บทที่ 5 การเสริมสร้างมนุษย์สัมพันธ์


การเสริมสร้างมนุษย์สัมพันธ์

บทที่5 เรื่อง การเสริมสร้างมนุษย์สัมพันธ์

 ความหมายของมนุษย์สัมพันธ์(Relntion) เดวิส ให้ความหมาย เป้าหมายแนวทางก่อให้เกิดจุดมุ่งหมายและพลังของกลุ่มที่จะทำงานร่วมกันให้บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ ฟลูเมอร์ Flumer เป็นความสัมพันธ์อันดีของบุคคลที่เกี่ยวข้องกันอันนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของทุกฝ่าย ดูบริน Dubrin เน้นว่า เป็นศิลปะและปฏิบัติการประยุกต์ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกันอันนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของทุกฝ่าย

มนุษย์สัมพันธ์ของครู คือ การมีปฏิบัติสัมพันธ์ระหว่างครูกับลูกศิษย์

 ปรัชญาพื้นฐานของมนุษย์สัมพันธ์ มนุษย์ทุกคนณค่า มีความเป็นคนเทียมกัน มนุษย์เกี่ยวข้องกับความต้องการ ไม่มีที่สิ้นสุด มนุษย์เป็นเพื่อนร่วมทุกข์

จุดเริ่มต้นพื้นฐานของมนุษย์สัมพันธ์

- การรู้จักตนเอง บุคคลที่ยอมรับตนเองได้ แม้จะไม่สมบูรณ์ก็สามารถนำมาสู่ชีวิตประจะวัน

กระบวนการของมนุษย์สัมพันธ์

กระบวนการมีมนุษย์สัมพันธ์ คือ การสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีกับบุคคล การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีจะต้องเริ่มต้นจากตัวเราก่อน เช่น การเปิดฉากทักทายผู้อื่นก่อน ยกมือไหว้ผู้อื่นก่อน พูดกับผู้อื่นก่อน

หลักการสร้างมนุษย์สัมพันธ์ Dale Carnegie ได้กล่าวไว้ว่า ให้สิ่งที่เขาต้องการก่อน แล้วเราจะได้รับสิ่งที่เราต้องการ หรือกล่าวคำสั้นๆ คือเอาใจเขามาใส่ใจเรา

การสร้างมนุษย์สัมพันธ์ของครู

การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงาน

การสร้างความสัมพันธ์อันดีงามกับศิษย์

การสร้างความสัมพันธ์กับผู้ปกครอง

การสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน -จริงใจ -พบประสังสรรค์ -ไม่นินทา -เห็นอกเห็นใจ -ยกย่อง -ร่วมมือร่วมใจ -เสมอต้นเสมอปลาย

การสร้างความสัมพันธ์อันดีงานกับลูกศิษย์ -รัก -ให้ -อารมณ์เป็นบวก -รับฟัง -ส่งเสริม -เป็นตัวอย่าง

การสร้างความสัมพันธ์อันกับผู้ปกครองและประชาชนทั่วไป - ยิ้มแย้มแจ่มใส -ให้ความช่วยเหลือความรู้ -เป็นกันเอง -ให้ความร่วมมือ - ยกย่องให้เกียรติ - ประกาศเกียรติคุณ -รับฟัง -ถามทุกข์สุข

ลักษณะด้านมนุษย์สัมพันธ์มี 10 ลักษณะ

1. ความสนใจหมั่นไต่ถามทุกข์สุขนักเรียน

2. การช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหา

3. ความเข้าใจในความแตกต่างของนักเรียน

4. การให้การปรึกษาหารือต่างๆ

5. การให้ความร่วมมือในกิจกรรมของนักเรียน

6. สนใจให้ความร่วมมือกับชุมชน

7. ให้การต้อนรับและเป็นกันเองกับผู้มาติดต่อด้วย

8. ให้ความช่วยเหลือแก่เพื่อนครูในโรงเรียน

9. สามารถปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนครูในโรงเรียน

10. การช่วยเหลือการแนะนำครูใหม่

มนุษย์สัมพันธ์เกี่ยวกับการพูด ครูควรฝึกหัดพูดคำและสำนวนไพเราะ หมายถึง คำซึ่งเปล่งออกมาแล้วเป็นที่เข้าใจในความหมาย ถูกต้องตามหลักภาษาไทย เป็นคำที่เหมาะสม คำควบกล้ำถูกต้อง ไม่ใช่คำหยาบ ห้วนกระโชกโงกงาก น้ำเสียงนุ่มนวล คำที่สุภาพ คำที่ไม่สุภาพ จะให้บอกว่าใครโทรมา จะให้เรียนว่าใครโทรมานครับ รอเดี๋ยวนะ รอสักครู่นะค่ะ พูดมากฉิบหาย คุณพูดมากไปหน่อยนะค่ะ เดินซุ่มซ่าม เดินไม่ค่อยระวัง ขอบคุณค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 293894เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2009 13:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 21:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท