เก่งอย่างเดียวไม่พอ


คนวลัยลักษณ์ต้องเก่งและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

วันนี้ผมได้เปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการแก่พนักงานที่เข้าร่วมสัมมนาในหัวข้อ การทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข โดยได้รับเกียรติจากท่านวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ คือ ท่านอาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ซึ่งกันก็ได้เคยมาบรรยายให้ผู้บริหารได้ประทับใจไปแล้วเมื่อรุ่นแรกครับ ผมได้ให้ความคิดและข้อมูลแก่ผู้เข้าร่วมสัมมนาว่า โดยนโยบายของมหาวิทยาลัยแล้ว มหาวิทยาลัยต้องการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรให้เป็นคนที่เก่งในงานให้มากที่สุด แต่อย่างไรก็ตามปัญหาที่เรามักจะพบเสมอในองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ก็คือ องค์กรที่มีคนเก่งมาก ก็ยิ่งยากที่จะทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข และในที่สุดการทำงานเป็นทีมก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ดังนั้นนโยบายของมหาวิทยาลัยจึงไม่ได้ให้ความสำคัญที่การสร้างบุคลากรให้เป็นคนเก่งอย่างเดียว แต่ได้มุ่งที่จะสร้างศักยภาพในการจัดการความรู้สึกของตัวเราเองทุกคน ให้สามารถทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานได้อย่างมีความสุข และเมื่อสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น วลัยลักษณ์ก็จะสามารถบรรลุวิทัศน์ที่วางไว้ได้ไม่ยากเลย

หมายเลขบันทึก: 29330เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2006 09:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ปิติกานต์ จันทร์แย้ม
ภายหลังจากการร่วมฟังการบรรยายของท่านวิทยากรในวันแรกตนเองคิดว่าเกิดประโยชน์กับตนเองในการทำงานร่วมกับผู้อื่นเป็นอย่างมาก มีความสุข มีพลังใจมากขึ้นเป็นกอง เราได้เรียนรู้ถึงหลักคิดเกี่ยวกับความสุขในการทำงานร่วมกับผู้อื่นว่า ความสุขในการทำงานร่วมกับผู้อื่นก็คือ การที่เรามีความสุข เรามีความพอใจที่ได้อยู่ร่วมกับคนอื่น และทำให้ผู้อื่นมีความสุข คนอื่นมีความพอใจที่ได้อยู่ร่วมกับเรา อย่าคาดหวังผู้อื่น เมื่อทราบเช่นนั้น เราก็กลับมามองตนเองว่าที่ผ่านมาบางครั้งเรามักจะคาดหวังผู้อื่นมากเกินไป การเข้าร่วมอบรมในวันนี้ทำให้เราเข้าใจว่า ความสุขของแต่ละคนมีลักษณะเฉพาะ ไม่จำเป็นต้องเหมือนเรา อย่าเอามาตรฐานของเราไปยึดติดหรือยัดเยียดให้คนอื่นทำตามซึ่งทำให้ทั้งเราและเขาไม่มีความสุข วิทยากรเล่าว่า "นิ้ว 5 นิ้ว ต้องอยู่ด้วยกันจึงสามารถหยิบจับสิ่งต่างๆได้ ถ้ามีเพียงนิ้วโป่งก็ไม่สามารถทำภารกิจใดได้ ต้องอาศัยทั้ง 5 นิ้ว ดังนั้นการทำงานเป็นทีมเราต้องมองภาพเดียวกัน ไม่มองส่วนย่อยเพราะทุกส่วนต้องพึ่งพากัน แต่ปัจจุบันเรามองส่วนย่อยมากจนทำให้เราเกิดความกังวล วิตกทำให้เราทำงานไม่มีความสุข"  ดังนั้น จุดเริ่มต้นของเราเพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันเป็นทีมอย่างมีความสุขคือ เราต้องสร้างบรรยากาศที่อบอุ่น เป็นกันเอง สนุกสนาน ยิ้มแย้ม และพูดคุยกับในอย่างมิตรและมีความปรารถนาที่ดีต่อกัน ผู้ฟังหรือเพื่อนร่วมงานก็จะรู้สึกเป็นกันเอง สนใจและจะเปิดโอกาส เปิดใจ ให้ความสนใจที่จะรับฟัง ผสมความคิดเดิม กลั่นกรองเป็นความคิดใหม่หรือที่เราเรียกว่า นวัตกรรม ....หากเราคิดและทำเช่นนี้เราก็จะมีความสุข มีความพอใจที่จะอยู่ร่วมกับคนอื่น คนอื่นก็จะมีความสุขและพอใจที่จะได้อยู่ร่วมกับเราคะ

แวะเข้ามาดูว่าวันนี้อาจารย์มีเรื่องอะไรมาเล่าให้พวกเราได้เรียนรู้   เลยอดไม่ได้ที่จะขอยกมือด้วยคนว่า"ใช่เลยค่ะ"  คือใช่บันทึกและข้อคิดเห็นที่โดนใจมากค่ะ  การทำงานใดก็ตามไม่ว่างานจะเล็กจะใหญ่จะยากจะง่ายอย่างไรจะสำเร็จได้นั้นต้องใช้กำลังกายกำลังใจของทีมงาน  ดังนั้น  บรรยากาศการทำงานที่อบอุ่นเป็นกันเอง มีความสุข สนุกสนาน จริงใจ  มองปัญหาเป็นโจทย์ที่ต้องแก้ให้ได้ไม่ใช่อุปสรรค  มองเป้าหมายที่ตั้งไว้เป็นหลัก  ไม่เอาเรื่องจุกจิกกวนใจมาบั่นทอนความรู้สึกของทีมงาน  รู้จักการให้กำลังใจเพื่อนที่อยู่ข้าง ๆ เรา นับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมายที่หวังไว้  สิ่งที่อาจารย์และน้องเมกล่าวมาล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้คนที่อยู่ร่วมกันทำงานอย่างมีความสุขค่ะ ซึ่งคงต้องเริ่มที่ตัวเองก่อนว่าต้องรักในงานที่ตัวเองทำ รักตัวเอง รักเพื่อนร่วมงาน รักองค์กร  ฯลฯ  ถ้ารักแล้วทำได้หมดค่ะ  อย่างที่ได้ยินบ่อย ๆ ว่า ความรักทำได้ทุกอย่าง  ซึ่งจะทำให้เราทำงานร่วมกันอย่างมีความสุขด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท