เกณฑ์การจัดทำภาคนิพนธ์


เกณฑ์การจัดทำภาคนิพนธ์ หลักสูตร ค.ม. สาขาการจัดการคุณภาพ

เกณฑ์การจัดทำภาคนิพนธ์   หลักสูตร ค.ม. สาขาการจัดการคุณภาพ

ความหมาย

     ภาคนิพนธ์  หมายถึง  เอกสารวิชาการที่จัดทำโดยผู้เรียนรายบุคคลด้วยระเบียบวิธีวิจัยวัตถุประสงค์ของการจัดทำภาคนิพนธ์เป็นไปเพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้จากการเรียน มาจัดทำเป็นข้อเสนอสำหรัดบการแก้ไขปัญหาคุณภาพในการปฏิบัติงานระดับบุคคลหรือกล่มบุคคลขนาดเล็ก โดยข้อเสนอต้องผ่านการรับรองของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในงานนั้น  ค่าหน่วยกิตของภาคนิพนธ์ เท่ากับ 6 หน่วยกิต  การจัดทำให้เป็นไปตามคู่มือการจัดทำภาคนิพนธ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา  ความยาวภาคนิพนธ์อยู่ระหว่าง 40-50 หน้า ไม่รวมภาคผนวก

ลักษณะสำคัญ

    ภาคนิพนธ์ของสาขาการจัดการคุณภาพมีลักษณะสำคัญ  ดังนี้

1. มีการรับฟังเสียงลูกค้าอย่างเป็นระบบและนำเอาข้อมูลมาใช้ในการระบุช่องว่างที่ต้องปรับปรุงหรือพัฒนางานที่ตนรับผิดชอบ

2. มีการนำแนวคิด/ทฤษฎีการจัดการคุณภาพ จำนวนไม่น้อยกว่า 1 แนวคิด/ทฤษฎีมาใช้ในการปรับปรุง

3. มีการเขียนแผนปฏิบัติการ การปรับปรุงคุณภาพอย่างชัดเจน (ชื่อ วัตถุประสงค์  ขั้นตอน ระยะเวลา  ตัววัดคุณภาพ  ค่าเป้าหมาย ผ้ปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง  เอกสาร/มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง และการแก้ไขปัญหา)

4. มีรายงานการประชุมเพื่อให้กลุ่มผู้มีสวนได้เสียหลัก พิจารณาให้คำรัอบรองก่อนนำไปใช้ปฏิบัติการจริง

ขั้นตอนการจัดทำ

    การจัดทำภาคนิพนธ์มีขั้นตอน ดังนี้

1. นักศึกษาแสดงความประสงค์เลือกแผนการเรียนในภาคเรียนที่ 1

2. ลงทะเบียนเรียนตามแผนที่สาขากำหนด (10 ชุดวิชา)

3. เมื่อเรียนครบ 15 หน่วยกิต สามารถยื่นเสนอหัวข้อภาคนิพนธ์ได้

4. ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปตามกระบวนการของบัณฑิตวิทยาลัย

(ครั้งที่ 1/2548 (3ต.ค.48) หลักสูตร ค.ม. สาขาการจัดการคุณภาพ)

สำหรับ นักศึกษาที่เรียน  แผน ข  ลองอ่านบันทึกนี้ประกอบกับบันทึก การจัดทำเค้าโครงวิทยานิพนธ์  นะคะ คงพอจะได้แนวทางในการวางแผนการในการจัดทำภาคนิพนธ์ได้บ้างนะคะ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 29395เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2006 14:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 00:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท