KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 67. โมเดลปลาตะเพียน


• “โมเดลปลาตะเพียน” เป็นบทขยายความของ “โมเดลปลาทู”
• เป็นการขยายความส่วน “หัวปลา” ของ “โมเดลปลาทู”
• เป็นการเตือนสติ ว่าในการทำงาน (และทำ KM) ทุกหน่วยงานย่อยต้องคอยตรวจสอบว่า “หัวปลาเล็ก” ของตน    หันไปทางเดียวกับ “หัวปลาใหญ่” ขององค์กรหรือไม่    ต้องคอยปรับให้ไปทางเดียวกับ “หัวปลาใหญ่” ตลอดเวลา
• “โมเดลปลาตะเพียน” สำคัญมากต่อการมีบรรยากาศที่เป็นอิสระในการปฏิบัติ    ซึ่งเป็นหัวใจของ KM  
• หลักการคือ อิสระในการปฏิบัติ ภายใต้เป้าหมายเดียวกัน   คืออิสระในการปฏิบัติ   แต่ไม่อิสระในการกำหนดเป้าหมาย   ไม่กำหนดเป้าหมายกันไปคน (หรือหน่วยย่อย) ละทางสองทาง 
• “หัวปลาใหญ่” เป็นสิ่งที่ทุกหน่วยงานย่อยร่วมกันกำหนด ที่เรียกว่า วิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) หรือปณิธานความมุ่งมั่นร่วม (Common Purpose) หรือ เป้าหมายร่วม (Common Goal)    เมื่อร่วมกันกำหนดแล้ว ก็ร่วมกันดำเนินการตามเป้าหมายนั้น    เปรียบเสมือนการที่ “ปลาเล็ก” ทุกตัว “ว่ายน้ำ” ไปในทิศทางเดียวกัน    โดยที่แต่ละตัวมีอิสระในการ “ว่ายน้ำ” ของตนเอง
• ตีความให้ลึกเข้าไปอีก “โมเดลปลาตะเพียน” บอกเราว่า “ปลาใหญ่ / แม่ปลา” (หมายถึงผู้บริหารระดับสูง) ต้องเปิดโอกาสให้ “ปลาเล็ก” มีอิสระในการ “ว่ายน้ำ”   ผู้บริหารระดับสูงมีหน้าที่ “บริหารหัวปลา"    และคอยดูแล “บ่อน้ำ” ให้ “ปลาเล็ก” ได้มีโอกาสใช้ความริเริ่มสร้างสรรค์ของตนในการ “ว่ายสู่เป้าหมายร่วม”

วิจารณ์ พานิช
๘ พค. ๔๙

คำสำคัญ (Tags): #เครื่องมือ#km
หมายเลขบันทึก: 29224เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2006 14:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เรียนอาจารย์ที่เคารพ

   ในความหมาย  " จงคอยดูแล " บ่อน้ำ  ให้ปลาเล็กได้มีโอกาสใช้ ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์เป็นความที่ดีมากครับ และเพื่อให้เป้าหมายไปสู่จุดหมายร่วมกัน แต่เป้าประสงค์ของกลุ่มชนที่หลากหลายครับ ในสังคม ภายในประเทศ ก็คงใช้นักปฏิบัติและนักปฏิวัติทางความคิดครั้งใหญ่เลยล่ะครับ ทุก ๆ สังคมก็บอกว่า " คน " คือศูนย์กลางในการเรียนรู้ แต่ในปัจจุบันปัจจัยที่สำคัญ คือ  กรอบแห่งการคิดที่หลากหลาย ทำอย่างไรถึงจะดึงกรอบตรงนั้นออกมาเพื่อค้นหาคำตอบล่ะครับ

ผมตามอ่านเรื่องปลาทู แล้วเอาไปเล่าให้เพื่อนที่ทำงานฟัง เพราะผมพยายามชักชวนให้มาทำ หางปลาทู ตอนนี้ได้คนมาทำหางปลาทูเพิ่มสี่คนแล้ว

สงสัยต้องไปเล่าเรื่อง ปลาตะเพียนต่อครับ

ตอบหนูหริ่ง

ผมดีใจที่หนูหริ่งสนใจ KM เชื่อว่าจะตีความ และดำเนินการ สร้างสรรค์เรื่องนี้ให้แก่สังคมไทยได้อีกมาก

 

ตอบ น. เมืองสรวง

อย่ามัวคิดอยู่นานเกิน   ให้เริ่มปฏิบัติ  เริ่มที่ตัวเราเอง  เริ่มส่วนที่พอทำได้ก่อน    โดยหาส่วนดี/ความสำเร็จที่มีอยู่แล้วมา ลปรร. กัน

ขออนุญาตินำแนวคิดไป อ้างอิงนะครับ อาจารย์หมอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท