แปลบทที่ 5 นำวิสัยทัศน์ไปใช้ในการทำงาน


แปลบทที่ 5 นำวิสัยทัศน์ไปใช้ในการทำงาน

บทที่  5

5  Putting the Vision to Work

นำวิสัยทัศน์ไปใช้ในการทำงาน

                สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาคือผู้ที่ต้องตัดสินใจ ในเรื่องของขอบเขตของการมอบอำนาจให้แก่โรงเรียนในการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องของการจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังและยุทธวิธีที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ของสำนักงานเขตการศึกษา 

การตัดสินใจนี้จะสะท้อนให้เห็นสภาพการกำหนดทิศทางในการบริหารของเขตพื้นที่ หรือสภาวะการใช้หลักการเป็นผู้นำ

 

การบริหารแบบโรงเรียนเป็นฐานกับบทบาทการบริหารของส่วนกลาง

                1. เขตพื้นที่การศึกษาชี้ให้เห็นวิสัยทัศน์ที่จะเกิดในอนาคต

                2. เขตพื้นที่การศึกษาทบทวนความเป็นจริงของวิสัยทัศน์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน

                3. เขตพื้นที่การศึกษาเลือกจัดลำดับความสำคัญของเป้าหมายที่สำนักงานเขตการศึกษาวางไว้

                4. เขตพื้นที่การศึกษาต้องการให้สถานศึกษาวางแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

                5. เขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้ควบคุมให้โรงเรียนปฏิบัติงานให้ตรงตามแผนงานและประเมิน

                  แผนงานในภาพรวมของเขตพื้นที่การศึกษา

 

การบริหารแบบใช้โรงเรียนเป็นฐานกับบทบาทการใช้หลักการเป็นผู้นำของส่วนกลาง

                1.เขตพื้นที่การศึกษาต้องชี้ให้เห็นภาพรวมของวิสัยทัศน์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

                2.โรงเรียนแต่ละโรงเรียนต้องสร้างวิสัยทัศน์ร่วม (Shared vision)ให้เกิดขึ้นภายในระดับของตน

                3.โรงเรียนต้องทบทวนข้อเท็จจริงของตนที่วางไว้ในปัจจุบัน

                4.โรงเรียนต้องจัดลำดับความสำคัญของงานเองเพื่อให้ตรงกับความ ต้องการของโรงเรียน

                5.โรงเรียนต้องวางแผน ลงมือปฏิบัติงาน และประเมินผล แผนการที่บรรลุเป้าหมายเอง

 

                ดูเหมือนว่าในแต่ละเขตการศึกษายังมีขอบเขตที่กว้างมากเกินไปในการเปลี่ยนแปลงบทบาทการบริหารจากแบบดั้งเดิมที่เป็นการควบคุมและให้ปฏิบัติตามคำสั่ง (ดังตัวอย่างแรก) ไปสู่บทบาทการเป็นผู้นำภายใต้การบริหารแบบใช้โรงเรียนเป็นฐาน (ดังตัวอย่างที่สอง) ปัญหาที่พบส่วนใหญ่คือ สำนักงานเขตตั้งเป้าไว้หลากหลายเกินไป รวมถึงแผนงาน และกระบวนการอนุมัติที่ซับซ้อน ซึ่งทำให้เป้าหมายและความสำเร็จที่ตั้งไว้เป็นเพียงความคิดและความใฝ่ฝันเท่านั้น

                ปัจจัยสำคัญอีกอย่างที่ระดับเขตต้องพิจารณาก็คือ ความจำเป็นที่หลากหลายของแต่ละโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษา บางโรงเรียนได้รับการประชาสัมพันธ์น้อย รวมทั้งจุดอ่อนอื่น ๆ อีก การทำให้ครูผู้สอนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจสูงขึ้นก็อาจทำให้การทำงานในหน้าที่ส่วนอื่นลดลง เป็นต้น การปฏิบัติอย่างหนึ่งในบางที่ถือว่าดี แต่บางที่อาจใช้ไม่ได้ เช่น บางโรงเรียนให้ความสำคัญต่อคะแนนการอ่านสูง บางแห่งยกให้ขวัญและกำลังใจของครูเป็นหลัก แต่บางแห่งอาจไม่จำเป็นก็ได้ เป็นต้น  ดังนั้นนโยบายที่กำหนดให้แต่ละโรงเรียน ก็ควรถูกจัดลำดับความสำคัญให้ต่างกันด้วย หากการตั้งเป้าหมายและแผนงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไม่ตรงตามความจำเป็นของโรงเรียนแล้ว จะเป็นการสูญเสียเวลา สูญเสียพลังงาน สูญเสียทรัพยากร ที่จำเป็นต่อโรงเรียน โดยเปล่าประโยชน์

 

                หากส่วนกลางไม่มีการกระจายอำนาจให้โรงเรียน สิ่งต่อไปนี้อาจเกิดขึ้นคื

                1. การสร้างวิสัยทัศน์ของเขตพื้นที่การศึกษาการศึกษาหรือในระดับโรงเรียนซึ่งเป็นสิ่งที่จะนำไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานและการตัดสินใจ จะน้อยลง

                2. ผู้ร่วมมือและผู้ยอมรับต่อการบริหารงานแบบใช้โรงเรียนเป็นฐานจะน้อยลง

                3.โรงเรียนที่เป็นกลุ่มสาธิต และ กลุ่มผู้วางแผน ริเริ่มแผนงานใหม่ ๆ จะลดลง

                ความสมดุลที่เหมาะสมระหว่างเป้าหมายและการจัดลำดับความสำคัญ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กับเป้าหมายและการจัดลำดับความสำคัญของระดับโรงเรียน  เป็นกลอุบายอย่างหนึ่ง ที่ส่วนกลางสามารถแสดงภาวะผู้นำโดยการเป็นผู้วางเป้าหมายที่ชัดเจน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วความร่วมมือของบุคคลากรเป็นสิ่งนำมาซึ่งแผนงานต่าง ๆ ที่หลากหลาย ซึ่งเป้าหมายที่แท้จริงของสำนักงานเขตต้องตอบสนองความต้องการโดยตรงของแต่ละโรงเรียนด้วย  ทุกฝ่ายทั้งในระดับโรงเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และบุคคลภายนอกควรเข้ามามีส่วนร่วมในการวางเป้าหมายและวางโครงการ  อีกทั้งองค์ประกอบอื่น ๆ ก็เป็นปัจจัยอีก คือ ความต้องการพื้นฐานของโรงเรียน เช่น การพัฒนาการเรียนการสอน ปรับปรุง อุปกรณ์สื่อการสอน และการพัฒนาให้เป็นมืออาชีพ

                ในบทที่ 2 ส่วนกลางต้องหาความสมดุลระหว่าง การฝึกอบรม หรือ การชี้แนะแนวทางให้โรงเรียน ที่ต้องไม่มากหรือไม่น้อยเกินไป  ซึ่งความสมดุลนี้ต้องมีขึ้นตั้งแต่ส่วนกลางเริ่มกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ และก่อนที่โรงเรียนจะเริ่มปฏิบัติการต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมาย ดังนั้น เมื่อบุคคลากรระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสร้างวิสัยทัศน์แล้ว ก็เป็นหน้าที่ของส่วนกลางที่จะช่วยให้แต่ละโรงเรียนได้บรรลุจุดมุ่งหมายตามวิสัยทัศน์ที่แต่ละโรงเรียนตั้งไว้ รูปแบบของแผนกลยุทธ์สำหรับส่วนกลางมีขั้นตอนดังนี้

                1. ตั้งและสื่อสารความคาดหวัง และตัวแปรให้แก่ทีมงาน และ ผู้บริหาร

                2. ชี้แจงความจำเป็นของโรงเรียนที่ต้องบริหารจัดการ

                3. แสดงบทบาทการเป็นผู้สนับสนุนการบริหารจัดการ

  แผนกลยุทธ์ที่สมบูรณ์แบบสำหรับส่วนกลางแสดงไว้ในตาราง 5.1

ระบุปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียน

จัดตั้งและสื่อสารความคาดหวังและปัจจัยที่แปรเปลี่ยนได้

บ่งบอกลักษณะของผู้รับบริการและความต้องการในปัจจุบันและอนาคต

พรรณนาถึงค่านิยมและความเชื่อของผู้มีส่วนร่วมเกี่ยวกับการศึกษา

 

ระบุการจัดการต่อความต้องการของโรงเรียน

 

แสดงบทบาทสนับสนุนต่อการบริหารจัดการ

สร้างวิสัยทัศน์ร่วม แห่งอนาคต

 

 

 

 

 

 

 

 


 

 

ตาราง 5.1 ตารางแสดงแผนงานเชิงกลยุทธ์ของระดับเขตพื้นที่การศึกษา

จัดตั้งและสื่อสารความคาดหวังและการวัดผล

                ผู้มีอำนาจตัดสินใจของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรจะจัดตั้งและสื่อสารความคาดหวังและการวัดผล ไว้ก่อนที่จะมีการจัดตั้งทีมผู้ปฏิบัติการ ซึ่งการที่ทั้งสองฝ่ายได้รับรู้ข้อมูลไว้ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติจะทำให้รู้จำนวนสมาชิกและสามารถเลือกผู้เข้ามามีส่วนร่วมได้ตรงตามวัตถุประสงค์และง่ายต่อการพัฒนาบทบาทผู้นำของส่วนกลาง อีกทั้งผู้ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมก็มีโอกาสได้รับรู้ถึงข้อมูลตัวเลือกก่อนที่จะเข้ามามีส่วนร่วม

 

 

                ความคาดหวังและการวัดผล ที่เป็นปัจจัยต่อโรงเรียนที่เป็นฐาน คือ

                1. เกณฑ์การประเมินผลของการบริหารแบบการใช้โรงเรียนเป็นฐาน

                2. การมีส่วนร่วมของการบริหารแบบใช้โรงเรียนเป็นฐาน ของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติการโดยรวม

                3. การคาดหวังถึงผลได้จากการบริหารแบบใช้โรงเรียนเป็นฐานในแต่ละโรงเรียนและโดยรวม

                4. จำนวนงบประมาณ จำนวนบุคคลากร ลักษณะโครงการที่ผู้ลงมือปฏิบัติตัดสินใจลงไป อันเป็น

                 ส่วนหนึ่งในแผนกลยุทธ์

                5. เป้าหมาย และโครงการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ที่โรงเรียนต่าง ๆ ต้องนำไปปฏิบัติ

 

เกณฑ์ในการประเมินผล

                มันเป็นการง่ายต่อผู้บริหารระดับเขตพื้นที่การศึกษาที่จะมอบอำนาจและการตัดสินใจให้แก่โรงเรียนถ้าได้มีการจัดตั้งเกณฑ์การประเมินเอาไว้ก่อน ดังกล่าวไว้ตอนต้น คุณภาพของการศึกษาจะถูกวัดจากการมีวิสัยทัศน์อันเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของแผนกลยุทธ์ และของเกณฑ์การศึกษา แต่วิสัยทัศน์จะไม่มีความหมายเลยถ้าปราศจากทัศนคติที่แข็งแกร่ง กิจกรรม และการทุ่มเทปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรในองค์กร ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่พิเศษที่คณะผู้บริหารและส่วนกลางที่จะต้องชี้แจงกฎเกณฑ์ทั้งหมดที่จะทำให้บรรลุวิสัยทัศน์ของการบริหารแบบใช้โรงเรียนเป็นฐานให้แก่โรงเรียนด้วย ไม่ใช่เพียงแค่ตั้งวิสัยทัศน์ขึ้นมาแล้วก็บอกให้เขตพื้นที่การศึกษารับรู้แค่นั้น
                ผลประโยชน์ที่แท้จริงของโรงเรียนก็มาจากการร่วมมือกันปฏิบัติ ทัศนคติ และกิจกรรม ของบุคคลากรในองค์การนั่นเอง ดังนั้น หัวหน้าและผู้ปฏิบัติการต่างก็มีบทบาทสำคัญในการเป็นเครื่องมือของการบริหารแบบใช้โรงเรียนเป็นฐาน ซึ่งผลงานที่ออกมาเป็นเลิศนั้นย่อมไม่ได้มาจากการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ต้องตื่นตัวตลอดเวลาของบุคคลากรในองค์กรที่จะต้องคำนึงถึงความคาดหวังและปฏิบัติตามเป้าหมายที่วางไว้ของการบริหารแบบใช้โรงเรียนเป็นฐานอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะเป็นการตัดสินว่าโรงเรียนจะดำเนินไปเช่นไร

 

 

 

 

                ตัวอย่าง ข้อปฏิบัติที่จะทำให้โรงเรียนได้รับประโยชน์สูงสุด มีดังต่อไปนี้

                1. การพัฒนาแผนกลยุทธ์ที่ใช้วิสัยทัศน์ร่วม (Shared vision)เพื่อความเป็นเลิศในหลักสูตรการศึกษาที่พึงประสงค์

                2. แสดงความเป็นผู้นำและริเริ่มปรับปรุงโครงการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์

                3. จัดสรรสภาพแวดล้อมในที่ทำงานให้เหมาะสม

                4. พิจารณาปรับปรุงวิธีจัดการองค์กรเมื่อมีบุคลากรและแหล่งการเงินจำนวนมาก

                5. แก้ปัญหาได้เองในระดับโรงเรียน

                6. วิเคราะห์โครงการอันเกี่ยวกับการสร้างวิสัยทัศน์และสร้างความสำเร็จของผู้เรียน

                7. ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย และ แนวทางที่กำหนด

 

ความร่วมมือ               

                                                           

                ขั้นตอนนี้ได้ระบุไว้ตอนต้น สำหรับหัวหน้าและผู้ปฎิบัติการ และจะกล่าวในบทต่อไป ส่วนที่จะกล่าว อีกในที่นี้คือ ขั้นตอนนี้เป็นการ ให้ เมื่อมีการจัดขั้นตอนไปตามโรงเรียนต่าง ๆ แล้ว ส่วนกลางก็ดำเนินการจัดหาหนทางที่จะอำนวยความสะดวกในการพัฒนาการบริหารแบบใช้โรงเรียนเป็นฐานให้กับโรงเรียนดังกล่าว อีกทั้งต้องการให้โรงเรียนได้ปฏิบัติตามแผนกลยุทธ์ ส่วนกลางเองก็จะได้มีหนทางในการตรวจสอบความเป็นไปของโครงการได้ทั่วทั้งเขตการศึกษา

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

                            

                สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต้องชี้แจงผลที่คาดว่าจะได้รับของการบริหารแบบใช้โรงเรียนเป็นฐาน  เพราะการบริหารแบบใช้โรงเรียนเป็นฐานนี้เป็นยุทธศาสตร์ที่มีความเปลี่ยนแปลงได้อย่างเปิดกว้าง  อีกทั้งประโยชน์ที่ผู้มีส่วนร่วมจะได้รับก็มีหลากหลายแตกต่างกันออกไป ใบงานที่ 13 ใช้เป็นเครื่องมือในการสำรวจผู้มีส่วนร่วมแบบต่าง ๆ และเป็นการแนะนำประโยชน์ที่ต้องการหลายอย่าง ข้อมูลนี้ส่วนกลางสามารถใช้เป็นจุดมุ่งหมายสำหรับการบริหารแบบใช้โรงเรียนเป็นฐานทั่วทั้งเขตการศึกษาได้

 

 

 

 

 

ใบงานที่ 13

ความคาดหวังในการบริหารแบบใช้โรงเรียนเป็นฐาน

ให้คะแนนแสดงความพึงประสงค์ที่คาดว่าจะได้รับจากการบริหารแบบใช้โรงเรียนเป็นฐาน

 

ผลที่คาดว่าจะเกิด

ระดับความพึงประสงค์

(ต่ำ)1

2

3

4(สูง)

ผู้บริหารสถานศึกษาให้ความตระหนักถึงภาระงานและความเกี่ยวข้องมากขึ้น

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 293265เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2009 11:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2012 12:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท