสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจแห่งชาติ

 

  • โฮมสเตย์ รู้ปัญหาแล้วเข้าไปคลุกคลี
  • ควรไปที่นาคู

 

  • ดี ควรไปเรียนรู้จากความจริงมากขึ้น
กลุ่ม 2 นำเสนอโดย ผู้แทนจากสหกรณ์ออมทรัพย์ครูลำพูน

 

  • เรียนแบบการสร้างสถานการณ์จำลอง ทำให้มีการแก้ไขปัญหาหลากหลายแสวงหาแนวทางป้องกัน วางระเบียบในแต่ละสหกรณ์ได้

 

  • เหมือนกัปตัน ทำ Simulation สถานการณ์เสมือนจริง ซึ่งดี รวมถึงกิจกรรมด้วย

รุ่น 4 ควรเชิญผู้กำกับหนังและนักดนตรีมาสอนบ้าง จะได้หลากหลาย

กลุ่ม 3 นำเสนอโดย ผู้แทนจากสำนักงานสหกรณ์จังหวัดสกลนคร

 

  • รัฐควรช่วยสนับสนุนกิจกรรมประชาสัมพันธ์สหกรณ์
  • ตอนนี้ ทำร่วมกับกระทรวงศึกษากำหนดหลักสูตรสหกรณ์ในระดับประถมศึกษา

 

ควรมีการติดตามประเมินผล

 

  • ควรสร้างเครือข่าย ชาวเกษตรมีประสบการณ์และมีเงิน ควรมาร่วมกันช่วยเหลือชุมชน
  • เมื่อวานนี้ ไปดูงานสหกรณ์ที่นิวซีแลนด์ มีตู้เอทีเอ็มสหกรณ์ทั่วประเทศ

 

  • ควรรวมตัวผู้นำสหกรณ์ทั้ง 4 รุ่น มีเป้าหมายชนะอุปสรรค มุ่งมั่นทำประโยชน์
กลุ่ม 5 นำเสนอโดย ผู้แทนจากชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย

เสริมกิจกรรมพัฒนาบุคลิกภาพความเป็นผู้นำ เชิญอาจารย์มาควบคุมดูแล

กลุ่ม 5 นำเสนอโดย ผู้แทนจากชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย

 

  • เสริมกิจกรรมพัฒนาบุคลิกภาพความเป็นผู้นำ เชิญอาจารย์มาควบคุมดูแล

 

  • เราอาจจะต้องเจอฝรั่ง พบแขกเมือง ก็ต้องรู้จักมารยาทสังคม
  • ผมจะหาผู้เชี่ยวชาญมาสอน

กลุ่ม 6

  • อยากมีความรู้ขั้นตอนการส่งออกผลผลิตทางการเกษตรไปต่างประเทศ

 

  • ต้องนำกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงการคลังขึ้นมาช่วย
กลุ่มสุดท้าย นำเสนอโดย ผู้แทนจากสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

  • อยากให้ประกวดสหกรณ์ดีเด่น นักสหกรณ์แห่งชาติ แล้วนำพวกนี้มาใช้ประโยชน์ นำมาเป็นพี่ที่ช่วยน้อง

กราบเรียนอาจารย์ที่เคารพ

ข้าพเจ้านางรัชนี บำรุง ผู้เรียนหลักสูตร ผู้นำสหกรณ์ขั้นสูง รุ่นที่ ๔ ประทับใจในบุคลิกที่มั่นใจ และคำพูดฟัง

ชัดเจน ฟังง่าย ทำให้เกิดความประทับใจ นำไปสู่การเป็นต้นแบบ

อ.ยม นาคสุข ฝากข้อคิดไว้

1.รุ่น 4 ควรกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ตัวชี้วัดความสำเร็จ (Kpi) และวัฒนธรรมองค์กรของรุ่น ที่สอดคล้องกับอุดมการณ์ หลักการสหกรณ์

ตัวอย่าง Kpi เช่น ความพึงพอใจของรุ่น ผลการดำเนินงานตามเป้าหมาย 100 % และการทำงานให้สาธารณชน /ชุมชน

วัฒนธรรมองค์กร เช่น การตรงต่อเวลา การทำงานเป็นทีม

ประธานรุ่นที่ได้รับการเลือกจากรุ่น 4 คือ พลตรี ดร.วีระ มีแนวคิดที่ต้องมี รองประธานรุ่นในแต่ละภาค (ใต้ อีสาน เหนือ)

มติของรุ่น ให้ใช้สีน้ำทะเล ลายสก็อต เป็นสีเสื้อเชิ้ตลำลอง ส่วนเสื้อนอกจะร่วมกันพิจารณาพร้อมนำเสนอเลขานุการรุ่น

สรุปสาระวิชา ผู้นำกับการพัฒนาระบบคิด ของ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ ช่วงเวลาแรก

ผู้นำ สำคัญกว่า ระบบการบริหาร (ผู้บริหาร) และ ผู้นำกับผู้บริหารต่างกัน

ผู้นำ สนใจองค์ประกอบต่างๆที่เกี่ยวกับภายนอก รวมถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบ การแก้ไขปัญหา /หาวิธี มีความยืดหยุ่น

คิดการณ์ไกล

ผู้บริหาร สนใจแต่ภายใน มองหาเสถียรภาพ คิดในกรอบ

ผู้บริหารโดยตำแหน่ง (ควบคุม และสั่งการได้) ขาดความเป็นผู้นำ

ผู้นำ (Leader) สภาวะผู้นำ หรือภาวะผู้นำ ((Leadership)

ผู้นำ (Leader) (ไม่มี) บุคคลที่แสดงศักยภาพในสถานการณ์ที่ได้แสดงออกบ่อยครั้ง (แสดงสภาวะผู้นำ หรือภาวะผู้นำ) สร้างได้ /พัฒนาได้ (ในจุดที่ควร - เร็วที่สุด)

สภาวะผู้นำ หรือภาวะผู้นำ ((Leadership)ไม่มีใครแสดงสภาวะผู้นำ หรือภาวะผู้นำตลอดเวลา โดยต้องมีสถานการณ์/ศักยภาพให้แสดงออก (ทุกคนมี /ทำได้)

สรุปการบรรยายเรื่อง ผู้นำกับการพัฒนาระบบความคิด โดย ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ในวันที่ 11 กันยายน 2552

 

  • ขบวนการสหกรณ์กับผมใกล้ชิดกันมานาน ตั้งแต่เป็นอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์รวมระยะเวลา 30 ปี
  • ผมเชื่อและศรัทธาในปรัชญาสหกรณ์มาตลอด
  • ผู้นำกับผู้บริหารแตกต่างกัน
  • องค์กรทั่วโลกจะขึ้นอยู่กับคุณภาพผู้นำ องค์กรธุรกิจที่แย่พอเปลี่ยนผู้นำที่เหมาะสม ทำให้องค์กรดีขึ้น
  • องค์กรประเภทอื่น เช่นผู้นำรัฐบาล พอไลบีเรียเปลี่ยนผู้บริหาร ทำให้สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปมาก
  • เติ้งเสี่ยวผิงบอกว่า แมวสีอะไรก็ได้ ขอให้จับหนูได้ หมายถึง ถ้าอยากให้เศรษฐกิจดี จะใช้ระบบอะไรก็ได้ ทำให้เศรษฐกิจยุคหลังจากนั้นดีขึ้น กลายเป็นโรงงานใหญ่ของโลก มหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก
  • พอเปลี่ยนผู้นำ ประสิทธิภาพการจัดการองค์กรแตกต่างกันไปในแต่ละยุค ทิศทางองค์กรเปลี่ยนไป
  • องค์กรประชาสังคม แม้จะเป็นองค์กรเล็กๆมีวาระจำกัด ต้องถูกขับเคลื่อนโดยวาระผู้ให้เงิน แต่บางองค์กรประชาสังคม ก็มีอิทธิพลเนื่องจากผู้นำ
  • ผมรู้จักยูนุสผู้ตั้งกรามีนแบ๊งค์มานานแล้ว ถ้าไม่ใช่เขาตั้งองค์กร อาจจะไม่ทำให้เกิดคอนเซ็ปทรงพลัง “เงินจำนวนน้อย ก็สามารถเปลี่ยนชีวิตคนได้”
  • ผู้นำสำคัญ
  • ประเทศไทยผงาดได้ มีความหมายในสายตาประชาชาติ จุดเด่นมากมาย
  • ผมไปคุยกับ 3 sector ของบราซิล ได้แก่รัฐบาล เอกชน และมหาวิทยาลัย ผมอธิบายศักยภาพระดับหลักคิดว่าประเทศไทยน่าจะมีประโยชน์กับเขา เขาก็ยินดีร่วมมือ
  • ไทยเทียบกับญี่ปุ่นได้ในช่วงรัชกาลที่ 5
  • สิงคโปร์ยุคหนึ่งจนกว่าไทย ไม่มีทรัพยากร แต่มีผู้นำดี ลีกวนยูบริหารจนสิงคโปร์รวยกว่าไทย 10 เท่า
  • สิงคโปร์ล่าสุดมีความสามารถในการแข่งขันอยู่ในอันดับ 3 ของโลก แต่ไทยมีความสามารถในการแข่งขันลดลง มีสาเหตุมาจากผู้นำ
  • ผู้นำทำสิ่งที่ถูกต้องส่วนผู้บริหารทำให้สำเร็จโดยไม่คำนึงถึงความถูกต้อง
  • ผู้บริหารสนใจเรื่องในองค์กร แต่ผู้นำสนใจภายนอกองค์กรด้วย
  • ขบวนการสหกรณ์ไทยมีอายุ 93 ปีแต่ยังไม่ทรงพลังเพราะสนใจแต่ภายใน แต่ภายนอกก็มีผลกระทบต่อสหกรณ์ ผู้นำสหกรณ์ต้องคำนึงถึงจุดนี้แล้ว
  • ผู้บริหารชอบเสถียรภาพ แต่บางกรณีก็ควรเปลี่ยนแปลงเพื่อไปสู่สิ่งที่ดีกว่า ผู้นำต้องยืดหยุ่นบ้าง
  • ผู้นำต้องมองการณ์ไกล
  • วงการสหกรณ์ต้องการทั้งผู้นำและผู้บริหาร ถ้ามีทั้งสองในคนเดียวก็ถือว่าบุญหล่นทับ
  • แต่ละยุคต้องการผู้นำคนละแบบ
  • งานวิจัยของศาสตราจารย์ไฮเฟท มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ไม่มีผู้นำในโลก แต่มีสภาวะผู้นำเพราะไม่มีใครแสดงสภาวะผู้นำตลอดเวลา แต่แสดงตามสถานการณ์
  • ผมเห็นว่า ต้องมีศักยภาพและสถานการณ์จึงแสดงภาวะผู้นำได้ แต่ต้องมีพอเหมาะสำหรับแต่ละคน
  • คนมีศักยภาพแสดงภาวะผู้นำได้ทุกคนแต่คนมีโอกาสไม่ใช่ว่าแสดงภาวะผู้นำได้ทุกคน
  • การแสดงสภาวะผู้นำไม่ได้บอกว่าคนนั้นมีสภาวะผู้นำมากหรือน้อย เพราะโอกาสไม่เอื้ออำนวยเสมอไป
  • ถ้าแสดงสภาวะผู้นำได้มาก ก็เรียกว่าเป็นผู้นำได้
  • ผู้นำพัฒนาได้ แต่บางคนพัฒนาง่ายกว่าคนอื่นๆ
  • องค์กรต้องพัฒนาบุคลากรในจุดที่พอจะพัฒนาได้
  • การคิดอะไรให้ลึกซึ้งร่นเวลาการลองผิดลองถูก ดังนั้นระบบคิดสำคัญต่อผู้นำ อย่าขยันแต่ไม่ฉลาด
  • บางคนเป็นผู้นำดีแต่เลือกผู้สืบทอดผิดทำให้เกิดปัญหา
  • ศาสตราจารย์ไฮเฟท บอกว่า ผู้นำต้องใช้ความพยายามมาก ต้องทุ่มเทแรงกายแรงใจมหาศาล จึงจะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ
  • ผมเห็นว่า ผู้นำต้องเป็นไม้โปรเท็คเตอร์ ไม่สูญเสียอุดมการณ์แต่ต้องปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์เพื่อไปถึงเป้าหมาย
  • ศาสตราจารย์ไฮเฟท บอกว่า ต้องมองภาพรวมเหมือนมองลงมาจากระเบียง
  • ผมเห็นว่า ผู้นำต้องทำเหมือนขึ้นเครื่องบินมองภาพรวม แต่ต้องมองภาพย่อยที่ประกอบกันออกด้วย
  • ศาสตราจารย์ไฮเฟท บอกว่า ผู้นำต้องระบุความท้าทายได้
  • ผู้นำต้องแยกสิ่งสำคัญกับสิ่งที่ไม่สำคัญออกจากกัน แข็งในจุดสำคัญ แต่ยืดหยุ่นในเรื่องเล็กๆ
  • ผู้นำควรมอบความรับผิดชอบให้ผู้ร่วมงาน แต่ผู้นำส่วนมากมักทำเอง สำเร็จแค่ได้ระยะสั้นเท่านั้น ทำให้เกิดปัญหา ทำให้ลืมเรื่องสำคัญเรื่องอื่นๆ ควรดูจุดแข็งและจุดอ่อนทีมงาน ทำอย่างไรให้คนอื่นช่วยทำงานได้สำเร็จ ผู้นำชอบนำคนฝีมือด้อยมาใช้ แต่ควรมีคนที่เก่งกว่าบางด้านมาช่วยบ้าง ผู้นำที่ดีต้องนำคนเก่งมาอยู่ล้อมรอบตัวได้
  • ผู้นำต้องบริหารแรงกดดันได้ การยอมตายเพื่อหลักการเป็นเรื่องดี แต่การรู้จักลดแรงกดดันในบางจุดจะดีกว่า
  • ผู้นำต้องจดจ่อกับเป้าหมาย ไม่วอกแวก
  • ผู้นำที่แท้จริงต้องปกป้องเสียงมหาชนที่มาจากข้างล่างเพราะผู้นำเล่นบทแทนคนที่เขาส่งเราขึ้นมาสู่ตำแหน่งสูง เสียงข้างล่างสำคัญเพราะสะท้อนสภาพความเป็นจริง ผู้นำต้องฟังและช่วยแก้ปัญหา รู้จักถ่วงดุล ไม่ใช่ตามใจทุกเรื่อง
  • คนที่อยากเป็นผู้นำ ต้องเห็นปัญหาและเห็นว่าตนมีศักยภาพและยินดีจะเข้าไปแก้ปัญหาด้วยความเสียสละต่อส่วนรวม
  • ต้องทำเงินเดือนราชการเท่าเทียมกับเอกชนเพราะจะทำให้ได้คนเก่งมาทำงานและจะได้อยู่ได้ด้วยการไม่โกง
  • ผู้นำสหกรณ์ที่ดีเสียสละมาก จึงต้องการคนดี ค่าใช้จ่ายต่างๆต้องสมจริง ทำให้สามารถคนเก่งสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องโกง
  • ต้องปรารถนาให้คนเป็นผู้นำไม่ใช่ผู้บริหาร
  • ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน แต่ต้องมาจากความเข้าใจที่แท้จริง
  • ผู้นำไม่ควรนำความคิดที่ยังไม่ตกผลึกมาทดลองในชีวิตจริงของประชาชน
  • ผู้นำต้องคิดกว้างและไกล เพราะไม่สามารถทำทุกอย่างได้โดยไม่จำกัด และต้องอธิบายความคิดได้
  • ผู้นำต้องคิดแบบองค์รวม มีวุฒิภาวะทางความคิด บางเรื่องต้องอาศัยประสบการณ์จึงจะเห็นภาพรวม
  • ผู้นำต้องคิดเชิงกลยุทธ์
  • ผู้นำต้องคิดเชิงบวก อย่าเห็นปัญหาแล้วท้อแท้ ต้องหาทางแก้ปัญหาได้
  • ผู้นำต้องทำให้คนอื่นได้ใช้ศักยภาพเต็มที่ และไม่กลัวลูกน้องเก่งกว่า ต้องใช้คนเป็น
  • ผู้นำที่ดีต้องทำให้คนอื่นอยากทำงานให้
  • ผู้นำต้องปรับตัวตามสถานการณ์
  • ผู้นำที่ดีมีบารมีแท้จริง มีอิทธิพลต่อความคิด ความรู้สึกและการยอมรับของคนอื่น
ผู้เข้าร่วมสัมมนา

ประทับใจเนื้อหาสาระ การเป็นผู้นำ ใช้ความคิด

จะนำไปปรับใช้ประโยชน์ ให้รักษาเป้าหมายอย่างเคร่งครัด ทำให้สำเร็จ

ขอขอบคุณอาจารย์เกรียงศักดิ์เป็นอย่างสูง และหวังว่าท่านจะเป็นที่ปรึกษาให้เราตลอดไป

อาจารย์เกรียงศักดิ์ บรรยายได้ชัดเจน มีตัวอย่างเปรียบเทียบ พร้อมยกตัวอย่าง ทำให้เข้าใจง่ายค่ะ

สรุปการบรรยายของ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ ช่วงที่สอง

ภาวะผู้นำเกิดจาก แรงบันดาลใจ 1 % หยาดเหงื่อแรงกาย 99 %

มีผู้นำ แบบไม้บรรทัด (ตรง) จะมีปัญหา /นำองค์กรให้ใกล้เป้าหมายได้ยาก

แบบไม้โปรเทคเตอร์ (ยืดหยุ่น) ดี /นำองค์กรใกล้เป้าหมาย

หลักบริหารแบบผู้นำ ของไฮเฟท

1.มองภาพรวม (รอบด้าน /มองอย่างนกอินทรี (จากบนลงล่าง)

2.ระบุปัญหาที่สำคัญและท้าทายได้ (ปัญหาหลัก /ที่แท้จริง)

3.ให้ความรับผิดชอบทีมงานไปทำงาน (รับผิดชอบร่วมกัน /ร่วมคิด ร่วมทำ นำเสนอ) หาคนเก่งมาทำงานร่วมกัน /มองเป้าหมายเป็นหลักสำคัญ

4.ควบคุม /บริหารความเครียด (บริหารอารมณ์ /คน ตามสถานการณ์ มีความยืดหยุ่น รู้จักระบายบางจุด)

5.รักษาเป้าหมายอย่างเคร่งครัด (มีวินัย ได้ทำอะไรให้มีการเปลี่ยนแปลง /ดีขึ้นในขณะที่อยู่ในตำแหน่ง)

6.เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น (โดยปกป้องเสียงจากข้างล่าง /ส่วนใหญ่)

ประธานรุ่น 4 คือ พลตรี ดร.วีระ มีแนวคิดที่ต้องมี รองประธานรุ่นในแต่ละภาค (ใต้ อีสาน เหนือ)

รองประธาน

ภาคเหนือ สมคิด ปัญญาแก้ว

ภาคกลาง/ตะวันออก คุณศุภาภรณ์ ถาปนศิริ

ภาคอีสาน คุณอวยพร มะโนรีย์ คุณก๊ก ดอนสำราญ

ภาคใต้ สุทิน กิ้มหิ้น

เลขานุการ คุณปาณิสรา ชาวจีน

ที่ปรึกษา ดร.สวัสดิ์ ดร.มนตรี ดร.ไพเลิศ

สีน้ำทะเล ลายสก็อต เป็นสีเสื้อเชิ้ตลำลอง ส่วนเสื้อนอกจะร่วมกันพิจารณาในคราวที่อบรมครั้งที่ 2 ที่สันนิบาตสหกรณ์ฯ

ก่อนอื่นต้องขอขอบพระคุณ ท่านอาจารย์ ดร.จีระ เป็นอย่างสูง เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2552 ผมเสนอเรื่องให้จัดทำเครือข่ายในที่ประชุม ไว้แล้ว วันที่ 11 กันยายน 2552 มีการเลือกตั้ง ประธาน ได้แก่ พล ตรี ดร.วีระ วงศ์สรรค์ จาก ชสอ.วันนี้การเรียนเรียบร้อยดี

วันที่ 12 กันยายน 2552 ผมได้มอบ พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2552 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. สหกรณ์ พ.ศ. 2542) ที่ผ่านสภาผู้แทนแล้ว โดยวุฒิสมาชิกจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน เพื่อประกอบความรู้ในฐานะผู้นำสหกรณ์ชั้นสูงรุ่นที่ 4 ขอขอบพระคุณครับ

นายวิทยา รักษาทิพย์

อาจารย์ครับ

วันน้ได้รับความรู้ดีมาก

สรุปการบรรยายเรื่อง การประยุกต์ใช้แนวคิดหลักปรัชญาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับงานสหกรณ์ โดย ดร.ธันวา จิตต์สงวน

  • ผู้นำสหกรณ์ขั้นสูงต้องรู้จักแลกเปลี่ยนความรู้
  • ควรสอนเด็กให้รู้จักความพอเพียง อย่าห้ามเด็กเปิดคอมพิวเตอร์ แต่แนะนำให้เหมาะสมว่าควรดูอะไร เวลาใด
  • สหกรณ์เข้ากับเศรษฐกิจพอเพียงแต่ไม่ค่อยโปรโมทตัวเองภายใต้ร่มเงาเศรษฐกิจพอเพียง
  • สหกรณ์ควรสมัครประกวดโครงการเศรษฐกิจพอเพียง
  • สหกรณ์เป็นความพอเพียงและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (เศรษฐกิจเชิงวัฒนธรรม เช่น นำเทคโนโลยีปรับปรุงลายผ้าทอ ควบคุมคุณภาพการผลิตและขอพระราชทานตรา นกยูงเป็นแบรนด์)
  • สหกรณ์ควรมีนโยบายและโครงการสนับสนุนเศรษฐกิจสร้างสรรค์
  • ควรดูแลโลกนี้เพื่ออนาคต
  • ความยั่งยืน ต้องกระจายและเติบโต
  • ควรเลี้ยงลูกให้มีภูมิต้านทาน ซึ่งถือเป็นหลักความพอเพียง
  • ปัญหาคือ คนขาดความรู้เรื่องสหกรณ์จึงไม่สนใจสหกรณ์ ควรอธิบายให้เขาเข้าใจ นี่คือหลักเศรษฐกิจพอเพียง ความมีเหตุผล
  • อย่าลอกทฤษฎีฝรั่งมาโดยไม่ดูความเหมาะสม
  • ควรอ่านหนังสือหลายๆด้าน
  • ต้องฝึกหายใจให้ยาว แบบฝึกสมาธิ หรือออกกำลังกาย
  • ควรทำตัวติดดิน ปลูกต้นไม้เป็น
  • ไม่ควรอิจฉาริษยา
  • มาตรา 83 กล่าวว่า ประเทศไทยต้องดำเนินนโยบายตามเศรษฐกิจพอเพียง
  • อย่าทำอะไรฟุ้งเฟ้อ ควรทำให้ตรงตามศักยภาพของไทย คือ วัฒนธรรมไทย ทรัพยากรธรรมชาติ
  • ประเทศไทยควรจดสิทธิบัตรสินค้าไทย ทำแบรนด์ แล้วส่งออกต่างประเทศ
  • ควรนำวัชพืชมาทำยา เช่นนำแห้วหมูมาทำยารักษามะเร็งกระเพาะ
  • พ่อแม่ต้องส่งเสริมลูกให้ดีกว่าตน
  • วิสัยทัศน์ประเทศไทย “จะเป็นสังคมที่อยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน”
  • ทุกท่านเป็นผู้นำความคิดเศรษฐกิจพอเพียง
  • เศรษฐกิจพอเพียงมีมาตั้งแต่หลัง 14 ตุลาคม 2516
  • เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่แค่เรื่องเศรษฐกิจเท่านั้น แต่หมายถึงว่าชีวิตของเราทุกคนต้องพอเพียง
  • พอเพียง คือ รู้จักพอประมาณทำตนเหมาะสมตามอัตภาพ ไม่ใช่ขี้เหนียว
  • ความพอเพียง รวมถึงการมีภูมิคุ้มกันเช่นเพื่อนด้วย จะได้ช่วยเหลือกัน
  • สหกรณ์ต้องทำธุรกิจให้เหมาะกับภูมิสังคม
  • สหกรณ์ต้องเชื่อมโยงกับสหกรณ์อื่นๆเป็นเครือข่าย
  • การเป็นเศรษฐกิจพอเพียงต้องศรัทธา เรียนรู้ ปฏิบัติ ทำให้เป็นวิถีชีวิต
  • สหกรณ์ควรทำตัวให้เป็นแบบอย่างด้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยสอนให้จำ ทำให้ดู อยู่ให้เห็น

 

เคยฟังอาจารย์บรรยายให้ชุมนุมสหกรณ์ร้านค้าฟังที่โรงแรมมิราเคิล ประทับใจมาตั้งแต่นั้น ดีใจที่ได้เป็นลูกศิษย์อาจารย์ครั้งนี้ค่ะ

ทำงาน ธ.ก.ส. มีหน้าที่ให้สินเชื่อแก่สหกรณ์นอกภาคการเกษตร ตามที่ ธ.ก.ส.ได้แก้ไข พ.ร.บ.พ.ศ. 2549

ประทับใจกับการนำเสนอโครงการอบรมด้วยคำพูดที่ตรงไปตรงมา ไม่ให้ผู้เข้ารับการอบรมเพ้อฝันว่าจะต้องผ่านหมดทุกคน ทำให้ผู้นำทั้งหลายต้องตระหนักถึงภาระกิจที่จะต้องทำต่อไปตลอด 4 เดือนนี้ถ้าอยากที่จะประสบความสำเร็จตามที่ตั้งใจไว้

ทนงศักดิ์ กุลชูศักดิ์

ขอแสดงความยินดีและขอต้อนรับสู่สถาบัน ฯ แด่ ผนส. ๔ ทุกท่าน เมื่อวานนี้..กับบรรยากาศการต้อนรับ (รุ่นน้อง)ที่เรียบง่ายและเป็นกันเองแต่..สวยงาม ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ขอให้ทุกท่านประสบความสำเร็จและมีความสุขในการอบรม ในนามของ ผนส.๓ ขอให้กำลังใจ และขอมอบดอกไม้ให้..คุณ

อาจารย์ครับ รุ่นที่ 4 ได้เพิ่มตำแหน่งประชาสัมพันธ์ของรุ่น โดย ผมนายประดิษฐ หัสดี รับหน้าที่ ๙งขอสัญญาว่าจะทำหน้ที่นี้ให้ดีที่สุดครับ ในขณะเดียวกันจะส่งด้านวิชาการและกฎหมายที่เกี่ยวข้องเข้าไปด้วย

วิชาบ่าย การขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงฯ อาจารย์ผู้สอนได้บรรยายโดยใส่มุขให้ผู้เรียนเกิดการตื่นตัว ไม่มีการเบื่อหน่าย

พร้อมการยกการประกอบการเรียนทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น และลึกขึ้นเกี่ยวกับคำว่า"พอเพียง" ประทับใจมาก ต้องอย่างนี้ คือผู้บรรยาย

ฝากผ่านอาจารย์จีระ

รุ่น 4 ของเรามีสหกรณ์ประมงด้วย นานๆทีเราจะมีสหกรณ์ประมงมาร่วมพบปะเพื่อนสหกรณ์ อยากให้คุณปาณิสราขยายความผลการดำเนินการสหกรณ์ประมง เรื่องผลกำไรส่วนใหญ่เกิดจากอะไร ประโยชน์สมาชิกได้รับเป็นอย่างไร ขยายผลด้วยนะครับ

[email protected]

อดิศักดิ์ วชิระสัมพันธ์(นก)

ถึง น้อง ผนส.4ทุกท่าน

ยินดีต้อนรับผผนส.4 สู่สถาบันพิทยาลงกรณ์ ครับ.........

งานต้อนรับน้อง ที่พัทยา ผมหวังว่าน้อง ผนส.4 ทุกท่านคงจะได้รับความสะดวกดีนะครับ

และการเรียนที่จะสร้างพลังในกลุ่ม ผนส. ของเรา เพื่อผลิตบุคคลกร ที่ทรงคุณค่าต่อสังคมและประเทศชาติในอนาคต กำลังเริ่มขึ้นอีกแล้วครับ ขอให้กำลังใจให้ทุกท่านครับ และเราจะคอยให้ความร่วมมือรวมทั้งดำเนินกิจกรรมร่วมกันในทุกรุ่นของ ผนส.เราครับ

ขอให้เรียนแบบมีความสุข และเก็บภาพความทรงจำในการเรียนนี้ไว้ครับ "อดีตไม่อาจหวนคืน" เป็นสัจธรรมครับ ขอมอบดอกไม้ให้ทุกท่านครับ แล้วเจอกันนะครับ

ขอบคุณมาก

พี่นก ปากช่อง ผนส.3 E-MAIL([email protected])

สรุปการบรรยายเรื่อง สหกรณ์:ทฤษฎีและการปฏิบัติ โดย ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร ในวันที่ 12 กันยายน 2552

  • สหกรณ์เกิดจากการที่คนงานถูกเอาเปรียบ สหกรณ์จึงเป็นทางแก้ปัญหาให้พวกเขา
  • โรเบิร์ต โอเวน เป็นผู้จัดการโรงงานทอผ้า คิดวิธีการสหกรณ์ (รูปแบบคล้ายสหกรณ์นิคม) เขียนเอกสาร The Crisis คนเห็นด้วยแล้วเชื่อมั่น ความคิดนี้จึงแพร่หลาย เขาคิดบัตรแรงงานระบุชั่วโมงการทำงาน มีการตั้งสมาคมคล้ายบัตรแรงงานแล้วเลิกไปเพราะบางคนเอาเปรียบคนอื่น
  • ต่อมารอชเดลตั้งสหกรณ์สำเร็จเป็นแห่งแรกของโลกเน้นขายของจำเป็น
  • รอชเดลเป็นต้นแบบหลักการสหกรณ์สากล ขายเงินสด ราคายุติธรรม สินค้าไม่ปลอมปน ส่งเสริมการศึกษา
  • ต่อมาแตกออกมาเป็นสหกรณ์ขายส่ง CWS แล้วปรับตัวมาขาย logistics ในภายหลัง
  • ต่อมามีสหกรณ์ประกันภัย
  • สหกรณ์รอชเดลส่งเสริมการศึกษาที่เน้นการแลกเปลี่ยนความรู้กัน มีเปิดห้องสมุดให้อ่านหนังสือ
  • หลังยุครอชเดล เกิดสหกรณ์มากมายในยุโรป
  • ไรไฟเซลตั้งสหกรณ์เครดิตทำกับชนบทแล้วพัฒนาเป็นสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน มีเครือข่ายไรไฟเซล
  • ต่อมาเกิดสหกรณ์นมเนยในเยอรมนี
  • บาทหลวงบอนแนงเป็นบิดาสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนไทย ก่อตั้งศูนย์กลางเทวา
    • วิธีการสหกรณ์ คือ นำหลักสหกรณ์มาประยุกต์ใช้ดำเนินกิจกรรมเศรษฐกิจและสังคมเพื่อประโยชน์ของ

มวลสมาชิกและชุมชนโดยไม่ละเลยหลักการธุรกิจที่ดี

  • มีคุณธรรม 5 ประการ ซื่อสัตย์ เสียสละ รับผิดชอบ เห็นอกเห็นใจ ไว้ใจ
  • มีจิตตารมย์คือ สนใจ ห่วงใย แบ่งปัน รับใช้ (เครดิตยูเนี่ยนนำไปใช้)
  • อุดมการณ์สหกรณ์ มีความเชื่อร่วมกันช่วยตนเอง ช่วยเหลือกันและกันตามหลักสหกรณ์
  • คุณค่าสหกรณ์ คือ
  • พึ่งพาตนเอง
  • รับผิดชอบตนเอง
  • ประชาธิปไตย
  • ความเที่ยงธรรม
  • ความสามัคคี
  • ความซื่อสัตย์สุจริต
  • เปิดเผย
  • รับผิดชอบต่อสังคม
  • เอื้ออาทรต่อผู้อื่น
    • หลักการสหกรณ์สากล
    • เปิดรับสมาชิกทั่วไปและด้วยความสมัครใจ
    • ควบคุมโดยสมาชิกตามหลักประชาธิปไตย
    • มีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจโดยสมาชิก
    • ปกครองตนเองและเป็นอิสระ
    • ศึกษา ฝึกอบรม ข่าวสาร
    • ร่วมมือระหว่างสหกรณ์
    • เอื้ออาทรต่อชุมชน
    • สหกรณ์ต้องทำเพื่อสังคม เมื่อทั้งหมดดีขึ้น สหกรณ์ก็จะดีขึ้น
    • จุดมุ่งหมายสหกรณ์
    • องค์การสหกรณ์จะเน้นทางเศรษฐกิจและสังคมด้วย แต่ต้องเลี้ยงตนเองได้
    • กำไรสหกรณ์ต้องอยู่บนดุลยภาพ ไม่เอาเปรียบ
    • ให้ความรู้การศึกษา
    • จัดสวัสดิการดีๆ
    • ทำให้สมาชิกมีคุณภาพชีวิตที่ดี
    • บิดาสหกรณ์ไทยคือ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ตั้งสหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้ (เป็นสหกรณ์เครดิต)
    • 26 กุมภาพันธ์เป็นวันสหกรณ์ไทยคือวันก่อตั้งสหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้
    • สัญลักษณ์ขบวนการสหกรณ์ไทยคือเกลียวเชือกสามัคคีกัน สายรุ้ง
    • วันสหกรณ์สากลคือ เสาร์แรกของเดือนกรกฎาคมของทุกปี
      • ธงสายรุ้งคือธงสหกรณ์เพราะสหกรณ์เกิดจากการที่แรงงานถูกเอาเปรียบ สหกรณ์เปรียบเหมือนรุ่งอรุณที่ทำให้ชีวิตดีขึ้นจึงใช้สายรุ้งแทน
      • สัญลักษณ์ขบวนการสหกรณ์สากลคือสนคู่ (Twin Pines) สวัสดิการสหกรณ์ผูกพันกับทั้งชีวิตของคนดังนั้นสหกรณ์จะเป็นนิจนิรันดร์จึงใช้วงกลมแทน
      • สัญลักษณ์ ICA คือนกพิราบ แทนสันติวิธีของสหกรณ์และมีอิสระทางเศรษฐกิจ
        • สันนิบาตสหกรณ์เกิดจากพระราชบัญญัติสหกรณ์พ.ศ. 2511
          • คนสหกรณ์ประกอบด้วย 3 พวก คือสมาชิก คณะกรรมการดำเนินการ และฝ่ายจัดการ(คนทำ)

 วิถีสหกรณ์

  • ช่วยเหลือตน
  • ช่วยเหลือกัน
  • แก้เศรษฐกิจ
  • แก้สังคม
  • คุณค่าสหกรณ์

กรอบธุรกรรมสหกรณ์

  • ส่งเสริมการออม
  • ส่งเสริมการผลิต สัมมาชีพ และแก้เศรษฐกิจ
  • ให้สินเชื่อแก่สมาชิกตามความจำเป็น
  • จัดสวัสดิการให้เหมาะสม
  • ธุรกรรมคุณภาพชีวิต 
  • กิจกรรมเพื่อสังคม
  • แนวปฏิบัติของสหกรณ์
  • สร้างอาชีพ
  • ส่งเสริมการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง เช่น กะบะต้นหอม นำหัวหอมไปปลูกเป็นต้นหอม
  • สร้างภูมิคุ้มกันที่ดี สร้างสังคมคนดี เช่นโครงการข้าวคุณธรรม โครงการเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิต
    • สร้างความเข้มแข็งเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมแก่สมาชิก
    • ส่งเสริมการออมนำสินเชื่อ ทำให้เกิดความมั่นคงขึ้น
  • คลินิกให้คำปรึกษาแก้ปัญหาหนี้
  • สินเชื่อเพื่อส่งเสริมอาชีพ
  • ผลิต จำหน่ายให้บริการด้วยความเที่ยงธรรม
  • เกษตรวิถีธรรมชาติ ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก
  • วิเคราะห์รายได้รายจ่าย
  • วิเคราะห์พฤติกรรมการใช้จ่าย
  • วางแผนการใช้จ่าย
  • ตั้งปณิธานการออม

การประกอบธุรกิจสหกรณ์อยู่บน fair trade และเศรษฐกิจพอเพียง

 

ขอถามเกี่ยวกับจำกัดสินใช้และไม่จำกัดสินใช้

 

ปัจจุบันมีเฉพาะ จำกัดสินใช้ คือจำกัดจำนวนสมาชิกที่ต้องรับผิด

 

ควรคลินิกให้คำปรึกษาสหกรณ์ในเรื่องอื่นๆที่นอกเหนือจากเรื่องหนี้

 

ควรให้คำปรึกษาที่ดี

 

  • บางเรื่องก็ดีมากน่าจะนำไปใช้ แต่สหกรณ์การเกษตรมีข้อจำกัดมาก
  • อยากให้สันนิบาตสหกรณ์ทำให้สหกรณ์การเกษตรได้รับรู้วิธีต่างๆด้วย

 

  • คนเป็นสมาชิกสหกรณ์เพื่อกู้ เช่นที่สหกรณ์ออมทรัพย์
  • คนมักเข้าใจสหกรณ์เมื่อตนเป็นสมาชิก
  • ควรให้เด็กได้เรียนเกี่ยวกับสหกรณ์ โดยบรรจุไว้ในหลักสูตรกระทรวงศึกษา

 

  • ต้องให้ความรู้แก่สมาชิก
  • ควรนำโปสเตอร์และซีดีให้ความรู้เกี่ยวกับสหกรณ์ไปแจกที่โรงเรียน

ขอให้เพิ่มหัวข้อ วิชา คุณธรรมของผู้นำสหกรณ์ที่ต้องนำไปปฏฺบัติจริง ในหลักสูตรต่อไป

การบ้านของ ศ.ดร.จีระ

ให้ทุกคนซื้อหนังสือ HR พันธ์แท้ (ทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้) อ่าน แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ ว่าได้อะไรบ้าง

ภายใน 3 วัน ให้เข้าบล็อค ส่งรายงาน (เศรษฐศาสตร์จุลภาค) จำนวน 5 เรื่อง ที่มีความสำคัญต่อสหกรณ์

ทุกเช้า ให้คิดว่า 3 วัน (10 - 12 กันยายน) ที่ผ่านไปท่านได้อะไรบ้าง

สรุปการบรรยายเรื่อง หลักเศรษฐศาสตร์จุลภาคเบื้องต้นและเศรษฐศาสตร์การจัดการเพื่อการทำงานของสหกรณ์ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • เศรษฐศาสตร์จุลภาคเกี่ยวข้องกับตัวเราและองค์กร 
  • เศรษฐศาสตร์ทำให้คิดเป็นระบบ
  • เศรษฐศาสตร์บอกว่า อะไรที่ทำซ้ำๆจะทำให้ผลประกอบการแย่ลง (Law of Diminishing Return)
  • เศรษฐศาสตร์บอกว่า ทุกอย่างมีข้อจำกัด (Limit) แต่สหกรณ์มีมากเกินไปและสร้างมันโดยไม่จำเป็น
  • โลกเรามีเงื่อนไขอยู่แล้วที่ต้องระมัดระวัง เช่น เรามีที่ดินใส่ปุ๋ยปลูกพืช ดินมีขีดจำกัดในการปลูกพืชทำให้สภาพดินแย่ลง
  • Rent คือสิ่งที่มีมูลค่าแท้จริงกับสิ่งที่สามารถเพิ่มมูลค่าได้ คือความล้มเหลวของประเทศด้อยพัฒนา เพราะต้นทุนน้อยแต่ประมูลมากแล้วที่เหลือแบ่งกันกับพวก
  • เศรษฐศาสตร์มีหลักคิดของตนเอง
  • โลกเรามีความขาดแคลนทุกเรื่อง แต่ความต้องการของมนุษย์ไม่มีสิ้นสุด ต้องจัดสรรทรัพยากรให้มีประโยชน์สูงสุดต่อสังคม แต่ธุรกิจกับสหกรณ์ก็นำไปใช้ได้
  • หลักเศรษฐศาสตร์ทำให้เรารู้จักการจัดสรรทรัพยากร ถ้า cost = benefit ถือว่ามีความสมดุล
  • หลักเศรษฐศาสตร์บอกว่า ปล่อยให้ตลาด (เงื่อนไขทางเศรษฐศาสตร์) ตัดสินแล้วเขาจะทำ
  • หลักเศรษฐศาสตร์บอกว่า การนำปัจจัยทางการเมือง (ความเป็นมนุษย์) เข้ามาช่วยตัดสินแล้วเขาจะทำ
  • ที่สหกรณ์มีขีดจำกัดเพิ่มเติมคือ การเมือง กฎระเบียบ ความไม่โปร่งใส
  • เศรษฐศาสตร์มีข้อสมมุติฐานมาก เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยวิเคราะห์
  • ต้องเข้าใจตลาด
  • ตลาดเสรีมีทั้งผู้ซื้อและผู้ขายมาก จึงไม่มีคนกำหนดราคา ราคาขึ้นกับผู้ผลิตและผู้บริโภค
  • การเกษตรควรหันมาดูสินค้าที่มีผู้ขายน้อย
  • การส่งออกทำให้ Demand เพิ่มขึ้นและทำให้ราคาเพิ่มขึ้นด้วย
  • สหกรณ์ควรทำวิจัยและพัฒนาการเก็บสินค้าให้คงทน
  • รุ่น 4 ควรไปดูงานด้านวิจัยและพัฒนาการที่นิวซีแลนด์และออสเตรเลีย
  • มหาวิทยาลัยด้านเกษตรของไทยควรผลิตงานวิจัยออกมา
  • สหกรณ์ควรยึดเวทีด้าน Logistics และการขนส่งมากขึ้น
  • ต้นทุนในการทำตลาด เกษตรกรยังเสียเปรียบด้านข้อมูลข่าวสาร
  • ควรไปดูงานตลาดล่วงหน้าและไอที
  • จุดอ่อนด้านเศรษฐศาสตร์มีมาก
  • ถ้าผลตอบแทนน้อยกว่าต้นทุนนั่นคือความล้มเหลวระยะยาว
  • เศรษฐศาสตร์ไม่ได้คิดกำไรแค่เป็นตัวเงินเท่านั้น
  • ตลาดอาจไม่ทำงานก็ได้ เพราะข้อมูลข่าวสารผู้ซื้อและผู้ขายไม่เจอกัน
  • ต้นทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือค่าเสียโอกาส ถ้ามันคุ้มก็ไม่เป็นไร
  • เศรษฐศาสตร์ไม่มีของฟรี
  • เราจะได้อะไร มันก็มีขีดจำกัด
  • ถ้าก้าวไปวงการธุรกิจ ต้องระมัดระวัง อย่าให้มีปัญหาขัดแย้ง
  • ต้องมีความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
  • ควรไปดูงานวิธีการผลิตและการสร้างทรัพยากรมนุษย์ภาคเกษตร

 

Workshop เรียนเศรษฐศาสตร์จุลภาคเพราะอะไร

ยกตัวอย่างเศรษฐศาสตร์จุลภาคที่กระทบต่อสหกรณ์ มีอะไรบ้าง

กลุ่ม 1 เสนอโดยผู้แทนสหกรณ์จากจังหวัดสงขลา
  • ความเป็นเจ้าของ
  • สหกรณ์ออมทรัพย์ จุดคุ้มทุนมองไม่ชัดเท่าเกษตร ในด้านความรู้และประสบการณ์
  • หากสหกรณ์ใดยังไม่มีจุดคุ้มทุน ก็ยังไม่มีความเป็นเจ้าของ ถ้ามีกำไร ก็จะมีการเป็นเจ้าของ

 

  • ควรวิจัยสหกรณ์ออมทรัพย์ทั่วประเทศ
  • ต้องรู้ Transaction Cost ข้อมูลข่าวสารไม่ชัด การเจรจาต่อรองไม่ชัดเจน ต้องรู้จักแบ่งปันกัน
  • นี่คือความสำเร็จของวันนี้

                                  

  • การพัฒนาการลดต้นทุน
  • ถ้าทำสวน ในจันทบุรีวิเคราะห์ดินเพื่อลดต้นทุนการผลิต
  • เราพัฒนาการผลิตมังคุด ต้นทุนลด ราคาขายมากขึ้น

 

 

  • ประสิทธิภาพการผลิตการเกษตรของไทยยังไม่ดีเมื่อเทียบกับประเทศอื่น
  • ควรพัฒนาชาวสวนชาวไร่อย่างแท้จริง
  • ภาคเกษตรไทยมีการจ้างงาน 45% แต่ GDP เท่ากับ 7% ของประเทศ

 

 

  • ต้นทุนต่ำ แต่คุณภาพสูง
  • เรียนเศรษฐศาสตร์จุลภาคจะได้นำไปเพิ่มมูลค่าและจัดสรรบุคลากร
  • ลงไปให้ความรู้คนเดียว แต่คุณภาพสูงขึ้น ต้นทุนต่ำลง

• ดีที่ใช้เศรษฐศาสตร์ไปบริหารจัดการ นี่คือความสำเร็จ

• ควรบริหารลูกน้องให้ดี ให้รางวัลคนดี อย่าเล่นพวก

 

  • ขณะนี้ ผมได้รู้เศรษฐศาสตร์นิดหน่อย สหกรณ์เป็นเศรษฐกิจพอเพียงในตัวอยู่แล้ว
  • การรวบรวมผลผลิตยางแต่สมาชิกไม่สนใจคืนหนี้ ตอนนี้ ยางลดมาก ต้นทุนการผลิตสูงมาก ราคาลดลง ระยะเวลาให้ผล 10 ปี สหกรณ์เรามีข้อมูลไม่มากที่จะรู้เรื่องนั้น

 

  • เศรษฐศาสตร์มีข้อเสียคือเน้นประโยชน์ระยะสั้น
  • ถ้าเราจะอยู่รอดต้องมีความยั่งยืน ใช้เศรษฐกิจพอเพียง
  • ควรสนใจทุนทางจริยธรรมด้วย และปรับพฤติกรรม

 

  • ผมเห็นด้วย คือปัญหาสหกรณ์การเกษตร เรามีปัญหาการกำหนดราคา เกษตรกร ไม่สามารถกำหนดราคาขายผลผลิตได้

 

 

  • ควรให้ต้นทุนการผลิตต่ำไว้
  • เกษตรกรควรมีประสิทธิภาพในการผลิต เราคุม Supply ได้ ซึ่งขึ้นกับประสิทธิภาพ แต่ Supply ต้องมีนวัตกรรม ใช้เทคโนโลยี และพัฒนาคุณภาพเกษตรกร

 

  • Free Competition เราสร้าง choice ให้เกิดความเป็นธรรมแก่สมาชิก พัฒนาทุนทางจริยธรรมและความยั่งยืน

 

  • ควรพัฒนาการผลิตภาคเกษตรมากขึ้น
  • เกษตรกรควรเป็นพันธมิตรกับข้าราชการ
  • ควรนำรุ่น 4 ไปดูแลทุนมนุษย์ภาคเกษตร

 

 

 

 

  • เรื่องการบริหารจัดการของภาคเกษตรยังอ่อนแต่เมื่อมาพบสภาพแข่งขันทำให้มีปัญหา

 

ต้นทุนการผลิตต้องเน้นทุนมนุษย์ พัฒนาการจัดการของเกษตรกร

 

  • ต้นทุนข่าวสาร

ต้นทุนทางการเจรจาต่อรองและปฏิบัติตามสัญญา

 

  • ควรฝึกเกษตรกรเรื่องการเจรจาต่อรอง
  • ควรนำตัวอย่างที่เสนอเขียนเป็นกรณีศึกษา
  • สหกรณ์การเกษตรต้องมีนักกฎหมายและนักเจรจาต่อรองที่เก่ง

การบ้าน สรุปเรื่องที่อ่าน (เศรษฐศาสตร์จุลภาค) มีประโยชน์อย่างไร เขียนมาคนละ 5 เรื่องเกี่ยวข้องอะไรกับสหกรณ์

ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งกับท่านอาจารย์ ดร. จีระ ที่ว่าการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) เป็นสิ่งที่สำคัญและมีประโยชน์มากในการพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ด้อยโอกาสทางสังคม เช่น เกษตรกร (รวมผู้ใช้แรงงาน และบุคคลในชนบทที่ห่างไกลความเจริญทั้งหลาย) ผมเห็นว่าในประเทศไทยมีการวิจัยและพัฒนากันน้อยมากในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิจัยเพื่อสร้างทุนมนุษย์และทุนทางสังคมซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการยกระดับความเป็นอยู่ของประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ดังนั้น หากโครงการศึกษาดูงานในต่างประเทศของหลักสูตร ผนส. รุ่น 4 จะได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานด้านการวิจัยและพัฒนาที่ประเทศออสเตรเลียและประเทศนิวซีแลนด์ก็จะดีมาก โดยค่าใช้จ่ายส่วนที่เพิ่มขึ้น คิดว่าพวกเราชาว ผนส. รุ่น 4 น่าจะยินดีจ่ายเพิ่มนะครับ

เรียน ผนส.รุ่น 1 – 4 เพื่อทราบ

กรมตรวจสอบบัญชีสหกรณ์ (กตส.) ร่วมกับ สันนิบาตสหกรณ์ฯ ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์ฯ

กำหนดจัดการสัมมนาสหกรณ์นอกภาคการเกษตรที่ใช้บริการผู้สอบบัญชีเอกชน

ในวันที่ 30 ตุลาคม 2552 ณ โรงแรมรามาการ์เด็น กรุงเทพฯ กลุ่มเป้าหมาย รวม 500 คน

มีของที่ระลึกมอบให้ผู้ร่วมงาน การตอบปัญหา การแสดงนิทรรศการ

เรียน ศ.ดร.จีระ

ตามที่ท่านอาจารย์ได้ให้การบ้านแก่ผู้เข้ารับการอบรม ผสน. 4 นั้น ด้วยกระผมต้องเข้าร่วมประชุมสัมมนาของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ที่โรงแรมรามาการ์เด้นท์ ในวันที่ 15 - 16 กันยายน 2552 จึงขออนุญาตท่านอาจารย์ส่งการบ้านล่าช้าสักหน่อย ขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้

บุญเลิศ ใจดี

ผนส.4

อาจารย์ค่ะ ขอe-mail ด้วยค่ะ

ข้าพเจ้า นางรัชนี บำรุง ขอส่งรายงานวิชา หลักเศรษฐศาสตร์จุลภาคเบื้องต้น 5 เรื่อง พร้อมกับการยกตัวอย่าง ของอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

1. ความขาดแคลนและความต้องการที่ไม่มีสิ้นสุด

ความต้องการของมนุษย์ แบ่งออก 5 ขั้น

1. ความต้องการทางร่างกาย

2. ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย

3. ความต้องการทางสังคม

4. ความต้องการความนับถือ

5. ความต้องการแสดงออกของตัวตน

ตัวอย่าง

มนุษย์ดำรงชีวิตได้ด้วยปัจจัย 4 แต่งยังต้องการได้รับสิ่งของที่เป็นวัตถุและไม่เป็นวัตถุ เพื่อสนองต่อความต้องด้านอื่นๆ แต่ความต้องการต่างๆ นี้ สังคมไม่สามารถสนองตอบได้ทั้งหมดเนื่องจากทรัพยากรที่มีอยู่ จำนวนจำกัด ทำให้การผลิตมีจำนวนจำกัดไปด้วย ปัญหาการที่ไม่สามารถใช้ทรัยพยากรที่มีอยู่ตอบสนองความต้องการของทุกคนในสังคมได้ ทางเศรษฐศาสตร์ เรียกว่า ความขาดแคลน

2. Cost ที่มองไม่เห็น

คือ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ใช้ในการผลิต ผลผลิตในจำนวนที่ต้องการ ต้นทุนแบ่งได้หลายลักษณะ

1. ต้นทุนที่เห็นชัด หมายถึง ต้นทุนที่จ่ายเป็นเงินสดจริงๆ สามารถบันทึกลงบัญชีได้ เช่น ค่าที่ดิน ค่าโรงงาน ค่าเครื่องจักร ค่าวัสดุดิบ ค่าขนส่ง ค่าดอกเบี้ย เป็นต้น

2. ต้นทุนโดยปริยาย หมายถึง ต้นทุนที่ไม่ได้จ่ายเป็นเงินจริงๆ แต่เป็นค่าเสียโอกาสของการใช้ปัจจัยที่ผู้ผลิตมีอยู่มาทำการผลิต เช่น ที่ดิน ทรัพย์สิน เงินของตนเอง นำมาใช้ทำให้เสียโอกาสในการได้ค่าเช่า และดอกเบี้ย

3. ต้นทุนทางบัญชี หมายถึง ต้นทุนที่จ่ายเป็นเงินจริงๆ สามารถจดบันทึกลงบัญชีได้ หรือ ต้นทุนที่เห็นชัดเจน

4. ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึง ต้นทุนทั้งหมดที่ใช้ในการผลิตทั้งที่เป็นเงินจริงๆ และไม่ได้จ่ายเป็นเงินจริงๆ

5. ต้นทุนคงที่ หมายถึง ต้นทุนจำนวนคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง ตามจำนวนของผลผลิตในขณะทำการผลิต เช่น ค่าที่ดิน ค่าโรงงาน ค่าเครื่องจักร

6. ต้นทุนผันแปร หมายถึง ต้นทุนที่เปลี่ยนแปลง ไปตามจำนวนผลผลิตในขณะทำการผลิต เช่น วัตถุดิบ ค่าเชื้อเพลิง ค่าไฟฟ้า เป็นต้น

7. ต้นทุนระยะสั้น หมายถึง ต้นทุนที่จ่ายสำหรับการผลิตในระยะสั้นการผลิต ในแต่ละครั้งจะมีทั้งปัจจัยคงที่ และปัจจัยผันแปร ร่วมกัน

8. ต้นทุนในระยะยาว หมายถึง ต้นทุนสำหรับการผลิตในระยะยาวการผลิต ในแต่ละครั้งจะมีเพียงต้นทุนผันแปรเท่านั้น

ตัวอย่าง

สมาชิกสหกรณ์ หรือ สหกรณ์การเกษตรโดยทั่วไป ประกอบธุรกิจจะไม่ได้คิด Cost เนื่องจาก เอกสารการจัดทำจะประกอบเพียง รายจ่ายและลงบัญชี จะรู้เพียงกำไร – ขาดทุน ไม่รู้ต้นทุนการผลิตจริงๆ

3. ทรัพย์สินทางปัญญา

คือ ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง ผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทรัพย์อีกชนิดหนึ่ง นอกเหนือจากสังหาริมทรัพย์ คือ ทรัพย์สินที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น นาฬิกา รถยนต์ โต๊ะ เป็นต้น และอสังหาริมทรัพย์ คือ ทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น บ้าน ที่ดิน เป็นต้น

ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา

โดยทั่วๆ ไป คนไทยส่วนมากจะคุ้นเคยกับคำว่า "ลิขสิทธิ์" ซึ่งใช้เรียกทรัพย์สินทางปัญญาทุกประเภท โดยที่ถูกต้องแล้วทรัพย์สินทางปัญญาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ที่เรียกว่า ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม และลิขสิทธิ์

ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม ไม่ใช่สังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม แท้ที่จริงแล้ว ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมนี้ เป็นความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรม ความคิดสร้างสรรค์นี้จะเป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้น การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม ซึ่งอาจจะเป็นกระบวนการ หรือเทคนิคในการผลิตที่ได้ปรับปรุงหรือคิดค้นขึ้นใหม่ หรือที่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นองค์ประกอบและรูปร่างสวยงามของตัวผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังรวมถึงเครื่องหมายการค้าหรือยี่ห้อ ซื่อและถิ่นที่อยู่ทางการค้า ที่รวมถึงแหล่งกำเนิดสินค้าและการป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม จึงสามารถแบ่งออกได้ดังนี้

สิทธิบัตร (Paent)

เครื่องหมายการค้า (Trademark)

แบบผังภูมิของวงจรรวม (Layout - Designs Of Inegrated Circuit)

ความลับทางการค้า (Trade Secrets)

สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indicaion)

ความหมายของทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละประเภท

ลิขสิทธิ์ หมายถึง งานหรือความคิดสร้างสรรค์ในสาขาวรรณกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม งานภาพยนต์ หรืองานอื่นใดในแผนกวิทยาศาสตร์ลิขสิทธิ์ยังรวมทั้ง

สิทธิค้างเคียง (Neighbouring Right) คือ การนำเอางานด้านลิขสิทธิ์ออกแสดง เช่น นักแสดง ผู้บันทึกเสียงและสถานีวิทยุโทรทัศน์ในการบันทึกหรือถ่ายทอดเสียงหรือภาพ

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Program หรือ Computer Software) คือ ชุดคำสั่งที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อกำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน

งานฐานข้อมูล (Data Base) คือ ข้อมูลที่ได้รับเก็บรวบรวมขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ

สิทธิบัตร หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ (Invention) การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) หรือ ผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์ (Utility Model) ที่มี

ลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด

การประดิษฐ์ คือ ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับ ลักษณะองค์ประกอบ โครงสร้างหรือกลไกลของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิตการักษา หรือปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์

การออกแบบผลิตภัณฑ์ คือ ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับการทำให้รูปร่างลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์เกิดความสวยงาม และแตกต่างไปจากเดิม

ผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อนุสิทธิบัตร (Petty Patent) จะมีลักษณะคล้ายกันกับการประดิษฐ์ แต่เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมาก หรือเป็นการประดิษฐ์คิดค้นเพียงเล็กน้อย

แบบผังภูมิของวงจรรวม หมายถึง แผนผังหรือแบบที่ทำขึ้น เพื่อแสดงถึงการจัดวางและการเชื่อมต่อวงจรไฟฟ้า เช่น ตัวนำไฟฟ้า หรือตัวต้านทาน เป็นต้น

เครื่องหมายการค้า หมายถึง เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้า หรือบริการ ได้แก่

เครื่องหมายการค้า (Trade Mark) คือเครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายเกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น เช่น โค้ก เป๊ปซี่ บรีส แฟ้บ เป็นต้น

เครื่องหมายบริการ (Service Mark) คือ เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับการบริการ เพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการของบุคคลอื่น เช่น เครื่องหมายของสายการบิน ธนาคาร โรงแรม เป็นต้น

เครื่องหมายรับรอง (Certificaion mark) คือเครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของสินค้า หรือบริการนั้น เช่น เชลล์ชวนชิม แม่ช้อยนางรำ เป็นต้น

เครื่องหมายร่วม (Colective Mark) คือ เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมาบบริการที่ใช้โดยบริษัทหรือรัฐวิสาหกิจในกลุ่มเดียวกัน หรือโดยสมาชิกของสมาคม กลุ่มบุคคล หรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน เช่น ตราช้างของบริษัทปูนซิเมนไทย จำกัด เป็นต้น

ความลับทางการค้า หมายถึง ข้อมูลการค้าที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป และมีมูลค่าในเชิงพาณิชย์เนื่องจากข้อมูลนั้นเป็นความลับ และมีการดำเนินการตามความสมควรเพื่อรักษาข้อมูลนั้นไว้เป็นความลับ

ชื่อทางการค้า หมายถึง ชื่อที่ใช้ในการประกอบกิจการ เช่น โกดัก ฟูจิ เป็นต้น

สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หมายถึง ชื่อ สัญลักษณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้เรียกหรือใช้แทน แทนแหล่งภูมิศาสตร์ และสามารถบ่งบอกว่าสินค้าที่เกิดจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้นเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ ชื่อเสียง หรือคุณลักษณะเฉพาะของแหล่งภูมิศาสตร์นั้น เช่น มีดอรัญญิก ส้มบางมด ผ้าไหมไทย แชมเปญ คอนยัค เป็นต้น

ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีกฎหมายให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา 4 ฉบับ คือ

1. พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542

2. พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537

3. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

4. พระราชบัญญัติคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม พ.ศ. 2543

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีพันธกรณีตามการเจรจาทางาการค้าระหว่างประเทศ ที่จะต้องออกกฎหมายให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาทุกประเภท ต่อไปในอนาคต

ตัวอย่าง

สหกรณ์เป็นนิติบุคคล ที่มีการจดทะเบียน กฎหมายของสหกรณ์ ถ้าที่ใดนำคำว่า สหกรณ์ไปใช้โดยไม่มีการขอจดทะเบียน สหกรณ์ ถือว่าผิดกฎหมาย เสมือนหนึ่ง เป็นทรัพย์สินทางปัญญาเช่นเดียวกัน

4. ความล้มเหลวของกลไกตลาด

นักธุรกิจจะพูดถึงภาพกว้างๆ ในลำดับต้นๆ หนีไม่พ้นเรื่องสำคัญๆ อย่างน้อย 5 เรื่อง

1. ตัวสินค้า เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคจะเลือกซื้อไปใช้ประโยชน์ ล้วนเป็นผลออกมจากกระบวนการของการผลิตหลายรูปแบบ

2. ตัวบริการ เป็นลักษณะของการให้บริการด้วย คน ด้วยระบบ และด้วยอุปกรณ์ทั้งหลายทั้งปวง เพื่อนำเสนอให้แก่ลูกค้าในการตัดสินใจซื้อบริการ

3. ตัวลูกค้า เป็นหัวใจสำคัญขององค์กรธุรกิจ ต้องมีการกำหนดลูกค้าเป้าหมายให้ชัดเจน แล้วจึงพัฒนาตัวสินค้าและตัวบริการ การประสบความสำเร็จจะเป็นไปได้ง่าย

4. ตราสินค้า นักธุรกิจอาจจะคุ้นเคยคำว่า “ยี่ห้อ” ไม่ว่าสินค้ากลุ่ม หรือ สินค้าเดี่ยว ตราหรือยี่ห้อ เป็นปัจจัยสำคัญทั้งในระยะสั้น ระยะยาว ที่จะต้องสร้างขึ้นมา เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดการรู้จัก ยอมรับ เชื่อมั่นตลอดไป

5. ราคา สนนราคาของสินค้าและบริการ จะอยู่ในระดับ สูงหรือต่ำ ระดับบนหรือระดับล่างตัองสอดคล้องต่อองค์ประกอบสำคัญ คือ ตัวสินค้า ตัวบริการ ตัวลูกค้า ตราสินค้า ราคา

ตัวอย่าง

สหกรณ์ ใดที่มีการทำธุรกิจ ต้องตระหนักในสินค้าที่นำมาจำหน่าย ต้องมีราคายุติธรรม ซื่อสัตย์ เที่ยงตรง ต่อมวลสมาชิก และบุคคลภายนอก ต้องสร้างความประทับใจด้านบริการต่อผู้มาใช้บริการอย่างไม่รู้ลืม

5. ทฤษฎี 5 K S ทุนความรู้

ถือเป็นการปรับตัวขององค์กรยุคใหม่ บุคลากรต้อง รับรู้ข้อมูล (Data) ข่าวสาร (Information) นับว่าสำคัญยิ่งยวด เกิดการแข่งขัน ในประเทศ และต่างประเทศ เพื่อก้าวสู่ความเป็นเลิศ โดยเน้นการพัฒนาจัดทำแผนการตลาด ด้วยถือความเป็น ความตาย ความอยู่รอด ความรุ่งเรืองขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดกลยุทธ์ หรือกลวิธี ออกมาเป็นแบบใดต้องผิดไม่ได้ ฉะนั้นข้อมูล ข่าวสาร ต้องสำคัญต่อจัดทำการจัดทำแผนการตลาด โดยการคิด วิเคราะห์ อยู่บนพื้นฐานของข้อมูล ข่าวสาร ที่ถูกต้องและแม่นยำ นำมาสู่การตัดสินใจ ประโยชน์ข้อมูล

1. ต้องรู้อยู่เสมอในสถานภาพที่เป็นจริง

2. ต้องให้ความสำคัญกับการใช้ข้อมูลตามความเป็นจริง เพื่อนำมาประยุกต์ใช้

ทำกันอย่างเป็นระบบ

-ใช้การประมาณการ ข้อมูลในอดีตและปัจจุบัน ด้านทรัพยากร คน เวลา และงบประมาณ

-ใช้กับการคาดการณ์ เป็นไปในทิศทางถูกต้อง เพื่อการนำข้อมูลมาประกอบกันเป็นกราฟ อันจะเป็นผลเกิดความได้เปรียบต่อการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่ได้มาต้องเป็นความจริง ถูกต้อง

-ใช้กำหนดเป้าหมาย จำนวนที่ชัดเจนเฉพาะเจาะจง วัดจำนวนได้ ใกล้เคียงกับความเป็นจริง เพิ่มศักยภาพทำให้บรรลุเป้าหมาย

ลักษณะและคุณสมบัติของข้อมูล 2 ประเด็น

1.ประเภทข้อมูล

1.1 ข้อมูลที่นับได้ เช่น ยอดขาย จำนวนสินค้า ค่าใช้จ่าย

พนักงาน เป็นต้น

1.2 ข้อมูลที่ไม่สามารถนับได้ เช่น คุณภาพในการบริการที่ดีขึ้น

ความพึงพอใจของลูกค้า ความพึงพอใจของทีมงาน เป็นต้น

2. คุณภาพของข้อมูล

2.1 ความถูกต้องแม่นยำ คือ ถูกต้องและใกล้เคียงความเป็นจริง

ที่

2.2 ความแน่นอน คือ ความเที่ยงตรง และเกาะกลุ่มกันของข้อมูล เป็นตัวสะท้อนให้เห็นถึงความแปรปรวนในข้อมูลของแต่ละกลุ่ม ไม่ว่าจะวัด หรือตรวจสอบด้วยกระบวนการใด

3. แหล่งของข้อมูล

3.1 หน่วยงานรัฐ

3.2 สถาบันและองค์กรต่างๆ

3.3 ศูนย์ข้อมูลเอกชนต่างๆ

3.4 สื่อสารมวลชน

3.5 งานประชุมสัมมนา/งานเปิดตัวสินค้า

3.6 บุคคลสำคัญผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

4. การคาดการณ์ มาจากข้อมูล ฤดูกาล เป็นต้น

ตัวอย่าง

สหกรณ์ต้องมีข้อมูลของสมาชิกในเบื้องต้น และต้องมีการเปลี่ยนแปลงให้ข้อมูลเป็นปัจจุบันที่สุด เพื่อประโยชน์ของสหกรณ์ และการทำงานของฝ่ายจัดการอย่างถูกต้อง โดยมีการติดตามผลจากสมาชิก และประสานข้อมูลจากเครือข่ายสหกรณ์ด้วยกันอย่างต่อเนื่อง

-----------------

สวัสดีครับอาจารย์ และ ผนส. ทุกท่าน

              ร่วมเชื่อมโยงกับ ผนส. ทุกรุ่น ได้ตาม link ข้างล่างนี้ครับ คลิ๊กได้เลยครับ

            http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/295677     รุ่น 1     

           http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/193426      รุ่น 2

           http://gotoknow.org/blog/leadersship/238209          รุ่น 2

          http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/231359        รุ่น 3

           http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/295678       รุ่น 4

 

ไม่มีอะไรขัดขวางการเชื่อมโยงของเราชาว ผนส. ได้

ผมเห็นด้วยอย่างยิ่ง กับท่าน ดร. มนตรี ช่วยชู ทีนำเสนอท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ เพื่อไปศึกษาดูงานที่ประเทศนิวซีแลน หรือ ออสแตรเลีย ส่วนในค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นผมคิดว่าเพื่อน ผนส. รุ่นที่ 4 ยินดีที่จะรับผิดชอบในส่วนที่เพิ่มขึ้น และผมประทับใจเป็นอย่างมากที่ได้เรียนร่วมกับคนที่มีความรู้ระดับ ดร.หรือผู้นำหลาย ๆท่าน ทำให้มีความรู้สึกว่าการที่ได้อยู่ร่วมกับผู้นำเหมือนกับการอยู่รวมกันกับสังคมชั้นสูงทำให้เราต้องปรับปรุงตัวเองเพิ่มขึ้น และต้องขอขอบพระคุณท่าน รศ.ดร. ไพเลิศ สุมานนท์ ซึ่งพักด้วยกันกับผมที่แนะนำและให้ความรู้กับผมหลังจากเลิกเรียน และถ้า ผนส.รุ่นที่ 4 จะมาศึกษาดูงานที่จังหวัดกระบี่ ก็ยินดีครับ ดูรายละเอียดสหกรณ์ได้ที่ // www.coopthai.com/kofcf/ ขอบพระคุณมากครับ

เรียน .. ท่าน ศ.ดร จีระ ผมนายมงคล เที่ยงอยู่ ผจก.สกก.เมืองพิจิตร จำกัด ขอส่งการบ้าน

เศรษฐศาสตร์จุลภาค มีประโยชน์และเกี่ยวข้องกับสหกรณ์ ฯ คือ

1. ประโยชน์ด้านการกำหนดต้นทุนการผลิต เกี่ยวข้องกับสหกรณ์ คือ ด้านการเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจระหว่างสหกรณ์ จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันสหกรณ์ทำการค้าในรูปแบบพ่อค้าคนกลาง ทำให้อำนาจในการต่อรองน้อย แต่ถ้าสหกรณ์ร่วมกันประกอบธุรกิจจะทำให้อำนาจในการต่อรองสูง เช่น ถ้าจะสั่งปุ๋ยต้องสั่งที่ชุมนุม ฯ เท่านั้น เมื่อสหกรณ์รวมตัวกันมาก ๆ จะทำให้อำนาจในการต่อรองมีมากไปด้วย

2. ประโยชน์ด้านคุณภาพของสินค้า สหกรณ์ควรสอนให้เกษตรกรได้เรียนรู้การทำการเกษตรที่มีประสิทธิภาพ ไม่ใช่ปลูกข้าวเพื่อให้ได้ข้าว แต่ควรสอนให้เกษตรกรปลูกข้าวเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีและมีประสิทธิภาพ

3. ประโยชน์ด้านสังคมยอมรับ เกี่ยวข้องกับสหกรณ์เมื่อสหกรณ์มรกำไรก็จะจัดสรรทุนต่าง ๆ ไว้ช่วยเหลือสังคมให้มาก ๆ เช่น ทุนเพื่อสาธารณประโยชน์ ทุนเพื่อสวัสดิการสังคม อย่างที่ สกก.เมืองพิจิตร ได้แจกทุนการศึกษามา 2 ปีแล้ว ผมอยากเห็นป้อมตำรวจที่ได้รับบริจาคจากสหกรณ์ โรงพยาบาลที่ก่อตั้งโดยสหกรณ์ เป็นต้น

4. รักษาสิ่งแวดล้อม ถ้าสหกรณ์ ปลูกฝังให้เกษตรกรทำการเกษตรอินทรีย์ ก็จะเป็นการคืนชีวิตให้กับดิน โดยที่พื้นดินไม่ต้องเจ็บปวดเหมือนทุกวันนี้ ถ้าสหกรณ์ทำได้จะเป็นประโยชน์อย่างมาก มีการออกตรวจพื้นที่กับหมอดินเพื่อเราจะได้รู้ว่าดินขาดธาตุอาหารประเภทไหน

5. ความมั่นคง จะเห็นได้ว่าเมื่อปี 2544 ประเทศไทยเกิดฟองสบู่แตก แต่ระบบสหกรณ์ต่าง ๆ ได้รับผลกระทบน้อยมากหรือแทบไม่ได้รับผลกระทบเลย เมื่อเทียบกับเอกชน แต่สหกรณ์ส่วนใหญ่จะขาดต้นทุนทางมนุษย์ที่จะนำไปสู่ความมั่นคงของสหกรณ์ ผมจึงเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งที่จะมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ถ้าระบบสหกรณ์มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ ความชำนาญ ความสามารถ ฯ ล ฯ ก็จะไม่มีระบบเศรษฐกิจอะไรมาทำรายระบบสหกรณ์ได้

สุดท้ายผมอยากฝากให้ ศ. ดร. จีระ ช่วยผลักดันส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์ในระบบสหกรณ์ให้มาก ๆ เพราะทรัพยากรมนุษย์เป็นต้นทุนที่ดีที่สุด

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน 2552

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้เชิญ

พลตรี ดร.วีระ วงศ์สวรรค์ ประธานรุ่น 4

เป็นแขกรับเชิญสัมภาษณ์ในรายการวิทยุ Human Talk ตอน "บทบาทของระบบสหกรณ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ" ทางสถานีวิทยุ FM 96.5 MHz.

โปรดคลิกฟังได้ที่ลิ้งค์นี้

http://radio.mcot.net/player/playProgramClip.php?id=54963

ผ่านการเรียนครั้งแรกในหัวข้อการสอนของอาจารย์แล้วเวลาเพื่อน ๆ บางคนยกตัวอย่างมาพูดประกอบ โดยส่วนตัวคิดว่าไม่เห็นจะเกี่ยวกันเลย แต่อาจารย์ชมว่าดีมาก เลยรู้สึกสับสนว่าเราเข้าใจอะไรผิดไปหรือเปล่า หรือ เราไม่ get idea อะไรหรือเปล่า รู้สึกเหมือนเด็กเข้าไปฟังวงสนทนาของผู้ใหญ่ ขอให้อาจารย์ช่วยชี้แนะด้วยค่ะ

สวัสดี ครับอาจารย์ และเพื่อน ผนส. 2 ทุกท่าน

       ขอแสดงความยินดี กับท่านประธานรุ่น 4  พลตรี ดร.วีระ วงษ์สวรรค์  ที่ได้รับความไว้วางใจคัดเลือกให้เป็นประธานจากเพื่อน ๆ ผนส.รุ่น 

นพคุณ   

เรียน ท่านอาจารย์ ดร. จีระ

กระผมขอส่งการบ้านส่วนที่ 1 เกี่ยวกับวิชาเศรษฐศาสตร์ ที่ให้ระบุว่าวิชาเศรษฐศาสตร์มีความสำคัญต่อสหกรณ์ โดยเฉพาะสหกรณ์ภาคการเกษตรอย่างไร ดังนี้ครับ

1. ระบบเศรษฐกิจเสรี ซึ่งมีการแข่งขันเสรี (Free competition) ทำให้เกิดปัญหาปลาใหญ่กินปลาเล็ก สิ่งที่จะช่วยได้คือจะต้องมีการแข่งขันกันอย่างยุติธรรม (Fair competition) หากประเทศที่เจริญกว่า รวยกว่า ทำการทุ่มตลาดเพื่อระบายสินค้าเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรของเขา เกษตรกรประเทศเราก็ควรรวมตัวกันเป็นสหกรณ์ และแต่ละสหกรณ์ควรร่วมมือกัน จะมีพลังในการแข่งขัน มีพลังในการเจรจาต่อรอง ไม่ควรแข่งขันกันเอง โดยการตัดราคากัน หรือต่างคนต่างทำ

2. การรวมตัวกันในรูปสหกรณ์เป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน Win-Win กันทุกฝ่าย มีการประหยัดจากขนาด (Economy of scale) ทำให้ต้นทุนลด กำไรเพิ่ม

3. หากเกษตรกรและสหกรณ์ภาคการเกษตรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎของอุปสงค์ (Law of demand) และกฎของอุปทาน (Law of supply) อย่างดี จะช่วยในการวางแผนการผลิตได้อย่างดี จะไม่เกิดปัญหาผลผลิตล้นตลาดและราคาตกต่ำ ซึ่งทำให้ขาดทุน หากสามารถพยากรณ์หรือคาดคะเนหรือทำนายล่วงหน้า (Forecast) ได้อย่างแม่นยำว่าสินค้าชนิดใดจะมีความต้องการของตลาด (Demand) สูง เราก็ผลิตสินค้า (Supply) ชนิดนั้นมากขึ้น ไม่ใช่แห่กันผลิตจนสินค้าล้นตลาดเพราะปีที่แล้วราคาดี และคิดว่าปีนี้ราคาจะดีเหมือนปีที่แล้ว

4. หากบุคลากรทางด้านการเกษตรมีความรอบรู้ในหลาย ๆ ด้านที่เกี่ยวข้องกับอาชีพหรืองานที่ทำ จะเป็นทุนมนุษย์ (Human capital) ที่มีคุณภาพ เมื่อรวมตัวกันตั้งเป็นสหกรณ์ภาคการเกษตร จะทำให้เกิดพลังอันน่ามหัศจรรย์ (Synergy) 1 + 1 จะมากกว่า 2

5. เศรษฐศาสตร์มีความสำคัญต่อสหกรณ์ ดังนั้น ตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จึงมีการตั้งคณะหรือสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ เพื่อให้สหกรณ์มีความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ ซึ่งจะช่วยในการดำเนินงานสหกรณ์ให้มีความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน (Sustainable growth)

1 ลดต้นทุนในการผลิต

- เช่นวิเคราะห์ดินในสวน และใช้ปุ๋ยเคมีตามที่วิเคราะห์ดิน

- ใช้น้ำหมักชีวภาพทดแทนปุ๋ยเคมี

- ใช้สะเดาผง แช่น้ำทำให้ลดการใช้ยาเคมีประมาณ 70%

2 เพิ่มคุณค่าของผลิตผล

- สมัครเข้าสู่ระบบการรับรองสวนเพื่อเข้าสู่มาตรฐาน GAP

- จากทุเรียนทอด เป็น ทุเรียนทอดสูญญากาศ

- ทำมังคุดผง Instant

3 ใช้เทคโนโลยี่เข้ามาช่วย

- การคัดเลือกมังคุดเดิมใช้คนใช้เครื่องจักรมาช่วยทำให้การทำงานเร็วขึ้นประมาณ 80%

- การใช้วิธีการทางเคมีมายืดอายุผลไม้ เช่นมังคุดให้อยู่ในสภาวะไม่เสียหายได้ประมาณ 1 เดือน

4 การบริหารจัดการของบุคคลากร

ตั้งเป้าประสงค์ในการทำงานของทุกฝ่ายถ้าเป็นไปตามที่กำหนด มีผลตอบแทนทางเงินเดือน

5 บริหารจัดการด้านการเงิน

- เดิมกู้ ธกส. 5 บาท เปลี่ยนเป็นระดมเงินฝากจากสมาชิกให้ดอกเบี้ย 4 บาท สมาชิกได้สหกรณ์ได้

- ทำโครงการรักในหลวงให้สมาชิกออมเงินโดยใส่กระปุกออมสิน และนำมาฝากกับสหกรณ์

6 ด้านต้นทุนในการเจรจาต่อรอง (Negatiation cost) และต้นทุนในการปฏิบัติตามสัญญา

ต้องระลึกอยู่เสมอว่าต่างฝ่ายต่าเป็นมิตรเป็นเพื่อนแท้

เพื่อน ๆ ผนส. รุ่น 4 ลืมส่งการบ้านท่านอาจารย์ ดร.จีระ กันหรือเปล่า รีบ ๆ ส่งกันหน่อยเดียวจะเสียชื่อรุ่นที่อาจารย์ท่านตั้งความหวังไว้

เรียน ผนส.รุ่น 1-4 เพื่อทราบ

ช่วงเดือน ต.ค.- พ.ย.52 สันนิบาตสหกรณ์ฯ ได้รับงบประมาณจาก กสส.จัดโครงการพัฒนาบุคลากร 4 ภูมิภาค กลุ่มเป้าหมายรุ่นละ 50 คน รายละเอียดดังนี้

ภาคเหนือ ( เชียงใหม่ พิษณุโลก) ภาคอีสาน (ขอนแก่น นครราชสีมา ) ภาคใต้ (สุราษฎร์ธานี สงขลา) ภาคกลาง (เพชรบุรี นมส.)

คัดเลือกกลุ่มจาก สหกรณ์ภาคการเกษตร 60 % สหกรณ์นอกภาคเกษตร 40 %

สหกรณ์ที่เคยอบรมกับ สสท. และไม่เคยอบรมกับ สสท. 50 : 50 %

สหกรณ์ที่ไม่เคยส่งบุคลากรเข้าอบรมกับ กสส. ในปี 2552

โดยมีหลักสูตรให้เลือก 5 หลักสูตร ดังนี้

1.กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ

2.กลยุทธ์การพัฒนาทักษะผู้นำ

3.การเขียนรายงานการประชุมอย่างสร้างสรรค์

4.การบริหารการเงินสหกรณ์อย่างมืออาชีพ

5.ทักษะการพัฒนางานบริการ และการให้บริการสมาชิกสหกรณ์เหนือความคาดหวัง

นายภานุรัตน์ ถนอมทรัพย์

เรียน อาจารย์จีระ ที่เคารพรัก

ผมได้อ่านหนังสือของอาจารย์แล้ว มีหลายเรื่องที่น่าสนใจและสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาทรัพยามนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่าพารน จะเป็นแบบอย่างที่ดีต่อการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพราะท่านมุ่งมั่นที่จะพัฒนาองค์กรไปสู่สากล และท่านอาจารย์จีระเอง ก็สานต่อเพื่อส่วนรวม ในสหกรณ์ต่าง ๆ ถ้าได้นำแนวทางดังกล่าวไปปฏิบัติเพียง 20 % ผมคิดว่าจะทำให้สหกรณ์ และสมาชิกที่เป็นเจ้าของสหกรณ์ให้ความสำคัญต่อองค์กร และรักองค์กรเสือนเป็นบ้านหลังที่สองก็เป็นได้ และที่สำคัญอย่างยิ่งคือ คำพูดหรือคำกล่าวที่ว่า "คนถือเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญที่สุดขององค์กร" ผมจะนำคำไปไปใช้ในการแนะนำ ส่งเสริมสหกรณ์ ให้พัฒนายิ่งขึ้นต่อไปครับ

เรื่องไปดูงานต่างประเทศขอให้เป็นมติของห้องดีกว่า(การเงินแต่ละคนแต่ละองค์กรไม่เหมือนกัน)

นายภานุรัตน์ ถนอมทรัพย์

เรียน อาจารย์จีระ ที่เคารพรัก

ผมได้อ่านหลักเศรษฐศาสตร์จุลภาคเบื้องต้น และเศรษฐศาสตร์การจัดการเพื่อการทำงานของสหกรณ์แล้ว เห็นว่าสหกรณ์จะได้ประโยชน์ที่สำคัญ 5 ประการคือ

1.การดำเนินธุรกิจของสหกรณ์จะเป็นประโยชน์ต่อสังคม เนื่องจากสมาชิกสหกรณ์อยู่ในสังคมที่เกื้อกูลซึ่งกันและกันตามระบบสหกรณ์ ฉะนั้น สหกรณ์จะต้องเข้าใจเรื่องประโยชน์ต่อสังคมให้มากด้วย

2.ทำให้สหกรณ์ได้ทราบว่ายังมีต้นทุน หรือจะเรียกว่าต้นทุนผันแปรทางด้านข่าวสาร การเจรจาต่อรอง และต้นทุนในการทำให้เกิดการปฏิบัติตามสัญญาด้วย

3.สหกรณ์จำเป็นต้องใช้ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ เกี่ยวกับ Demand และ Suppy เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการจัดหาสินค้า หรือการรวบรวมผลผลิต แก่สมาชิกและความต้องการของตลาด

4.การนำทฤษฎี Production Function เกี่ยวกับการนำทรัพยากรที่มีจำกัดไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และมีประสิทธิภาพได้อย่างไร

5.สหกรณ์ภาคเกษตรส่วนใหญ่จะชอบดำเนินธุรกิจชอบ Rent ทำให้ต้นทุนสูง หากสหกรณ์คิดในทางเศรษฐศาสตร์แล้วก็จะสามารถลด Rent หรือไม่มีอยู่ในระบบสหกรณ์อีกต่อไป ประโยชน์ก็จะเกิดกับสมาชิก และสังคมโดยรวม

สวัสดีครับอาจารย์ และเพื่อน ผนส. ทุกท่าน

           เข้ามาอ่านและให้กำลังทุกวันอย่างน้อยวันละครั้ง

 

นพคุณ

ข้าพเจ้า นางรัชนี บำรุง ขอส่งรายงานการย่อสรุป ทรัพยากรมนุษย์พันธ์ บทสนทนาว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของนักคิดและนักปฏิบัติแห่งยุค

หนังสือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” จัดเป็นช่องทางที่สำคัญอีกช่องทางหนึ่งในการเผยแพร่ความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ต่อสังคม โดยนำบุคคลที่ทรงคุณค่า และได้รับการยอมรับนับถืออย่างกว้างขวางทั้สองท่านในเรื่องทรัพยากรมนุษย์ ทั้งด้านเป็นผู้นำทางความคิด ผู้บุกเบิก และปฏิบัติ คือ คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มานำเสนอในรูปแบบของการสนทนา ทั้งบทสนทนา โดยตรงจากท่านทั้งสอง และบทสนทนาจากผู้ใกล้ชิดและผู้ร่วมปฏิบัติงาน ทำให้อ่านได้สาระได้รับสาระครบถ้วนและชวนติดตามเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ ผู้จัดจัดเป็น 5 ช่วงหลักๆ ดังนี้

1. เรื่องของสองแชมป์

กล่าวถึงความเชื่อและศรัทธาและความมุ่งมั่น ของคน 2 คน วัยที่แตกต่างกัน การทำงานอยู่คนละที่แต่มีจุดเป้าหมายเดียวกัน มุ่งมั่นในเรื่อง “คน” ผู้บริหารต้องทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ฝึกสอนและพี่เลี้ยง พัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาให้เรียนรู้ และให้แสดงออกอย่างเต็มที่ รู้จักการทำงานเป็นทีม และสนับสนุนให้มีการศึกษาและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ทั้งสองท่านจึงเน้นการพัฒนารูปแบบใหม่ ภายใต้แนวคิด Constructionism เพื่อสร้างความพร้อมให้เด็กไทยก้าวสู่การเป็นพลเมืองโลกอย่างสมบรูณ์ที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ นั่นคือ จะต้องคล่องแคล้วใน 3 เรื่อง ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และเทคโนโลยี

2. คัมภีร์คนพันธุ์แท้

ช่วงที่บอกถึงแนวทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตั้งแต่ เรื่องปรัชญาของทรัพยากรมนุษย์ที่ว่า “คน ถือเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญที่สุดขององค์กร” การพัฒนาโดยมุ่งเน้นการเรียนรู้พร้อมทั้งกลยุทธ์ในการสร้างความเป็นเลิศให้องค์กรจากแรงจูงใจ คุณพารณ แนวคิดว่า จะต้องกำหนดออกมากก่อนว่า คนเก่ง คนดี คืออะไร จะได้ไปในทางเดียวกัน ได้ออกมา 4 ข้อ คือ เก่ง 4 ดี 4 คือ เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด และ เก่งเรียน ท่าน ดร. จีระ แนวคิดว่า คิดเป็น ก้าวเป็น แล้ว “ ดี 4” คือ ประพฤติดี มีน้ำใจ ใฝ่ความรู้ คู่คุณธรรม สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย

3. จักรวาลแห่งการเรียนรู้

การเรียนรู้จากการพัฒนาองค์กร โดยเน้นการขยายผลการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สู่

ประชาชนโดยให้ประชาชนเป็น Good learner มีความสามารถในการเรียนรู้และสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีพ ดร.จีระ มักจะเสนอ ทฤษฎี 3 วงกลม ดังนี้

1. วงกลมที่ 1 เรื่อง Context หรือ บริบท พูดถึงเรื่อง IT ว่ามีความสำคัญการ

บริหารทรัพยากรมนุษย์ต้องใช้ระบบสารสนเทศมากขึ้น การจัดการระบบข้อมูลพื้นฐาน การทำงานแบบ Process และการจัดองค์กรที่เหมาะสม เรียกว่าเป็นการ บริบทของการบริหารทรัพยากรมนุษย์

2. วงกลมที่ 2 เรื่องภาวะผู้นำ นวัตกรรม การบริหารเวลา ซึ่งมีประโยชน์ เรียกว่า

เป็นทฤษฎีเพิ่มศักยภาพของคน ซึ่งไม่ได้วัดจากจบที่ไหน จะต้องดูว่าทรัยพากรมนุษย์จะต้องมี Competencies อย่างไร

3. เป็นหลักที่ดี คนเราจะสำเร็จในงานได้ดีต้องมองว่างานทุกอย่างเป็นงานที่ท้าทาย ต้องมีแรงบันดาลใจ วงกลมนี้พูดถึงเรื่องการใช้หลัก PM- Personnel management ให้เกิดจริง

4. สูตรเพิ่มผลผลิต

เป็นการมองภาพที่กว้างขึ้น สร้างศักยภาพการแข่งขันระดับประเทศ ด้วยการพัฒนาทรัพยากรเป็นสำคัญโดยต้องการร่วมมือจาก 4 องค์กรใหญ่ คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคนักวิชาการและแรงงาน

5. ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

เป็นการสรุปโดยตอกย้ำถึงความเชื่อและแนวทางการทำงานมุ่งมั่นพัฒนากรมนุษย์

นายภานุรัตน์ ถนอมทรัพย์

เรียน อาจารย์จีระ ที่เคารพรัก และ ผนส.4 ทุกท่าน

1. การไปศึกษาดูงานต่างประเทศ ที่ไหนก็ได้ แต่ข้าราชการที่ต้องขออนุญาตไปดูงานต่างประเทศ และใช้เงินงบประมาณของทางราชการต้องให้สันนิบาตฯ แจ้งค่าลงทะเบียนในกรณีเพิ่มเติม หากต้องออกค่าใช้จ่ายเองก็ต้องชี้แจงเหตุผลประกอบด้วย ถ้าเป็นไปได้หากมีการเพิ่มค่าลงทะเบียน ควรจะให้อยู่ในค่าใช้จ่ายที่กรมส่งเสริมสหกรณ์ จัดสรรไว้ให้สันนิบาตฯ

2. กรณีที่ข้าราชการเป็นกรรมการสหกรณ์ จะต้องขออนุญาตจากต้นสังกัดด้วยหรือไม่ ขอให้ศึกษาระเบียบด้วย ต้องขออภัยที่ผมยังไม่ได้ศึกษากรณีนี้

สวัสดีครับ

-          เช้าวันที่ 25 ก.ย. ผมจะเข้าไปที่สันนิบาต ไม่ได้พบกันหลายวัน คิดถึงครับ

-          รุ่น 4 มีดร.มนตรีมาช่วย

-          เห็นเรื่องไป นิวซีแลนด์ ผมเคยบอกสันนิบาตแล้ว ว่าอย่ารีบ เรื่องไปต่างประเทศ ให้สมาชิกรุ่น 4 เขาคิดเอง

-          เรื่อง Research ของการเก็บรักษา สินค้าเกษตรมีประโยชน์ครับ  * เราน่าจะเชิญ นักวิชาการ กรมวิชาการเกษตรมาคุยครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

เรียน อาจารย์ดร.จีระ ก่อนอื่นต้องขอโทษอาจารย์ด้วยที่ส่งการบ้านส่วนแรกช้ากว่ากำหนดเนื่องจากติดภาระกิจที่ต่างจังหวัด ดังนั้น

จึงขอส่งการบ้านทั้งหมด ดังนี้

- เศรษฐศาสตร์จุลภาคมีประโยชน์อะไรที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์มา 5 เรื่องพร้อมกับยกตัวอย่างประกอบด้วย

1) ระบบเศรษฐกิจแบบเสรี คือ มีตลาดเสรีที่มีผู้ซื้อและผู้ขายมากมาย ทำให้เกิดการแข่งขันกันขึ้น ก่อให้เกิดผลดีต่อผู้บริโภคทำให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกทางขึ้น ดิฉันมาจากสหกรณ์ประมงแม่กลอง ธุรกิจของสหกรณ์จะเกี่ยวกับการให้เช่าพื้นที่ขายสินค้าทางทะเลให้แก่สมาชิก เรียกว่า ตลาดปลา โดยมีแพปลาจำนวน 10 ราย แบ่งออกเป็นล็อค รวมทั้งหมด 110 ล็อค เป็นผู้ดำเนินการขายปลาทุกวันตั้งแต่เวลา 03.30 น. โดยลูกค้าของแต่ละแพปลาจะนำสินค้าทะเลซึ่งบรรทุกมาโดยรถห้องเย็นนำมาจำหน่าย และมีผู้ซื้อที่หลากหลายทั้งแม่ค้าปลีก แม่ค้าส่ง หรือโรงงานแปรรูปต่าง ๆ มาเลือกซื้อวัตถุดิบไป แต่ละแพปลาต้องพยายามแข่งขันกันทำให้ลูกค้า(เจ้าของปลาและผู้ซื้อปลา)พอใจสุงสุด เช่น แข่งขันทางด้านราคา หรือการให้บริการที่ดี

2) เศรษฐศาสตร์สามารถบอกแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้เมื่อเหตุการณ์นั้น ๆ เกิดขึ้นเป็นประจำ ในช่วงเดือน พ.ย - ธ.ค ของทุกปี จะเป็นช่วงเกิดลมมรสุมที่ชาวบ้านเรียกว่า ช่วงหน้าลม ชาวประมงจะจับสัตว์น้ำได้น้อยลง ทำให้สินค้าในตลาดปลามีน้อย ไม่พอกับความต้องการของผู้ซื้อ ช่วงนี้ราคาจะดีดตัวสูงขึ้น เวลาผู้ซื้อมาเทสินค้าจะไม่เรื่องมาก คุณภาพสินค้าใช้ได้หมด แต่ถ้าช่วงไหนที่สินค้าล้นตลาด ผู้ซื้อจะคัดแต่สินค้าเกรด A แต่ให้ราคาถูก หรือเล่นตัวเวลามาต่อรองสินค้า หรือในช่วงเทศกาลที่ตลาดปลาหยุดทำการหลาย ๆ วัน ก่อนหน้าวันปิดและเปิดทำการประมาณ 1-2 วัน สินค้าในตลาดปลาจะมากเกินจากปกติ เนื่องจากชาวประมงจะรีบขึ้นปลามาขายก่อนที่ตลาดปลาจะหยุด เพราะถ้าค้างไว้ในเรือสินค้าอาจเสียหายได้ ดังนั้น ชาวประมงต้องพยายามจัดตารางการขึ้นปลาหรือการนำปลามาขายให้ดีเพื่อหลีกเลี่ยงการมาประดังกันซึ่งจะมีผลทำให้ราคาสินค้าถูกกว่าปกติ

3) การรู้ถึงข้อจำกัด (Constraint)ของเรา จะช่วยในการตัดสินใจที่จะซื้อหรือขายสินค้าได้ เพื่อไม่ให้เสียเปรียบคู่ต่อสู้ เป็นที่รู้กันว่าสินค้าทางทะเลก็คือสินค้าประเภทของสด ซึ่งมีอายุในการเก็บรักษาสั้น มีการเปลี่ยนสภาพได้ง่าย เวลาผู้ซื้อให้ราคาถูก ถึงแม้เจ้าของปลาไม่อยากจะขาย แต่บางครั้งต้องจำใจขายเพราะถ้าเก็บสินค้าเอาไว้ขายในวันรุ่งขึ้นอาจได้ไม่เท่าเสีย บางครั้งอาจได้ราคาถูกกว่าเดิมเสียอีกเนื่องจากสินค้าเปลี่ยนสภาพไปแล้ว ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นข้อจำกัดของสินค้าทะเล แต่ก็มีแนวทางแก้ไขสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการจะขายสินค้าเนื่องจากราคาถูกกว่าปกติ โดยการติดต่อห้องเย็นและนำสินค้าไปแช่แข็งไว้เพื่อรอการนำกลับมาขายใหม่เมื่อสินค้าในตลาดน้อยลงก็จะทำให้ราคาสินค้าขยับขึ้น แต่เจ้าของปลาก็จะเกิดค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสินค้าซึ่งต้องมาคิดคำนวณดูว่าคุ้มไหมกับการลงทุน

4) เรียนรู้ที่จะจัดการกำไรทางเศรษฐศาสตร์(Rent) คือสิ่งที่มีมูลค่าแท้จริง กับ ส่วนที่มีมูลค่าเพิ่มได้ ในช่วงที่โรงงาน(ผู้ซื้อ)มีออเดอร์สั่งสินค้าจากต่างประเทศ แล้วต้องการปิดออเดอร์เพื่อเตรียมส่งออก จะทำให้ราคาสินค้าตัวนั้นสูงขึ้นมาอย่างผิดปกติเพราะผู้ซื้อต้องพยายามหาสินค้าให้ได้มาก เช่น โรงงานมีออเดอร์สั่งปลาผีเสื้อ ซึ่งใช้ปลากิมสั่วในการผลิต ในช่วงเวลานั้น ราคาปลากิมสั่วต่อลังบรรจุจะค่อย ๆ ขยับตัวสูงขึ้นและจะสูงมากช่วงที่จะปิดออเดอร์ เช่น จากราคาซื้อ-ขายปกติ ราคาลังละ 70-80 บาท แต่ถ้าเป็นช่วงเวลาดังกล่าวราคาจะเริ่มขยับจาก 100 ขึ้นไปเรื่อย ๆ จนบางครั้งมีถึง 200 กว่าบาท ซึ่งช่วงเวลานี้เจ้าของเรือจะถือว่าเป็นช่วงนาทีทองของปลากิมสั่ว เมื่อ Demand ของปลากิมสั่วเพิ่มมากขึ้น เกิด Demand Shift และไม่สามารถใช้ปลาชนิดอื่นมาทดแทนได้ (Inelasticity) ทำให้เจ้าของปลาสามารถ Collect Rent ได้มาก

5) สหกรณ์ต้องเชื่อมโยงกับชุมชนที่อยู่รอบ ๆ ด้วย ใส่ใจกับความปลอดภัยของคนในชุมชนนั้น ๆ หรือชุมชนอื่นๆ เพื่อประโยชน์ทางสังคมด้วย(Social cost) เช่น เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า ปลาที่เจ้าของปลานำมาจำหน่ายในตลาดปลาปราศจากสารฟอร์มาลิน สหกรณ์จึงได้กำหนดให้มีการสุ่มตรวจสารฟอร์มาลีนด้วยชุดทดสอบมาตราฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยเจ้าของปลาที่นำปลามาขายต้องให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบสารฟอร์มาลีน ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ต่อผู้บริโภคที่จะเกิดความมั่นใจว่าจะไม่ได้รับสินค้าที่ปนเปื้อนสารฟอร์มาลีน

- สรุปสาระสำคัญของหนังสือ HR. CHAMPIONS ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ มีความคิดเห็นตรงกัน เกี่ยวกับการเห็นคุณค่าของคน คนเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร คุณภาพของ"คน" กับ "การเพิ่มผลผลิต"(Productivity Improvement) มีความสัมพันธ์กันในการนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จหรืองานจะสำเร็จได้ด้วยคนทั้งสิ้น แม้กระทั่งความล้มเหลวขององค์กรก็อยู่ที่คน องค์กรที่แท้จริงเป็นอย่างไรย่อมขึ้นกับคนในองค์กรนั้น โดยการดูแลคนอย่างดี มีการพัฒนาคนให้มีความรู้ ความสามารถเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในการสร้างคนในองค์กร เราต้องสร้างทั้งหมดถึงจะมองภาพและพูดภาษาเดียวกัน แต่ถ้าเราสร้างเฉพาะระดับใดระดับหนึ่ง ก็จะรู้เรื่องเฉพาะระดับนั้น จะทำให้เกิดปัญหาเรื่องการสื่อสาร การสื่อข้อความติดขัด ทำให้ขาดประสิทธิภาพ นอกจากนั้นยังมีปัจจัยอื่นที่ทำให้การเพิ่มผลผลิตประสบความสำเร็จคือ ความจงรักภักดี การสร้างความผูกพันในองค์กร ความมีวินัย และการทำงานร่วมกันเป็นทีมของคนในองค์กร เมื่อมีความเข้าใจร่วมกันและเห็นพ้องต้องกันแล้ว ก็ทำอย่างพร้อมเพรียงเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว การทำงานที่ดีคือ การทำงานที่เอาความสามารถของคนแต่ละคนมารวมกัน

การพัฒนาการศึกษาภายใต้แนวความคิด Constructionism เพื่อสร้างความพร้อมเพื่อก้าวไปสู่การเป็นพลเมืองโลก (Global Citizen) อย่างสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ โดยต้องคล่องแคล่วใน 3 เรื่อง ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และเทคโนโลยี นั้นสามารถนำไปใช้กับทุกคนได้เพื่อทำให้หลุดพ้นจากข้อจำกัด (Constraint) หรือสิ่งที่ทำให้เราเสียเปรียบคู่ต่อสู้ (Transaction cost) คุณภาพด้านการศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญเพราะมันมีส่วนต่อคุณภาพทรัพยากรมนุษย์โดยตรง ดังนั้น ในองค์กรจึงต้องพยายามสร้างวัฒนธรรมในการเรียนรู้(Learning Organization) โดยเน้นให้คนคิดเป็น วิเคราะห์เป็น เรียนรู้อยู่ตลอดชีวิต และเรียนรู้ในการเชื่อมโยงศาสตร์หลาย ๆ ศาสตร์เข้าด้วยกัน ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดผลในองค์กรอย่างจริงจังนั้น จะต้องได้รับความสนับสนุนและเป็นตัวอย่างที่ดีจากเจ้านายระดับบนที่เห็นความสำคัญและเห็นคุณค่าของการพัฒนาคนเพื่อสร้างหรือทำให้เกิดมูลค่าเพิ่ม (Valued creation) ในตัวมนุษย์ให้เขาเห็นเสียก่อน

การสร้างแรงจูงใจที่โดดเด่นคือ การมีจุดร่วมที่ผู้บริหารมีใจตรงกัน มีศรัทธาซึ่งกันและกัน รู้สึกว่าผู้บริหารเป็นคนที่ดีที่นำทางไปในทางที่ดี เรายินดีที่จะทุ่มเทให้ ไม่ได้ทำเพื่อเงินทอง แต่ทำเพื่อความรุ่งเรืองขององค์กรของเรา อะไรที่ทำไปแล้วรู้สึกว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของความดีนั้นและไม่อยากให้การกระทำของเราทำให้องค์กรที่ดีอยู่แล้วถูกทำลายลง สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ จิตใจคน ถ้าจิตใจสงบ บรรยากาศดีรวมถึงในแง่ของความเป็นมิตร เป็นทีมเวิรค์ของผู้ร่วมงาน เราก็ทำงานได้ดี คนไม่ได้ต้องการผลตอบแทนที่เป็นเงินอย่างเดียว แต่ยังต้องการผลตอบแทนทางใจด้วย

การพัฒนานักบริหารที่เด่นขององค์กรภายใต้โปรแกรม Management Development Program (MDP) จะมีการเรียน-การสอนโดยการใช้ภาษาอังกฤษทั้งหมด อาจารย์จะเอาบทความให้อ่าน มีcase study วิชาที่สอนคือ การผลิต การตลาด การเงิน Information Technology การบริหารทรัพยากรบุคคลและการบริหารกลยุทธ์ ทุกคนจะมีการพบปะกันในชั้นเรียนทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งสิ่งที่ประเมินได้จาก MDP ว่าได้ประโยชน์มากที่สุดคือ ทีมเวิรค์ และเพื่อน สิ่งต่อมาคือ ความรู้ และสิ่งสุดท้ายคือ ทำตัวเองให้ทันสมัย บริหารงานได้ ซึ่งอาจเปรียบได้กับการมาอบรมโครงการผู้นำขั้นสูงของสันนิบาต ที่ผู้นำทั้งหลายจะได้มาเรียนรู้ร่วมกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเปิดโลกทัศน์หรือวิสัยทัศน์ให้กว้างขึ้น เพื่อนำสิ่งที่ได้รับมาไปใช้เพื่อสร้างสรรค์องค์กรต่อไป

เศรษฐศาสตร์จุลภาคมีความสำคัญต่อสหกรณ์ ดังนี้

1. การพัฒนาบุคลากร บุคลากรก็จัดเป็นทรัพยากรอย่างหนึ่งที่ต้องส่งเสริมและพัฒนา เช่น การส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับ คณะกรรมการ ฝ่ายจัดการ หรือเจ้าหน้าที่และลูกจ้างเพื่อนำมาซึ่งการพัฒนาองค์กร โดยเฉพาะ สหกรณ์การเกษตรซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ขาดความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการ ดังนั้นสหกรณ์ฯจึงจ้างเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นคนที่มีความรู้ความสามารถ แต่ถ้าสหกรณ์ได้คนที่มีความรู้มาแล้ว แต่คนเหล่านั้น ขาดจริยธรรม คุณธรรม ก็จะกลายเป็นดาบสองคม ซึ่งจะทำให้เกิดการทุจริตได้ง่ายในระบบสหกรณ์ ซึ่งผู้บริหารหรือผู้กำหนดนโยบายไม่สามารถควบคุมได้เนื่องจากยังขาดความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการเพราะเป็นเกษตรกรซึ่งได้รับการเลือกตั้งมา ดังนั้นฝ่ายส่งเสริมทางภาครัฐจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับเกษตรกรเพื่อประโยชน์สูงสุดของสมาชิกสหกรณ์และประเทศชาติ

2. การนำเทคโนโลยี สมัยใหม่มาใช้นั้นได้เปลี่ยนแปลงจากสหกรณ์สมัยก่อนมากเพราะมีการแข่งขันกันในเชิงธุรกิจสูง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการทำธุรกิจและสู้กับภาคเอกชนได้ (ความเป็นจริงสหกรณ์จะเป็นฝ่ายได้เปรียบเพราะเป็นเจ้าของต้นทุนทุกอย่างตั้งแต่ผลิตถึงแปรรูป แต่การบริหารจัดการสหกรณ์ยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถจึงทำให้ไม่สามารถสู้กับการบริหารของภาคเอกชนได้ รวมทั้งการจัดการที่ไม่โปร่งใส)

3. การจัดการอย่างมีระบบแบบแผน สหกรณ์มีระบบที่จัดไว้อย่างชัดเจนและมีการกำหนดแผนงานในการทำงานแต่ละปี แต่ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยได้ทำตามระบบขั้นตอนการทำงาน เช่น การกำหนดกำไรสุทธิ การกำหนดแผนความพึงพอใจของสมาชิก หรือลูกค้า ข้อร้องเรียนต่าง ฯลฯ สหกรณ์ต้องเปรียบเทียบแผนปี ต่อเดือนจะได้รู้และวิเคราะห์ได้ถึงสาเหตุและสามารถที่จะแก้ปัญหาได้ทันท่วงที หรือ สหกรณ์บางสหกรณ์อาจจะทำแผนระยะยาว เช่น แผนสองปี สามปี หรือห้าปี ว่าสหกรณ์จะต้องเป็นอย่างไรและก้าวหน้าอย่างไร ในอีกสามปีห้าปีข้างหน้าและต้องทบทวนทุกปี เพื่อนำข้อบกพร่องมาปรับปรุงแก้ไขและนำไปสู่เป้าหมาย

4. การสร้างความศรัทธาของสมาชิกต่อองค์กรและผู้ที่จะเข้ามาเป็นสมาชิก การสร้างความศรัทธาของสมาชิกนั้นขึ้นอยู่กับผู้บริหารไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการ หรือผู้จัดการ เพราะเจ้าของที่เป็นสมาชิกนั้น สิ่งที่จะทำให้เขาศรัทธาได้ก็คือการที่ทำให้เขาได้รับประโยชน์สูงสุดไม่ว่าจะเป็นผลประโยชน์ทางตรงหรือผลประโยชน์ทางอ้อม ผลประโยชน์ทางตรง เช่น การรับซื้อผลผลิตจากสมาชิกที่ราคาสูงกว่าท้องตลาดทั่วไป การที่สหกรณ์มีผลกำไรแล้วได้คืนเงินปันผลหรือเฉลี่ยคืนตามส่วนธุรกิจให้กับสมาชิกก ฯลฯ ผลประโยชน์ทางอ้อม เช่น การที่สหกรณ์กำหนดราคาตามความเป็นจริงแล้วทำให้พ่อค้าคนกลางซึ่งจะกดราคาของผลผลิตให้ตกต่ำนั้นไม่สามารถที่จะกระทำได้เพราะสหกรณ์จะเป็นองค์กรที่กำหนดราคาให้กับเกษตรกร ฯลฯ

5. การเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจสหกรณ์ และการจัดตั้งชุมนุมสหกรณ์ จะทำให้สหกรณ์มีระบบการจัดการที่ครบวงจรมีพลังในการเจรจาต่อรองเพิ่มขึ้น และช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้

เรียน ท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

ผมต้องขออภัยท่านอาจารย์ด้วยที่ ส่งงาน (การบ้าน) เศรษฐศาสตร์จุลภาคเกี่ยวข้องกับสหกรณ์อย่างไร (ความคิดเห็นที่ 92)ซึ่งหัวข้อไม่ได้เรียนท่านอาจารย์ เนื่องจากความบกพร่องและตรวจทานไม่ละเอียดรอบคอบ กราบขออภัยครับ

พงศ์พันธ์ เหลืองวิไล

เรียน อาจารย์ดร.จีระ ผมขอส่งการบ้านในการสรุปสาระสำคัญของหนังสือ HR.CHAMPIONS โดยแบ่งออกเป็น 5 ช่วงหลัก ดังนี้

1) เรื่องของสองแชมป์

เป็นการกล่าวถึงบุคคล 2 ท่าน คือ คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่มีความเชื่อ ความศรัทธา และความมุ่งมั่นในเรื่องของคนตรงกัน ซึ่งเชื่อว่า คน คือ ผลกำไรที่แท้จริงขององค์กร หากได้รับการดูแลเอาใจใส่ศักยภาพโดยการพัฒนาอย่างจริงจัง สม่ำเสมอและเป็นระบบ เพื่อพัฒนาคุณภาพของคนเพื่อนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตให้แก่องค์กรได้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด นอกจากนั้น บุคคลในองค์กรยังต้องมีความจงรักภักดีและมีวินัย เมื่อมีความเข้าใจร่วมกันและเห็นพ้องต้องกันแล้วก็ทำกันอย่างพร้อมเพรียงเพื่อบรรลุเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว

2) คัมภีร์คนพันธุ์แท้

เป็นการกล่าวถึง ปรัชญาของทรัพยากรมนุษย์ ที่ถือว่า คนเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญที่สุดขององค์กร ด้วยการพัฒนามนุษย์โดยมุ่งเน้นการเรียนรู้ (Learning) ที่ไม่ใช่เป็นการฝึกอบรม (Training) พร้อมทั้งบอกถึงกลยุทธ์ในการสร้างความเป็นเลิศให้องค์กรจากแรงจูงใจ แรงจูงใจที่โดดเด่น คือ การมีจุดร่วมที่ผู้บริหารมีใจตรงกัน มีศรัทธาซึ่งกันและกัน รู้สึกว่าผู้บริหารเป็นคนที่ดี ที่นำทางในทางที่ดี เรายินดีที่จะทุ่มเทให้ ไม่ได้ทำเพื่อเงินทองแต่ทำเพื่อความรุ่งเรืองขององค์กรของเรา อะไรที่ทำไปแล้วรู้สึกว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของความดีนั้น และไม่อยากให้การกระทำของเราทำให้องค์กรที่ดีอยู่แล้วถูกทำลายลง สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ อยู่ที่จิตใจคน ถ้าจิตใจสงบ บรรยากาศดีรวมถึงแง่ของความเป็นมิตร เป็นทีมเวิคร์ เราก็ทำงานได้ดี อาจสรุปได้ว่า คนไม่ได้ต้องการผลตอบแทนที่เป็นเงินทองอย่างเดียว แต่ยังต้องการผลตอบแทนทางใจด้วย

3) จักรวาลแห่งการเรียนรู้

ในช่วงนี้เป็นการเน้นการขยายผลการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยให้เราเป็น Good Learner มีความสามารถในการเรียนรู้ และสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต การพัฒนาคุณภาพของคน จำเป็นต้องพัฒนาในทุก ๆ ด้าน เป็นผู้ทรงคุณภาพที่สามารถเรียนรู้กระบวนการชี้นำตัวเองและผู้อื่นให้เป็นมนุษย์ที่พัฒนาแล้ว เป็นมนุษย์ที่เรียนรู้วิธีการที่จะเป็นคนเก่ง คนดี มีความสุขด้วยตนเองด้วย ดังนั้นสิ่งที่จำเป็นอีกอย่างหนึ่งคือ ต้องเป็นคนเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เพื่อทำให้โลกทัศน์กว้างยิ่งขึ้น คุณภาพด้านการศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญต่อคุณภาพทรัพยากรมนุษย์โดยตรง การพัฒนาการศึกษาภายใต้แนวคิด Constructionism ที่ให้”ผู้เรียน” เป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ เพื่อสร้างความพร้อมเพื่อก้าวไปสู่การเป็นพลเมืองโลก (Global Citizen) อย่างสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ โดยต้องมีคุณสมบัติ 3 ประการ คือ 1) ความคล่องแคล่วในภาษาไทย ภาษาอังกฤษ 2) เทคโนโลยี 3) คุณธรรม

4) สู่การเพิ่มผลผลิต

ทั้ง 2 ท่าน มีความคิดเห็นตรงกันเกี่ยวกับ การเห็นคุณค่าของคน คนเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร “คุณภาพของคน” กับ “การเพิ่มผลผลิต”(Productivity Improvement) มีความสัมพันธ์กันในการนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ โดยการดูแลคนอย่างดี มีการพัฒนาคนให้มีความรู้ ความสามารถเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งผู้บริหารจะต้องทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ฝึกสอนและพี่เลี้ยงพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาตลอดเวลา เพื่อให้เขาสามารถเรียนรู้และสามารถปลดปล่อยความรู้ความสามารถของเขาออกมาอย่างเต็มที่ ด้วยการส่งเสริมการทำงานเป็นทีม และสนับสนุนให้มีการศึกษาและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

5) คือ นิยาม “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

เป็นการตอกย้ำถึงความเชื่อและแนวทางการทำงานที่มุ่งมั่นในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญที่สุดเหนือกว่าทรัพยากรอื่นใด เนื่องจากคน สามารถเป็นทั้งผู้สร้าง ผู้พัฒนา และผู้ทำลายทรัพยากรอื่น ๆ ดังนั้น การพัฒนาคน จึงถือว่าเป็นขบวนการที่เริ่มตั้งแต่เกิดขึ้นมาจนกระทั่งตายไป โดยมีระบบ วิธีการตลอดจนปัจจัยประกอบอื่น ๆ ที่แตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค แต่ละประเทศ ดังนั้น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในที่ต่าง ๆ จึงมีระดับคุณภาพและศักยภาพแตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา

นายพงศ์พันธ์ เหลืองวิไล

เรียน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

เศรษฐศาสตร์จุลภาคมีประโยชน์อย่างไรกับสหกรณ์ ยกตัวอย่าง 5ข้อ พร้อมเหตุผลประกอบ

เนื่องจากผมอยู่ในส่วนสหกรณ์ออมทรัพย์ขอมองอย่างนี้

1.กรรมการต้องใช้หลัก เศรษฐศาสตร์จุลภาค มาใช้ในการบริหารเงิน ต้องศึกษาตลาดเงิน เช่น ช่วงเวลาที่ธนาคารพาณิชย์ นำเงินออกมาปล่อยกู้มากๆ อัตราดอกเบี้ยต่ำๆ แสดงว่าไม่ใช่ช่วงเวลาที่สหกรณ์จะปรับอัตราดอกเยี้ย เพราะไม่ปรับเงินก็จะใหลออกอยู่แล้วก็ต้องปรับกลยุทธ์ตาม เพื่อรักษาลูกค้าไว้

2.สมาชิกต้องใช้หลักดุลยภาพ มาใช้ในการดำรงชีวิต หากใช้จ่ายพอดีกับเงินที่หามาได้ก็ไม่เป็นหนี้ แต่ไม่มีเงินออม หากหาได้มากกว่ารายจ่าย ก็จะมีเงินออม หากใช้จ่ายมากกว่าที่หามาได้ก็จะต้องกู้เงินมาใช้ ดังนั้น จึงต้องพึ่งหลักเศรษฐศาสตร์มาใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน

3.หลักเศรษฐศาสตร์ยังสามารถใช้เพื่อการทำนาย ในการบริหารเงินของคณะกรรมการสหกรณ์ คือหากธนาคารพาณิชย์ปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่มหรือรัฐบาลออกพันธบัตร ไทยเข้มแข็ง สามารถทำนายได้ว่าเงินฝากของสหกรณ์มีแนวโน้มที่จะไหลออกมากหรือน้อยต้องคาดเดาต่อไป เพื่อจะได้เตรียมการจัดเงินสดรักษาสภาพคล่องได้ถูกต้อง

4.ในสหกรณืออมทรัพย์เราได้จัดสรรกำไรส่วนหนึ่ง ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยให้การศึกษาอบรมณ์กลุ่มสมาชิกที่ยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ด้านการเงิน ให้รู้จักใช้เงินเช่น การจัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออก ส่งผลให้หลุดพ้นจากการกู้เพื่อการยังชีพ ซึ่งคนกลุ่มนี้ในสหกรณ์มีประมาณ 5 เปอร์เซนต์

5.ในระบบสหกรณ์ หากมีระบบ Rent เข้ามาเมื่อใดในการจัดซื้อจัดหา เช่น บริษัทประกันชีวิต มักจะมี Rent ที่มิควาได้อยู่เนืองๆ ขึ้นอยู่กับทุนทางจริยธรรมของคณะกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ แต่ Rent แบบความสามารถนั้นควรได้เช่น เงินโบนัสประจำปี ซึ่งเป็นผลตอบแทนจากการบริหารงานของกรรมการและเจ้าหน้าที่จึงควรได้รับส่วนนี้ไป

นายอรรถพล ชุมประยูร(สงขลา)

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผมกราบขออภัยด้วยที่ส่งการบ้านล่าช้า เนื่องจากภารกิจในสหกรณ์ยุ่งมากจริงๆ แต่ส่งช้าดีกว่าไม่ส่งใช่ไหมครับ

โดยสรุปหลักเศรษฐศาสตร์จุลภาคเบื้องต้น ฯลฯ 5 ข้อที่มีประโยชน์ต่อสหกรณ์ในภาคเกษตร ดังนี้

1. การวิเคราะห์อุปสงค์ของสินค้า จะทำให้เราสามารถวิเคราะห์ความต้องการของสมาชิกสหกรณ์ ในความต้องการบริโภคสิ้นค้านั้นๆ เพื่อที่จะกำหนดราคาให้ถูกต้อง

2. Cost ที่มองไม่เห็น หรือต้นทุนค่าเสียโอกาส คือจะทำให้สามารถวิเคราะห์ได้ว่าควรจะผลิตสินค้าชนิดนั้นๆ ต่อ หรือเปลี่ยนไปผลิตสินค้าชนิดอื่น เพราะเราสามารถวิเคราะห์ผลตอบแทนต่อปัจจัยการผลิตได้

3. การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน ทำให้เราสามารถวิเคราะห์ถึงปริมาณจำนวนที่จะผลิต หรือที่จะซื้อมาเพื่อขายให้กับสมาชิก ในปริมาณเท่าใด จึงจะคุ้มทุน ทำให้ไม่สั่งซื้อสินค้า หรือผลิตสิ้นค้ามากจนค้างสต๊อค หรือน้อยเกินไปจนไม่เพียงพอต่อความต้องการของสมาชิก

4. การตั้งราคาจำหน่ายสินค้า เพราะเมื่อเราทราบว่าปัจจัยการผลิตเท่าใด จุดคุ้มทุนอยู่ตรงใหน ทำให้เราสามารถกำหนดราคาให้สมาชิกซื้อสินค้าในราคาถูกได้ (ไม่เอากำไรเกินควร)

5. ทำให้มีความรู้สึกเป็นเจ้าของ เพราะเมื่อเราสามารถวิเคราะห์จุดต่าง ๆ ได้ ใน 4 ข้อด้านบน จะทำให้สมาชิกได้ใช่สินค้าที่ดี มีคุณภาพ และราคาถูก (มีเฉลี่ยคืนอีกต่างหาก) ทำให้มีความรู้สึกเป็นเจ้าของมากขึ้น

สวัสดีครับ ท่านผู้นำ

ทำการบ้านเสร็จหรือยังครับ ผมต้องการความช่วยเหลืออยู่ครับ

นายสุทิน กิ้มหิ้น สกก.รัตภูมิ จำกัด

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผมกราบขออภัยอาจารย์เป็นอย่างสูงที่ส่งการบ้านล่าช้า จากที่กำหนดให้ส่งภายใน 3 วัน เนื่องจากติดภารกิจประชุมใหญ่สามัญประจำปี ของสหกรณ์ และจัดงานครบรอบวันก่อตั้งของสหกรณ์ จึงอภัยอาจารย์มา ณ โอกาสนี้

ผมขอส่งการบ้านในเรื่องของหลักเศรษฐศาสตร์จุลภาคเบื้องต้น และเศรษฐศาสตร์การจัดการเพื่อการทำงานของสหกรณ์

1) ในเรื่องของทุนทาง IT (Digital Capital) ทำให้มองเห็นต้นทุนชนิดนี้ว่าบางครั้ง การประชาสัมพันธ์ย่อมมีผลดีกับสหกรณ์ๆ จำเป็นต้องลงทุนด้วย

2) ในเรื่องความแตกต่างในส่วนของ Rent เพราะบางครั้งถ้าเราไม่ขอรับในส่วนต่างระหว่างมูลค่าจริง กับมูลค่าที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ราคาสินค้าจะถูกกว่ามาก

3) ในเรื่องการกำหนดราคาในรูปแบบตลาดผูกขาด (เพราะมีจำหน่ายที่สหกรณ์แห่งเดียว) บางครั้งอาจจะเป็นตัวกำหนดในเรื่องราคาสูง (สมาชิกจำเป็นต้องซื้อ)

4) ทำให้ทราบถึงจุดดุลยภาพ ว่าสหกรณ์ควรผลิตสินค้าหรือสั่งซื้อสินค้าเท่าใดที่จะทำให้สหกรณ์ได้รับกำไรสูงสุด หรือขาดทุนน้อยที่สุด

5) ทำให้ทราบถึงระบบตลาดว่ามีระบบแข่งขันสมบูรณ์ และตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ เพื่อให้สหกรณ์สามารถกำหนดราคาได้ถูกต้อง

เรียน ผนส.รุ่น 4 ทุกท่าน

กำหนดการฝึกอบรมมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้

วันที่ 25 ก.ย. 2552 เวลา 13.00 - 16.00 น. เปลี่ยนเป็น วิชา "ระเบียบ /กฎหมายสหกรณ์ที่ผู้นำควรรู้" โดย อัยการปรเมศวร์ อินทรชุมนุม

ส่วนท่าน ผนส.ที่ยังไม่ได้ส่งการบ้านของ ศ.ดร.จีระ ให้รีบดำเนินการ

สุดท้ายวันที่ 25 - 26 ก.ย. ฝึกอบรมครั้งที่ 2 ขอความร่วมมือทุกท่าน ใส่เสื้อยืดสีขาว และแจ็คเก็ตดำ (เสื้อรุ่น) ทุกท่านครับ

โปรดคลิกที่นี่เพื่ออ่านข่าวโครงการ

http://www.naewna.com/news.asp?ID=179429

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผมขอโทษด้วยครับที่ส่งการบ้านล่าช้าแต่ก็ได้ส่งมาแล้วครับ จากการเรียนวิชาหลักเศรษฐศาสตร์จุลภาคเบื้องต้นฯ พอสรุปเนื้อหาที่มีผลกระทบกับสหกรณ์ และเพื่อให้ก่อประโยชน์กับสหกรณ์ ดังนี้

1. สหกรณ์การเกษตรฯ ควรหันมาดูในเรื่องของการเก็บรักษาผลผลิต เพราะหากมีผลผลิตมากราคาจะถูก ดังนั้นควรที่จะพัฒนาระบบจัดเก็บผลผลิตให้คงทน และยาวนาน และมีคุณภาพเดิม เพื่อที่จะรอช่วงที่จะจำหน่ายให้ได้ราคาสูงสุด

2. ในเรื่องของระบบข้อมูลข่าวสาร เพราะว่าสมาชิกสหกรณ์ในภาคเกษตรไม่ค่อยที่จะมีความรู้ในเรื่องระบบข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัย หรือทันต่อเหตุการณ์ ทำให้ขาดโอกาสในด้านต่างๆมากมาย

3. ทำให้เรามองเห็นว่าจะทำอย่างไรที่จะลดต้นทุนการผลิตให้มากที่สุด แต่ทำให้ได้คุณภาพสินค้ามากที่สุด

4. ทำให้มองเห็นถึงราคาสินค้า ว่ารสนิยม และแผนความพอใจของผู้บริโภคมีส่วนในด้านการกำหนดราคาสินค้าด้วย

5. ทำให้ทราบถึงด้านต้นทุนการผลิต เกี่ยวกับราคาของปัจจัยการผลิต เพราะเป็นตัวจำกัดความสามารถในการผลิตของผู้ผลิต เพราะถ้าราคาปัจจัยการผลิตสูงขึ้น สหกรณ์ฯก็จะซื้อปัจจัยการผลิตมาใช้ได้น้อยลง เพราะมีงบประมาณจำกัด เมื่อมีปัจจัยการผลิตน้อยลงก็ทำให้ผลผลิตที่ได้จากการผลิตมีจำนวนน้อยลงไปด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท