การประเมินโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนบ้านนาอินทร์แต่ง อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ


การประเมินโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนบ้านนาอินทร์แต่ง อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ

เรื่อง                                          การประเมินโครงการอาหารกลางวัน โรงเรียนบ้านนาอินทร์แต่ง

                                               ตำบล  ภูแลนคา  อำเภอบ้านเขว้า  จังหวัดชัยภูมิ

ผู้รายงาน                                 นายมารุต  กุลโนนแดง

ระยะเวลาดำเนินการ             16  พฤษภาคม  2550 -  31  มีนาคม  2551

 

บทคัดย่อ

 

                                การประเมินโครงการอาหารกลางวัน โรงเรียนบ้านนาอินทร์แต่ง  อำเภอบ้านเขว้า  จังหวัดชัยภูมิครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม  เพื่อประเมินปัจจัย  เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงาน   เพื่อประเมินผลผลิต   และเพื่อประเมินผลกระทบของโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนบ้านนาอินทร์แต่ง   โดยประชากรที่ใช้ในการประเมินมีจำนวน  92  คน  ประกอบด้วย  นักเรียนทั้งหมด จำนวน  46  คน  ผู้ปกครอง  จำนวน  35  คน  ครู  จำนวน  4  คน  และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  จำนวน  7  คน  กลุ่มตัวอย่าง  จำนวน  65  คน  ประกอบด้วย  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4 - 6  จำนวน  19  คน  ครู  จำนวน  4  คน  ผู้ปกครอง  จำนวน  35  คน  และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  จำนวน  7  คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง  (Purposive  sampling)  โดยรูปแบบในการศึกษาครั้งนี้ใช้  CIPPI  Evaluation  Model  โดยมุ่งประเมิน  5  ด้าน  ได้แก่  ด้านสภาพแวดล้อม  (Context)  ด้านปัจจัย  (Input)  ด้านกระบวนการ  (Process) 

ด้านผลผลิต  (Product)  และด้านผลกระทบ  (Impact)  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า  (Rating  scale)  5  ระดับ  จำนวน 1 ฉบับ  มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ  0.8645  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

                ผลการศึกษา  ปรากฏดังนี้ 

                                1.   ด้านสภาพแวดล้อม  (Context)  พบว่า  ในภาพรวม  มีระดับค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 

                     2.  ด้านปัจจัยนำเข้า  (Input )  พบว่า  ในภาพรวม  มีค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 

                     3.  ด้านกระบวนการ  (Process)  พบว่า  ในภาพรวมผู้ตอบแบบสอบถามมีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นกับการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันในระดับมาก 

                    4.  ด้านผลผลิต  (Product)  พบว่า  ในภาพรวม  มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นในระดับมาก 

                    5.  ด้านผลกระทบ  (Impact)  พบว่า  ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นด้านผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโครงการอาหารกลางวันในระดับมาก  ประเด็นที่น่าสนใจอีกประเด็น  มีค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นมาก  คือ  นักเรียนมีความกระตือรือร้นต้องการที่จะมาโรงเรียน 

                   สรุป  ผลการประเมิน  5  ด้าน  ได้แก่  ด้านสภาพแวดล้อม  ด้านปัจจัยนำเข้า  ด้านกระบวนการ  ด้านผลผลิต  ด้านผลกระทบ  โดยภาพรวมทุกด้าน  มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นในระดับมาก  จากผลการประเมินโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนบ้านนาอินทร์แต่ง  จะเห็นได้ว่าโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนบ้านนาอินทร์แต่ง  มีประโยชน์มากสำหรับนักเรียน  ครู  โรงเรียน  และชุมชน  ซึ่งผลการประเมินโครงการทำให้ทราบจุดเด่น  จุดด้อยของการดำเนินงานตามโครงการ  ข้อมูลต่างๆเหล่านี้  ทางโรงเรียนบ้านนาอินทร์แต่งจะได้นำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนพัฒนางานโครงการอาหารกลางวันในปีการศึกษาต่อไป  ให้มีประสิทธิภาพมากกว่าที่เป็นอยู่นี้เพื่อให้นักเรียนได้รับประโยชน์ให้มาก  และชุมชนเกิดความพึงพอใจมากที่สุด           

 

หมายเลขบันทึก: 295192เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2009 13:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 18:03 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณสำหรับความรู้เรื่องอาหารกลางวัน จะนำไปทำวิจัยบ้างค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท