การเรียนรู้จากการทำ C3THER ของ PCT กุมารฯ


การักษาโรคผิวหนัง ในผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อ HIV

เมื่อวันที่  2  พ.ค.49 ทาง PCT กุมารฯ ได้ทำ  C3THER เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่าง กุมารแพทย์  แพทย์สาขาโรคผิวหนัง พยาบาล  เภสัชกร  พยาบาลให้คำปรึษา และนักโภชนาการ โดยนำ Case  ผู้ป่วยที่เป็น  Infected  eczematiod  dermatitis และเป็นเด็กที่ติดเชื้อ HIV

องค์ความรู้ที่ได้  คือ

1. ผู้ป่วยที่เป็น  Infected  eczematiod  dermatitis มักเกิดจากเชื้อ  Staphylococcus พบมากในผู้ป่วยโรคเอดส์  เพราะมี  Abnormal  immunology  response โดยเฉพาะถ้าถูกยูงกัดจะแพ้ มีอาการคันมาก ไม่เฉพาะตำแหน่งที่ถูกกัด  จะทำให้คันทั่วตัว  เมื่อเกาจะมีการติดเชื้อแบคทีเรียเกิดเป็นผื่นคัน และตุ่มหนอง

2. การรักษาประกอบด้วย

      - ฟอกบริเวณที่เนด้วย  Hibiscrub

      - ประคบด้วย  Burrow solution  15  นาที  เพื่อดูดซับน้ำเหลืองให้แห้งก่อนทายา  เมื่อแห้ง แล้วให้หยุดประคบ มิฉะนั้นผิวหนังจะแห้งเกินไป

      - ทาด้วย 3% Vioform+0.02 % TA cream ซึ่งเป็น antiseptic+steroid ที่ราคาถูก  ไม่ใช้ Fucidin H  เพราะ steroid  อ่อนไป

      - ให้ยา  antihistamine ควรเป็น first generation ยิ่งดี ยา atarax ใช้ได้ดี  สำหรับยา Clarityne ไม่ได้ผล

      - ควรให้ Fucidin  cream ป้ายในรูจมูก  7-10 วัน เพื่อฆ่าเชื้อ Staphylococcus  ที่อาศัยอยู่ในจมูก เป็นการป้องกันไม่ให้เชื้อมาติดที่ผิวหนัง

      - ให้ยาปฏิชีวนะที่คลอบคลุมเชื้อ Staphylococcus เช่น  Dicloxacillin, Cefazolin 7-14 วัน

      - ระวังการติดเชื้อ  MRSA ซึ่งรักษายากมาก  ดังนั้นไม่ควรรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาล  หรือถ้าจำเป็นให้จำหน่ายโดยเร็วที่สุด

3. การแนะนำดูแลสุขอนามัย ได้แก่

      -  ตัดเล็บให้สั้น

      - ระยะที่ผื่นผิวหนังยังไม่หาย  แนะนำให้อาบน้ำฟอกด้วย  Hibiscrub แทนสบู่

     - ถ้าใช้สบู่แนะนำให้ใช้สบู่อ่อน หรือสบู่เด็ก และควรเป็นสบู่เหลว

     - ป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด ให้ทาตะไคร้หอมกันยุง

4. ให้ยาต้านไวรัส ที่มีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มภูมิค้มกัน (CD4) ถ้า (CD4) ปกติ  ผื่นผิวหนังจะดีขึ้นเอง  แต่ยกเว้นการให้ยาต้านไวรัสในระยะแรกอาจมีผื่นแดงที่หน้าและตามตัวมากขึ้น ซึ่งเป็นภาวะ Immune restoration syndrome (IRS)

องค์ความรู้ที่ยังขาด คือ

* Immune restoration syndrome ที่มีอาการทางผิวหนัง

          หวังว่าคงเป็นประโยชน์ในการ ลปรร  บ้างนะคะ

 
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 29230เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2006 14:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 00:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ในคนไข้ที่ไม่ใช่HIV รักษาเหมือนกันใหมคะ   Lactacid ฟอกได้หรือเปล่า
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท