เจตคติ


                                                                         เจตคติ

ความหมายของเจตคติ

               เจตคติหรือทัศนคติ เป็นความรู้สึกเชื่อ ศรัทธาต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด จนเกิดความพร้อมที่จะแสดงการกระทำออกมา ซึ่งอาจจะไปในทางดีหรือไม่ดีก็ได้ เจตคติยังไม่เป็นพฤติกรรมแต่เป็นตัวการที่จะทำให้เกิดพฤติกรรม ดังนั้น เจตคติจึงเป็นคุณลักษณะของความรู้สึกที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในใจ

ประโยชน์ของเจตคติ

1. เจตคติเป็นคำย่อของการอธิบายความรู้สึกยาว ๆ คลุมพฤติกรรมต่าง ๆ ได้มาก

2. เจตคติใช้พิจารณาเหตุของพฤติกรรมของบุคคลที่มีต่อสิ่งอื่นหรือมีต่อเป้าเจตคติของคน ๆ นั้น

3. เจตคติสามารถมองสังคมได้

4. เจตคติมีความดีงานในตัวของมันเอง

5. เจตคติเกิดจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม จึงต้องศึกษาสัญชาติญาณและปรับสิ่งแวดล้อม

6. เจตคติเป็นศูนย์ความคิดเห็นและเป็นฐานของพฤติกรรมสังคม

วิธีศึกษาเจตคติ Oskamp ได้สรุปไว้ที่ใช้ได้ผลดีมีอยู่ 5 วิธี ดังนี้

            1. ศึกษาโดยวิธีการพรรณนา สามารถศึกษากลุ่มเดี่ยว ๆ ได้และควรเป็นกลุ่มที่น่าสนใจ เช่น กลุ่มเด็กปัญญาอ่อน เด็กหนีโรงเรียน

            2. ศึกษาโดยวิธีการวัด (Measurement) วิธีการวัดที่ถือว่าเป็นแบบมาตรฐานคือวิธีของ เทอร์สโตน ลิเคอร์ท กัตแมน และออสกูด

            3. ศึกษาโดยวิธีโหวตเสียง เพื่อแสวงหาความคิดเห็นของประชาชนแต่ขณะเดียวกันสามารถศึกษาเจตคติได้ด้วย

            4. ศึกษาโดยวิธีทางทฤษฎี (Theories)

            5. ศึกษาโดยวิธีการทดลอง (Experiments) เป็นการจัดกระทำกับสถานการณ์หนึ่งโดยทั่วไปจะมีตัวแปรควบคุมให้มีสภาพเหมือนเดิมกับตัวแปรทดลองที่จัดกระทำอะไรบางประการแล้วนำมาเปรียบเทียบกันดูว่าจะมีผลอะไรเกิดขึ้นจากตัวแปรทดลองหรือไม่

มิติของเจตคติจากแนวความคิดของนักจิตวิทยา มีลักษณะดังนี้ (ซึ่งรวบรวมโดย ชอว์และไรท์)

1.         เจตคติขึ้นอยู่กับการประเทินมโนภาพของเจตคติ แล้วเกิดเป็นพฤติกรรมแรงจูงใจ แต่ถ้าแสดงออกเป็นพฤติกรรมแล้วจะเป็นลักษณะ 4 กลุ่ม คือ

·       Positive-approach เช่น ความเป็นเพื่อน ความรัก

·       Negative-approach เช่น การโจมตี ด่าว่า ต่อสู้

·       Negative-avoidance เช่น ความกลัว ความเกลียด

·       Positive-avoidance เป็นลักษณะเจตคติดีทางบวก แต่ก็อยากจะหลบหลีก เช่น การปล่อยให้เขาอยู่เงียบ ๆ เมื่อเขามีทุกข์

2. เจตคติเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นตามแนวของทิศทาง คือเป็นการแสดงความรู้สึกว่าไปทางบวกมาก 

หรือน้อย ไปทางลบมากหรือน้อย

1.      เจตคติเกิดจากการเรียนรู้มากกว่ามีมาเองแต่กำเนิด

2.      เจตคติขึ้นอยู่กับเป้าเจตคติหรือกลุ่มสิ่งเร้าเฉพาะอย่าง

3.      เจตคติที่มีค่าสหพันธ์ภายในเปลี่ยนแปลงไปตามกลุ่ม

4.      เจตคติมีลักษณะมั่นคงและทนทานเปลี่ยนแปลงยาก

แนวคิดของเซกส์ มองคุณลักษณะของเจตคติแปรเปลี่ยนไป 5 ประการดังนี้

1.      มีทิศทาง (direction) เจตคติมีทิศทาง เพราะความรู้สึกของคนที่มีต่อเป้าเจตคติเป็นบวกหรือลบ

2.      มีความเข้มข้น (Intensity) เจตคติเป็นความรู้สึกต่อเนื่องตั้งแต่บวกถึงลบ

3.      มีการแผ่ซ่าน (Pervasiveness) เจตคติมีลักษณะแพร่กระจายหรือแผ่ซ่านจากกลุ่มหนึ่งไปสู่อีกกลุ่มหนึ่งได้

4.      มีความคงเส้นคงวา (consistency) เจตคติเป็นความรู้สึกที่ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงง่าย ๆ เป็นความรู้สึกที่ค่อนข้างคงที่

5.      มีความพร้อมที่จะแสดงออกเด่นชัด

องค์ประกอบของเจตคติ ปัจจุบันมีความคิดเห็นแตกต่างกันอยู่ 3 กลุ่มคือ

            1. เจตคติมีองค์ประกอบเดียว เทอร์สโตน แอลพอร์ต กลุ่มนี้จะมองเจตคติเกิดจากการประเมินเป้าของเจตคติว่ารู้สึกขอบหรือไม่ชอบ

            2. เจตคติมีสององค์ประกอบ  แคทซ์ กลุ่มนี้ จะมองเจตคติจากด้านสติปัญญาและด้านความรู้สึก

            3. เจตคติมีสามองค์ประกอบ ได้แก่

                        - ด้านสติปัญญา

                        - ด้านความรู้สึก

                        - ด้านพฤติกรรม

เครื่องมือในการวัดเจตคติ ที่นิยมใช้กันมีอยู่ 5 ชนิดคือ

1.      สัมภาษณ์ (Interview) หมายถึง การพูดคุยกันอย่างมีจุดมุ่งหมาย ซึ่งการสัมภาษณ์มีทั้งแบบมาตรฐานและแบบไม่มาตรฐาน ลักษณะของการสัมภาษณ์ที่ดีควรมีลักษณะดังนี้

·       การสัมภาษณ์ต้องเป็นการยั่วยุหรือกระตุ้นให้ผู้ถูกสัมภาษณ์อยากจะตอบและให้คำตอบที่คงที่พอควร

·       คำถามที่ถามพยายามถามให้ตรงจุดที่สุด

·       คำถามควรมีความเชื่อมั่นสูง

·       คำถามที่ใช้สัมภาษณ์ควรจะได้คำตอบที่สามารถนำไปขยายอิงสู่เหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันได้

2.      การสังเกต (Observation) คือการเฝ้ามองดูสิ่งหนึ่งสิ่งใด อย่างมีจุดมุ่งหมาย

3.      การรายงานตนเอง (Self-Report)  ต้องให้ผู้ถูกสอบแสดงความรู้สึกของตนเองตามสิ่งเร้าที่เขาได้สัมผัส นั่นคือสิ่งเร้าที่เป็นข้อความ ข้อคำถาม หรือเป็นภาพเพื่อให้ผู้สอบแสดงความรู้สึกออกมาอย่างตรงไปตรงมานั่นเอง

4.      เทคนิคการจินตนาการ (Projective Techniques)  แบบนี้อาศัยสถานการณ์หลายอย่างไปเร้าผู้สอบ สถานการณ์ที่กำหนดให้จะไม่มีโครงสร้างที่แน่นอนทำให้ผู้สอบจะต้องจินตนาการออกมาตามแต่ประสบการณ์เดิมของตน แต่ละคนจะแสดงออกมาไม่เหมือนกัน

5.      การวัดทางสรีระภาพ (Physiological measurement) อาศัยเครื่องมือไฟฟ้าหรือเครื่องมืออื่น ๆ ในการสังเกตการเปลี่ยนแปลงสภาพของร่างกาย

 

 

หมายเลขบันทึก: 295564เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2009 21:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท