วิธีแก้ไขปัญหา ข้าวกระทบหนาว ใบเหลือง รวงสั้น หยุดโต


อากาศที่หนาวเย็นมีผลทำให้ข้าวได้รับปัญหาจากหลายๆ สาเหตุ เช่น โรคจากเชื้อรา ใบจุด ใบเหลือง หยุดการเจริญเติบโต ชะงักงัน ไม่กินอาหาร คอรวงสั้น ออกรวงโผล่ไม่พ้นกาบใบ (โรคจู๋)

 

รายงานจากกรมอุตุนิยมวิทยา เช้าวันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2552 ฉบับที่ 18 (18/2552) แจ้งว่าบริเวณความกดอากาศสูงอย่างแรงจากประเทศจีนจะยังคงแผ่ปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทย ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ของไทยมีอากาศที่หนาวเย็น ภาคเหนือ ภาคอีสานจะหนาวจัด บนดอยมีน้ำค้างแข็ง มีการแจ้งเตือนภัยแก่ผู้ประกอบอาชีพประมงตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไปอาจจะเจอมรสุมจากคลื่นที่สูง 2 – 4 เมตร จนได้รับอันตรายจากการประกอบอาชีพได้


อากาศที่หนาวเย็นเช่นนี้จะเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี และมักจะส่งผลกระทบไปยังพี่น้องเกษตรกรจนได้รับความเดือดร้อนจากผลผลิตที่มักจะเสียหายจากอากาศที่หนาวเย็นอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะปีนี้ดูเหมือนว่าอิทธิพลของอากาศที่หนาวเย็นนั้นจะส่งผลยาวนานกว่าทุก ๆ ปี มีทั้งหนาวมาก หนาวปานกลาง หนาวน้อย หนาวนาน จนเกษตรกรบางคนตั้งตัวไม่ทัน ขาดความพร้อม ขาดการเตรียมตัว อาจจะรับมือไม่ทันจนพืชผัก ผลไม้ ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมากได้

“ข้าว” ก็เป็นพืชอีกชนิดหนึ่ง ที่มักได้รับความเสียหายจากอากาศที่หนาวเย็นและได้รับความเสียหายค่อนข้างมาก เพราะเป็นอาชีพหลักของประชากรไทย จนได้รับการกล่าวขานกันว่า เป็นกระดูกสันหลังของชาติ มีการจำหน่ายออกนอกประเทศเป็นอันดับหนึ่งของโลกไล่เลี่ยกับประเทศเวียดนามซึ่งกำลังเร่งสปีดยอดส่งออกแข่งกับเราจนชนิดที่เรียกได้ว่าหายใจรดต้นคอกันเลยทีเดียว เพราะคนไทยเรามัวแต่ทะเลาะกันเองไม่มีเวลาไปบริหารจัดการเรื่องการค้าการขายหรือแม้แต่การบริหารบ้านเมือง

อากาศที่หนาวเย็นมีผลทำให้ข้าวได้รับปัญหาจากหลายๆ สาเหตุ เช่น โรคจากเชื้อรา ใบจุด ใบเหลือง หยุดการเจริญเติบโต ชะงักงัน ไม่กินอาหาร คอรวงสั้น ออกรวงโผล่ไม่พ้นกาบใบ (โรคจู๋) มีความเสี่ยงต่อการที่รวงไม่ผสมเกสรจนเป็นหมัน เมล็ดข้าวเล็ก แบน ลีบ ผลผลิตตกต่ำ ดังนั้นเกษตรกรควรวางแผนรับมือกับการปลูกข้าวในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็นอย่างรอบคอบ โดยการคัดเลือกพันธุ์ที่มีความต้านทานต่ออากาศที่หนาวเย็น หรือหลีกเลี่ยงการเพาะปลูกในระยะเวลาดังกล่าวถ้ายังไม่มีความชำนาญเพียงพอ ตรวจวัดความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้มีความเหมาะสม ดูแลให้สภาพต้นสร้างภูมิคุ้มกัน สร้างความความต้านทานโดยการใช้ ภูไมท์ซัลเฟต หว่านตั้งแต่ตอนเตรียมเทือก ฉีดพ่นไวตาไลเซอร์ และ ไรซ์กรีนพลัส (ทั้งสองตัวเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต่อสู้กับอากาศหนาว) ทุก ๆ 5 – 7 วัน ตั้งแต่ก่อนเข้าหนาวก็จะยิ่งช่วยให้ข้าว มีการปรับตัว สร้างกลไกในการผลิตฮอร์โมนออกมาต่อสู้กับอากาศที่หนาวเย็นได้ดี ช่วยทำให้สถานการณ์ที่หนักผ่อนคลายเป็นเบา ผลผลิตได้รับความเสียหายน้อยลง

มนตรี    บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ   www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 292957เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2009 14:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะครับ ผมก็เป็นคนหนึ่งที่ปลูกข้าว แปลงนาของผมอยู่ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ช่วงเวลาที่อุตรดิตถ์มีอากาศหนาวเย็นมา และผมก็สังเกตเห็นว่าต้นข้าวของผม แคระแกรน ไม่เจริญเติมโต ข้าวผมอายุ 1 เดือนเต็ม อยู่ในช่วงระยะวลาแตกกอพอดี ผมพอที่จะรับมือกับเหตุการณ์นี้อย่างไรดีครับ และถ้าผมจะกระตุ้นปุ๋ย ยูเรีย สูตร 46-0-0 จะเป็นอย่างไรบ้างครับ ขอความคิดเห็นหน่อยนะครับ ขอบคุณครับ...

สารสู้หนาวในข้าวหาซื้อทีใหนบ้างครับ

สารสู้หนาวในข้าวหาซื้อทีใหนบ้างครับ

สารสู้หนาวมีชื่อการค้าว่า “ไรซ์กรีนพลัส” ครับ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 1. ID Line : @thaigreenagro 2. ฝ่ายบริการ โทร. 0845554205 ถึง 9 3. เว็บไซด์ www.thaigreenagro.com หรือสนใจสอบถามปัญหากับฝ่ายวิชาการ โทร. 029861680 ถึง 2 ครับ

ข้าวหอมประทุม70วันยังไม่ใส่ปุ๋ยใบเหลืองใส่ปุ๋ยอะไรดีควรแก้อาการข้าวใบเหลืแงอย่างไรค่ะแนะนำหน่อยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท