การจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมโรงเรียนบ้านพุดหง(2)


การจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมโรงเรียนบ้านพุดหง

4. ลำดับขั้นตอนวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ       
     
4.1    ศึกษาข้อมูลพื้นฐานก่อนการกำหนดแนวทางในการดำเนินการ
4.1.1 สภาพปัญหาที่ต้องแก้ไข
       -          นักเรียนมีความรู้ในวงแคบจากหนังสือเท่านั้น เพราะเป็นโรงเรียนในชนบท
       -          ครูผู้สอนไม่มีวุฒิตรงตามที่สอน ขาดความชำนาญ เช่น  ครูจบคหกรรมเอาไปสอนภาษาอังกฤษ
       -          ลำบากในการผลิตสื่อ เพราะราคาแพง ทำยาก หาอุปกรณ์ไม่ได้
       -          ชุมชนไม่มีสถานที่อบรมทางไกล ต้องเข้าไปใช้บริการในตัวจังหวัด เดินทางลำบาก
4.1.2 พฤติกรรมผู้เรียน 
       -          นักเรียนเรียนจากหนังสือเรียน น่าเบื่อ  ขาดความสนใจ ไม่กระตือรือร้น
4.1.3 พฤติกรรมครู
       -          ใช้สื่อไม่มาก  เพราะทำยาก  ขาดงบประมาณ  ต้องไปซื้อหาที่ตัวจังหวัด
       -          ครูสอนไม่มีประสิทธิภาพ ขาดความชำนาญ  ไม่จบวิชาเอกในวิชาที่สอน
       -          ครูรับภาระมาก เหนื่อย  เพราะครูต่ำกว่าเกณฑ์ 
4.1.4 พฤติกรรมผู้ที่เกี่ยวข้อง
       -          ครูในโรงเรียนและต่างโรงเรียน/นักศึกษา กศน. /ผู้นำชุมชน/ประชาชนทั่วไป ไม่มีศูนย์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมที่สามารถเข้ามาใช้บริการได้
4.1.5 คุณภาพผู้เรียนที่ต้องการพัฒนา
       -          ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ต้องให้ได้ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ ทุกสาระ/วิชา
       -          นักเรียนขาดความกล้าในการแสดงออก
       -          ความรอบรู้ ประสบการณ์ ต้องได้รับในมาตรฐานเดียวกับเด็กในเมือง
       -          ทักษะชีวิตของผู้เรียน ในโลกไร้พรมแดน ต้องทันเหตุการณ์อยู่เสมอโดยเฉพาะคุณธรรม
       -          การใช้สื่ออุปกรณ์ต่างๆ ต้องใช้เป็นและถูกวิธี
4.1.6 ความพร้อม
       -          โรงเรียนไม่มีอุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียมมาก่อน
       -          มีโทรทัศน์  1  เครื่อง  ขนาด 14  นิ้ว  ในห้องพักครู
       -          ครูไม่มีความรู้เรื่องเทคโนโลยีเลย
       -          สถานที่ไม่พร้อมเลย ปล่อยให้ห้องว่างเปล่าไม่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์
4.1.7 ข้อจำกัดของโรงเรียน
       -          มีครูเพียง 10 คน ต่ำกว่าเกณฑ์
       -          ชุมชนยากจน อยู่ใกล้นิคมโรคเรื้อน  โรงโม่หิน 4  โรง  บ่อนไก่ชน 1 แห่ง
       -          ความแตกต่างทางศาสนามีสูง มีทั้ง พุทธ  คริสต์  อิสลาม
       -          นักเรียนขาดแคลน และด้อยโอกาส  จำนวนมาก

 
การกำหนดรูปแบบการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมเพื่อสนองความต้องการ

          1.แนวคิด 

-          ทำอย่างไรให้ผู้เรียนมีความรู้อย่างกว้างขวางทัดเทียมกับในเมือง

-          ทำอย่างไรให้ครูมีความเชียวชาญในการสอน ในวิชาที่สอน และประหยัดค่าใช้จ่ายในการ

ผลิตสื่อที่มีราคาแพง

                                -  ทำอย่างไรให้โรงเรียนอื่นๆ  หน่วยงานต่างๆ  ชุมชน  ท้องถิ่นได้มีศูนย์บริการด้านความรู้   ข้อมูล  สารสนเทศ  จากการประชุม  อบรม  สัมมนา  ทางไกลผ่านดาวเทียมที่ทันสมัย

5.       ขั้นตอนการดำเนินงานจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม

                ขั้นตอนที่  1  ขั้นเตรียมการ

                ในการพัฒนาการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง  สำหรับกลุ่มเป้าหมายในระบบโรงเรียน  นอกระบบโรงเรียน  และการศึกษาตามอัธยาศัย  ได้ดำเนินการดังนี้

1)      ศึกษาแนวนโยบาย ข้อมูล และเอกสารที่เกี่ยวข้อง  เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม  ได้แก่

(1)    ศึกษาแนวนโยบายในเรื่องการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียมของ

กระทรวงศึกษาธิการ

(2)    ศึกษาข้อมูลในการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม  จากเอกสารคู่มือดำเนินงานการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ของศูนย์การศึกษาทางไกลไทยคม กรมการศึกษานอกโรงเรียน  ศึกษาคู่มือการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนวังไกลกังวล หัวหิน  โดยศึกษาในเรื่องต่อไปนี้

ก.       ความเป็นมาของการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม 

.   วัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม

.   ขอบข่ายของการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม 

ช.      สื่อการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม  ใช้สื่อประสม (Multimedia)

ซ.      กระบวนการเรียนการสอน  การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง ได้ดำเนินการใช้ในวิชาต่างๆ ทั้ง 8 สาระ โดยใช้โทรทัศน์เพื่อการศึกษาของวังไกลกังวล (DLTV) และในส่วนของการให้บริการชุมชนและอบรมทางไกลให้กับคณะครูจากโรงเรียนต่างๆ โดยใช้โทรทัศน์เพื่อการศึกษาทางไกลไทยคม(ETV)

.   การประเมินผลการเรียนการสอน 

(3)    ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง  ได้แก่  เอกสารชุดฝึกอบรมการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมสำหรับ
สถานศึกษาในระบบโรงเรียน  สถานศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย  เอกสารคู่มือการดำเนินงานการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมและเอกสารชุดฝึกอบรมบุคลากร  ผู้ดำเนินการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม  คู่มือการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมของวังไกลกังวล  เป็นต้น 

2)  ประชาสัมพันธ์  ประชุมชี้แจงแนวทางการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม  ได้ดำเนินการ

ประชาสัมพันธ์  ประชุมชี้แจงให้นักเรียน  คณะครู  ผู้ปกครองนักเรียน ได้ทราบแนวทางในการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในการประชุมผู้ปกครองนักเรียน

3) สำรวจสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการของโรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง  ได้ดำเนินการ

ศึกษาและวิเคราะห์การจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม โดยการสังเกต สอบถาม สัมภาษณ์ พูดคุยกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่  ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอร่อนพิบูลย์  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3  ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนครศรีธรรมราช  ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคใต้ (สงขลา)  ศูนย์การศึกษาทางไกลไทยคม กรมการศึกษานอกโรงเรียน โรงเรียนวังไกลกังวล หัวหิน  เป็นต้น  โดยได้รับการสนับสนุนให้โรงเรียนจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม  เนื่องจากมีความมุ่งมั่น และตั้งใจ นอกจากนั้นหน่วยงานต่างๆ ยังให้คำปรึกษา แนะนำ  และให้บุคลากรมาช่วยเหลือในการติดตั้ง ปรับแต่ง อุปกรณ์ต่างๆ
        5.จัดตั้งคณะกรรมการในการดำเนินงาน 

ขั้นตอนที่  2  ขั้นวางแผน

                หลังจากได้ทำการศึกษาเอกสาร นโยบาย ข้อมูลต่าง ๆ แล้ว จึงได้กำหนดแผนในการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม   ดังนี้

1)      ดำเนินการประชุมคณะกรรมการทุกฝ่าย เพื่อวางแผนในการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมโดยในที่ประชุมได้กำหนดให้คณะกรรมการฝ่ายดำเนินการไปวางแผนในการจัดการเรียนการสอน รูปแบบการสอน ตามแนวทางคู่มือการดำเนินการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนวังไกลกังวล     หัวหิน  และศูนย์การศึกษาทางไกลไทยคมและวางแผนการใช้อุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียมที่ชุมชนร่วมกันหามาให้ จำนวน 9 เครื่อง โทรทัศน์ 20 เครื่อง

2)      จัดเตรียมสถานที่ติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียมและห้องปฏิบัติการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม  อุปกรณ์/สื่อการเรียนการสอน  ดังนี้

(1)    ด้านสถานที่  โรงเรียนได้จัดสถานที่ติดตั้งจานรับสัญญาณดาวเทียมที่อาคารสำนักงาน จำนวน 4 จาน  และจัดห้องควบคุมการปฏิบัติการ จำนวน 1 ห้อง  ห้องเรียน 9 ห้อง  ห้องเครือข่าย คือ ห้องปฏิบัติการทางภาษา  ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์  ห้องดาวธรรม   ห้องวิทยาศาสตร์  ห้องสำนักงานและอาคารอเนกประสงค์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียน/นักศึกษา  คณะครู และผู้สนใจได้เข้ามาใช้ได้อย่างเต็มที่

(2)    ด้านสื่อการเรียนการสอน  ในการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมจำเป็นต้องมีสื่อที่หลากหลายเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน ได้แก่

ก.       ตารางออกอากาศและคู่มือการรับชม  โดยทางโรงเรียนจะได้รับตารางออกอากาศและคู่มือการรับชมจากมูลนิธิทางไกลผ่านดาวเทียมของวังไกลกังวล และศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน และศูนย์การศึกษาทางไกลไทยคมก่อนเปิดภาคเรียนเพื่อวางแผนการจัดการเรียนการสอน

ข.       อุปกรณ์/สื่อการสอน  ทางโรงเรียนได้วางแผนการใช้อุปกรณ์ต่างๆ ได้แก่  ม้วน

วิดีทัศน์  กระดาน  โทรทัศน์ประจำห้องต่างๆ  เอกสารค้นคว้า  ป้ายนิเทศ  เป็นต้น  เพื่อให้ครูสามารถบันทึกรายการ และจัดการเรียนการสอนได้อย่างสะดวกสามารถทบทวนบทเรียนต่างๆ ได้ อีกครั้งหลังจบรายการโทรทัศน์

3)      จัดกระบวนการเรียนการสอน  โรงเรียนชุมชนบ้านพุดหงจัดการศึกษาทั้งในระบบโรงเรียน  นอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย  ดังนี้

(1)    การศึกษาในระบบโรงเรียน  โรงเรียนชุมชนบ้านพุดหงจัดการศึกษาตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่  6 จากโรงเรียนวังไกลกังวล หัวหิน  และถ้าเป็นการเสริมความรู้ให้กับชุมชน หรือการ อบรมทางไกลให้ครูโรงเรียนต่างๆ จะใช้รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาทางไกลไทยคม  โดยชั้นที่จัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมได้ต้องปรับตารางเรียนให้สอดคล้องกับตารางออกอากาศ ซึ่งแต่ละภาคเรียนอาจกำหนดไม่เหมือนกัน ซึ่งครูจะต้องศึกษาตารางออกอากาศและคู่มือการรับชมให้ดี นอกจากนั้นทางโรงเรียนยังได้วางแผนการบริหารชั้นเรียนและการใช้ ห้องเรียนให้เหมาะสม โดยกำหนดให้ครูและนักเรียนมาใช้บริการในลักษณะประจำชั้นและเดินเรียนตามตารางออกอากาศในบางวิชาที่ต้องใช้ห้องปฏิบัติการโดยเลือกใช้ห้องให้เหมาะสมกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในวิชานั้นๆ เช่น วิชาภาษาอังกฤษ ก็ชมรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาในห้องปฏิบัติการทางภาษา ห้องวิทยาศาสตร์  ห้องจริยธรรม  เป็นต้น  นอกจากนั้นโรงเรียนยังใช้ระบบสายส่งสัญญาณดาวเทียมมาใช้ในการจัดกิจกรรมนักข่าวน้อยออกกาศสดทุกเที่ยงผ่านกล้องวงจรปิดและการใช้แผ่นวีซีดีในการออกอากาศไปยังห้องเรียนต่างๆอีกด้วย

                          (2)   การศึกษานอกระบบโรงเรียน  โรงเรียนชุมชนบ้านพุดหงเป็นสถานที่ให้บริการแก่

                                 นักศึกษานอกระบบโรงเรียน มาใช้บริการได้

(3)    การศึกษาตามอัธยาศัย  โรงเรียนชุมชนบ้านพุดหงได้เปิดโอกาสให้ชุมชน ผู้สนใจ โรงเรียนหน่วยงานต่างๆ เข้ามาใช้บริการการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมได้ตลอดเวลา โดยโรงเรียนจะจัดในรูปของศูนย์การเรียนชุมชน และประสานการทำงานร่วมกับศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอร่อนพิบูลย์

4)  การให้บริการทางวิชาการ  โรงเรียนชุมชนบ้านพุดหงยังวางแผนที่จะให้บริการทางวิชาการแก่หน่วยงาน โรงเรียน ชุมชน ในด้านต่างๆ หลายด้าน ได้แก่  สื่อทางไกลผ่านดาวเทียม  การซ่อมบำรุงอุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียม การปรับแต่งการรับสัญญาณของโทรทัศน์ และจานดาวเทียม  เป็นต้น

          ขั้นตอนที่ 3 การดำเนินการตามแผน

                เมื่อได้มีการวางแผนในการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมทั้งในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียน การศึกษาตามอัธยาศัยและการให้บริการทางวิชาการแล้ว โรงเรียนได้ดำเนินการตามแผน  ดังนี้

1)      การดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม  โรงเรียน

ได้นำรูปแบบการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมจากคู่มือการดำเนินการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนวังไกลกังวล  หัวหิน  ศูนย์การศึกษาทางไกลไทยคม กรมการศึกษานอกโรงเรียน เป็นต้นแบบให้ครูได้นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน  ดังนี้

(1)     ขั้นเตรียมความพร้อมก่อนชมรายการ (ประมาณ 5-10 นาที) โดยครูผู้สอนต้องศึกษาคู่มือรับชมรายการให้ระเอียด และเตรียมความพร้อม  ดังนี้

ก.        เตรียมเครื่องรับโทรทัศน์และอุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียมให้เรียบร้อย

ข.        สนทนาเกี่ยวกับบทเรียนที่จะเรียนให้นักเรียน/นักศึกษา เกิดความสนใจที่จะเรียน

ค.        บอกจุดมุ่งหมายในการเรียนและการชมรายการว่า นักเรียนควรทำอย่างไรบ้างในระหว่างชมรายการ

.    ย้ำประเด็นที่สำคัญให้นักเรียนบันทึกลงสมุด

                                .    ให้นักเรียนซักถามประเด็นที่สงสัยหลังจากจบบทเรียนแล้ว

      (2)  ขั้นการศึกษาจากรายการโทรทัศน์(ประมาณ 40  นาที)

                                .    ให้นักเรียน/นักศึกษาชมรายการโทรทัศน์ เก็บข้อมูลที่จำเป็นโดยดูรายการพร้อม

        กับครู 

                                .     ผู้เรียนต้องชมรายการโทรทัศน์อย่างตั้งใจติดตามรายการทุกตอน/ร่วมกิจกรรมกับ

                                         ต้นทาง

.    จดบันทึกประเด็นสำคัญ หรือทำกิจกรรมที่กำหนดไว้ในรายการโทรทัศน์

       (3)  ขั้นหลังจากชมรายการโทรทัศน์(ประมาณ 10 นาที) ปฏิบัติกิจกรรมต่อเนื่อง ได้แก่

.    สรุปบทเรียนจากรายการโทรทัศน์ โดยครูสรุปร่วมกับนักเรียน  จากสิ่งที่ได้รับชม

                                .    ทบทวนสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ/นำประเด็นที่สงสัยหรือมีปัญหามาอภิปรายในห้องเรียน

                                        เพื่อหาข้อสรุปที่ได้รับชม

ง.       จัดกิจกรรมเสริม ได้แก่  มอบหมายงานให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากห้องสมุดนิทรรศการ  แหล่งวิทยาการอื่นๆ  หรือทำโครงงาน รายงาน เพื่อส่งให้ครูประเมินผลต่อไป

.   ทำแบบฝึกหัด/แบบประเมิน

                2)  การศึกษาตามอัธยาศัย  โรงเรียนชุมชนบ้านพุดหงได้ดำเนินการให้บริการชุมชน หน่วยงาน โรงเรียนต่างๆ ในอำเภอร่อนพิบูลย์ ให้ได้รับความรู้ตามความถนัดและความสนใจตลอดจนให้บริการด้านอื่นๆ ดังนี้

(1)     การให้บริการอบรม ประชุม สัมมนา ให้กับคณะครูในโรงเรียน  ต่างโรงเรียน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น   

(2)    การให้โอกาสเข้าชมรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา (ETV) ผ่านดาวเทียม ของผู้ปกครองนักเรียน และชุมชนผู้สนใจ เข้ามาศึกษาหาความรู้ในวิชาการที่สนใจ โดยมีผู้ปกครองนักเรียนเข้ามาใช้ห้องปฏิบัติการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมจำนวนหนึ่ง และมีผู้นำชุมชนเข้ามาอบรม จำนวน 2 รุ่นอีกด้วย

2)      การให้บริการทางวิชาการแก่หน่วยงาน โรงเรียน และชุมชน  โรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง

ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศทางไกลผ่านดาวเทียมของสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอร่อนพิบูลย์และได้บริการทางวิชาการ แก่หน่วยงาน โรงเรียน และชุมชน  ดังนี้

หมายเลขบันทึก: 293193เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2009 08:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 17:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท