การพัฒนาทักษะการคิดโดยใช้แบบฝึกสมอง


การพัฒนาทักษะการคิดโดยใช้แบบฝึกสมอง

ชื่อผลงาน                การพัฒนาทักษะการคิดโดยใช้แบบฝึกสมอง ประลองปัญญา พัฒนาการคิด

สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ชื่อเจ้าของผลงาน       นางสาวอำนวยพร คำพันธ์

กลุ่มงานวัดและประเมินผลการจัดการศึกษา

กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา

 

 

ความเป็นมาและความสำคัญ

            จากการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศึกษาสระบุรี เขต 1  โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) รอบแรก พบว่า  คุณภาพนักเรียนยังอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจ โดยเฉพาะมาตรฐานที่ 4  ด้านการคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ คิดวิจารณญาณ คิดไตร่ตรองและมีวิสัยทัศน์            และจากการศึกษางานวิจัย  พบว่า ศักยภาพของครูผู้สอนในการสอนกระบวนการคิด  ครูส่วนใหญ่        ขาดทักษะในการสอนกระบวนการคิด และครูมีภาระงานที่ต้องรับผิดชอบนอกเหนือจากการสอนมาก โดยเฉพาะในโรงเรียนขนาดเล็ก  ครูต้องสอนควบชั้น คือ ครู 1 คน : 2-3 ชั้นเรียน  ครูจึงไม่มีเวลาศึกษาค้นคว้าเพื่อสร้างนวัตกรรมในการสอนกระบวนการคิด

วัตถุประสงค์

          1.  เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกสมองประลองปัญญา พัฒนาการคิดสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

          2.  เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการประเมินทักษะการคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อน  และหลังการพัฒนา โดยใช้แบบฝึกสมองประลองปัญญา พัฒนาการคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา       ปีที่ 6

          3.  เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลการประเมินหลังการพัฒนาทักษะการคิดกับผลการประเมินทักษะการคิดระดับชาติ (NT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา   2551

          4.  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาทักษะการคิด  โดยใช้แบบฝึกสมองประลองปัญญา พัฒนาการคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

          5.  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ครูผู้สอนที่เป็นเครือข่ายการวิจัยที่มีต่อ          แบบฝึกสมองประลองปัญญา  พัฒนาการคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  และผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อการพัฒนาทักษะการคิดโดยใช้แบบฝึกสมอง ประลองปัญญา พัฒนาการคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6

 

วิธีดำเนินการ / กระบวนการปฏิบัติงาน          

            1.  ศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหา  โดยการศึกษาวิจัย  การสังเคราะห์ข้อเสนอแนะของผู้ประเมินคุณภาพภายนอก รอบแรก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระบุรี เขต 1

            2.  สร้างและพัฒนานวัตกรรม  คือ แบบฝึกสมอง ประลองปัญญา พัฒนาการคิด  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ครอบคลุมการคิด 4 ด้าน คือ  คิดอย่างมีวิจารณญาณ  คิดแก้ปัญหา คิดวิเคราะห์  คิดประยุกต์

            3.  ทดลองใช้นวัตกรรม

                   3.1  ประชุมชี้แจงครูเครือข่ายการวิจัย

                   3.2  ทดสอบก่อนการพัฒนา (Pre – test)

                        3.2   พัฒนาทักษะการคิด โดยใช้แบบฝึกสมอง ประลองปัญญา พัฒนาการคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา 6  ในช่วงเวลาคาบสุดท้ายของแต่ละวัน  วันละ 1 แบบฝึกหัด สัปดาห์ 5 วัน       เป็นเวลา 10 สัปดาห์  จนครบ 50 แบบฝึก

                   3.4  ทดสอบหลังการพัฒนา (Post-test)

          4.   ศึกษาผลการพัฒนา

                   4.1  หาค่าประสิทธิภาพของแบบฝึกสมอง ประลองปัญญา พัฒนาการคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

                   4.2  ผลการประเมินทักษะการคิดของนักเรียน (Learning Evaluation) ก่อน-หลัง         การพัฒนาทักษะการคิดและทดสอบความแตกต่าง (t-test)

                    4.3  หาค่าสหสัมพันธ์ระหว่างผลการสอบหลังการพัฒนากับผลการสอบทักษะการคิดระดับชาติ (NT) ปีการศึกษา  2551

                   4.4 ประเมินปฏิกิริยาตอบสนอง (Reaction Evaluation)  ความพึงพอใจของนักเรียน

                   4.5  ประเมินผลลัพธ์ (Result Evaluation)  ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง คอ ความพึงพอใจของครูผู้สอน  และความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา

 

ปัจจัยสู่ความสำเร็จ

          1.  ผู้บริหารสถานศึกษา ให้ความสำคัญ   นิเทศ ติดตามอย่างต่อเนื่องและสนับสนุนเครื่องมือเครื่องใช้ในการสำเนาแบบฝึกให้แก่นักเรียนทุกคน

          2.  ครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ให้ความร่วมมือเป็นเครือข่ายการวิจัย มีความมุ่งมั่นในการ    ฝึกทักษะการคิด

 

 

ผลการดำเนินงาน

          1.  ประสิทธิภาพของแบบฝึกสมอง ประลองปัญญา  พัฒนาการคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละจากกระบวนการฝึกเท่ากับ 88.74               และ การทดสอบหลังการพัฒนาทักษะการคิด เท่ากับ 84.36 หรือมีประสิทธิภาพเท่ากับ  88.74 / 84.36     ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ  80 / 80

          2.  ผลการศึกษาเปรียบเทียบการประเมินทักษะการคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อน   และหลังการพัฒนาการคิดโดยใช้แบบฝึกสมอง ประลองปัญญา  พัฒนาการคิด สำหรับนักเรียน              ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  พบว่า คะแนนเฉลี่ยก่อนการพัฒนาเท่ากับ 21.08 คิดเป็นร้อยละ 52.70 และหลังการพัฒนามีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ  26.66 คิดเป็นร้อยละ 66.65  โดยมีความก้าวหน้าคิดเป็นร้อยละ  13.95             เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านการคิดประยุกต์มีความห้าวหน้ามากที่สุด รองลงมา คือ คิดอย่างมีวิจารณญาณและคิดวิเคราะห์ โดยมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละของความก้าวหน้า เท่ากับ 28.80, 16.39 และ 9.64  ตามลำดับ  และเมื่อจำแนกตามระดับคุณภาพ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ มีคุณภาพอยู่ในระดับดี  รองลงมา คือ พอใช้ และปรับปรุง คิดเป็นร้อยละ  56.20, 41.10 และ 2.70 ตามลำดับ  เมื่อนำคะแนนก่อนและหลังการพัฒนาไปทดสอบความแตกต่าง ด้วย t-test แบบ Dependent พบว่า คะแนนทักษะการคิดที่ทดสอบก่อนและหลังการพัฒนาการคิดโดยใช้แบบฝึกสมอง ประลองปัญญา  พัฒนาการคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา      ปีที่ 6 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .001

          3. ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลการประเมินหลังการพัฒนาทักษะการคิดกับผลการประเมินทักษะการคิดระดับชาติ (NT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ปีการศึกษา  2551  ที่สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน  โดยสำนักทดสอบทางการศึกษา ได้สุ่มกลุ่มตัวอย่าง จำนวน  47 โรงเรียน นักเรียนจำนวน 1,585 คน ผลปรากฏว่า  มีความสัมพันธ์ทางบวก มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ  .502 โดยสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .001

          4.  ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาทักษะการคิด โดยใช้แบบฝึกสมอง ประลองปัญญา  พัฒนาการคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า โดยภาพรวมนักเรียน           มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.08, S.D. = 0.79) เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า  นักเรียน     มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด 3 อันดับ คือ แบบฝึกสมอง ประลองปัญญา  พัฒนาการคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทำให้ได้รับคำชมเชยจากครูและผู้ปกครอง ( = 4.57, S.D. = 0.65) รองลงมาคือ แบบฝึกสมอง ประลองปัญญา  พัฒนาการคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6           เปิดโอกาสใช้ความคิดนอกเหนือจากบทเรียนที่ครูสอน ( = 4.55, S.D. = 0.62) และนักเรียน              มีความภูมิใจในผลงานที่เกิดจากแบบฝึกสมอง ประลองปัญญา  พัฒนาการคิด สำหรับนักเรียน               ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ( = 4.51, S.D. = 0.58)

 

          5. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง

                   5.1  ครูผู้สอน  ผลการประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อแบบฝึกสมอง ประลองปัญญา  พัฒนาการคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

( = 4.10, S.D. = 0.60) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ครูผู้สอนมีความพึงพอใจด้านกิจกรรม        ในแบบฝึกสมอง ประลองปัญญา  พัฒนาการคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58, S.D. = 0.64) รองลงมาคือ ด้านเนื้อหา ( = 4.33, S.D. = 0.65) และ ด้านรูปเล่ม ( = 4.02, S.D. = 0.67)  เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ ความพึงพอใจที่อยู่ในระดับมากที่สุด 3 อันดับ คือ กิจกรรมในแบบฝึกส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิด ( = 4.62, S.D. = 0.58) รองลงมาคือ เนื้อหาสอดคล้องกับสภาพปัจจุบันปัญหา ( = 4.60, S.D. = 0.68) และ เนื้อหาส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ( = 4.55, S.D. = 0.63)

                   5.2  ผู้บริหารสถานศึกษา  ผลการประมินความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษาที่มี        ต่อการพัฒนาทักษะการคิด โดยใช้แบบฝึกสมอง ประลองปัญญา  พัฒนาการคิด สำหรับนักเรียน            ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.25, S.D. = 0.73)           เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษามีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด 3 อันดับ  คือ       การได้เป็นกลุ่มตัวอย่างในการพัฒนาทักษะการคิด ส่งผลให้นักเรียนมีความสามารถในการคิดเพิ่มขึ้น       ( = 4.62, S.D. = 0.65) รองลงมา คือ การที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ได้รับการพัฒนาทักษะ    การคิดตรงกับความต้องการ ( = 4.61, S.D. = 0.65) และมีความมั่นใจว่า แบบฝึกสมอง ประลองปัญญา  พัฒนาการคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จะช่วยพัฒนาความสามารถในการคิดของนักเรียนได้ ( =

หมายเลขบันทึก: 294535เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2009 11:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท