ปัจจัยต่อการแบ่งปันความรู้


ปัจจัยต่อการแบ่งปันความรู้


          คุณพร  เดชชัยยัญ   ส่งการบ้านข้อเขียนมาให้ผมช่วยวิจารณ์   เรื่อง “การแบ่งปันความรู้ (knowledge sharing),  บริบท (context),  และการสร้างสรรค์ความรู้”    ผมขออนุญาตเอามาวิจารณ์บนบล็อก   คนอื่นจะได้ร่วมแลกเปลี่ยนด้วย


          ผมมองแบบกำปั้นทุบดินว่า   คนเราจะแบ่งปัน (แลกเปลี่ยน) ความรู้ก็ต่อเมื่อเขารู้สึกว่าเขาได้รับผลประโยชน์จากการแบ่งปันนั้น   คือไม่ใช่เป็นการแบ่งปันแบบเมื่อให้เขาแล้วเรามีน้อยลง   หรือเท่าเดิม   แต่คนอื่นมีมากขึ้น   นี่คือ “บริบท” (context) ที่ผู้บริหารจะต้องสร้างขึ้น   ย้ำว่าการจะให้เกิดการแบ่งปันความรู้นั้น   สิ่งที่ “จัดการ” ได้คือบริบทไม่ใช่ตัวการแบ่งปัน


          องค์กรที่จะดำเนินการ KM ได้ผล   ต้องจัดบริบทให้เอื้อประโยชน์แก่ผู้แบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้   ซึ่งจะต้องคิดดำเนินการอย่างซับซ้อนหลากหลายปัจจัยไปพร้อม ๆ กัน
          อ้อ!   คุณพรครับ   คำว่า far – flung แปลว่าอยู่ห่างไกลกันครับ   และคำว่า dialogue ก็มีผู้แปลว่าสุนทรียสนทนา


          ในบางบริบท   การแบ่งปันความรู้สามารถกระตุ้นได้โดยการสื่อสาร   ดังกรณีที่เกิดขึ้นที่ อ.เกาะลันตา   ที่ผมเคยเอามาลงบล็อกไว้แล้ว (link)  จะเห็นว่าการสื่อสารในลักษณะที่เห็นตัวคนจะทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นรวดเร็ว   ก่อความเชื่อถือไว้วางใจ   อันนำไปสู่การแบ่งปันความรู้


                                                                                                วิจารณ์  พานิช
                                                                                                   23 ส.ค.48

คำสำคัญ (Tags): #knowledge#sharing#context
หมายเลขบันทึก: 2931เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2005 08:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 22:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท