ศิลปะในประวัติศาสตร์ชาติไทย


ศิลปะในประวัติศาสตร์ชาติไทย

ศิลปะในประวัติศาสตร์ชาติไทย

        ยุคประวัติศาสตร์ชาติไทย ศิลปะยุคประวัติศาสตร์ไทย เริ่มตั้งแต่ชนชาติไทยตั้งมั่นในสุวรรณภูมิแบ่งคร่าวๆเป็น 6 สมัย คือ ศิลปะสมัยเชียงแสน ศิลปะสมัยสุโขทัย  ศิลปะสมัยอู่ทอง  ศิลปะสมัยอยุธยา  ศิลปะสมัยธนบุรี  และศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์    


       1) ศิลปะสมัยเชียงแสนโยนก   พ.ศ.16-20  หรือศิลปะล้านนาไทย
                เรียกตามชื่อเมืองโยนกเชียงแสนซึ่งปรากฏทรากเมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงท้องที่อำเภอเชียงแสนจังหวัดเชียงรายในปัจจุบัน เมืองดังกล่าวนี้ เคยเป็นราชธานีและเมืองสำคัญของไทยในสมัยแรกที่ตั้งมั่นขึ้นในสุวรรณภูมิตามความเป็นจริงแล้วคนไทยที่มาตั้งมั่นอยู่ในแถบนี้ได้โยกย้ายบ้านเมืองและสร้างราชธานีหลายหนเพราะเหตุที่มีอุทกภัยน้ำในแม่น้ำโขงไหลบ่าขึ้นมาท่วมบ้านเมืองเสียหายบ่อยๆคำว่าโยนกเชียงแสนที่กล่าวในที่นี้จึงกล่าวเพื่อความสะดวกในการกำหนดเรียกชื่อศิลปกรรมแบบที่สร้างในระยะที่โยนก( เมืองสมัยก่อนเชียงรายราวพ.ศ.1300-1600)และเชียงแสนเป็นราชธานี(พ.ศ.16001800)ตลอดจนมาถึงเชียงใหม่เป็นราชธานีของอาณาจักรล้านนาในชั้นหลังด้วย 

             ศิลปะล้านนา หรือ ศิลปะเชียงแสน มีลักษณะเก่าแก่มาก  คาดว่ามีการสืบทอดต่อเนื่องของศิลปะทวาราวดี และลพบุรี ในดินแดนแถบนี้มาตั้งแต่สมัยหริภุญชัย   ศูนย์กลางของศิลปะ ล้านนาเดิมอยู่ที่เชียงแสน    เรียกว่าอาณาจักรโยนก ต่อมาเมื่อ   พญามังราย ได้ย้ายมาสร้างเมืองเชียงใหม่    ศูนย์กลางของของอาณาจักรล้านนาก็อยู่ที่ เมืองเชียงใหม่สืบต่อมาอีกเป็นเวลานาน  

 

              เป็นศิลปะที่เกิดขึ้นทางภาคเหนือของประเทศไทย ศิลปะลานนา ศิลปะบางส่วนได้รับอิทธิพลจากอินเดียและลังกา แต่เริ่มมีลักษณะของความเป็นไทย มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง พบซากเมืองอยูริมฝั่งแม่น้ำโขง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย  ลักษณะสำคัญของพระพุทธรูป ศิลปะล้านนา   ซึ่งมักเรียกว่า  แบบเชียงแสน   คือ พระวรกายอวบอูม  พระพักตร์อิ่ม  ยิ้มสำรวม กระเกตุมาลาเป็นรูปต่อมกลม  และดอกบัวตูม  ไม่มีไรพระศก พระศกเป็นแบบก้นหอย     พระขนงโก่งรับพระนาสิกงุ้มเล็กน้อยชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน พระอุระนูนดังราชสีห์  ท่านั่งขัดสมาธิเพชร

               การสร้างพระพุทธรูป มีพระวรกายอวบอ้วน พระพักตร์กลม พระหนุเป็นปม พระอุระนูน พระรัศมีเป็นดอกบัวตูม งานทางด้านสถาปัตยกรรม มีการสร้างสถูปมากมาย เช่น สถูปจามเทวี ลำพูน สถูปวัดสวนดอก เชียงใหม่ สถาปัตยกรรม โบสถ์ และวิหาร ภาพรูปปั้นหอไตร วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ ฯลฯ

            พระพุทธรูปเชียงแสนถือกำเนิดขึ้นที่เมืองเชียงแสนทางภาคเหนือของไทย ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงราย ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๒๑ ลักษณะงดงามน่าเกรงขามมากดุจพญาสิงหราช จึงได้นามว่าสิงห์หนึ่ง สิงห์สอง สิงห์สาม   
          ได้มีนักวิชาการสันนิษฐาน 2 กรณี ว่าได้รับอิทธิพลมาจากที่ใด กรณีแรกถือว่าได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธรูปแบบปาละของอินเดีย พบมากในทางภาคเหนือของไทย เช่น พระพุทธรูปหินปางทรมานช้างนาฬาคีรี ที่วัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่ กรณีที่สองว่าได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธรูปสมัยคุปตะของอินเดียยุคเดียวกับพระพุทธรูปศรีวิชัย เนื่องจากพบพระพุทธรูปเชียงแสนที่มีลักษณะคล้ายกับศิลปะศรีวิชัย
             ศิลปะปาละอาจมีส่วนเกี่ยวข้องบ้างโดยเฉพาะฐานที่ทำด้วยบัวแบบต่างๆ นอกจากนี้ศิลปะเชียงแสนได้ขยายออกไป 2 ทาง ทางตะวันตก(ล้านนา) ทางใต้(สุโขทัย) เมื่อสุโขทัยเจริญขึ้นก็กลับมีอิทธิพลกลับมาทางเชียงใหม่ และเชียงรายทำให้พระพุทธรูปได้ถูกแบ่งเป็นรุ่น โดยรุ่นแรกเป็นศิลปะของเชียงแสนโดยแท้ลักษณะที่ลำคัญคือพระวรกายอวบอ้วน พระพักตร์สั้นกลม พระโอษฐ์เล็ก พระหนุเป็นปม พระอุระนูน พระรัศมีรูปบัวตูมหรือเป็นต่อมกลม ชายจีวรสั้น และบางแนบเนื้อ พระพุทธรูปเชียงแสนรุ่นแรกมักเรียกว่า สิงห์หนึ่ง รุ่นกลางเรียกสิงห์สอง รุ่นหลังเรียก สิงห์สาม

             สำหรับพระพุทธรูปในรุ่นถัดมาจะมีลักษณะแข็งกระด้าง ขาดความอ่อนหวานนุ่มนวล พระวรกายผอมชะลูดไม่สมส่วน พระพักตร์ยาวเป็นรูปไข่ ชายสังฆาฏิยาว พระพุทธรูปที่กำเนิดขึ้นรุ่นหลังนี้  เช่น  พระหริภุญชัยโพธิสัตว์และพระพุทธรูปเชียงแสนพระรุ่นหลังนี้ยังได้เป็นต้นแบบต่อไป จนถึงราชอาณาจักรลาวในปัจจุบัน

            ซึ่งศิลปกรรมลักษณะนี้ปรากฏแพร่หลายอยู่ในจังหวัดต่างๆ ทางภาคเหนือของประเทศไทยตำราทางศิลปส่วนใหญ่จะเรียกศิลปกรรมแบบนี้ว่า "เชียงแสน"เท่านั้นแต่เนื่องด้วยศิลปกรรมที่สร้างในสมัยโยนกมีการบูรณะซ่อมกันมาตลอดในสมัยเชียงแสน  ลัทธิศาสนาสมัยต้นที่ไทยเข้ามาครอบครองแคว้นนี้ ได้แก่พระพุทธศาสนามหายานนิกายต่าง ๆ ระยะ พ.ศ. 1300-1600

 

            พุทธศาสนามหายานรุ่งเรืองมากทั่วอินเดีย และแพร่ไปยังธิเบตเนปาล จีน ญี่ปุ่น ขอม และชวา ศิลปะแบบอินเดียใต้ก็เข้ามาด้วย ทำให้ศิลปะแบบโยนก-เชียงแสน ได้รับอิทธิพลคลุกเคล้าจนปรากฏแบบอย่างขึ้นมากมายซึ่งอาจจำแนกอย่างหยาบ ๆ ตามอิทธิพลที่ได้รับเป็น 5 แบบ คือ
             1. แบบโยนก เชียงแสน อิทธิพลสกุลศิลปปาละวะ ดีในลานนา
             2. แบบโยนก-เชียงแสน อิทธพลสกุลศิลปปาละ-เสนา
             3. แบบโยนก-เชียงแสน สกุลอินเดียใต้
             4. แบบโยนกเชียงแสนอิทธิพลศิลปแบบทวาราวดี
             5. แบบเชียงแสนแท้

             การแต่งกายสมัยเชียงแสน  หญิงไทยจึงนุ่งซิ่นถุง แต่การทอผ้ามีลวดลายตกแต่งประดับประดา เช่น ซิ่นทอลายขวาง เกล้าผมสูง ปักปิ่นประดับผม

 

       2) ศิลปะสมัยสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 18 – 20
              อาณาจักรสุโขทัย  นับเป็นอาณาจักรแรกของคนไทย  มีความเจริญอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย  ศิลปะสุโขทัยเริ่มต้นราว พ.ศ. 1780 เมื่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์สถาปนากรุงสุโขทัย ศิลปะสุโขทัยจึงนับเป็นสกุลศิลปะแบบแรกของชนชาติไทย   ที่ผ่านการคิดค้น สร้างสรรค์  คลี่คลาย สังเคราะห์ในแผ่นดินที่เป็นปึกแผ่น มั่นคงจนได้รูปแบบที่งดงาม  พระพุทธรูปสุโขทัย ถือว่ามีความงามตามอุดมคติไทยอย่างแท้จริง  

             ผลงานศิลปกรรมบ่งบอกถึงความเป็นไทยแท้มากที่สุด เป็นศิลปะแบบสูงสุด (Classic Art)  มีศิลปะที่งดงามเกิดขึ้นอย่างมากมาย ลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปสุโขทัย คือ พระวรกายโปร่ง   เส้นรอบนอกโค้งงาม  ได้จังหวะ    พระพักตร์รูปไข่ยาวสมส่วน    ยิ้มพองาม   พระขนงโก่ง รับกับ พระนาสิกที่งุ้มเล็กน้อย  พระโอษฐ์แย้มอิ่ม   ดูสำรวม มีเมตตา พระเกตุมาลา รูปเปลวเพลิง   พระสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี  พระศกแบบก้นหอย   ไม่มีไรพระศก  พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยมีความงดงามมาก  ที่มีชื่อเสียงมากได้แก่ พระพุทธชินราช    พระพุทธชินสีห ์   พระศาสดา     พระพุทธไตรรัตนายก  และ  พระพุทธรูปปางลีลา      

                       พระพุทธรูปมีความอ่อนช้อยละมุนละไมตามอุดมคติอันดีงามของไทย เช่น พระพุทธรูปปางลีลา ที่ระเบียงพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร กรุงเทพมหานคร พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก  สถูป เจดีย์ วัด ต่างๆอย่างมากมาย ตลอดทั้งงานหัตถกรรม เครื่องปั้นดินเผา สังคโลก

 

            นอกจากพระพุทธรูปแล้ว  ในสมัยสุโขทัยยังมีงานประติมากรรมที่มีชื่อเสียงอีกอย่างหนึ่งคือ เครื่องสังคโลก ซึ่งเป็นเครื่อง  ปั้นดินเผาสมัยสุโขทัยที่มีลักษณะเฉพาะ  มีชื่อเสียงไปทั่วโลก  เครื่องปั้นดินเผาสังคโลก เป็นเครื่องปั้นดินเผาเคลือบ สีเขียวไข่กา สีน้ำตาล สีใส   เขียนทับลายเขียนรูปต่าง ๆ   มี ผิวเคลือบแตกราน  สังคโลกเป็นสินค้าออกที่สำคัญของอาณาจักรสุโขทัยที่ ส่งไปจำหน่ายนอกอาณาเขต จนถึงฟิลิปินส์ อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น  

เอกลักษณ์ ของสถาปัตยกรรมสุโขทัย จะออกแบบให้ก่อเกิดความศรัทธาด้วยการสร้างรูปทรงอาคารในเชิง สัญลักษณ์ เช่น การออกแบบเจดีย์ทรงดอกบัวตูม หรือ เจดีย์ทรงกลม และปั้นรูปช้างล้อมรอบฐานเจดีย์  เจดีย์แบบสุโขทัยแบ่งออกเป็น 3 แบบคือ

  • เจดีย์แบบสุโขทัยแท้ หรือ เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์
  • เจดีย์ทรงกลมแบบลังกา
  • เจดีย์แบบศรีวิชัย

          การแต่งกายสมัยสุโขทัย หนังสือสมุดภาพแสดงเครื่องแต่งกายตามสมัยประวัติศาสตร์และโบราณคดีของกรมศิลปากรได้สรุปลักษณะการแต่งกายของชาวสุโขทัยไว้ดังนี้

 

         อิทธิพลทางวัฒนธรรมพราหมณ์และขอมแพร่มาถึงสตรีไว้ผมเกล้าสูง อย่างที่เรียกว่า โองขโดง คือรวบขึ้นไปเกล้ามวยกลางกระหม่อม มีเกี้ยวหรือพวงมาลัยสวม สนมกำนัลแต่งกรัชกายนุ่งห่มผ้าลิขิตพัสตร์ ผ้าสุวรรณพัสตร์ ประดับเครื่องอลังกาภรณ์ มีจดหมายเหตุบันทึกการแต่งกายสตรีว่า หญิงนุ่งผ้าสูงพ้นดิน ๒ - ๓ นิ้ว (กรอมเท้า) สวมรองเท้ากีบทำด้วยหนังสีดำสีแดงการแต่งกายสตรี ส่วนมากนิยมนุ่งผ้ายาวครึ่งแข้ง รัดกลีบซับซ้อนมากชั้น มีเข็มขัดขนาดใหญ่คาดทับ ประดับด้วยลวดลายละเอียดมาก ทั้งชายผ้าเป็นกาบขนาดใหญ่ ตรงด้านหน้าหรือยักเยื้องไปทางด้านข้าง บุคคลธรรมดาทั้งชายและหญิงมักนิยมนุ่งผ้าโจงกระเบน หวีผมแสกยาวประบ่า มีผ้ารัดต้นคอ ผู้หญิงธรรมดามีผ้าแถบคาดอก ใส่กำไลข้อมือ รัดแขนและกำไรข้อเท้ากรองคอทำเป็นลาย หยักโดยรอบ  

          ลักษณะการแต่งกายของผู้ชาย การนุ่งผ้าเท่าที่ปรากฏหลักฐานในตุ๊กตาสังคโลก และภาพลายเส้นบนแผ่นศิลาวัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย มักนิยมมีชายพกด้านหน้า ยาว

  3) ศิลปะสมัยอู่ทอง  พ.ศ.17-20

                          เป็นศิลปะที่เกิดจากการรวมกันของศิลปะทวาราวดี และอารยธรรมขอม ศิลปกรรมในสมัยนี้มีความเจริญอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย ค้นพบมากที่จังหวัดสุพรรณบุรี นครปฐม ชัยนาท ลพบุรี และอยุธยา ศิลปกรรมที่ค้นพบเช่นพระพุทธรูป โบสถ์ วิหาร ปรางค์ และเจดีย์  ดังนั้นรูปแบบศิลปะจึงได้รับอิทธิพลของสกุลช่างต่าง ๆ    ดังที่กล่าวมาแล้ว
              ลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปอู่ทอง คือ พระวรกายดูสง่า   พระพักตร์ขรึม ดูเป็นรูปเหลี่ยม คิ้วต่อกันไม่โก่งอย่างสุโขทัยหรือเชียงแสน พระศกนิยมทำเป็นแบบหนามขนุน มีไรพระศก   สังฆาฏิยาวจรดพระนาภี     ปลายตัดตรง พระเกตุมาลาทำเป็นทรงแบบฝาชี รับอิทธิพลศิลปะลพบุรี  แต่ยุคต่อมาเป็น แบบเปลวเพลิงตามแบบศิลปะสุโขทัย
            พระพุทธรูปอู่ทองได้รับการวิจารณ์จากผู้เชี่ยวชาญทางด้านศิลปะว่าทรงไว้ซึ่งคุณค่ายิ่งกว่าพระพุทธรูปสมัยอยุธยา และรัตนโกสินทร์ เสมอทัดเทียมกับพระพุทธรูปสกุลสุโขทัย และเชียงแสน แต่มีลักษณะในทางตรงกันข้าม เนื่องจากพระพุทธรูปอู่ทองมีทรวดทรงสำแดงไปในทางแข็งกร้าว พระพักตร์ขึงขัง เป็นอาการที่กำลังเพ่งอยู่ในญานแก่กล้า จะสังเกตุได้จากพระพุทธรูปอู่ทองในยุคต้น ๆ  พุทธลักษณะของพระพุทธรูปสกุลอู่ทองส่วนใหญ่ มีลักษณะพระวรกายสูงชลูด พระพักตร์มีไรพระศกเป็นกรอบรอบวงพระพักตร์ พระหนุป้านเป็นรูปคางคน ชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี ฐานมักเป็นแบบหน้ากระดานแอ่นเป็นร่องเว้าเข้าไปข้างใน พระพุทธรูปส่วนมากมักสร้างเป็นปางมารวิชัย นั่งสมาธิราบ
            พระพุทธรูปจึงเป็นที่นิยมในนักสะสมบางกลุ่มเป็นอย่างยิ่งเนื่องจาก มีพุทธลักษณะที่สร้างขึ้นอย่างง่าย ๆ คล้ายคลึงกับรูปกายของสามัญมนุษย์ และมีท่าทีเข้มแข็งเด็ดขาดดูน่าเกรงขามจากแหล่งที่ได้มีการค้นพบพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง นักโบราณคดีบางท่านได้สันนิษฐานว่า พระพุทธรูปสมัยอู่ทองได้ถือกำเนิดขึ้นในเขตสุพรรณบุรี ซึ่งแปลจากศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงนามว่า "สุพรรณภูมิ" หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า อู่ทองสุพรรณภูมิ นั่นเอง

             ส่วนอีกหลาย ๆ แหล่งที่ได้พบพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง คือ จังหวัดกำแพงเพชร ชัยนาท นครสวรรค์ สุโขทัย และพิษณุโลก เป็นที่เชื่อกันว่าพระพุทธรูปอู่ทองได้รับอิทธิพลมากจาก พระพุทธรูปสมัยทวาราวดีรุ่นหลัง พระพุทธรูปสมัยลพบุรี และสุโขทัยตามลำดับ

             ประติมากรรมอู่ทองปูรากฐานให้แก่ประติมากรรมสมัยอยุธยาตอนต้นโดยตรงเพราะศิลปะอู่ทองมีการทำสืบต่อไปจนถึงแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

 

      4)  ศิลปะสมัยอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 20 – 23
              อาณาจักรอยุธยา เป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ และมีอายุยาวนานถึง  417  ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 1893 - 2310      มีพระนครศรีอยุธยาเป็นราชธานี  งานศิลปะได้รับอิทธิพลจากสมัยลพบุรี สุโขทัย และอยุธยาตอนปลายได้รับอิทธิพลจากจีน จากตะวันตก   ศิลปะอยุธยาที่เจริญรุ่งเรืองมีหลายแขนง     ได้แก่ การประดับมุก   การเขียนลายรดน้ำ  ลวดลายปูนปั้น  การแกะสลักไม้   และเครื่องปั้นดินเผาลายเบญจรงค์  ฯลฯ      ศิลปะการสร้างพระพุทธรูปในสมัยอยุธยาไม่ค่อยรุ่งเรืองนัก ไม่มีลักษณะเฉพาะที่เด่นชัด  ลักษณะทั่วไปจะเป็นการผสมผสานศิลปะแบบอื่น         มีพระวรกายคล้ายกับพระพุทธรูปอู่ทอง พระพักตร์ยาวแบบสุโขทัย      พระเกตุมาลาเป็นหยักแหลมสูงรูปเปลวเพลิงพระขนงโก่งแบบสุโขทัย   สังฆาฏิใหญ่ปลายตัดตรง     หรือสองแฉกแต่ไม่เป็นเขี้ยวตะขาบ แบบเชียงแสน    หรือสุโขทัย ตอนหลังนิยมสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องแบบกษัตราธิราช

              ค้นพบงานศิลปกรรมมากมายหลายประเภท เช่น พระเศียรพระพุทธรูปหินทราย งานจิตรกรรมเกียวกับเรื่องพุทธประวัติ เรื่องชาดก มีการก่อสร้างวัดต่างๆเป็นจำนวนมาก เช่น ประติมากรรมสลักไม้ที่ยานประตูเจดีย์วัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดพุทธไธสวรรค์ วัดมหาธาตุวัดราชบูรณะฯลฯ การสร้างสถูป เจดีย์ พระปรางค์ แล้วพัฒนาเป็นเอกลักษณ์ของอยุธยาแท้ เช่น ปติมากรรมสลักไม่นูนสูง รูปพระนารายณ์ทรงครุฑ ลายลดน้ำตู้พระธรรม ที่มีชื่อเสียงคือ ลายรดน้ำฝีมือครูวัดเชิงหวายพบที่วัดเชิงหวาย จังหวัดนนทบุรี 

             การแต่งกายของสตรี  ผมตัดสั้น เพื่อสะดวกในการปลอมเป็นชายอพยพหลบหนี ห่มผ้าคาดอกแบบตะเบงมานรวบชายผูกเงื่อนที่ต้นคอ แสดงถึงหญิงไทย แม้จะเป็นเพศอ่อนโยนสวยงาม แต่ก็อาจปรับตัวรับสถานการณ์ฉุกเฉินได้ งานบ้านปรกติก็ต้องทำ เช่น ฝัดข้าวไว้หุง แต่พอมีสัญญาณภัยก็วางกะด้ง คว้าดาบ  พร้อมที่จะสู้ได้ทันที

         5) ศิลปวัฒนธรรมสมัยกรุงธนบุรี
                การสร้างกรุงธนบุรีเป็นราชธานีแทนกรุงศรีอยุธยาเท่ากับเป็นการสร้างชุมชนใหม่ของชาวไทย การสูญเสียอิสรภาพของไทยให้กองทัพพม่าที่เข้ามาตีกรุงศรีอยุธยาแตกยับเยินใน พ.ศ. 2310 นั้น ก็หมายถึงการสูญสลายของศิลปวัฒนธรรมไทยในบางส่วนไปด้วย        ด้วยเหตุนี้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงจำเป็นต้องฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทยที่เสื่อมโทรมลงไปเมื่องครั้งกรุงศรียุธยาเสียแก่พม่าขึ้นมาใหม่ แต่ก็คงจะทำนุบำรุงได้ไม่เต็มที่เพราะบ้านเมืองกำลังอยู่ในภาวะสงคราม แต่ฟื้นฟูได้บางส่วนดังนี้
                 1. ด้านสถาปัตยกรรม ทางศิลปะการก่อสร้างได้ยึดแบบอย่างของกรุงศรีอยุธยาเป็นหลัก การก่อสร้างที่สำคัญ ได้แก่ การก่อสร้างพระราชวังกรุงธนบุรี วังเจ้านาย ตลอดจนการสร้างและปฏิสังขรณ์ วัดวาอารามต่าง ๆ เช่น วัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆษิตตาราม) วัดแจ้ง (วัดอรุณราชวราราม) วัดบางยี่เรือใต้ (วัดอินทาราม) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการก่อสร้างป้อมปราการต่าง ๆ สำหรับป้องกันข้าศึก ทั้งนี้เพราะกรุงธนบุรีเพิ่งจะเป็นราชธานีใหม่นั่นเอง
                  2. ด้านประติมากรรม มีการสืบทอดศิลปะการปั้นรพระพุทธรูปมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาได้กล่าวถึงช่างปั้นพระพุทธรูปคนหนึ่งในยุคต้นของสมัยกรุงธนบุรีว่ามียศและราชทินนามเป็นหลวงวิจิตรนฤมล
                  3. ด้านดุริยางค์และนาฏศิลป์ ในการเล่นฉลองในงานพิธีต่าง ๆ ยังคงรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมเอาไว้จากสมัยอยุธยาดังจะเห็นได้จากเมื่อครั้งเตรียมพิธีการต้อนรับพระแก้ว พระบางซึ่งสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้นำมาจากเวียงจันทน์นั้น ก็มีการเล่นบทดอกสร้อยสักวาและเล่นมโหรีพิณพาทย์ การเล่นละคร โขน ในขบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค นอกจากนี้ในการสมโภชก็มีมหรสพ ละครผู้หญิงและละครผู้ชาย แสดงว่าศิลปะและวัฒนธรรมเหล่านี้คงได้รับการฟื้นฟูเหมือนสมัยเดิมเมื่อครั้งกรุงศรีอยูธยาเป็นราชธานี
                  4. ศิลปกรรมอื่น ๆ นอกจากงานศิลปะต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ยังมีพวกช่างที่มีความชำนาญในด้านต่าง ๆ อยู่มาก เช่น ช่างต่อเรือรบ ช่างก่อสร้าง ช่างรัก ช่างประดับ และช่างเขียน เป็นต้น ช่างเหล่านี้มีส่วนในการเตรียมยุทโธปกรณ์สำหรับทำสงคราม การสร้างพระราชวัง และการสร้างวัดวาอารามต่าง ๆ ด้วย

6)  ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ เริ่มตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 23 -  ปัจจุบัน
                ศิลปะได้รับอิทธิพลจากนานาชาติ  โดยรวมศิลปะสมัยธนบุรีด้วย ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ระยะแรกเลียนแบบศิลปะสมัยอยุธยาเป็นสำคัญ  ศิลปะรัตนโกสินทร์ในตอนต้น    เป็นการสืบทอดมาจากสกุลช่างอยุธยาไม่ว่าจะเป็น      การเขียนลายรดน้ำ    ลวดลายปูนปั้น   การแกะสลักไม้ เครื่องเงิน  เครื่องทอง การสร้างพระพุทธรูป    ล้วนแต่สืบทอดความงามและวิธีการของศิลปะอยุธยาทั้งสิ้น เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และ วัดพระเชตุพลวิมลคลาราม ต่อมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ได้รับอิทธิพลจากตะวันตก และงานศิลปกรรมรัตนโกสินทร์ตอนต้นส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลสกุลช่างสมัยอยุธยา

 สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จขึ้นครองราชย์และสถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นเมืองหลวงกรุงรัตนโกสินทร์ และทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทำให้กรุงเทพมหานครเป็นเหมือนกรงศรีอยุธยาแห่งที่สอง กล่าวคือได้มีการสร้างสถาปัตยกรรมที่สำคัญ โดยเลียนแบบอย่างมาจากกรุงศรีอยุธยารวมไปถึงสถาปัตยกรรมประเภทบ้านพักอาศัย เรือนไทยบางเรือนที่ยังคงเหลือจากการทำศึกสงครามกับพม่าก็ถูกถอดจากกรุงศรีอยุธยามาประกอบที่กรุงเทพมหานครกรุงเทพมหานครกลายเป็นมหานครศูนย์กลางแห่งหนึ่งที่รวบรวมเอาผู้คนหลายหลายชาติวัฒนธรรมเข้ามารวมอยู่ด้วยกันไม่ว่าจะเป็น แขก (อินเดีย) ฝรั่ง (ชาติตะวันตก) และ จีน ที่มีการซึมซับวัฒนธรรมอื่นมาทีละน้อย หลักฐานในยุคนั้นไม่ปรากฏเท่าไร เนื่องจากผุพังไปตามสภาพกาลเวลา แต่จะเห็นได้จากภาพตามจิตรกรรมฝาผนังของวัดต่างๆ ที่สร้างขึ้นในสมัยนั้น รวมถึงรูปแบบบ้านพักอาศัยซึ่งมีตึกปูนแบบจีนอยู่ค่อนข้างมากในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นยุคทองแห่งศิลปะจีน มีการใช้การก่ออิฐถือปูนและใช้ลวดลายดินเผาเคลือบประดับหน้าบันแทนแบบเดิม
            ในสมัยรัชกาลที่
มีการติดต่อกับชาวต่างชาติมากขึ้นโดยเฉพาะชาติตะวันตก ทำให้ลักษณะศิลปะตะวันตกหลั่งไหลเข้าสู่ ประเทศไทย และมีอิทธิพลต่อศิลปะไทย  ในสมัยรัชกาลที่ 4 – 5 เริ่มนิยมศิลปะกรมยุโรปมาก ได้นำมาผสมกับแบบศิลปกรรมไทย มีจิตรกรที่ชื่อขรัวอินโข่ง ได้เขียนภาพที่ใช้แนวคิดทางจากทางตะวันตก  เข้ามาผสมกับศิลปะไทยเป็นครั้งแรก คือภาพจะมีความลึก มีแสงเงา ไม่แบนๆเหมือนสมัยก่อน   เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร

หมายเลขบันทึก: 293749เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2009 21:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กันยายน 2012 14:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

น่าเสียดายไม่มีรูปภาพประกอบ

ขอบคุณมากครับ

สำหรับข้อมูลดีๆที่นำมาลง

แล้วผมจะแปะเครดิตลงรายงานนะครับ

ขอบคุณ

ขอบคุณสำหรับข้อมูล

ข้อมุลดีมากเลย ค๊ ขอบคุรมากๆนะค๊

ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ ^_^

ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะค่ะ ^^

ได้ความรู้มากเลยค่ะ ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะค่ะ

ขอบคุณครับ เอาไปทำรายงานของอาจารย์ดนัยได้เลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท