จิตวิทยาในการทำงานร่วมกัน ท่านมีกันบ้างไหม !!


จิตวิทยาในการทำงานร่วมกัน

วันนี้ (18 พ.ค.49) คณะวิทยาการจัดการ  มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง  ได้จัดบรรยายพิเศษ ในหัวข้อเรื่อง จิตวิทยาในการทำงานร่วมกัน ซึ่งดิฉันเห็นว่าน่าจะมีประโยชน์สำหรับทุก ๆ ท่านในการทำงานร่วมกันกับผู้อื่น  ซึ่งการบรรยายครั้งนี้บรรยายโดย คุณประสาร  มฤคพิทักษ์  ซึ่งดิฉันขอสรุปตามเข้าใจดังนี้

       มนุษย์ทุกคนมีความแตกต่างกันในเรื่องของรูปร่างหน้าตา  สติปัญญา  และการรับรู้ รวมถึงนิสัยใจคอ  วิธีการเลี้ยงดู  ฯลฯ  เพราะฉะนั้นเมื่อทุกคนต้องมาทำงานร่วมกัน  เราจะมีวิธีการอย่างไรเพื่อให้การทำงานร่วมกันประสบผลสำเร็จด้วยดีหล่ะ  ก่อนอื่น....??

       ก่อนอื่น...?? เราคงต้องเข้าใจก่อนว่าการที่เราจะสามารถทำงานให้ประสบผลสำเร็จด้วยดีได้นั้นเราจะต้องมีทัศนคติที่ดีในการทำงานก่อน  จริงมั๊ย ??  ซึ่ง ทัศนคติ (An Attitude) ที่ว่านี้มันมีทั้งทัศนคติในทางบวกและทัศนคติทางลบ  เอาหละซิ..แล้วคำว่า  ทัศนคติ จริง ๆ แล้วมันหมายถึงอะไรหว่า...???

       ทัศนคติ  หมายถึง  เป็นสภาวะความพร้อมทางจิต  ซึ่งเกิดจากประสบการณ์  สภาวะความพร้อมนี้จะเป็นตัวกำหนดทิศทาง  หรือเป็นตัวกระตุ้นปฎิกิริยาตอบสนองของบุคคลต่อสิ่งต่าง ๆ หรือต่อสถานที่เกี่ยวข้อง

       เอาหล่ะ !!  ดิฉันมีแผนภาพด้วยหล่ะ !! มาดูกันดีกว่าว่าทัศนคติเชิงบวกในการทำงานเป็นอย่างไร

 

     

   ซึ่งจากแผนภาพด้านบนจะเห็นได้ว่า .. เมื่อพวกเรามีทัศนะคติในเชิงบวก ซึ่งเป็นรากฐานทำให้เราทำงานได้อย่างเต็มที่  ซึ่งมันจะส่งผลไปยังกระบวนการแสดงออกทางพฤติกรรมที่ดี   และสุดท้ายก็คือสามารถทำให้เราสร้างผลงานที่มีประสิทธิภาพออกมาได้นั่นเอง !! นั่นแน่ !!  หลายคนอาจคิดในใจว่าจริง ๆ  แล้วมันก็ไม่มีอะไรเลย พวกเราก็รู้ ๆ กันอยู่แล้วจริงมั๊ย  แต่ว่าเราจะสร้างมันได้อย่างไรหล่ะ  นั่นคือคำถามใช่ไหมหล่ะ...อิอิ...มองเชิงบวก  .....เค้ากล่าวกันว่า

   1.  เชื่อว่า ปัญหาทุกอย่างสามารถแก้ไขได้  ทุกคนสามารถเรียนรู้และเข้าถึงปัญหาได้  ไม่ใช่เลือกมองเฉพาะด้านบวกแต่มองความจริงครบถ้วนทั้งด้านบวกและลบ เพื่อหาทางแก้ปัญหาที่แท้จริงได้

   2.  เชื่อว่า การคิดดี  ทำดี  มีจิตสำนึกดีนั้น  ทำได้ทันที  ทำเดี๋ยวนี้  สุขเดี๋ยวนี้  ปิติสุข  ก่อเกิดพลัง  สุขหลายคน  ร่วมกันพลังยิ่งเพิ่มพูน  ปัญหายิ่งแก้ง่ายขึ้น

   3.  เชื่อว่า  ทุกคนมีส่วนดี  หนุนให้ทุกคน  นำส่วนดีมาใช้  ส่วนเสียมองข้ามไปก่อน

        นั่นแหน่ะ  !!  มาถึงตรงนี้แล้ว  ก็ขอบอกว่าสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนั้น  จริง ๆ แล้วมันเป็นสิ่งที่น่าจะทำกันได้ง่าย ๆ  แต่มันไม่ง่ายใช่ไหมหล่ะ...เหอ ๆ  ลองดูกันนะค่ะ  เพราะว่าสิ่งเหล่านี้มันจะเป็นภูมิในการสร้างจิตวิทยาการทำงานร่วมกันกับผุ้อื่นได้   (บางครั้งเราควรมองข้ามสิ่งที่เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยของผู้อื่นซะบ้าง  จะทำให้เราทำงานร่วมกันอย่างมีความสุขได้ค่ะ)

 

จริง ๆ แล้วดิฉันไม่ค่อยสันทัดเรื่องเหล่านี้ซักเท่าไหร่ คงต้องขอออกตัวไว้ก่อน เนื่องจากอยู่แต่กับคอมพิวเตอร์  แต่ว่าสิ่งเหล่านี้มันเป็นสิ่งที่เราควรจะเรียนรู้ไว้ไม่ใช่เหรอ !!  ถ้าอย่างไรเสียทุกท่านมีความคิดเห็นอย่างไรก็แสดงความคิดเห็นได้ค่ะ  ขอบคุณค๊า...

เรียบเรียงและสรุปความโดย  ชื่อแฝง :  Nongnew

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 29446เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2006 18:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท