มนุษย์สัมพันธ์


การสร้างสัมพันธ์กับมนุษย์

การเสริมสร้างมนุษย์สัมพันธ์

มนุษย์สัมพันธ์  หมายถึง  ความสัมพันธ์ในทางสังคมระหว่างมนุษย์  ซึงทำให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน  การจูงใจคนอย่างมีประสิทธิภาพ

ขอบข่ายของมนุษย์สัมพันธ์  จะศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์  การจูงใจตนเองและผู้อื่น  การติดต่อสื่อสาร ความเข้าใจระหว่างบุคคลระหว่างกลุ่ม

ความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์

1.มนุษย์สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับตัวบุคคลมากกว่าเครื่องจักรกล

2.มีส่วนช่วยจูงใจบุคคลเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้น

3.เป็นพื้นฐานของการทำงานร่วมกันเป็นทีม

ปรัชญาของมนุษยสัมพันธ์

1.ทุกคนมีคุณค่าความเป็นคนเท่าเทียมกัน

2.มีความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด ทั้งด้านวัตถุและจิตใจ

3.การไม่เบียดเบียนกันและกันของมนุษย์

จุดมุ่งหมายของการสร้างมนุษย์สัมพันธ์

1.เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน

2.เพื่อให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธา  เชื่อถือ ไว้วางใจ

3.เพื่อส่งเสริมและดำรง  ไว้ซึงความสัมพันธ์อัดีต่อกัน

4.เพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงและบรรลุวัตถุประสงค์

5.เพื่อให้เกิดความรักใคร่  สามัคคีกลมเกลียว

6.เพื่อให้ก่อเกิดความสมัครสมานสมัคคีในการทำงาน

7.เพื่อนำความหวัง  ความตั้งใจของชีวิตไปสู่ความสำเร็จ

8.เพื่อให้เกิดความรัก  นิยม  นับถือ  เคารพ คนที่เราติดต่อด้วย

ประโยชน์ของมนุษย์สัมพันธ์

1.ทำให้เราเข้าใจธรรมชาตืของมนุษย์มากขึ้น

2.ทำให้เราตระหนัก  รับรู้  และเข้าใจตนเองมากยื่งขึ้น

3.ทำให้เราเข้าใจคนอื่นมากยิ่งขึ้น  เกิดการยอมรับในความแตกต่างระหว่างบุคคล

องค์ประกอบของมนุษยสัมพันธ์

1.การเข้าใจตน  เป็นการรู้จักตนเองอย่างถ่องแท้ว่าตนเป็นใคร  มีความรู้  ความสารถ ทักษะ  ประสบการณ์ ความเก่งความไม่เก่งในด้านใด

2.การเข้าใจผู้อื่น  เป็นการเรียนรู้ธรรมชาติของคน ชอบหรือไม่ชอบสิ่งใด  โปรดปรานสิ่งใดเป็นพิเศษ

3.การเข้าใจสิ่งแวดล้อม  เป็นการเรียนรู้ธรรมชาติและสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเราและบุคคลอื่น

ประเภทหรือรูปแบบของความสัมพันธ์ของบุคคลในกลุ่ม

1.การสมานลักษณ์  2.การกลืนกลาย  3.การร่วมมือ  4.การเห็นพ้องต้องกัน 5.การแข่งขัน 6.ความขัดแย้ง

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับมนุษยสัมพันธ์

1.ทฤษฎีการจูงใจ การจูงใจคือ  เงื่อนไขหรือภาวะในอินทรีย์  ที่กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรม

2.ทฤษฎีความต้องการของมนุษย์  มีความต้องการทางด้านร่างกาย  ความปลอดภัยมั่นคง  ทางด้านสังคม  เกียรติยศชื่อเสียง  ความสำเร็จตามความนึกคิด

3.ทฤษฎีสององค์ประกอบของเฮิร์ชเบิร์ก  เป็นแนวคิดเกี่ยวกับตวามต้องการของบุคคลทั่ว ๆ ไป  เขาได้ทำการศึกษา  ค้นคว้าชีวิตการทำงานในหลาย ๆ อาชีพ  โดยลบล้างความเชื่อว่า  เงิน  เป็นสิ่งเดียวที่ทำให้คนอยากทำงาน

4.ทฤษฎีการจูงใจ  แรงจูงใจมีอยู่  3  ประการคือ  1.ความต้องการสัมฤทธิ์ผล  2.ความต้องการความสัมพันธ์  3.ความต้องการอำนาจ

5.SRET  Law  เป็นหลักการสำหรับการสร้างสัมพันธภาพระหว่างหัวหน้างานกับผู้ใต้บังคับบัญชา

6.ทฤษฎ๊ว่าด้วยการยอมรับ  คือ  ผู้ใต้บังคับบัญชามีความสามารถที่จะเข้าใจคำสั่งนั้นได้  เป็นต้น

7.ทฤษฎี x และ y 

ทฤษฎี x คือ คนส่วนมากไม่ชอบทำงาน  เกียจคร้าน  ไม่มีความทะเยอทะยาน ไมชอบการรับผิดชอบ

ทฤษฎี y คือ การกระทำของคนไม่ใช่การบังคับ แต่เกิดจากความเต็มใจ  มีความรับผิดชอบ

8.หลักความสำพันธ์ระหว่างบุคคล  คือ  มีความจริงใจ ความเข้าใจ การยอมรับค่าของคน

ยุทธวิธีเสริมสร้างมนุษยสัมพันธื

1.การสื่อสารเพื่อความสัมพันธ์

2.การวิเคราะห์การสื่อสารระหว่างบุคคล

3.การสร้างความพึงพอใจในงาน

4.เรื่อง ศิลปการฟัง

5.การนำถ้อยคำที่ผู้อื่นชื่นชอบมาใช้

การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในครอบครัว

1.การสร้างความสัมพันธ์กับบุตร

2.การสร้างความสัมพันธ์กับภรรยา

3.การสร้างความสัมพันธ์กับบิดามารดา

4.การสร้างความสัมพันธ์กับสามี

5.การสร้างความสัมพันธ์กับเจ้าของบ้าน

การสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลในองค์กร  มีดังนี้

1.การสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลในองค์การ

2..การสร้างความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา

3.การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผูบังคับกับผู้ใต้บังคับ

4.การสร้างความสัมพันธ์กับครู  อาจารย์

5.การสร้างความสัมพันธ์กับนักเรียน  นักศึกษา

6.การสร้างความสัมพันธ์กับผู้รับบริการ  กับผู้ให้บริการ

7.การสร้างความสัมพันธ์กับคนที่อารมณ์อ่อนไหว

หมายเลขบันทึก: 294346เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2009 16:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท