แผนการจัดการเรียนรุ้เศรษฐกิจพอเพียงวิชาภาษาอังกฤษชั้นม.4


แผนการจัดการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

แผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการหลักเศรษฐกิจพอเพียง

 

1. ชื่อหน่วยการเรียนรู้           เกษตรบ้านเรา ( คุณค่าทางอาหารของผลไม้ )

2. กลุ่มสาระการเรียนรู้          ภาษาต่างประเทศ    รหัสวิชา อ41101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  

                                                    เวลา   2   ชั่วโมง

3. วิเคราะห์ความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้

                    มต. 1.1.2   อ่านออกเสียงบทอ่านให้ถูกต้องตามหลักการอ่านออกเสียง และเหมาะสมกับเนื้อหาที่อ่าน                                           มต. 1.1.4  เข้าใจ ตีความ วิเคราะห์ และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อความ ข้อมูล ข่าวสาร บทความ สารคดี บันเทิงคดี จากสื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์  

                    มต. 2.2.1  เข้าใจความแตกต่าง ระหว่างภาษาอังกฤษกับภาษาไทยในเรื่องคำ วลี สำนวน ประโยคและข้อความที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น และนำไปใช้ได้อย่างมีวิจารณญาณ

                    มต. 1.3.1 นำเสนอข้อมูล เรื่องราว รายงานเกี่ยวกับประสบการณ์และเหตุการณ์หรือเรื่องทั่วไป  

                มต. 1.3.3นำเสนอความคิดเห็นที่มีต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ กิจกรรมสินค้าในท้องถิ่นของตนด้วยวิธีการหลากหลายได้อย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ

                3.1 (ข้อ 5)  เข้าใจเกี่ยวกับระบบและวิธีการของเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้

4. คำอธิบายหน่วยการเรียนรู้

                ฝึกให้ผู้เรียนมีทักษะพื้นฐานในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน

ในด้านทักษะฟัง พูด อ่าน เขียน คำชี้แจง คำบรรยาย คำแนะนำ สารสนเทศ และคู่มือต่าง ๆที่หลากหลายและซับซ้อน ตลอดจนเข้าใจภาษาและท่าทางในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม กับระดับบุคคลกาลเทศะ และวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา เข้าใจตีความ ข้อมูลข่าวสาร บทความสารคดี บันเทิงคดีบันเทิงคดีที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นใช้ภาษาเพื่อสื่อสารตามสถานการณ์โดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์ หรืออิเล็กทรอนิกส์ ภายในโรงเรียน ชุนชน และสังคม

การวัดและประเมินผลด้วยวิธีการที่หลากหลายตามสภาพจริงของเนื้อหา และทักษะ/กระบวนการที่ต้องการ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แผนจัดการเรียนรู้

 

1.  ชื่อแผน   เกษตรบ้านเรา  ( คุณค่าทางอาหารของผลไม้ )

                      เวลา   2   ชั่วโมง

2.  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

1.       นำเสนอความคิดเห็นที่มีต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ กิจกรรมสินค้าในท้องถิ่นของตนด้วยวิธีการหลากหลายได้อย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ

2.       ใช้ภาษาอังกฤษเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสารของชุมชน ท้องถิ่นหรือประเทศชาติ ในการส่งเสริมหรือสร้างความร่วมมือในสังคม

3.  สาระการเรียนรู้ ( เนื้อหา )

- มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้

        กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สมารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อ ความมั่นคง และ ความยั่งยืน ของการพัฒนา
       คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
        คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้

  ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ

  ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ

  การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

  เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ

  เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ

  เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

  แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี

จะพังหมด จะทำอย่างไร. ที่ที่ต้องใช้ไฟฟ้าก็ต้องแย่ไป.
หากมี เศรษฐกิจพอเพียง แบบไม่เต็มที่
ถ้าเรามีเครื่องปั่นไฟ ก็ให้ปั่นไฟ
หรือถ้าขั้นโบราณกว่า มืดก็จุดเทียน
คือมีทางที่จะแก้ปัญหาเสมอ.
ฉะนั้น เศรษฐกิจพอเพียง นี้ ก็มีเป็นขั้น ๆ
แต่จะบอกว่า เศรษฐกิจพอเพียง นี้
ให้พอเพียงเฉพาะตัวเองร้อยเปอร์เซ็นต์ นี่เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้.
จะต้องมีการแลกเปลี่ยน ต้องมีการช่วยกัน.
……
พอเพียงในทฤษฎีหลวงนี้ คือให้สามารถที่จะดำเนินงานได้. "

พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนพรรษา 23 ธันวาคม 2542

 

-          คุณค่าทางอาหารของผลไม้ในท้องถิ่น

 

                               

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ตารางการวิเคราะห์การจัดการเรียนการสอน

 

แผนที่

เรื่อง

เวลา

หมายเหตุ

1

การสร้างความตระหนักและความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง

1

 

2

  บอกความหมาย ชื่อ คุณค่า ของผลไม้ในท้องถิ่น

1

 

รวม

2

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #แผนการสอน
หมายเลขบันทึก: 294595เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2009 13:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 22:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ผมเขียนแผนการสอนการบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อน ๆ ลองนำไปปรับปรุงและประยุกต์ใช้ได้อย่างให้เพื่อนๆ ที่สนใจลองแสดงความคิดเป็นเกี่ยวกับแผนการสอนของผมบ้างนะครับ...แล้วอย่างลืมส่งมาให้ผมดูบ้างที่ [email protected] (ครูอุบล ครูระยอง

ดีครับท่านพี่ ขอนำไปใช้บ้างนะ

เป็นแผนการสอนที่ดีมาก สามารถนำไปเป็นแบบอย่างในการจัดทำแผนการสอนแต่ละวิชาได้เป็นอย่างดี

เอ!!! โรงเรียนระดับประถมศึกษา สามารถนำไปปรับใช้บ้างได้ไหมน้อ... ขอบคุณนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท