สัจจะลดรายจ่ายวันลละ ๑ บาท เพื่อทำสวัสดิการภาคประชาชน


ครูชบ ยอดแก้ว
  สัจจะลดรายจ่ายวันละ ๑ บาท

 

     วันจันทร์ที่ ๒๒ สิงหาคมที่ผ่านมาฉันได้มีโอกาสร่วมเดินทางกับทีมองค์กรการเงินชุมชน ต.กะหรอ (๙ คน)ตัวแทนคณะกรรมการจาก ๙ หมู่บ้าน เพื่อเข้าร่วมการสัมมนา สัจจะลดรายจ่ายวันละ ๑ บาท เพื่อสวัสดิการภาคประชาชนจังหวัดสงขลา ที่ โรงแรมกรีนเวิลด์พาเลช สงขลา

 

ขณะเดินทางพูดคุยกับทีมที่เดินทางไปด้วยกันว่าการสัมมนาในครั้งนี้ทุกคนมีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ใดบ้าง บางคนก็บอกว่าเพื่อเรียนรู้และทำความเข้าใจเรื่องสัจจะลดรายจ่ายเพื่อสวัสดิการให้มากขึ้น/เพื่อความชัดเจน บางคนก็ไม่ได้กำหนดเอาไว้ (แถมยังไม่ทราบเลยว่าเดินทางไปเข้าร่วมการสัมมนาเรื่องอะไร...)     

 

เวทีในครั้งนี้มีตัวแทนผู้เข้าร่วมจาก อบจ. อบต. และเครือข่ายองค์กรการเงินจังหวัดสงขลา ทั้งหมดประมาณ ๓๐๐ คน

 

วัตถุประสงค์ของการจัดเวทีสัมมนาในครั้งนี้เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจและประชาสัมพันธ์ในเรื่องของสัจจะลดรายจ่ายวันละ ๑ บาทเพื่อทำสวัสดิการภาคประชาชนจังหวัดสงขลา   (ซึ่งในตอนนี้จังหวัดสงขลามี ๕๓ ตำบลแล้วที่ลงมือทำ)    

 

ในด้านของการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะ อบจ.ก็ได้ฟันธงไปแล้วว่าจะให้การสนับสนุน   สมทบงบประมาณให้กับตำบลที่ทำสัจจะลดรายจ่าย    

 

เอาหล่ะทีมกะหรอหลังจากฟังสัมมนาเสร็จเดินทางกลับ ฉันก็ถามว่าได้อะไรจากการเข้าร่วมครั้งนี้บ้าง ก็ตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า มาฟังครั้งนี้ได้เห็นถึงความร่วมแรง ร่วมมือ ร่วมใจกันของหน่วยงานต่าง ๆ และเครือข่ายองค์กรการเงินสงขลา ทำให้รู้สึกถึงพลัง และมีกำลังใจที่จะกลับมาทำสัจจะลดรายจ่ายวันละ ๑ บาท ที่ตำบลกะหรออย่างแน่นอน
            ข่าวแว่ว ๆ มาว่าวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๔๘ ทีมกะหรอจะนัดคุยกันในเรื่องนี้ (ตีเหล็กเมื่อยังร้อนยังใช้ได้อยู่)  รายละเอียดเป็นอย่างไร เดี๋ยวค่อยมาเล่าให้ฟังนะคะ

 

หมายเลขบันทึก: 2936เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2005 09:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การที่ผู้บันทึก ถามผู้ร่วมเดินทางว่ามีเป้าหมายอย่างไรในการร่วมเดินทางครั้งนี้ และถามอีกครั้งเมื่อเสร็จประชุมแล้ว เป็นวิธีการที่ดีมากๆ ค่ะ อย่างแรกก็คือ กระตุ้นให้คนที่ร่วมเดินทางได้คิดว่า "เรามาทำอะไร" เมื่อได้คิด ก็จะมีความมุ่งมั่น แน่วแน่ที่จะฟัง จับประเด็น สกัดความรู้ที่สนใจออกมา ไม่เลื่อนลอย  และเมื่อเสร็จประชุมก็ถามผลที่ได้รับ ก็ทำให้ผู้เข้าประชุมได้ทบทวน หากเป็นด้านจัดการความรู้ก็คือการทำ AAR นั่นเอง 

ไม่ทราบว่าพอจะมีคำตอบของผู้เข้าร่วมมาบอกเล่ากันไหมค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท