การอบรมการทำให้อุปกรณ์ทางการแพทย์ปราศจากเชื้อแก่ผู้ช่วยเหลือคนไข้และคนงาน


คนทำไม่ได้ใช้คนใช้ไม่ได้ทำ การทำงานสวนกระแส ลูกจ้างอบรมมาบอกเจ้าหน้าที่สอ. บางแห่งยอมรับบางแห่งไม่ยอมรับกลัวเสียชั้นเชิง แต่เมื่อย้อนมามองว่าการรับรู้ในสิ่งที่ดีมีประโยชน์ร่วมกันผลที่ได้รับคือผู้บริการมั่นใจปลอดภัยจากความเสี่ยงในการติดเชื้อ

สรุปการจัดการความรู้ผู้ช่วยเหลือคนไข้และคนงาน

การอบรม หลักสูตร การควบคุมการติดเชื้อและการรักษาพยาบาลเบื้องต้น

(Infection Control & Basic Medical Care )

ที่มาของการจัดอบรม

       การปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรื่องการควบคุมการติดเชื้อที่พัฒนาไปพร้อมกับการวิจัยที่มีเหตุมีผลประกอบกับการทำงานของผู้ช่วยเหลือคนไข้และคนงานในสถานีอนามัยมีการปรับเปลี่ยน คนเก่าต้องมีการพัฒนาความรู้คนใหม่ต้องมีความรู้และมีความเข้าใจ  การรักษาพยาบาลเบื้องต้นเป็นสิ่งที่ต้องรู้และปฎิบัติเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง  ทั้งนี้ผู้ช่วยเหลือคนไข้และคนงานในฐานะเป็นลูกจ้างต้องได้รับการประเมินการทำงานในแต่ละปีเพื่อพัฒนาตนเองมีผลต่อการทำงานของหน่วยงานสร้างความประทับใจต่อผู้รับบริการ

วัตถุประสงค์

n    1.เพื่อพัฒนาศักยภาพความรู้ผู้ช่วยเหลือคนไข้และคนงานมีความรู้เข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ

n    2.สามารถจัดการเรื่องกระบวนการทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อในสถานประกอบการได้

n    3.มีความรู้ความเข้าใจในการช่วยเหลือคนไข้ในเบื้องต้นลดการเจ็บป่วยรุนแรง ลดข้อขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชนในการบริการ

เป้าหมายผู้เข้าอบรม

ผู้ช่วยเหลือคนไข้และคนงาน ทุกคนจาก 26 สถานีอนามัย 45 คน (จาก รพ เวียงสา 1 คน)

ระยะเวลา 1 วัน วันพุธที่ 29 เมษายน 2552

วิชาการ เข้มข้น

นั่งสมาธิ ก่อนการอบรม  ผู้เข้าอบรม ทิ้งปัญหาเรื่องราวต่างๆไปมานั่งสมาธิ รวบรวมสติ คิดในสิ่งที่ดี สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี  อุปมาเหมือนน้ำสงบ น้ำสงบแล้วใส มองเห็นดี มองเห็นชั่ว มองเห็นความสงบ  สูดลมหายใจเข้าลึกๆ  หายใจออกยาวๆ ทำ2-3 ครั้ง ติดตามลมหายใจเข้าหายใจออก แผ่เมตตาให้เจ้ากรรมนายเวร อุทิศส่วนกุศลให้บิดามารดา   10 นาที

              

·    การล้าง การทำลายเชื้อ และการทำให้ปราศจากเชื้อ  (Cleaning, Disinfection and Sterilization)  การล้าง  การต้ม การทำลายเชื้อ  การทำให้ปราศจากเชื้อ การกำจัดการปนเปื้อนเชื้อในเวชปฏิบัติ  สำหรับ : บุคลากร ผู้ป่วย  เครื่องมือแพทย์  เครื่องใช้     อาคารสถานที่      

·       *ระยะเวลาเก็บวัสดุปราศจากเชื้อ  ข้อคิด การresterile ทุกแห่ง น่าจะทำถูกต้อง จากการสอบถาม แต่ การเก็บSet sterile บางแห่งไม่ถูกขอให้เปลี่ยน· 

       *วิธีการล้างมือตามข้อบ่งชี้ต่าง ๆ  เปลี่ยนก๊อกน้ำเป็นแบบใช้ศอกปัด มีที่กดน้ำยาล้างมือ         

·        *การทำลายเชื้อสำหรับเครื่องป้องกันร่างกายของบุคลากร เสื้อผ้า เสื้อคลุมผ้าปิดปากและจมูก ซักด้วยน้ำและผงซักฟอกธรรมดา  กรณี มีสารคัดหลั่งแช่ด้วย ต้ม หรือแช่ด้วย hypochlorite 0.5 % หรือ Lysol® 2 %ต้มเดือดนานอย่างน้อย 20 นาที หรือแช่ในน้ำยาทำลายเชื้อที่กำหนดนาน 30 นาที ก่อนซักธรรมดา  ข้อคิด ผู้ปฎิบัติไม่มีการสวมใส่ผ้ากันเปื้อน แว่นตาเมื่อมีการซักล้าง      ถุงมือยางแว่นป้องกันตา   แช่ Hypochlorite 0.5 %นาน 30 นาทีก่อนทิ้งหรือ ล้างใช้ใหม่  ข้อคิด เมื่อคิดจะทิ้งไม่เคยนำมาล้างหรือแช่ก่อนทิ้ง ผลตามมาคือผู้ปฎิบัติติดเชื้อ  

 ·        * การเตรียมผิวหนังผู้ป่วย เช็ดผิวหนังด้วย Alcohol 70 % จนทั่ว รอให้แห้งแล้วจึงฉีดยา ฯลฯ   ผู้ป่วยโรคเลือด มีภูมิต้าน  ทานต่ำ มีจำนวนเม็ดเลือด ขาวต่ำ หรือผู้ป่วยที่มี       โอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อ          สูง เช่น  เบาหวาน มะเร็ง  ฯลฯเช็ดผิวหนังด้วย Tr. Iodine 2 % แล้วเช็ดตามด้วย Alcohol 70 % อีกครั้งจนสะอาดรอจนแห้งแล้วจึงฉีดยา ฯลฯ    ข้อคิด เช็ด Alcohol 70 % รอให้แห้งจริงๆนะคะ

·        *การทำความสะอาดฝีเย็บ ช่องคลอด และการสวนปัสสาวะ . .ใช้น้ำและสบู่ เช็ดล้างธรรมดา

·        *การทำแผล 1. แผลสะอาด  (Clean wound)  2. แผลปนเปื้อน   (Contaminated wound)      3. แผลสกปรก    (Dirty wound) ง่ายๆล้างด้วย NSSปราศจากเชื้อ เช็ดด้วยก๊อซ ปิดด้วยก๊อส แผลสกปรก ล้างNSSปราศจากเชื้อ เช็ดด้วย Alcohol 70 %

             

การใช้ปากคีบหยิบจับของที่ปราศจากเชื้อ   การใส่ถุงมือหยิบจับของที่ปราศจากเชื้อ                       

บาดแผล มีหลากหลายแบบ  การใช้set suture ต้องจัด set ให้ครบ

·        *การกำจัดเชื้อสำหรับเครื่องมือแพทย์  ในเอกสาร ข้อคิด ปลอกเข็ม แอ๊มยา อย่าลืมใส่กระป๋อง มาฝากทิ้งที่โรงพยาบาล เข็มฉีดของมีคม สถานีอนามัยบางแห่งใช้ฝัง ซึ่งผิดๆๆๆและอย่าลืม ออกไปเจาะเลือดนอกสถานีอนามัยนำกระป๋องใส่เข็มใช้แล้วไปด้วยนะคะ  ฝากเจ้าหน้าที่เมื่อทำหัตถการ ใส่ถุงมือแล้วขอให้ล้างเครื่องมือไปเลยนะคะอย่าทิ้งให้ผู้ช่วยเหลือคนไข้ล้าง ทำงานซ้ำซ้อน

  

     แบบนี้ไม่ถูกต้อง นะคะ                                   กล่องแบบนี้พอไหว ให้ดี ใช้กระป๋องยา ดีที่สุด

·        *การทำความสะอาดและทำลายเชื้อสำหรับเครื่องใช้และเครื่องนอน  ข้อคิดและขอตอกย้ำ

เตียงผู้ป่วยใช้ผ้าปู แต่ซักทุกวันหรือไม่ ไม่ปูผ้า แต่เช็ดกี่ครั้งต่อวัน สถิติมีการติดเชื้อโดยไม่ได้ตั้งใจจากสถานบริการที่เข้าไปนอนฉีด ยาทำแผลติดเชื้อโรคจาก สิ่งเหล่านี้ นะคะ ขอเตือน

·      * การทำลายเชื้อสำหรับของใช้ของผู้ป่วย1.แก้วน้ำ จาน ชาม    ช้อนส้อม  ล้าง    ธรรมดา    2.  ใบมีดโกน ใช้ครั้งเดียวทิ้งและเผาเท่านั้น ไม่ใช้ทิ้งขยะนะจ๊ะ  3.     หม้อนอน ชามรูปไต   กระโถนบ้วนน้ำลาย   หรือ ภาชนะรองรับสิ่งขับถ่าย  ล้างน้ำและผงซักฟอกธรรมดา

ผู้ป่วยโรคติดต่อแช่Lysol 2% นาน 30 นาที ล้างต่อด้วยน้ำธรรมดา

·       *การทำความสะอาดและทำลายเชื้อสำหรับสถานที่ ข้อคิด เลี่ยงการกวดพื้นเพราะฝุ่นฟุ้งกระจาย

·       *การแยกขยะแต่ละประเภทได้ถูกต้อง    (1.) ขยะทั่วไปไม่ติดเชื้อให้ใส่ถุงดำ

 (2.) ขยะติดเชื้อให้ใส่ถุงแดง  (3.) ขยะอันตรายให้ใส่ภาชนะรองรับที่หนาและมีฝาปิด เช่น พลาสติก กล่องกระดาษ แล้วใส่ถุงดำโดยเขียนป้ายปิดว่า ขยะอันตราย 

 (4.) ขยะสารเคมีให้เทใส่ในกระปุกที่บรรจุน้ำอยู่ครึ่งกระปุก และเก็บไว้ที่งานเทคนิคบริการ เมื่อใกล้เต็มแล้วให้นำส่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพื่อกำจัดต่อไป

ข้อคิด  ถังขยะใช้แบบเท้าเหยียบ จะดีมาก  ขยะขอให้ทิ้งให้ถูกจริง ไม่งั้นเพิ่มภาระกับคนเก็บต้องไปแยกในถังขยะอีกรอบ นึกถึงจิตใจซึ่งกันและกัน ทำงานซ้ำซ้อน

   

           แยกขยะให้ชัดเจน                              การจัดที่ทิ้งขยะก่อนนำไปทำลาย

·       ขั้นตอนการsterilization คนเก่าทบทวน คนใหม่ ย้ำ โดยเฉพาะผ้าที่ใช้ห่อSet ข้อคิด ช่วยจัดการเรื่องผ้าให้ครบ สอ.บางแห่งไม่ใส่ Strip test  จนท.ช่วยเบิก

·       เครื่องAutoclave ตอกย้ำ เรื่อง การเฝ้าดู  อุณหภูมิ ความดัน เวลา  หากใช้แก๊สควรมี 2 ถัง สำรอง ที่ผ่านมานึ่งSet ยังไม่ผ่านกระบวนการแก๊สหมด แล้วเครื่องทำอย่างไร นึ่งไม่

·       การงดใช้ Dried Forcep โดยการจัดforcep ไว้ในข้างset และpack สำลี ก๊อส ไม่พันสำลี เป็น single pack ข้อมูลแจกให้เป็นsheet

·       การใช้สำลี Alcohol 70 %  ในการเช็ดเพื่อฉีดยาเปลี่ยนเป็น ใช้กดจากขวดปั๊มจะใช้ไม้ สำลี หรือสำลีก้อน ใส่กระปุกเหมือนเดิม ใช้ 1 ครั้งกด 1 ครั้ง เพราะผลการวิจัย เมื่อแช่สำลีกับ Alcohol 70 %  ไว้เกิน 2 ชั่วโมง ไม่ผลในการทำลายเชื้อ ทำให้บริเวณฉีดยาอักเสบเป็นหนองบ่อยครั้ง  ย้ำ เมื่อ ออกนอกพื้นที่ฉีดวัคซีนควรทำเหมือนกัน                               

   สิ่งที่ต้องกลับไปทำให้ดีขึ้นและถูกต้อง

1เปลี่ยน น้ำเป็นแบบใช้ศอก

2.ผ้าห่อเซ็ต

3.       กระป๋องใส่เข็มและแอ๊มยา ฝากทิ้งโรงพยาบาล

4.       เตียงคนไข้ไม่ต้องปูผ้าคลุมแต่หมั่นเช็ด

5.       การซักล้างผ้าเปื้อนเลือดและอุปกรณ์เครื่องมือก่อนนำไปซักใหม่หรือทิ้ง

6.       การแยกขยะ

7.       การเปลี่ยนset dried forcep  ปรับเปลี่ยน pack เป็นsingle pack

8.       การใช้สำลีชุบ Alcohol 70% ก้อนต่อก้อน

ความคิดเห็นของผู้เข้าอบรม

1 เนื้อหาดี อยากให้มีการอบรมปีละ2-3 ครั้งเพื่อพัฒนาศักยภาพแลก

2. บรรยากาศดีมาก

3. หัวข้องานรักษาพยาบาลเวลาน้อยมาก ควรแยกวันในการอบรมเนื้อหาบรรยายจะได้ละเอียด

4.ต้องการให้มีการสาธิตการช่วยเหลือผู้ป่วยเบื้องต้น

5.ต้องการให้เจ้าหน้าที่ในสถานีอนามัยอบรมเหมือนกันจะได้ปฎิบัติไปพร้อมๆกัน

6.ให้ปฎิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมดและให้คุณอภิญญา ลงพื้นที่ตรวจเรื่อง การควบคุมการติดเชื้อในสถานีอนามัยโดยเฉพาะ

7.มีปัญหาด้านการดำเนินงานเมื่อได้รับความรู้เพื่อนำไปปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพัฒนาในทางที่ถูกต้องและดีขึ้นแต่ไม่ได้รับการตอบสนองจากเจ้าหน้าที่ในสถานีอนามัย

8 ต้องการแต่งกายให้เป็นUnity เดียวกัน

 

  

                                                                     สนุกเจ้า ทำงาน ไม่ได้พัก ขอเต้น ซะหน่อยเต้อ    

 

สนุกสนาน  เมื่อเรามาพบ ปะ กัน  นานๆเราจะมีความสุข ได้เต้น ได้ออกกำลังกาย

 

   

  

 

กระดาษ 1 แผ่น กับความภาคภูมิใจ  มีความสุขกับการทำงาน

นำ 3 C ไปปฎิบัติ  มีสติ มีสมาธิ  มุ่งมั่น ตั้งใจ ทำงาน

 

พยาบาล NP คนเก่งให้ความรู้

หมายเลขบันทึก: 293889เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2009 13:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

รบกวนขอ File ด้วยนะคะ จะได้สอนน้องได้ถูกต้อง

ดีค่ะ อ่านแล้วมีประโยชน์ ในการทำงาน ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท